ทางเดินหายใจ อักเสบ เรื้อรัง

โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจเช่น โพรงจมูกอักเสบภูมิแพ้ โรคหืด เป็นโรคเรื้อรังและมีโอกาสหายได้ยาก ทั้งสองโรคนี้พบร่วมกันได้ในคนเดียวกัน โดยพบว่า 2 ใน 3 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคหืดมีภาวะโพรงจมูกอักเสบภูมิแพ้ ส่วนคนที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้นั้น 1 ใน 3 มีโรคร่วมด้วย โดยภาวะจมูกอักเสบภูมิแพ้จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหืดมากกว่าคนปกติถึง 3-5 เท่า หากไม่รักษาภาวะนี้ก็จะเป็นโรคหืดตามมาภายหลังได้ ซึ่งทั้งสองโรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง และมีโอกาสหายได้น้อย

การศึกษาในเด็กที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ พบว่าเมื่อตามอาการไป 5 ปี มีโอกาสหายได้โดยร้อยละ 12 การศึกษาในผู้ใหญ่จำนวน 734 คนที่เป็นโรคนี้พบว่า เมือติดตามไป 8 ปีจะมีโอกาศหายได้ร้อยละ 12-38 โดยที่ถึงแม้คนไข้กลุ่มนี้จะไม่มีอาการแล้วแต่คนไข้ส่วนใหญ่ผลการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังยังผิดปกติอยู่ คือเป็นบวกต่อสารก่อภูมิแพ้

การศึกษาในผู้ใหญ่เมื่อติดตามอาการไปอย่างน้อย 30 ปีพบว่าหากไม่รักษาโรคจมูกอักเสบจะมีโอกาสหายได้ร้อยละ 40  ที่เหลืออาจมีภาวะแทรกซ้อนเช่น ไซนัสอักเสบ และเป็นโรคหืดได้ การรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ให้ดี จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหืดในอนาคตได้

สำหรับการหายของโรคหืดขึ้นอยุ่กับช่วงอายุ กรณีเป็นเด็กโอกาสหายพบได้ร้อยละ 6-33 ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ถ้ามีอาการตั้งแต่เล็กและหอบบ่อยโอกาสหายก็ค่อนข้างน้อย โดยช่วงอายุของเด็กที่หายมักอยู่ในช่วงอายุ 14-21 ปี ส่วนผู้ใหญ่อัตราการหายร้อยละ 11-52 แต่ถึงแม้ว่าจะหายแล้วบางคนก็มีอาการกลับเป็นซ้ำได้ โดยปัจจัยที่มีผลต่อการหายขึ้นอยู่กับ ความรุนแรงของโรค โรคที่พบร่วมเช่นจมูกอักเสบภูมิแพ้ หากพบร่วมด้วยจะหายยากกว่า ภาวะอ้วนทำให้เพิ่มความเสี่ยงทำให้ไม่หาย ส่วนการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดทำให้หายได้มากขึ้น

กล่าวโดยสรุปคือ ปัจจัยที่มีผลต่อการหายของโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค การปรับพฤติกรรมโดยใช้ 4Es (eating-ลดน้ำหนัก, environment-หลีกเลี่ยงส่งกระตุ้น, exercise-ออกกำลังกาย, emotion-ทำจิตใจให้แจ่มใสไม่เครียด) สำหรับการรักษาทั่วไปทำให้ไม่มีอาการของโรค แต่ไม่ได้เปลี่ยนธรรมชาติของโรค มีเพียงการรักษาเดียวที่สามารถเปลี่ยนธรรมชาติของโรคและทำได้หายได้คือ การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดหรือวัคซีนภูมิแพ้

เรียบเรียงโดย : ศ.ดร. พญ.อรพรรณ โพชนุกูล
กุมารแพทย์ ผู้ชำนาญการด้านโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยา

