ความ ปลอดภัย และ ประโยชน์ของการ ติด ตั้ง ของใช้ในบ้าน

พูดได้ว่าไฟฟ้าเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกอีกชนิดหนึ่งที่แทบทุกบ้านจะขาดไม่ได้ ด้วยอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ในปัจจุบันมีมากมายที่ใช้ไฟฟ้า ดังนั้นการรู้ถึงระบบไฟฟ้าภายในบ้านจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในบ้าน อาคาร หรือโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ ๆ

หลักการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน มีอะไรบ้าง

1. เลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัย

การเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้า อาทิเช่น สายไฟ ปลั๊กไฟ จะต้องเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีคุณภาพ หรือได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม อาทิเช่น มอก. เพื่อให้มั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้เลือกมา มีความทนทาน แข็งแรง และปลอดภัยที่จะใช้งาน

2. เลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าให้เหมาะสม

การเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้า ควรจะเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานของเรา เช่น เลือกขนาดสายไฟให้มีขนาดที่สามารถรองรับการใช้งานภายในอาคารได้ หรือไม่เผื่อเยอะเกินไป รวมถึงการเลือกซื้อให้เพียงพอ ไม่เผื่อมากจนเกินไป เพื่อความประหยัดในการติดตั้ง แต่ก็ต้องคำนึงถึงคุณภาพด้วยเพื่อความปลอดภัย

3. ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ถูกต้องตามมาตรฐานของการไฟฟ้า

การติดตั้งสายไฟฟ้า ควรติดตั้งให้มีความเรียบร้อยสวยงาม เป็นระเบียบ โดยเฉพาะสายไฟ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่ควรรู้ต่อการติดตั้งสายไฟ มีดังนี้

3.1 การเลือกสายไฟ – นอกจากสายไฟที่ได้เลือกมาจะได้รับมาตรฐานแล้ว สายไฟที่ใช้ติดตั้งภายในอาคาร ควรจะเป็นสายชนิดที่มีฉนวนหุ้ม เพื่อป้องกันอันตรายจากการที่ไปสัมผัสกับสายไฟโดยตรง

3.2 การเดินสายผ่านหนังหรือกำแพง – ในกรณีที่มีการติดตั้งโดยเจาะทะลุผนัง จะต้องมีวัสดุที่ไม่มีคมหุ้มสายไฟไว้ อาทิเช่น ปลอกพลาสติก หรือขอบยาง เพื่อไม่ให้มีสิ่งมีคมไปทำความเสียหายให้กับสายไฟ

3.3 การจับยึดสายไฟ – ในกรณีที่การติดตั้ง เป็นการติดตั้งแบบติดผนัง ควรจะมีอุปกรณ์จับยึดกับผนัง อาทิเช่น เข็มขัดรัดสาย รางไฟ หรือ ท่อร้อยสายไฟ โดยอุปกรณ์ที่นำมายึดสายจะต้องใช้วัสดุที่ไม่ทำอันตรายต่อฉนวนไฟฟ้า สำหรับเข็มขัดรัดสายจะต้องมีระยะในการยึดสายไฟที่เหมาะสม โดยปกติจะไม่เกิน 20 เซนติเมตร สำหรับท่อร้อยสายไฟ จะเป็นอุปกรณ์ที่มักจะ ร้อยในงานพิเศษ เช่นใต้หนัง ใต้เพดาน เพื่อป้องกันความเสียหายต่อสายไฟ

3.4 ห้ามเดินสายไฟซ้อนกัน – การติดตั้งสายไฟ จะต้องเรียงต่อกันเป็นชั้นเดียว ห้ามเดินสายไฟซ้อนกันเป็นอันขาด

3.5 ไม่ควรเดินสายไฟบนพื้นผิวที่อาจจะเป็นอันตรายกับสายไฟได้ เช่น พื้นผิวที่ไม่มีความแข็งแรง

