วิจัยในชั้นเรียน ภาษาไทย การอ่าน ป. 2

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

         จากการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา2565 ครูได้ทำการทดสอบการอ่านของนักเรียน ผลปรากฏว่านักเรียนบางคนอ่านหนังสือไม่ออก อ่านติดเป็นบางคำ และอ่านหนังสือไม่คล่อง ครูจึงได้ทำการสืบค้นหาสาเหตุ ทำไมถึงอ่านผิด ทำไมถึงอ่านไม่ออก ผลปรากฏว่านักเรียนจำเสียงสระบางสระไม่ได้และขาดความเข้าใจในเรื่องการเปลี่ยนรูป ลดรูปของสระเมื่อมีตัวสะกด จึงทำให้ครูเกิดความสนใจที่จะทำการแก้ปัญหานี้ โดยใช้ขบวนการวิจัยเข้ามาแก้ไขปัญหา  

ความสำคัญของการอ่าน

การอ่านมีความจำเป็นต่อการศึกษาและการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะเป็นเครื่องมือ สำคัญในการแสวงหาความรู้ ช่วยพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ เพิ่มพูนความรู้ความคิดและ ประสบการณ์ต่าง ๆ มีนักการศึกษาได้กล่าวถึงความสำคัญของการอ่าน ไว้ดังนี้

วรรณี โสมประยูร (2553, หน้า 128-129) กล่าวถึงความสำคัญของการอ่านไว้ดังนี้

1. การอ่านเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการศึกษาเล่าเรียนทุกระดับ ผู้เรียน จำเป็นต้องอาศัยทักษะการอ่านทำความเข้าใจเนื้อหาสาระของวิชาต่าง ๆ เพื่อให้ตนเองได้รับ ความรู้และประสบการณ์ตามที่ต้องการ

2. ในชีวิตประจำวันโดยทั่วไป คนเราต้องอาศัยการอ่านติดต่อสื่อสารเพื่อทำ ความเข้าใจกับบุคคลอื่นร่วมไปกับทักษะการฟัง การพูด และการเขียน ทั้งในด้านภารกิจ ส่วนตัวและการประกอบอาชีพการงานต่าง ๆ ในสังคม

3. การอ่านช่วยให้บุคคลสามารถนำความรู้และประสบการณ์จากสิ่งที่อ่าน ไปปรับปรุง และพัฒนาอาชีพหรือธุรกิจการงานที่ตัวเองกระทำอยู่ให้เจริญก้าวหน้าและประสบ ความสำเร็จได้ในที่สุด

4. การอ่านสามารถสนองความต้องการพื้นฐานของบุคคลในด้านต่าง ๆ ได้เป็น อย่างดี เช่น ช่วยให้มั่นคงปลอดภัย ช่วยให้ได้รับประสบการณ์ใหม่

5. การอ่านทั้งหลายจะส่งเสริมให้บุคคลได้ขยายความรู้และประสบการณ์ เพิ่มขึ้นอย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง ทำให้เป็นผู้รอบรู้ เกิดความมั่นใจในการพูดปราศรัย การบรรยายหรือการอภิปรายปัญหาต่าง ๆ นับว่าเป็นการเพิ่มบุคลิกภาพและความน่าเชื่อถือ ให้แก่ตนเอง 

กรอบแนวคิดการวิจัย

          สื่อจาก Power Point การอ่านออกเสียงคำ > การอ่านออกเสียงคำสระลดรูป เปลี่ยนรูปได้ถูกต้อง

จิราภรณ์ กองเงิน  ( 2562). การฝึกทักษะการอ่านและการเขียน คำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทย ป.2 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 2 โรงเรียนรัฐราษฎร์วิทยา

