การขจัดรอยเปื้อนเลือดบนผ้าฝ้าย

คราบเลือดที่แห้งติดอยู่บนเนื้อผ้ายังสามารถขจัดได้อยู่ ขอแค่ยังไม่นำไปซักและอบแห้งก็ไม่ยากอย่างที่คิดแล้วล่ะ วิธีการขจัดคราบเลือดมีมากมายตั้งแต่การใช้เครื่องครัวหรืออุปกรณ์ทำความสะอาดอื่นๆ ที่หาได้ในบ้าน ไปจนถึงการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ขจัดคราบที่มีประสิทธิภาพสูง การขจัดคราบเลือดต้องระมัดระวังเนื้อผ้าที่มีความบอบบางอย่างผ้าไหม หรือผ้าขนสัตว์เป็นพิเศษ

  1. 1

    วิธีนี้เหมาะกับการขจัดคราบเปื้อนบนผ้าลินินหรือคอตตอน. การขยี้ผ้าเบาๆ ในน้ำสบู่ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ใดๆ เลย แต่อาจจะต้องใช้เวลาสักหน่อยเท่านั้นเอง การทำแบบนี้เหมาะกับการขจัดคราบบนผ้าที่ทอจากเส้นใยธรรมชาติ ส่วนเนื้อผ้าที่ทอเป็นรูรูปข้าวหลามตัดหรือรังผึ้งนั้น จะต้องอาศัยเวลาในการขยี้เพิ่มเข้าไปและจะต้องเบามือลงด้วย โดยมากแล้วผ้าประเภทนี้จะเป็นใยสังเคราะห์หรือผ้าขนสัตว์ต่างๆ

  2. 2

    กลับด้านให้รอยเปื้อนคว่ำลง. การทำแบบนี้จะช่วยให้น้ำซึมเข้าจากด้านหลังของเนื้อผ้าและช่วยผลักให้คราบเลือดหลุดออกง่ายขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการปล่อยให้น้ำชะคราบเลือดออกโดยการฉีดเข้าไปยังบริเวณคราบโดยตรงแล้ว วิธีนี้จะได้ผลที่ดียิ่งกว่า [1]

    • เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี ควรกลับตะเข็บเสื้อผ้า

  3. 3

    ใช้น้ำฉีดคราบเปื้อน. บางครั้งคราบเลือดที่แห้งแล้วอาจยังไม่ฝังลึกเข้าสู่เส้นใย การใช้น้ำฉีดไปยังรอยเปื้อนจะช่วยขจัดคราบบนพื้นผิวออกก่อน ให้กลับตะเข็บเพื่อฉีดน้ำเย็นเข้าสู่รอยเปื้อนจากด้านหลัง แล้วปล่อยให้น้ำไหลผ่านคราบสักครู่ การทำแบบนี้จะช่วยชะล้างคราบเลือดได้อีกทาง

    • คำเตือน: ไม่ควรล้างคราบเลือดออกด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำร้อนจัด เพราะจะทำให้คราบฝังเข้าไปในเส้นใยผ้า [2]

  4. 4

    ใช้สบู่ถู. หมุนให้คราบเปื้อนอยู่ด้านบนแล้วใช้สบู่ถูลงไปมากๆ จะเลือกใช้สบู่ชนิดใดก็ได้ แต่สบู่สำหรับซักผ้าจะมีเนื้อที่แข็งกว่าและมักให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับสบู่ล้างมือทั่วไป

  5. 5

    ถูสบู่ลงบนคราบเปื้อน. การขยี้ผ้าที่มีคราบเลือดเปื้อนอยู่จะต้องจับให้แน่นและทำการขยี้คราบจากทั้ง 2 ด้านเพื่อผลลัพธ์ที่ดี

  6. 6

    ขยี้คราบเปื้อนเข้าด้วยกัน. ใช้มือทั้ง 2 ข้างจับผ้าโดยกะระยะพอประมาณเพื่อให้สามารถขยี้รอยเปื้อนเข้าด้วยกัน ให้ขยี้ผ้าแรงๆ แต่ถ้าเนื้อผ้านั้นๆ บอบบางล่ะก็ต้องระวังหน่อย และให้เปลี่ยนไปขยี้เบาๆ แต่เร็วแทน การทำแบบนี้จะช่วยให้คราบเลือดค่อยๆ หลุดออกมากับฟองสบู่ โดยที่ไม่ทำให้คราบเลือดกลับไปติดที่เนื้อผ้า

    • สวมถุงมือเพื่อปกป้องไม่ให้ผิวเกิดการระคายเคือง อาจเลือกใช้ถุงมือที่ทำจากยางธรรมชาติหรือถุงมือชนิดอื่นที่มีความเหนียวและหนากว่าซึ่งสามารถช่วยให้จับถนัดมือยิ่งขึ้น