3.6 ควรเก็บงานตามจุดต่อต่างๆ ให้เรียบร้อย – จุดต่อ หรือรอยเชื่อมต่างๆ ถ้าหากมีการติดตั้งที่ไม่ดีพอ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดไฟช็อต หรือ ไฟฟ้าลัดวงจรได้ ดังนั้นตามจุดรอยต่อต่างๆ ควรติดตั้งให้เรียบร้อยและมีฉนวนไฟฟ้าหุ้มไว้เพื่อความปลอดภัย

4. แยกวงจรไฟฟ้าเป็นระบบย่อย

ไม่ควรติดตั้งระบบไฟฟ้าทั้งหมดทั้งอาคารภายในสวิตช์เดียว ควรแยกวงจรเป็นจุดต่างๆ โดยอาจจะใช้ กล่องพักสายไฟ เป็นตัวแยกวงจรย่อย และสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการใช้ไฟฟ้าเป็นปริมาณมาก อาทิเช่น เครื่องปรับอากาศ ควรจะแยกสวิตช์ต่างหาก และเมื่อมีปัญหาก็สามารถบำรุงรักษาได้ง่ายอีกด้วย

5.เลือกช่างไฟฟ้าที่ไว้ใจได้

สุดท้ายการเลือกช่างไฟฟ้าที่จะเข้ามาติดตั้งระบบไฟฟ้าให้กับเราก็สำคัญเช่นกัน เพราะจะส่งผลถึงต่อความปลอดภัยอีกด้วย

ความหมายของการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์
– คือ การนำความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัสดุต่างๆ การใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

ประโยชน์ของการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง
– สามารถทำให้เราใช้เวลาว่างได้อย่างเกิดประโยชน์
– ทำให้เราสามารถฝึกด้วยตนเองได้
– ทำให้เราเกิดความภาคภูมิใจ และสามารถเป็นแนวคิดที่จะนำไปประกอบอาชีพได้

องค์ประกอบสำคัญในการติดตั้งอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์
– ต้องมีความรู้
– ต้องมีทักษะและเทคนิคในการติดตั้งอุปกรณ์
– ต้องทำงานอย่างเป็นระบบ

ความปลอดภัยในการติดตั้งอุปกรณ์
– แต่งตัวให้รัดกุม
– ศึกษาวิธีการติดตั้งให้ระเอียด

        การดูแลรักษาบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ เป็นหน้าที่ของสมาชิกในบ้านทุกคนที่ดจะต้องช่วยกัน เพื่อความสุขของสมาชิกในบ้าน การรู้จักวางแผนการทำงานที่ดี มีการแบ่งงานกันทำตามความเหมาะสม ตามความถนัด และตามความสามารถของแต่ละคน และมีการปฏิบัติงานตามขั้นตอน มีความปลอดภัยในการทำงาน จะทำให้การทำงานบ้านสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องใช้ในการดำรงชีวิต ดังนั้น จึงควรรู้จักวิธีการประกอบ ติดตั้ง ดูแลบำรุงรักษาและแก้ไขในเบื้องต้น ทั้งนี้เพื่อความสะดวก ปลอดภัย และประหยัดค่าใช้จ่าย

1.1 ศึกษาคุณลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์ เครื่องใช้ประเภทนั้น ๆ  ที่จะนำมาประกอบและติดตั้งภายในบ้าน

1.2 กำหนดตำแหน่ง สถานที่ติดตั้ง เครื่องใช้ภายในบ้านให้เหมาะสมกับการใช้งานและมีความปลอดภัย เช่น พื้น ผนังบ้านเป็นไม้หรือคอนกรีต เป็นต้น

1.3 ศึกษาวิธีการประกอบและติดตั้งอุปกรณ์ เครื่องใช้ภายในบ้านแต่ละประเภทซึ่งล้วนแตกต่างกันไป เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทเครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องซักผ้า จำเป็นจะต้องต่อสายดินเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ เป็นต้น

1.4 อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ควรติดตั้งในสถานที่มีความชื้นมาก