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทย ป.2 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 2 โรงเรียนรัฐราษฎร์วิทยา  ก่อนเรียนและหลังเรียนจากการทำแบบฝึกทักษะคำในบัญชีพื้นฐานภาษาไทย ป.2  โดยมีประชากร  คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 2  ปีการศึกษา  2562  จำนวน  19  คน  กลุ่มตัวอย่าง  คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 2 ปีการศึกษา 2562  จำนวน 19  คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง  ( Purposive  Sampling )  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย เรื่อง คำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทย ป.2   และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. นักเรียนมีผลคะแนนด้านการอ่าน คำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทย ป.2   หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
  2. นักเรียนมีผลคะแนนด้านการเขียน คำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทย ป.2   หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
  3. นักเรียนมีผลคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทย ป.2   หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ >>> การฝึกทักษะการอ่านและการเขียน คำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทย ป.2

ดาวน์โหลดงานวิจัย >>> การฝึกทักษะการอ่านและการเขียน คำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทย ป.2

Comments

comments

- Advertisement -

รวมวิจัยในชั้นเรียน วิชาภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

สวัสดีครับคุณครูทุกท่าน วันนี้ สื่อการสอนฟรี ดอทคอม ของเรา วันนี้ขอนำเสนอไฟล์รวมวิจัยในชั้นเรียน วิชาภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

เว็บไซต์สื่อการสอนฟรี ดอทคอม ของเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าไฟล์รวมวิจัยในชั้นเรียน วิชาภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จะเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อยสำหรับคุณครูทุกท่าน หากมีข้อผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยนะครับ

รวมวิจัยในชั้นเรียน วิชาภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ลิงก์ดาวน์โหลด ตัวอย่างวิจัยในชั้นเรียนภาษาไทย ดาวน์โหลดฟรีที่นี่

ขอนำเสนอตัวอย่างวิจัยในชั้นเรียนวิชาอื่นๆ

  1. งานวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง พัฒนาการทางสังคม ปลูกฝังค่านิยมและความรับผิดชอบ
    <คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดงานวิจัย>
  2. งานวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การใช้ภาพเป็นสื่อ ในการกระตุ้นให้นักเรียน เกิดการพัฒนาทักษะในด้านการเขียนเรื่อง
    <คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดงานวิจัย>
  3. งานวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การวิเคราะห์ การแก้โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์
    <คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดงานวิจัย>
  4. งานวิจัยในชั้นเรียนชื่อเรื่องศึกษาและ แก้ปัญหานักเรียน เขียนภาษาไทย ไม่ถูกต้อง
    <คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดงานวิจัย>
  5. งานวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง ส่งเสริมการอ่านสะกดคำ ของนักเรียน
    <คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดงานวิจัย>
  6. งานวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การส่งเสริมการท่องคำศัพท์ในวิชา Social Studies ในเรื่องอาชีพและสถานที่ต่างๆ ในชุมชน
    <คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดงานวิจัย>

ขอบคุณที่มา :: //www.kruupdate.com/

การวิจัยในชั้นเรียน

  การวิจัยในชั้นเรียน หมายถึงการวิจัยที่ทำในบริบทของชั้นเรียน และมุ่งนำผลการวิจัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนของตน เป็นการนำกระบวนการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาครูให้ไปสู่ความเป็นเลิศ และมีอิสระทางวิชาการ (ทิศนา แขมมณี 2540: 5)         

