ลาออกจาก มหา ลัย ทำเรื่อง กี่วัน

นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง จะมีสถานภาพการเป็นนักศึกษาจนครบระยะเวลาตามหลักสูตรเมื่อลงทะเบียนเรียนอย่างสม่ำเสมอ หากนักศึกษาต้องการลาออกจากการเป็นนักศึกษา สามารถดำเนินการได้ดังนี้

ช่องทางการลาออกจากการเป็นนักศึกษา

ดำเนินการที่มหาวิทยาลัย/สาขาวิทยบริการฯ

นักศึกษาส่วนกลาง: ดำเนินการได้ที่ ฝ่ายทะเบียนประวัติ อาคาร สวป. ชั้น 2
นักศึกษาส่วนภูมิภาค : ดำเนินการได้ที่ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติทุกแห่ง
เวลาให้บริการ: วันจันทร์-ศุกร์ 8.30-16.00 น. ปิดบริการในวันหยุดราชการ

ดำเนินการผ่านทางไปรษณีย์

นักศึกษาที่ต้องการลาออกจากการเป็นนักศึกษาผ่านทางไปรษณี ให้แนบหลักฐานต่อไปนี้

  1. ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม (ดาวน์โหลด) และกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
  2. สำเนาบัตรประจำตัวนักศึกษา รับรองสำเนาถูกต้อง
  3. สำเนาบัตรประชาชน รับรองสำเนาถูกต้อง

    จากนั้นนำเอกสารใส่ซอง ส่งมาถึงมหาวิทยาลัย
    จ่าหน้าซองมาที่ : ฝ่ายทะเบียนประวัตินักศึกษา สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล มหาวิทยาลัยรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

ดำเนินการผ่านทางอีเมล

นักศึกษาที่ต้องการลาออกจากการเป็นนักศึกษาผ่านทางอีเมล ให้แนบหลักฐานต่อไปนี้

  1. ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม (ดาวน์โหลด) และกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
  2. สำเนาบัตรประจำตัวนักศึกษา รับรองสำเนาถูกต้อง
  3. สำเนาบัตรประชาชน รับรองสำเนาถูกต้อง

    ส่งมาที่อีเมล

ตรวจสอบรายชื่อการลาออก

เมื่อนักศึกษายื่นแบบคำร้องขอลาออกจากการเป็นนักศึกษาไว้ สามารถตรวจสอบรายชื่อการลาออกจากการเป็นนักศึกษาได้ตั้งแต่หลังจากวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ได้ที่
– ฝ่ายทะเบียนประวัตินักศึกษา อาคาร สวป.​ ชั้น 2
– บอร์ดประชาสัมพันธ์ ชั้น 1-2 อาคาร สวป.
– เว็บไซต์ สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล(สวป.) www.regis.ru.ac.th

บัตรประจำตัวนักศึกษาหาก จะลาออกได้ไหม ?

ภาพหน้าจอจากเพจ สวป.ม.รามคำแหง(สืบค้น22/8/65)

ตามที่สำนักบริการทางวิชาการกำหนดให้แนบหลักฐานที่ต้องใช้คู่กับแบบฟอร์มการลาออกได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาบัตรประจำตัวนักศึกษา หากนักศึกษาทำบัตรประจำตัวนักศึกษาหาย ให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเพียงอย่างเดียว

(เล่า) ลาออกจากมหาวิทยาลัย by A.i.First

สวัสดีเพื่อนๆ ชาวมัธยัสถ์ทุกคนครับ พอดีวันก่อนได้มีโอกาสไปลาออกด้วยตัวเองถึงที่ จึงเกิดความอยากเขียนเล่าถึงประสบการณ์เป็นบทความดีๆ ไว้ที่ไซต์นี้ซักบทความนะครับ ^ ^

ออก…

ความจริงแล้ว ก่อนที่ผมจะเริ่มต้นเขียนบทความนี้ ก็ลองค้นหาสิ่งอ้างอิงที่เกี่ยวข้องมากมายตามเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “อัตราการ “ซิ่ว” ของนศ. ไทย”ผิดคาด! ไม่น่าเชื่อเลยว่าอัตราจะสูงมากขนาดนี้… สูงเกินกว่าที่คาดไว้มากนัก จนทำให้เกิดความรู้สึกปวดใจเกินกว่าจะรับไหว…

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผมก็เป็นหนึ่งในคนพวกนั้นเหมือนกัน ไม่ได้อยากจะบอกว่า “พวกนั้น” เป็นคนไม่ดีหรอกนะ หากแต่คิดในแง่ดีว่า “มีเพื่อนร่วมชะตากรรมมากมาย”(ฮา) ก็ทำให้รู้สึกดีขึ้นมา แต่ว่าความเป็นจริงแล้ว “การซิ่ว” ก็คือ

