งานวิจัยเกี่ยวกับการปลูกพืช

การศึกษาดูงานด้านการวิจัยและปลูกพืชควินัวที่สถานีเกษตรหลวงปางดะ อ. สะเมิง จ. เชียงใหม่

การศึกษาดูงานด้านการวิจัยและปลูกพืชควินัวที่สถานีเกษตรหลวงปางดะ อ. สะเมิง จ. เชียงใหม่

วันที่นำเข้าข้อมูล 24 ก.พ. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 5 พ.ย. 2565

| 276 view

เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ นางอุรีรัชต์ เจริญโต อธิบดี กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ พร้อมคณะ และ H.E. Alex Geiger Soffia เอกอัครราชทูตชิลี ประจำประเทศไทย ได้เดินทางไปศึกษาดูงานด้านการวิจัยและปลูกพืชควินัวที่สถานีเกษตรหลวงปางดะ อ. สะเมิง จ. เชียงใหม่ โดยมี รศ. ดร. ปิติพงษ์ โตบันลือภพ หัวหน้าแผนกวิจัยควินัวและอาจารย์ประจำภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะให้การต้อนรับและบรรยายสรุป

การส่งเสริมการปลูกควินัวในประเทศไทยเป็นหนึ่งในโครงการภายใต้กรอบความร่วมมือ เพื่อการพัฒนา ไทย - ชิลี ซึ่งเริ่มขึ้นจากการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีชิลี เมื่อปี ๒๕๕๖ ซึ่งชิลีได้มอบเมล็ดพันธุ์ควินัวให้แก่ประเทศไทยเพื่อทำการศึกษาวิจัยและทดลองปลูก ซึ่งต่อมา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ประสบผลสำเร็จจนสามารถคัดเลือกสายพันธุ์ที่ปรับตัวได้ดี ในประเทศไทย และได้ขึ้นทะเบียน ๒ สายพันธุ์ในนามมูลนิธิโครงการหลวงฯ ได้แก่ ๑) สายพันธุ์แดงห้วยต้ม และ ๒) สายพันธุ์เหลืองปางดะ และได้ส่งเสริมให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงเพาะปลูกคิวนัว ทั้งสองสายพันธุ์ในเชิงการค้า โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับควินัว อย่างต่อเนื่อง และปัจจุบันกำลังศึกษาวิจัยและเตรียมขึ้นทะเบียนควินัวเมล็ดสีดำ และเมล็ดสีน้ำตาลแดง รวมทั้งศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากควินัว และห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ด้วย

การวิจัยและส่งเสริมการปลูกควินัวนับเป็นการเพิ่มทางเลือกด้านการเพาะปลูก ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรบนพื้นที่สูงและพื้นที่ราบที่มีข้อจำกัดหรือปัญหา ด้านการเกษตรต่างๆ เนื่องจากควินัวเป็นพืชที่มีความต้องการปัจจัยการผลิตต่ำ เช่น ปุ๋ย รวมทั้ง มีศัตรูพืช โรคและแมลงน้อย เกษตรกรจึงใช้สารเคมีในระหว่างการเพาะปลูกน้อยมาก และไม่มี ความจำเป็นต้องขยายหรือเคลื่อนย้ายพื้นที่เพาะปลูก นอกจากนี้ ควินัวยังเป็นธัญพืชที่เป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกได้ เนื่องจากมีโปรตีนสูง อุดมไปด้วยสารอาหารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย รวมทั้งยังให้พลังงานสูง และเต็มไปด้วยกากใย

ผลจากความสำเร็จในการค้นคว้าวิจัยและส่งเสริมการปลูกควินัวในประเทศไทยดังกล่าว ทำให้ไทยและชิลีเห็นพ้องกันที่จะต่อยอดความร่วมมือด้านดังกล่าว และขยายความร่วมมือไปสู่ประเทศสมาชิกอาเซียน โดยจะจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนด้วย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้