        การวิจัยในชั้นเรียน คือกระบวนการแสวงหาความรู้อันเป็นความจริงที่เชื่อถือได้ ในเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในบริบทของชั้นเรียน (สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม 2540: 3)        การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เป็นการศึกษาค้นคว้าของครู ซึ่งจัดว่าเป็นผู้ปฏิบัติงานในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหา (Problem Solving) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือพฤติกรรมนักเรียนและคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน (ประวิต เอราวรรณ์ 2542: 3)         
การวิจัยในชั้นเรียน คือการวิจัยที่ทำโดยครูผู้สอนในห้องเรียน เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและนำผลมาใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน เป็นการวิจัยที่ต้องทำอย่างรวดเร็ว นำผลไปใช้ทันทีและสะท้อนข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานต่าง ๆ ของตนเอง ให้ทั้งตนเองและกลุ่มเพื่อนร่วมงาน (สุวิมล ว่องวานิช 2543: 163)       
 การวิจัยในชั้นเรียน คือกระบวนการแสวงหาความจริงด้วยวิธีการที่เชื่อถือได้ในเนื้อหาที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาความสามารถของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ (ประกอบ มณีโรจน์ 2544: 4)        จากที่กล่าวมานี้สรุปได้ว่า การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการวิจัยที่ครูทำเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนของผู้เรียนบางคน บางกลุ่ม หรือทั้งหมด ซึ่งผลการวิจัยสามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงการเรียน การสอน และพฤติกรรมของผู้เรียน โดยมีกระบวนการวางแผน ปฏิบัติตามแผน สังเกตผลที่เกิดขึ้น และการสะท้อนความคิด

ความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน

การวิจัยในชั้นเรียนมีความสำคัญต่อวงการวิชาชีพครูเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากครูจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตร วิธีการเรียนการสอน การจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเรียน การพัฒนาพฤติกรรมผู้เรียน การเพิ่มสัมฤทธิผลการเรียน และการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการเปลี่ยนแปลงบทบาทดั้งเดิมของครูที่มีความเชี่ยวชาญและสนใจเรื่องการสอนโดยเน้นเนื้อหาสาระของบทเรียน จึงทุ่มเทการศึกษา ค้นคว้า หาข้อมูล ทฤษฎี ที่เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร มากกว่าการศึกษาวิธีการพัฒนาหรือปรับปรุงการเรียนรู้ของผู้เรียน ผลงานของอาจารย์ส่วนใหญ่จึงเป็นผลงานหนังสือ ตำรา บทความหรือเอกสารทางวิชาการมากกว่าผลงานวิจัย

ปัจจุบัน การวิจัยมีบทบาทเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายตัวทางการศึกษา ที่เปิดระดับการศึกษาถึงขั้นปริญญาโทและปริญญาเอกในประเทศไทย ทำให้มีการเรียนการสอนระเบียบวิธีวิจัย ตลอดจนการกำหนดให้ทำวิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา จึงมีผู้รู้วิธีการทำวิจัยเพิ่มขึ้น ที่สำคัญคือการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ หรือ การเลื่อนระดับของผู้อยู่ในสายวิชาชีพทางการศึกษา มีข้อกำหนดให้ส่งผลงานวิชาการและงานวิจัย เป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณา ผู้ที่อยู่ในแวดวงการศึกษาจึงต้องหันมาสนใจเรื่องของการวิจัยเพิ่มขึ้น ประกอบกับการที่กฎหมายได้กำหนดให้มีการส่งเสริมการวิจัยในมาตรา ๒๔ ดังนี้มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้….(๕) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมสื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ รวมทั้งความสามารถใช้การวิจัย เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอน และแหล่งวิทยาการต่างๆด้วยปัจจัยดังกล่าวจึงทำให้ครูอาจารย์ต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนมาเป็นผู้วิจัยเพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาการสอน การเรียนรู้ของผู้เรียน และการพัฒนาวิชาชีพครูเพิ่มขึ้น

ครูกับการวิจัย ทำไมครูต้องทำวิจัย

การวิจัยเป็นเครื่องมือ เป็นกระบวนการที่ทุกงานในทุกสาขาอาชีพใช้ในการหาความรู้ หรือข้อค้นพบในการแก้ปัญหา หรือพัฒนางานได้อย่างเป็นระบบน่าเชื่อถือ งานของครูนับเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่ต้องการความเชื่อถือได้ในผลงาน ซึ่งถ้าครูใช้การวิจัยในการพัฒนาหรือแก้ปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียนจะแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นได้ในการทำงานของครูและเป็นการประกันคุณภาพลักษณะหนึ่ง