สิ่งที่เกิดขึ้นกับคนที่ไม่รู้ความสามารถที่ตรงกับความชอบของตัวเอง

แล้วเลือกเดินทางผิด… แม้อาจจะด่วนสรุปไปซักนิด แต่การที่ตัวเลขสูงขนาดนี้ ก็สามารถบอกได้แล้วว่า “ระบบการศึกษา” ของประเทศสารขันนี้ ไม่สามารถทำให้เด็กค้นหา “ความชอบ” ของตัวเองเจอ กว่าจะรู้ตัวก็ต้องอยู่กับสิ่งที่ “ไม่ใช่” ไปเสียแล้ว หากมีความอดทนพอก็สามารถเรียนจนจบได้ แต่หากเจ้าตัวคิดถึงอนาคตว่าต้องอยู่กับสิ่งที่ไม่ชอบไป “ทั้งชีวิต” สุดท้ายก็มักแก้ไขปัญหาด้วยการซิ่วนั่นเอง

หนึ่งในตัวอย่างที่พบเห็นได้ทั่วไปครับ ลองอ่านกันดูได้นะ ^ ^

เอาล่ะ เกริ่นมามากพอแล้ว เข้าเรื่องกันเถอะ ^ ^ แน่นอนว่าการซิ่ว สิ่งที่ต้องทำอย่างแน่นอนก็คือ “การลาออก” จากที่เก่า เพื่อไปเรียนต่อที่ใหม่นั่นเอง ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็น่าจะไม่เคยลาออกจากที่ไหนมาก่อน บทความนี้จึงเกิดขึ้น เพื่อต้องการไกด์ “น้องๆ” รุ่นหลัง ที่จนแล้วจนรอด ก็เลือกที่จะซิ่ว ได้ลองอ่านบทความนี้ดูเป็นแนวทางครับ ^ ^

สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกสุด! คือไปรับใบ “คำร้องขอลาออก” จากสำนักทะเบียน นำมันกลับมาบ้านก่อนได้ เพราะจำเป็นต้องให้ผู้ปกครองเซ็นต์ยินยอมพร้อมใจด้วย ขอแนะนำว่าให้ทำใน วัน-เวลา ราชการจะดีที่สุด (ปิดเทอมก็ได้นะ เผื่อใครอายเพื่อนๆ ก็สามารถ)

เตรียมตัวก่อนดำเนินการ ทำตามซะ!

1.ใบคำร้องขอลาออกที่รับมา กรอกแบบฟอร์มให้เรียบร้อย

2.สำเนาบัตรประชาชนผู้ปกครอง พร้อมเซ็นต์สำเนาถูกต้องเรียบร้อย

3.ให้ผู้ปกครองเซ็นต์ในใบคำร้องขอลาออก จะมีช่องให้เซ็นต์รับรองอยู่ เรียบร้อย…

ถึงตอนสำคัญแล้ว! นั่นคือ ขั้นตอนการ “วิ่งเต้น” ขอบอกเลยว่า หากมหาลัยใหญ่มากเท่าใด การวิ่งเต้นเพื่อลาออกของท่านก็จะใช้ “กำลังกาย” มากขึ้นเท่านั้น สิ่งเดียวที่ช่วยให้ผ่านพ้นไปได้ก็คงจะเป็น “กำลังใจ” หรือที่เขามักพูดกันว่า “กายพร้อม ใจพร้อม เราทำได้!” เพราะงั้น สู้ๆ นะครับ ^ ^

ตัวผม เลือกมามหาลัยตอนเที่ยง จะได้มีเวลารับประทานข้าวด้วยเลย หากใครยังไม่รู้จะดำเนินการช่วงเวลาใด ผมก็คงจะแนะนำช่วงเวลาเดียวกันนี่แหละครับ เพราะจะได้มาชมการฝึกซ้อมต่างๆ ของนศ. มหาลัยนี้เป็นครั้งสุดท้าย…

หลักๆ แล้ว ก็จะมีด้วยกัน 3 สถานที่ ที่ต้องไป

ที่แรกคือ “สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัย” ให้เรามองหา “บรรณารักษ์” ประจำหอสมุด เตรียมบัตรนักศึกษาไปให้พร้อมด้วยล่ะ เพราะว่าจะให้เขาตรวจสอบให้ว่า เราได้เคยยืมหนังสือไปแล้วไม่คืนบ้างไหม ซึ่งถ้าใครไม่เคยคิดจะเข้าไปแตะก็สบายใจได้เลยครับ(ฮา) ให้เขาตรวจสอบชื่อเราแปปเดียวก็เสร็จแล้ว ถือว่าเป็นด่านแรกของการลาออกที่ง่ายที่สุดเลยล่ะ

