ตัวอย่าง audit program จัดซื้อจัดจ้าง

          

อาจารย์ จิรพร  สุเมธีประสิทธิ์

//chirapon.wordpress.com

          งานจัดซื้อจัดจ้างยังคงเป็นหนึ่งในขอบเขตงานตรวจสอบของทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐซึ่งนำเอาเงินงบประมาณแผ่นดินมาใช้ในกิจการของหน่วยงาน และเป็นจุดเพ่งเล็งว่าอาจจะเกิดความไม่โปร่งใส จุดรั่วไหลหรือช่องทางการทุจริตได้ ซึ่งงานจรวจสอบภายในไม่อาจจะละเว้นได้

การตรวจสอบภายในส่วนของงานจัดซื้อจัดจ้างจึงเป็นเสมือนงานประจำทุกปีอยู่แล้ว เพียงแต่ลักษณะ รูปแบบและเงื่อนไขของการจัดซื้อจัดจ้างอาจจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ

ขอบเขตของการตรวจสอบภายในด้านจัดซื้อจัดจ้างควรจะประกอบด้วย

  • การตรวจสอบเกี่ยวกับความสมเหตุสมผลและเพียงพอ ชัดเจนของการระบุความจำเป็นและการวางแผนการจัดซื้อจัดจ้าง
  • การตรวจสอบการพัฒนาเงื่อนไข รายละเอียดเฉพาะเจาะจง
  • การตรวจสอบความสมเหตุสมผลและรายละเอียดการเลือกวิธีการจัดซื้อ
  • การตรวจสอบเอกสารเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ
  • การตรวจสอบเกี่ยวกับการเชิญชวนผู้เสนอราคา การคัดกรอง การคัดเลือกและการปิดการคัดเลือกผู้เสนองาน
  • การตรวจสอบการประเมินข้อเสนอของผู้เสนองานทุกราย
  • การตรวจสอบการคัดเลือกผู้เสนองานรายที่ชนะ
  • การตรวจสอบเกี่ยวกับการเจรจาต่อรอง
  • การตรวจสอบเกี่ยวกับการบริหารสัญญาว่าจ้าง
  • การตรวจสอบเกี่ยวกับการประเมินกระบวนการการจัดซื้อ
  • การตรวจสอบเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินตามงวดงาน

1.การระบุความจำเป็นและการวางแผนการจัดซื้อจัดจ้าง

ประเด็นความเสี่ยง ผลกระทบที่คาดว่าจะเป็น กิจกรรมที่ควรให้ความเห็น
1.การประเมินความจำเป็นต่ำเกินไป มีการจัดซื้อสินค้าและบริการ

ที่ไม่เหมาะสม

สูญเงิน

ความจำเป็นไม่ได้รับการตอบสนอง

วิเคราะห์ความจำเป็นว่ามีความถูกต้อง
2.การประเมินความจำเป็นสูงเกินไป รายจ่ายมากเกินไป

การแข่งขันมีน้อยกว่าที่ควร

วิเคราะห์ความจำเป็นว่ามีความถูกต้อง

ใช้ความจำเป็นด้านหน้าที่การใช้ประโยชน์และประสิทธิผลของการใช้งาน

3.การตีความของความจำเป็นของผู้ใช้ไม่ถูกต้อง การซื้อได้ผลที่ไม่อาจยอมรับได้ หรือไม่เหมาะสมเป็นส่วนใหญ่

สูญเสียเวลา

มีต้นทุนเพิ่มขึ้น

ปรับปรุงการหารือ ทำความเข้าใจกับผู้ใช้งานให้ได้ข้อมูลชัดเจน

มีการสรุปประเด็นของสิ่งที่ต้องการใช้งานและนิยามของความจำเป็น

4.มีเงินงบประมาณไม่เพียงพอ ความล่าช้าในการจัดซื้อ

มีการขอเพิ่มงบประมาณ

มีการเสนอความเห็นชอบก่อนที่จะดำเนินงานตามความรับผิดชอบ

มีการปรับปรุงแผนงานดำเนินการใหม่

5.กรอบเวลาดำเนินงานไม่เหมาะสม ปฏิบัติไม่ได้ การตอบสนองจากผู้เสนองานไม่เพียงพอ

การแข่งขันต่ำกว่าที่ควร

ตารางเวลาที่ต้องส่งมอบสินค้าและบริการไม่สามารถทำได้

ปรับปรุงการประเมินสถานการณ์ การพยากรณ์ การวางแผน และการหารือกับผู้ใช้งานอย่างต่อเนื่อง