การวิจัยแบบง่าย: บันใดสู่ครูนักวิจัย

ความเป็นมา
หัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 คือ การปฏิรูป การเรียนรู้และผู้มีบทบาทสำคัญที่สุด ที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนให้การปฏิรูปการศึกษาประสบความสำเร็จมากที่สุด คือ “ครู” หน้าที่โดยตรงของครู คือการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพของแต่ละคน ดังนั้น ครูจะต้องใช้ความพยายามอยู่ตลอดเวลากับการค้นหาวิธีการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ดีที่สุด ด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับความสามารถของตนเองซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่า การวิจัยเป็นกระบวนการค้นหาความรู้และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบเชื่อถือได้ ดังนั้น ถ้าครูได้นำหลักการสำคัญการวิจัยมาใช้ในการค้นหาวิธีการจัดการเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับผู้เรียนจะช่วยหาคำตอบหรือตอบคำถามที่ต้องการได้

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกฎหายแม่บทด้านการศึกษาฉบับแรกของประเทศไทย ได้กล่าวถึงครูผู้สอนที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา24(5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมสื่อการเรียนและอำนวย ความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ

มาตรา 30 ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา

จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้เห็นว่า พ.ร.บ. การศึกษาฉบับนี้ให้ความสำคัญในการกระบวนการวิจัยมาใช้เป็น แนวทางในการพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ของครูด้วยตนเองซึ่งการวิจัยเป็นกระบวนการที่ต้องมีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต การปฏิบัติจริงของครูมิใช่แยกส่วนจากการจัดการเรียนการสอน ดังนั้น การวิจัยและพัฒนา การเรียนการสอนจึงเกิดขึ้นพร้อมกันในการปฏิบัติงานการเรียนการสอนตามปกติของครู

การวิจัยในชั้นเรียนแบบง่าย

การวิจัยในชั้นเรียน เป็นกระบวนการศึกษาค้นคว้าหาคำตอบของปัญหาที่เกิดขึ้น จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือการจัดการเรียนรู้หรือเป็นข้อค้นพบที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้

การวิจัยในชั้นเรียน กับ การเรียนการสอนถือว่าเป็นเรื่องเดียวกัน กล่าวคือ ครู สามารถทำการวิจัยไปพร้อมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยปกติได้ตลอดเวลา โดยยึดหลักว่า การสอนนำและการวิจัยตาม ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้สถิติชั้นสูง เหมือนกับการวิจัยทางการศึกษาโดยทั่วไปก็ได้ เช่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและการแจกแจงความถี่ เป็นต้น

การวิจัยในชั้นเรียนหรือข้อค้นพบในชั้นเรียน

เป็นวิธีการหนึ่งที่ครูผู้สอนนำมาใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนได้ การวิจัยครูทุกคนจะต้องทำในโรงเรียนจนเกิดวงจร PDCA คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นวิธีการที่ซับซ้อนมาก ใช้สถิติสูงและผู้วิจัยต้องมีความรู้สูงๆ จบปริญญาโทหรือปริญญาเอกมาจึงจะทำได้ ในทางปฏิบัติครูผู้สอนทุกคนสามารถวิจัยระดับชั้นเรียนได้ถ้าได้ศึกษาวิธีการเพิ่มเติมจากเอกสารหรือผู้ปฏิบัติจริง ซึ่งการวิจัยในชั้นเรียน ครูผู้สอนจะต้องทำควบคู่กันไประหว่างการสอนกับการวิจัย หากเก่งสอนแต่ขาดการวิจัย หรือเก่งวิจัยแต่ขาดการจัดการเรียนการสอนไม่ดี ก็เป็นครูนักวิจัยไม่ได้ การจัดการเรียนการสอนครูที่ประสบผลสำเร็จมักจะทำการวิจัยในชั้นเรียนควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอนหรือเรียกว่า “ครูนักวิจัย”