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

  • ศูนย์ภูมิแพ้
    8.00-20.00  (BKK Time)
    Hot line tel. +662 011 3593

    20.00-8.00 (BKK Time)
    เบอร์ Contact center +662 066 8888 และ 1378


หมวดหมู่สุขภาพ

หมวดหมู่สุขภาพ

เครื่องมือโปรด

ค้นหาชุมชนของคุณ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ชุมชน

ชุมชนคือพื้นที่ปลอดภัยที่คุณสามารถพูดคุยกับสมาชิกคนอื่น ๆ แสดงความคิดเห็นในหัวข้อที่สนใจ และรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ในประเด็นด้านสุขภาพที่สำคัญที่สุด

ยินดีต้อนรับ! คุณ !

เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่คุณร่วมเป็นส่วนหนึ่งในชุมชนของเรา จากนี้เราจะสุขภาพดีและมีความสุขมากกว่าที่เคย นี่คือเรื่องราวใหม่ ๆ ใน Hello คุณหมอ

มาดูกันว่ามีอะไรใหม่ ๆ บ้าง

โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง จัดเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรังร่วมกับมีเสมหะเหนียวข้น นานตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปภายในระยะเวลา 1 ปี และมีอาการติดต่อกันอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป สาเหตุหลักเกิดจากการสูบบุหรี่ ควันบุหรี่ หรือมลภาวะทางอากาศ

เรื่องเด่นประจำหมวด

ความหมาย หลอดลมอักเสบ

Share:

หลอดลมอักเสบ (Bronchitis) เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุหลอดลม ซึ่งเป็นท่อที่นำลมหรืออากาศเข้าสู่ปอด มีผลทำให้เยื่อบุหลอดลมบวม และมีเสมหะที่หลอดลม นำมาสู่อาการทางระบบหายใจต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่จะมีการพัฒนามาจากโรคไข้หวัด หรือการติดเชื้อที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหลอดลมอักเสบเกิดขึ้นได้ 2 ชนิด โดยที่พบทั่วไปจะเป็นโรคหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลัน และโรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง ซึ่งเป็นกรณีที่รุนแรงกว่า

อาการของหลอดลมอักเสบ

อาการอาจเริ่มต้นด้วยการเป็นหวัด ครั่นเนื้อครั่นตัว มีน้ำมูก แสบคอ หากเริ่มรู้สึกแน่นหน้าอกพร้อมกับมีเสมหะในคอ และมีอาการไอ นั่นอาจเป็นอาการที่แสดงของโรคหลอดลมอักเสบในเบื้องต้น

หลอดลมอักเสบทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง มีอาการที่สำคัญดังนี้

  • ไอ ถือเป็นอาการที่สำคัญที่สุดของโรคนี้ บางครั้งอาจเจ็บหน้าอกขณะที่ไอ
  • มีเสมหะ มีทั้งแบบไม่มีสี อาจมีสีเหลือง หรือเขียว บางรายอาจมีเลือดปนอยู่ด้วย แต่จะพบได้น้อย
  • แสบคอ หรืออาการเจ็บคอร่วมอยู่ด้วย  
  • หายใจลำบาก หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงหวีด หรือมีอาการแน่นหน้าอก
  • ไข้ มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัวก่อน ซึ่งผู้ป่วยอาจมีไข้ หรือไม่มีไข้ก็ได้

ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลัน ผู้ป่วยอาจมีอาการไอต่อเนื่องหลายสัปดาห์ ถึงแม้ว่าการติดเชื้อจะหายแล้ว สำหรับผู้ป่วยหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง จะมีอาการไออย่างรุนแรงอย่างน้อยปีละ 3 เดือน ติดต่อกัน 2 ปี ขึ้นไป ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรังจะมีระยะที่มีอาการแย่ลง โดยอาจเริ่มมาจากหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลันก่อน

สาเหตุของหลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากแบคทีเรียและไวรัส แต่โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งเชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุ ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) อะดิโนไวรัส (Adenovirus) ไรโนไวรัส (Rhinovirus) เป็นต้น บางรายอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ไมโคพลาสมา (Mycoplasma) หรือคลาไมเดีย (Chlamydia)

อีกปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ คือ การสูบบุหรี่ หรือผู้ต้องอยู่กับคนที่สูบบุหรี่บ่อย ๆ รวมไปถึงมลภาวะทางอากาศ ฝุ่น ก๊าซพิษต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมที่ต้องพบในชีวิตประจำวัน ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การเป็นโรคได้

การวินัจฉัยหลอดลมอักเสบ

การวินิจฉัยในผู้ป่วยที่เพิ่งมีอาการในช่วงวันแรก ๆ นั้นจะแยกแยะลักษณะอาการได้ยากเนื่องจากโรคหลอดลมอักเสบในระยะแรกจะมีอาการคล้ายหรือเหมือนกับอาการของไข้หวัด ในระหว่างการตรวจร่างกาย แพทย์จะใช้อุปกรณ์หูฟัง (Stethoscope) ฟังปอดจากการหายใจของผู้ป่วย และเพื่อให้ได้ผลที่แม่นยำมากขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ดังนี้

  • เอกซเรย์หน้าอก จะช่วยให้สามารถระบุโรคได้ง่ายขึ้นหากผู้ป่วยเป็นปอดอักเสบ หรือทำให้ทราบถึงอาการเจ็บป่วยอื่น
  • ตรวจการทำงานของปอด แพทย์จะให้เป่าเครื่องสำหรับวัดอัตราการหายใจที่ปอดสามารถรับได้ และความเร็วในขณะที่อากาศออกจากปอด การตรวจชนิดนี้จะทำให้สามารถตรวจหาอาการของโรคหอบหืด และอาการผิดปกติเรื้อรังของปอด
  • ตรวจเสมหะ หรือเพาะเชื้อจากเสมหะ สำหรับผูู้ป่วยที่มีอาการไอและมีเสมหะ แพทย์สามาถวินัจฉัยหาสาเหตุและสามารถให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคได้

การรักษาหลอดลมอักเสบ 

โดยส่วนใหญ่ หลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลันสามารถหายได้เองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์โดยไม่ต้องรับการรักษา อย่างไรก็ตาม ในขณะนั้น ผู้ป่วยจะต้องดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ แต่สำหรับผู้ป่วยบางราย แพทย์อาจแนะนำให้ได้รับการรักษาเพิ่มเติม ซึ่งได้แก่

  • ยาแก้ไอ
    อาการไอเป็นอาการหลักของโรคหลอดลมอักเสบ ซึ่งอาจบรรเทาได้ด้วยยากลุ่มกดอาการไอ (Antitussives) และยาขยายหลอดลม (Bronchodilators) บางรายที่มีเสมหะร่วมด้วยอาจใช้ยาขับเสมหะ (Expectorants) หรือยาละลายเสมหะ (Mucolytics) อย่างยาคาร์โบซิสเทอีน 2.25 กรัมต่อวัน (Carbocysteine) ยาบรอมเฮกซีน (Bromhexine) ครั้งละ 8-16 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง และยาเอ็นอะซิทิลซิสเทอีน (N-Acetyl-Cysteine) หรือ NAC 600 มิลลิกรัมต่อวัน ยากลุ่มนี้จะช่วยให้ร่างกายขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น โดยเสมหะที่ลดลงอาจช่วยให้หลอดลมโล่งและบรรเทาอาการไอได้ ปริมาณยาอาจเปลี่ยนแปลงตามอายุและโรคประจำตัวของผู้ป่วยในปัจจุบัน ยาแก้ไอมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นยาน้ำ ยาเม็ด ย่าพ่น รวมถึงยาชนิดเม็ดฟู่ละลายน้ำ ซึ่งตัวยาเม็ดฟู่ที่ละลายน้ำอาจช่วยให้ร่างกายดูดซึมและนำไปใช้ได้เร็วขึ้น จึงอาจเหมาะสมสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการกลืนยาและผู้ที่มีปัญหาในการดูดซึมหากรู้สึกระคายคอหรือรำคาญอาการไอในระหว่างวันอาจเลือกใช้สเปรย์พ่นคอที่มีส่วนผสมจากสารสกัดสมุนไพรที่มีฤทธิ์ลดการระคายเคืองและให้ความชุ่มชื้นภายในลำคอ เช่น คาโมไมล์ เปปเปอร์มินต์ น้ำมันสน มะกรูด และยูคาลิปตัส เป็นต้น ผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถใช้ได้ตั้งแต่ช่วงแรกที่เริ่มเจ็บคอหรือมีอาการไอที่ไม่รุนแรง
  • ยาปฏิชีวนะ
    หลอดลมอักเสบมักมาจากเชื้อไวรัส ซึ่งยาปฏิชีวนะจะรักษาไม่ได้ผลดีนัก อย่างไรก็ตามแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะในรายที่เป็นหลอดลมอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • การรักษาด้วยยาอื่น ๆ
    หากผู้ป่วยเป็นภูมิแพ้ โรคหืด หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease: COPD) แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาพ่นเข้าปอด หรือการรักษาโดยใช้ยาอื่น ๆ ที่ช่วยลดการติดเชื้อ