1.5 จัดเตรียมเครื่องมือสำหรับประกอบและติดตั้งให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่ติดตั้ง

1.6 ประกอบและติดตั้งอุปกรณ์ เครื่องใช้ภายในบ้านตามคู่มือที่ผู้ผลิดแนะนำ และทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ เครื่องใช้ ภายหลังจากที่ทำการติดตั้งสำเร็จเรียบร้อยแล้ว

ของใช้ในบ้าน คือ สิ่งของที่แทบจะทุก บ้าน มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ เช่น เตาแก๊ส ไมโครเวฟ ทีวี ตู้เย็น อุปกรณืทำความสะอาดต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อเป็นการทำให้ของใช้ในบ้านเราใช้ได้ไปนาน ๆ และเพื่อเช็คว่าของใช้ในบ้านเรานั้นได้เวลาทำความสะอาดหรือยัง วันนี้เราจึงจะนำวิธีการการดูแลรักษาของใช้ในบ้านมาแนะนำให้กับทุก ๆ ได้ลองทำกัน ไปดูกันเลยว่าจะเป็นยังไงกันมาไปชมพร้อม ๆ กันเลย

การดูแลรักษาของใช้ในบ้าน

หลักการดูแลรักษาสมบัติภายใน บ้าน ให้สะอาดเรียบร้อย มีหลักการดังนี้

  • วางแผนการทำงานก่อนลงมือทำว่า จะอะไร เพราะอะไรจึงต้องทำ จะเริ่มทำ และจะทำเสร็จเมื่อไร
  • เตรียมเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม ถ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องดูดฝุ่น ควรสำรวจความเรียบร้อยก่อนนำมาใช้งาน
  • ใช้เวลาในการทำงานให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่า เช่น ระหว่างรอข้าวสุก ก็อาจทำงานงานอย่างอื่นด้วย เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน
  • ทำงานตามที่วางแผนไว้อย่างรอบคอบ และระมัดระวัง
  • ตรวจดูความเรียบร้อยเมื่อทำงานเสร็จ ถ้าพบข้อบกพร่องควรรีบแก้ไข

ประโยชน์ของการดูแลรักษาสมบัติภายในบ้าน

  • สมบัติภายในบ้านสะอาด สวยงามน่าใช้
  • ประหยัดรายจ่ายของครอบครัวในการซ่อมแซมหรือซื้อใหม่
  • สร้างลักษณะนิสัยที่ดีในการใช้สิ่งของอย่างรู้คุณค่า
  • ยืดอายุการใช้งานของสมบัติภายในบ้าน
  • ฝึกให้รู้จักหน้าที่ และความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกคนหนึ่งในบ้าน

การทำความสะอาดพื้นบ้าน

  • พื้นไม้ และพิ้นที่ปูด้วยเสื่อน้ำมัน ให้กวาดด้วยไม้กวาดดอกหญ้า แล้วถูด้วยผ้าชุบบิดหมาด ๆ
  • พิ้นหินขัด พิ้นซีเมนต์ และพื้นที่ปูด้วยกระเบื้อง ถ้าหากพื้นที่ไม่สกปรกมาก จะใช้วิธีทำความสะอาดเหมือนพื้นไม้ แต่ถ้าพื้นสกปรกมาก ควรใช้น้ำผสมผงซักฟอกราดและใช้แปรงขัดให้สะอาด จากนั้นราดน้ำเปล่าตามให้หมดคราบน้ำผสมผงซักฟอกจนพื้นสะอาด แล้วใช้ผ้าถูให้แห้ง

ของใช้ในบ้านที่เราใช้อยู่ได้เวลาทำความสะอาดแล้วหรือยัง ?