ความหมาย  เป็นการค้นคว้าหาคำตอบอย่างเป็นระบบมีแบบแผน มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนอาศัยระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์จนเป็นนักวิจัยแยกออกได้เป็น 2  ลักษณะ คือ

ลักษณะที่ 1 นักวิจัยทางการศึกษา เป็นการวิจัยที่ละเอียด 5 บท ที่ใช้ศึกษาในระดับปริญญาเอก ปริญญาโทมีการจัดอบรมกันทั่วไป 4 วัน 5 วัน และเมื่ออบรมแล้วไม่มีคนวิจัยไจได้ บ่นปวดหัวไปตามๆ กันเพราะต้องใช้สถิติระดับสูงในที่สุดครูที่สอนในโรงเรียนก็ไม่ประสบผลสำเร็จในการวิจัยในชั้นเรียนได้เลย

ลักษณะที่ 2 ครูนักวิจัย เป็นการวิจัยที่ทำควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จะต้องสอนและวิจัยไปด้วย แต่การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการวิจัยที่ครูผู้สอนศึกษาค้นคว้าเพื่อ แก้ปัญหาการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนที่ตนเองรับผิดชอบ ควรมีลักษณะดังนี้

  1. ครูคนเดียวแก้ปัญหา
  2. ครูหลายคนร่วมกันแก้ปัญหา
  3. ครูทั้งโรงเรียนร่วมกันแก้ปัญหา

ขั้นตอนการวิจัยในชั้นเรียนครูแบบง่ายสำหรับครู

เมื่อพบปัญหาหรือเมื่อมีจดหมายเพื่อจะพัฒนาผู้เรียน ควรดำเนินการดังนี้

  1. กำหนดจุดประสงค์ให้ชัดเจน
  2. ออกแบบการสอน
  3. ปฏิบัติการสอน
  4. บันทึกผลการสอน
  5. รายงานผลการสอน

การรายงานผลการวิจัยในชั้นเรียนแบบง่าย

การรายงานผลการวิจัยในชั้นเรียนแบบง่ายไม่จำเป็นต้องยึดติดกับรูปแบบ เช่นเดียวกันกับการ รายงานผลการวิจัยทางการศึกษาโดยทั่วไป ซึ่งต้องมีการนำเสนอ 5 บท แต่การรายงานผลการวิจัยในชั้นเรียนควรนำเสนอข้อมูลตามสิ่งที่เป็นจริงพร้อมกับมีร่องรอยหลักฐานที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สามารถนำเสนอผลการวิจัยในชั้นเรียนแบบหน้าเดียวหรือแบบ 3-10 หน้าก็ได้ โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญในการนำเสนอ ได้แก่

–          ที่มาและปัญหา

–          วัตถุประสงค์

–          วิธีการศึกษา (การออกแบบการสอน)

–          ผลการศึกษา (ผลการสอน)

–          อภิปรายผล

–          ข้อเสนอแนะ

การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน

การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนแบบง่านั้น อาจเลือกเขียนได้ 3 รูปแบบ คือ 

            รูปแบบที่หนึ่งเป็นแบบลูกทุ่ง  เน้นรางานการวิจัย ไม่เน้นวิชาการหรือไม่เป็นทางการโดยเขียนใน 3 ส่วนคือ ปัญหาคืออะไร แก้ไขอย่างไรและผลการแก้ไขเป็นอย่างไร

            รูปแบบที่สองเป็นแบบลูกกรุง  เป็นรายงานการวิจัยกึ่งวิชาการ โดยเขียนสาระสำคัญตามหัวข้อ ต่อไปนี้ คือ ชื่อเรื่องความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการศึกษาตัวแปรที่ศึกษา ประโยชน์ที่คิดว่าจะได้รับวิธีดำเนินการ วิจัยและผลการวิจัยซึ่งอาจมีประเด็นการสะท้อน ความคิดของครูนักวิจัยต่อผลการวิจัยหรือผลการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้้เพิ่มเติมอีกก็ได้