:3

ที่ๆ สองที่เราจะไปกัน นั่นก็คือ “บอกไม่ได้” ง่ะ ไม่เอาหน่าพี่… หนูซีเรียสนะเนี่ย ไม่ครับ ผมว่าผมรีบเข้าประเด็นก่อนที่ทุกคนจะเข้าใจผิดกันดีกว่า เหตุที่ผมบอกว่า บอกไม่ได้ นั่นเป็นเพราะ ที่ๆ สองที่ว่า คือ “ภาค” ที่เราเรียนอยู่ ผมไม่สามารถบอกได้ว่า พวกเราเรียนภาคไหนกัน ตรงจุดนี้จึงต้องขอให้ทุกคน เป็นคนดำเนินการด้วยตัวเองครับ ตามแบบฟอร์ม เขาจะให้เราไปหา “หัวหน้าภาค” เพื่อให้เขาช่วยตรวจสอบว่าเราติดค้างอะไรในภาคหรือเปล่า ถ้าทำตัวเป็นเด็กดีตลอดมา ก็วางใจได้ครับ ไม่มีปัญหาอะไรอยู่แล้ว (อิอิ)

ผมขอแนะเพื่มในส่วนที่สองนี้ซักเล็กน้อยนะครับ หากว่าเราหาหัวหน้าภาคไม่ได้(ตามตัวจับยาก) เราสามารถให้อาจารย์ท่านอื่น เป็นคนช่วยเช็คการยืมให้เราได้ครับ แต่เราต้องใช้ลูกอ้อนซักเล็กน้อย(เงอะ) หรือถ้าไม่ได้จริงๆ ลองปรึกษาเขาดูครับ อธิบายถึงการลาออกของเรา เผื่อเขาจะสามารถติดต่ออาจารย์ที่มีอำนาจในการตรวจสอบให้เราได้ โชคดีที่ผมเจออาจารย์ที่มีอัธยาศัยดี ตรงส่วนนี้ผมจึงผ่านไปได้โดยไม่ยากเย็นเท่าใดนัก อนึ่ง เหตุที่ผมแนะในส่วนนี้เยอะ เพราะเห็นว่ามันเป็นส่วนที่ยากที่สุด ของกระบวนการลาออกนี้แล้ว ผมหวังว่าทุกคนที่กำลังจะซิ่ว ผ่านจุดนี้ไปให้ได้นะครับ ^ ^

:3

ส่วนที่สามที่เราจะไปกัน มหาลัยที่ผมอยู่ เขาเรียกว่า “ตึกทะเบียนคณะ” ลองถามยามแถวๆ คณะเราดูก็ได้ครับ ประมาณว่า “ขอโทษนะคะ/ครับ คือว่าผม/หนู อยากจะไปสำนักทะเบียนคณะอ่ะ คุณน้าพอจะทราบว่ามันอยู่ตรงไหนไหมคะ/ครับ” หรือถ้ารู้จักอยู่แล้วก็ไม่ต้องถามก็ได้ พอไปถึงก็บอกเขาถึงการลาออกของเรา พูดคุยด้วยอัธยาศัยดี ไม่ต้องเกร็งนะครับ ถ้าผ่านตรงจุดนี้ไปได้ ก็จบแล้ว กลับบ้านด้ายยย

:3

ความจริงแล้ว โดยส่วนใหญ่ ในส่วนที่สาม เขาจะนำเอกสารของเราไปจัดการต่อให้เราเอง เราสามารถกลับบ้านได้เลยครับ แต่ถ้าเกิดเขาไม่ทำให้ เราก็ต้องมาวิ่งเต้นกันไปที่ส่วนสุดท้าย นั่นก็คือ ที่แรกที่เราไปเอา “ใบคำร้องขอลาออก” ซึ่งสถานที่นั้นก็คือ “สำนักทะเบียน” นั่นเอง ไปที่แผนกยื่นเรื่องลาออก นำเอกสารให้เขาดำเนินการ เท่านี้ก็เสร็จสิ้นกระบวนการลาออกแล้วล่ะครับ ^ ^

เป็นไงกันบ้าง กับการลาออกจากมหาวิทยาลัย ดูง่ายไปเลยใช้ม้าาา XD ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็อยากจะให้เพื่อนๆ ลองตัดสินใจดูให้ดีนะครับ เพราะการซิ่วมันไม่ควรจะเกิดขึ้นเลย ดูได้จากประเทศอื่นๆ อัตราการซิ่วเรียกได้ว่าน้อยซะยิ่งกว่าน้อย แต่ถ้าไม่ชอบจริงๆ การซิ่ว ก็จะเป็นหนทางแก้ปัญหาอีกทาง ผมยินดีที่เราร่วมเดินในเส้นทางเดียวกันนะครับ จากใจถึงใจ…

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้