ความ ปลอดภัย และ ประโยชน์ของการ ติด ตั้ง ของใช้ในบ้าน

ของใช้ในบ้านที่หลายคนสงสัยว่า ทำความสะอาดบ่อยแค่ไหนถึงจะดี วันนี้เรามีคำตอบสำหรับความถี่และจำนวนในการทำความสะอาดสิ่งของในบ้านแต่ละชนิดมาบอกกันแล้ว

การทำความสะอาดเป็นสิ่งที่คู่ควรกับบ้าน แต่ถ้าทำน้อยไปก็ถือว่าไม่ดีหรือทำมากไปก็อาจจะเกิดความเสียหายเอาได้ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งของชิ้นใดควรทำความสะอาดบ่อยแค่ไหนถึงจะเหมาะสม ไม่ใช่เรื่องยากเลยครับ เพราะวันนี้เราได้นำเอาข้อมูลที่เกี่ยวกับจำนวนครั้งในการทำความสะอาดสิ่งของต่าง ๆ อย่างเหมาะสมมาฝากกัน แล้วสิ่งของที่ว่านั้นจะมีอะไรบ้าง และควรทำความสะอาดบ่อยแค่ไหนกัน อยากรู้ตามไปดูกันเลย Home

1. ผ้าปูที่นอน

แม้ว่าผ้าปูที่นอนจะเป็นสิ่งของที่ดูไม่ค่อยมีคราบ แต่ก็ใช่ว่ามันจะสะอาดปลอดภัยไร้เชื้อโรค ทั้งฝุ่นควันที่ลอยอยู่ในอากาศและคราบเหงื่อไคลจากร่างกาย ต่างก็ทำให้เกิดความสกปรกและอาจนำมาซึ่งกลิ่นเหม็นอับ ทางที่ดีควรทำความสะอาดโดยการซักผ้าปูที่นอนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ด้วยน้ำร้อนและอบลมร้อนอีกครั้งเพื่อให้มั่นใจว่าสะอาดอย่างแท้จริง วิธีนี้สามารถนำไปซักกับผ้านวมได้ด้วยนะ

2. หมอน

การทำความสะอาดหมอนหนุนที่ดีนั้น ควรทำประมาณปีละ 2-3 ครั้ง หรือทุก ๆ 6 เดือน ด้วยการนำหมอนไปซักในเครื่องซักผ้า ใช้น้ำยาซักผ้าสูตรอ่อนโยน และนำไปอบในเครื่องอบผ้าอีกครั้งเพื่อฆ่าเชื้อโรคให้หมดไป คราวนี้จะหนุนหมอนนอนท่าไหน ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องสิ่งสกปรกอีกต่อไปแล้ว

3. แผ่นรองนอน

สิ่งของที่มีขนาดใหญ่อย่าง แผ่นรองนอน ไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดบ่อยเป็นประจำทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน แต่ควรทำความสะอาดอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ด้วยการใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดฝุ่นและไรฝุ่น แล้วใช้น้ำสบู่ถูและขัดคราบเบา จากนั้นนำผ้าชุบน้ำเย็นมาซับออก แต่อย่างไรก็ตามทางที่ดีควรจะเลือกซื้อผ้าปูที่นอนและแผ่นรองนอนที่มีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันไรฝุ่น เพื่อป้องกันตั้งแต่ต้นลมดีกว่า

4. เตาอบและไมโครเวฟ

ถ้าหากว่าไม่ค่อยได้ทำอาหารจากเตาอบบ่อยนัก บวกกับว่าไม่ค่อยมีคราบหนักให้ต้องรีบกำจัดโดยด่วน ก็ควรจะทำความสะอาดเตาอบทุก ๆ 6 เดือน แต่ถ้าใช้งานบ่อยแนะนำให้ทำความสะอาดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ด้วยการถอดตะแกรงและแผงรองอาหารด้านในไปแช่ในน้ำสบู่ที่ผสมน้ำร้อน จากนั้นนำน้ำสบู่ที่ผสมเบกกิ้งโซดามาพ่นภายในเตาอบให้ทั่ว ขยำกระดาษหนังสือพิมพ์ไปยัดไว้ที่ใต้ประตูเตาอบเพื่อกันสเปรย์ไหลลงพื้น ทิ้งไว้ 1 คืน หลังจากนั้นให้ผสมน้ำสบู่เหลวกับน้ำอุ่นมาเช็ดทำความสะอาดภายใน ตามด้วยผ้าชุบน้ำสะอาด ๆ เช็ดซ้ำอีกครั้งก็เป็นอันเสร็จ เปิดประตูระบายไว้สัก 2-3 วัน ให้กลิ่นน้ำยาทำความสะอาดระเหยไปก่อนจึงค่อยใช้งานต่อ