ปรับปรุงการสื่อสารกับผู้เสนองานที่เป็นไปได้

6.ดำเนินการโดยไร้ทิศทาง กรอบการปฏิบัติ ต้นทุนการจัดซื้อเพิ่มขึ้น

ทรัพยากรใช้ผิดวัตถุประสงค์

ไม่ได้รับสินค้าและบริการที่เหมาะสม

การดำเนินงานขาดธรรมาภิบาล

อิงแนวปฏิบัติที่ดี มีนโยบาย แนวทางวิธีการที่ชัดเจนก่อนดำเนินงาน

ธำรงรักษาสภาพแวดล้อมด้านธรรมมาภิบาลปรับปรุงการอบรมบุคลากร

งานการควบคุมเพิ่มเติม และทบทวนระหว่างดำเนินการเป็นระยะ

จัดหาที่ปรึกษาโครงการที่มีความรู้ความชำนาญ ปรับปรุงการสื่อสารกับผู้นำเสนองานที่เป็นไปได้

2.การพัฒนาเงื่อนไข รายละเอียดเฉพาะเจาะจง

ประเด็นความเสี่ยง ผลกระทบที่คาดว่าจะเป็น กิจกรรมที่ควรให้ความเห็น
1.ระบุนิยามแคบเกินไปหรือเน้นตรายี่ห้อ สเปคของบางรายเท่านั้น มีทางเลือกน้อยไป

ไม่ได้รับสินค้าหรือบริการที่เหมาะสม

ต้นทุนดำเนินงานเพิ่มขึ้น

นิยามจากผลผลิตที่ต้องการและคาดหวัง

กำหนดสเปคด้วยฟังชั่นและผลลัพธ์ที่ควรจะเป็น

2.ระบุนิยามตัวสินค้าหรือบริการไม่เหมาะสม ความจำเป็นของการจัดซื้อไม่ได้รับการตอบสนอง

สูญเสียเวลา

ต้นทุนดำเนินงานเพิ่ม

ดำเนินการไม่ได้ตลอดรอดฝั่ง

ทำให้มั่นใจว่าสเปคสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ความจำเป็น

ปรับปรุงความรู้จากตลาด

กำหนดสเปคด้วยฟังชั่นและผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเป็น

3.การกำหนดสเปคบิดเบือน เอนเอียง การตอบสนองจากผู้เสนองานไม่เพียงพอ

การร้องเรียนว่าการจัดซื้อไม่เป็นธรรม

กำหนดสเปคด้วยฟังชั่นและผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเป็น

วางกลไกการควบคุมเพื่อทบทวนสเปคก่อนการเริ่มเปิดตัว

4.การระบุรายละเอียดทั้งหมดของสิ่งที่ต้องการไม่เพียงพอ การนำเสนองานมีความหลากหลาย

การตอบสนองไม่เพียงพอ

สินค้าที่นำเสนอไม่ตรงกับความจำเป็น

มีความยุ่งยากในการประเมินข้อเสนอ

หาทางทำความเข้าใจ และคุ้นเคยกับสิ่งที่ต้องการให้มากที่สุด

กำหนดสเปคด้วยฟังชั่นและผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเป็น

3.รายละเอียดการเลือกวิธีการจัดซื้อ

ประเด็นความเสี่ยง ผลกระทบที่คาดว่าจะเป็น กิจกรรมที่ควรให้ความเห็น
1.ความล้มเหลวในการระบุแหล่งเสนองานที่เป็นไปได้ ขาดข้อเสนอจากผู้เสนอที่เหมาะสม ปรับปรุงกระบวนการวางแผนจัดซื้อจัดจ้าง

ปรับปรุงองค์ความรู้เกี่ยวกับตลาด

ดึงการมีส่วนร่วมจากผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม

เข้าถึงเครือข่ายที่ใช้ค้นหาแหล่งนำเสนอที่เป็นไปได้

2.เลือกวิธีการไม่เหมาะสม จำเป็นต้องแสวงหาแหล่งเสนองานซ้ำ

มีความแปรปรวนของต้นทุนที่เป็นไปได้

ล้มเหลวในการทำให้การจัดซื้อคุ้มค่า

ปรับปรุงนโยบายแนวทางปฏิบัติวิธีการใหม่ให้เหมาะสม

ปรับเอกสารการนำเสนอใหม่และระบุเงื่อนไขการประเมินผลที่ชัดเจน

ให้การอบรมและเพิ่มประสบการณ์แก่บุคลากรอย่างเพียงพอ

สนใจเชิญบรรยายหัวข้อนี้ติดต่อ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้