ในบางรายอาจมีอาการของหลอดลมอักเสบอยู่นาน หากมีอาการนานอย่างน้อยปีละ  3 เดือน ติดต่อกัน 2 ปี จะทำให้กลายเป็น หลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง  

ภาวะแทรกซ้อนของหลอดลมอักเสบ

ภาวะแทรกซ้อนมักจะเกิดมากจากการรักษาที่ไม่ถูกต้อง จากการติดเชื้อของหลอดลมจนลามไปที่ปอด ซึ่งมีผลทำให้เกิดปอดอักเสบ (Pneumonia) ได้ หากปล่อยเอาไว้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและผู้ป่วยปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง ก็อาจทำให้อาการแย่ลงจากเป็นหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลัน อาจกลายเป็นหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรังได้ หรือในกรณีที่เลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีกอาจทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคถุงลมโป่งพองได้

นอกจากนั้นการเกิดซ้ำของโรคหลอดลมอักเสบในช่วงระยะเวลาเพียงสั้น ๆ อาจนำไปไปสู่การพัฒนาให้เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้อีกด้วย โดยโรคนี้เป็นสาเหตุสำคัญทำให้ผู้ป่วยมีอาการหอบเหนื่อย อาจค่อย ๆ เป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ในกรณีที่มีอาการรุนแรงมากจะทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยแม้กระทั่งอยู่เฉย ๆ ซึ่งอาการเหล่านี้ทำให้สภาพจิตใจและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลงด้วย

วิธีป้องกันหลอดลมอักเสบ

โดยทั่วไปหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลันสามารถหายเองได้ในเวลาอันสั้น โดยที่ผู้ป่วยต้องดูแลรักษาตัวเองอย่างเหมาะสม เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำลง ได้แก่ ความเครียด นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือต้องสัมผัสอากาศที่เย็นมาก ๆ ระมัดระวังคนรอบข้างที่เป็นโรคซึ่งอาจแพร่เชื้อให้ได้

ที่สำคัญในผู้ป่วยโรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงควัน ฝุ่น สารเคมี และสารระคายเคืองต่างๆ รวมไปถึงการป้องกันอื่น ๆ เช่น หมั่นล้างมือให้สะอาดอยูู่เสมอ ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อมีอาการป่วยเพื่อไม่ให้แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้

อย่างไรก็ตาม การดูแลรักษาร่างกายให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ผู้ป่วยห่างไกลโรคต่าง ๆ ได้อย่างแท้จริง เช่น หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเน้นการออกกำลังกายที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและหายใจเร็วขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น วิ่ง เดินเร็ว หรือว่ายน้ำ เป็นต้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้