5. เคาน์เตอร์ครัว

อาหารสารพัดชนิดที่เรานำมาปรุงในห้องครัว ต่างก็สร้างความสกปรกไม่ใช่น้อย โดยเฉพาะเคาน์เตอร์ครัว ดังนั้นทุกครั้งหลังปรุงอาหารเสร็จก็อย่าลืมเช็ดเคาน์เตอร์ครัวให้สะอาดด้วยนะคะ และทำความสะอาดครั้งใหญ่ทุก ๆ สัปดาห์ เน้นบริเวณอ่างล้างจานและรอบ ๆ เพราะส่วนนั้นมักจะมีเศษอาหารและสิ่งสกปรกกระเด็นมาติดอยู่มาก และสุดท้ายอย่าลืมซักทำความสะอาดฟองน้ำรวมไปถึงผ้าเช็ดอเนกประสงค์ในครัวด้วย เพื่อช่วยลดปริมาณเชื้อโรคให้น้อยลง การตกแต่งบ้าน

6. ตู้เย็น

ถึงตู้เย็นสมัยใหม่จะมีระบบที่ช่วยป้องกันและกำจัดแบคทีเรียในตัว แต่เราก็ไม่ควรชะล่าใจเพราะอะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้ ไม่ต้องรอให้มีสัญญาณแจ้งเตือนการทำความสะอาด เราควรตั้งเวลาไว้เลยว่าต้องทำความสะอาดตู้เย็นเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อความสะอาดและปลอดภัยของอาหารที่นำไปแช่

7. เครื่องซักผ้า

แม้ว่าเครื่องซักผ้าจะช่วยกำจัดสิ่งสกปรกออกจากเสื้อผ้าได้ แต่สุดท้ายแล้วสิ่งสกปรกเหล่านั้นกลับมาตกอยู่ที่เครื่องซักผ้าซะเอง ไหนจะความชื้นที่ก่อให้เกิดเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียอื่น ๆ อีกมากมาย อย่างเช่น ซาลโมเนลลา (Salmonella ) และอีโคไล (E. coli.) หากปล่อยไว้เชื้อเหล่านี้ก็จะแพร่กระจายอยู่ภายในเครื่องจนลามไปติดเสื้อผ้า ทางที่ดีทุกครั้งที่ซักชุดชั้นใน ผ้าขี้ริ้ว หรือผ้าขาว แนะนำให้เปิดระบบน้ำร้อนและซักด้วยสารฟอกขาว จะได้ทำความสะอาดแบบยิงปืนนัดเดียวได้ทั้งเสื้อผ้าสะอาดและเครื่องซักผ้าสะอาดไปพร้อมกัน

8. วงกบหน้าต่างและรางประตู

หลายคนมักจะละเลยการทำความสะอาดส่วนนี้ไป ซึ่งจริง ๆ แล้วมันก็เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคไม่แพ้ส่วนอื่นของบ้านเลยก็ว่าได้ ควรจะทำความสะอาดด้วยน้ำยาที่ผสมเองจากน้ำยาล้างจาน 5 หยด แอลกอฮอล์ 1 ช้อนชา และน้ำเปล่า 2 แกลลอน คนให้เข้ากัน ระหว่างนั้นต้องเปิดบานหน้าต่างและประตูให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกด้วย จากนั้นนำฟองน้ำมาชุบส่วนผสมแล้วขัดถูวงกบให้ทั่ว ตามด้วยใช้ผ้าสะอาดหรือแผ่นกรองกาแฟเช็ดตามอีกครั้ง 