รูปแบบที่สามเป็นแบบสากล  เน้นรายงานการวิจัยเชิงวิชาการ (Academic report) ที่มีรูปแบบลักษณะเฉพาะกำหนดไว้แล้วที่สามารถศึกษาเรียนรู้ดูตัวอย่างได้เอง

การพัฒนาผู้เรียนอ่างเป็นระบบด้วยกระบวนการวิจัย แท้จริงก็คือ การจัดลำดับขั้นตอนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดยเริ่มจากการกำหนดปัญหาหรือจุดประสงค์ให้ชัดแจ้งออกแบบแผนการสอน ปฏิบัติการสอน การประเมินผลตามสภาพจริง  การบันทึกผลการสรุปรายงานอย่างเป็นระบบซึ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเสมือนหนึ่งเป็นเกลียวเชือกเส้นเดียวกัน  โดยครูควรปฏิบัติให้เป็นวิถีชีวิตประจำวันตามปกติ  เพื่อพัฒนาผู้เรียนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนส่งผลให้ครูกลายเป็นครูมืออาชีพอย่างแท้จริงตลอดไป

สรุปแนวคิด…สู่การวิจัยแบบง่าย

การทำวิจัยในชั้นเรียน ทำได้ 2 วิธี

  1. ปัญหาการเรียนการสอน การแก้ ใช้นวัตกรรมสื่อต่างๆ
  2. ปัญหาด้านพฤติกรรม (Case) การแก้ ใช้กิจกรรม

ลักษณะการทำวิจัยแบบง่าย มี 3 ลักษณะ

  1. ครูคนเดียวแก้ปัญหา เป็นปัญหาที่ครูพบในห้องเรียนที่ตนเองรับผิดชอบ
  2. ครูตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไปร่วมกันแก้ปัญหา เป็นปัญหาที่ต้องให้ครูอื่นช่วยเหลือ
  3. ครูทั้งโรงเรียนร่วมกันแก้ปัญหา เป็นปัญหาที่ครูทุกคนในโรงเรียนเข้ามามีส่วนร่วมแก้ปัญหา

การวิจัยในชั้นเรียนทำได้ 3 แบบ

  1. แบบลูกทุ่ง เขียนรายงานสั้นๆ คือ ปัญหา วิธีแก้ไข ผลการแก้ไขแล้วแต่รูปแบบของครูแต่ละคนไม่ต้องแนบหลักฐานเก็บไว้ที่ห้องเรียนวิธีการแก้ปัญหาเป็นกลวิธีของแต่ละคนไม่ต้องการให้ผู้อื่นยอมรับ
  2. แบบลูกทุ่ง เขียนรายงานในประเด็นหลัก ประมาณ 3-10 หน้าอาจแนบเอกสารประกอบหรือเก็บไว้ที่ห้องเรียน
  3. แบบสากล เป็นการเขียนรายงานแบบ 5 บท เชื่อถือ ตรวจสอบเป็นสากลได้

การเขียนรายงานวิจัยแบบง่าย  น่าจะประกอบด้วย

  1. ปัญหาที่เกิดขึ้น
  2. หานวัตกรรมมาแก้
  3. วัดผลจากนวัตกรรม
  4. เขียนรายงาน

ดังนั้น  การทำวิจัยในชั้นเรียน ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 24(5)  และมาตรา 30 ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เราไปยึดติดกับวิจัย 5 บท ที่เรียนในระดับปริญญาโท  ปริญญาเอก ที่ใครๆ เขาว่ายากแต่เปล่าเลยง่ายจริงๆ ขอให้ลงมือทำท่านทำ วิจัยมากมาแล้วแต่ท่านยังไม่รู้จักตนเองว่าได้ทำเนื่องจากกลัวผิด
ขอบคุณที่มา :: //etraining2012.wordpress.com/

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้