9. หน้าต่างมุ้งลวด

นอกจากวงกบที่ต้องทำความสะอาดแล้ว หน้าต่างมุ้งลวดก็ต้องทำความสะอาดเช่นเดียวกัน โดยทำความสะอาดประมาณปีละ 1 ครั้ง ด้วยส่วนผสมของแอมโมเนีย 1 ส่วน และน้ำสะอาดอีก 3 ส่วน นำมาถูที่มุ้งลวด ตากทิ้งไว้ให้แห้ง ทั้งนี้ควรจะลงมือทำในพื้นที่ที่เปิดโล่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกด้วย เพื่อไม่ให้เหม็นกลิ่นแอมโมเนีย

10. พรม

อย่างที่เรารู้กันดีว่า พรม เป็นแหล่งสะสมฝุ่นละออง ดังนั้นจะทำความสะอาดพรมบ่อยแค่ไหนก็ได้ ด้วยการใช้เครื่องดูดฝุ่นในขั้นพื้นฐาน แต่ก็ต้องมีการทำความสะอาดพรมครั้งใหญ่ ปีละ 1 ครั้งด้วย เริ่มจากฉีดพ่นสเปรย์ทำความสะอาดลงบนพรม แล้วใช้ไม้ถูพื้นระบบไอน้ำถูให้ทั่วเพื่อฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ที่อยู่ในพรมให้หมดไป

11. กระเบื้องห้องน้ำ

นอกจากสุขภัณฑ์ที่เราต้องรักษาความสะอาดอยู่เป็นประจำแล้ว กระเบื้องในห้องน้ำก็เป็นอีกหนึ่งส่วนที่ต้องทำความสะอาดอย่างจริงจังอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เน้นบริเวณที่เลอะคราบปัสสาวะบ่อย ๆ ด้วยสเปรย์น้ำยาล้างจาน น้ำสบู่ผสมน้ำส้มสายชู และน้ำมะนาวผสมเบกกิ้งโซดา 

12. อ่างอาบน้ำ

ใครที่ชอบนอนแช่ตัวในอ่างอาบน้ำคงต้องดูหน่อยแล้ว เพราะผลจากการวิจัยพบว่า สาเหตุหลักที่ทำให้เป็นโรคติดต่อทางผิวหนัง มาจากแบคทีเรียในอ่างอาบน้ำถึง 26% เมื่อเทียบกับถังขยะที่มีแค่ 6% ซึ่งมากกว่าหลายเท่าตัวจนน่ากลัว ถ้าไม่อยากอาบน้ำไปพร้อม ๆ กับเหล่าเชื้อโรคหรือแบคทีเรียที่ทำให้เสี่ยงติดเชื้อทางผิวหนัง ควรหมั่นทำความสะอาดอ่างอาบน้ำทุกสัปดาห์

13. เฟอร์นิเจอร์ไม้

เฟอร์นิเจอร์ไม้มีราคาค่อนข้างสูงดังนั้นเราจึงต้องดูแลเรื่องความสะอาดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ด้วยการนำผ้าชุบน้ำบิดหมาดมาเช็ดทำความสะอาด 1 รอบ แล้วตามด้วยผ้าผืนแห้งเช็ดซ้ำอีกครั้ง ลงแว็กซ์คาร์นัวบา (Carnauba Wax) โดยเช็ดให้เป็นวงกลม ทิ้งไว้ 2-3 นาที เช็ดซ้ำด้วยผ้าสะอาด ๆ จนกว่าไม้จะเงางาม

เป็นอย่างไรบ้าง มีใครทำความสะอาดได้ตามจำนวนครั้งที่ถูกต้องบ้างไหมครับ แต่ถ้าใครยังไม่แน่ใจว่าจะต้องทำความสะอาดบ่อยแค่ไหน ก็ลองนำข้อมูลที่นำมาฝากกันในวันนี้ไปลองปรับใช้ให้เหมาะสมด้วยนะครับ เพื่อความสะอาดภายในบ้าน