  7. 7

    หมั่นเปลี่ยนน้ำและสบู่ก่อนขยี้ต่อ. เมื่อเนื้อผ้าเริ่มแห้งและฟองสบู่ลดน้อยลง ให้ราดน้ำสะอาดลงในบริเวณที่กำลังทำความสะอาดและลงสบู่เพิ่ม ขยี้คราบเปื้อนต่อไปเรื่อยๆ จนกว่ารอยจะจางลง แต่ถ้าหลังขยี้ประมาณ 5 - 10 นาทีแล้วยังไม่เห็นผลให้ลองขยี้แรงขึ้นหรือจะลองเปลี่ยนวิธีดูก็ได้

    โฆษณา

  1. 1

    ผงหมักเนื้อนุ่มสามารถใช้ได้กับทุกเนื้อผ้า แต่ต้องระวังเป็นพิเศษเมื่อใช้บนผ้าไหมหรือผ้าขนสัตว์. สามารถหาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป โดยผงหมักเนื้อนี้มีคุณสมบัติในการสลายโปรตีนที่อยู่ในคราบเลือด ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไหมเปิดเผยว่า ในขณะที่ผงหมักเนื้อนุ่มสามารถสลายโปรตีนในคราบเลือดได้ มันก็สามารถทำลายเส้นใยในเนื้อผ้าไหมและผ้าขนสัตว์ได้เช่นกัน [3] อย่าลืมทดลองในบริเวณเล็กๆ เสียก่อนเพื่อป้องกันเสื้อผ้าเสียหาย

  2. 2

    ผสมผงหมักเนื้อนุ่มแบบไม่ปรุงรสกับน้ำเปล่า. ใช้น้ำประมาณ 15 มล. (1 ช.ต.) ผสมกับผงหมักเนื้อ โดยค่อยๆ เติมน้ำพร้อมกับคนไปเรื่อยๆ จนส่วนผสมงวดและเกิดฟอง

    • ห้ามใช้ผงหมักเนื้อนุ่มแบบปรุงรสเด็ดขาดเพราะจะทำให้ผ้าเป็นรอยด่างได้

  3. 3

    ถูส่วนผสมบนผ้า. เกลี่ยส่วนผสมให้ทั่วบริเวณคราบเปื้อนแล้วใช้นิ้วถูเบาๆ ทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง

  4. 4

    ล้างแล้วจึงค่อยนำไปซัก. หลังจากทิ้งส่วนผสมไว้บนผ้า 1 ชั่วโมงแล้ว ให้ล้างออกด้วยน้ำเย็นก่อนนำไปซักตามปกติ ควรผึ่งลมให้แห้ง และไม่ควรนำผ้าไปอบเพราะความร้อนจะทำให้คราบเลือดที่ยังหลงเหลืออยู่ฝังแน่นในเส้นใยผ้า

    โฆษณา

  1. 1

    ห้ามใช้กับผ้าขนสัตว์หรือผ้าไหม. เนื่องจากคราบเลือดฝังตัวอยู่บนเนื้อผ้าใช้โปรตีนเป็นตัวยึดเกาะ เอนไซม์ขจัดคราบจะทำหน้าที่ย่อยสลายโปรตีนเหล่านั้นทำให้คราบเปื้อนเลือนหายไป ส่วนผ้าขนสัตว์และผ้าไหมมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบสำคัญ การใช้เอนไซม์ขจัดคราบบนเนื้อผ้าเหล่านี้อาจทำให้เกิดความเสียหายได้[4]

  2. 2

    เลือกเอนไซม์ขจัดคราบ. ถ้าหาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้ ให้ลองเลือกใช้ผงซักฟอกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมดูก่อน ส่วนมากผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะมีส่วนผสมของเอนไซม์ที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติอยู่[5]

    • อาจทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ซักผ้านำเข้าจากต่างประเทศอย่างยี่ห้อเนเจอร์สมิราเคิล หรือเซเว่นเจเนอเรชั่นก็ได้

  3. 3

    ฉีดน้ำเย็นเพื่อขจัดคราบบางส่วนออกก่อน. ใช้นิ้วมือหรืออุปกรณ์ที่ไม่แหลมคมจนเกินไป ขูดคราบเลือดที่แห้งออก

  4. 4

    แช่ผ้าที่เปื้อนลงในน้ำเย็นพร้อมผสมเอนไซม์ขจัดคราบ. ใช้ผลิตภัณฑ์ประมาณ 120 มล. (1/2 ถ้วย) ผสมน้ำแล้วแช่ผ้าลงไป ถ้าหากเป็นคราบเลือดที่ติดอยู่นานแล้วอาจต้องใช้เวลามากถึง 8 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์ด้วย

    • อีกวิธีที่สามารถลองทำได้คือ ใช้แปรงสีฟันเก่าๆ จุ่มในเอนไซม์ขจัดคราบแล้วนำไปถูบริเวณรอยเปื้อนก่อนนำผ้าไปแช่

  5. 5

    ซักแล้วตากให้แห้ง. นำผ้าไปซักตามปกติ ควรผึ่งลมให้แห้ง และไม่ควรนำผ้าไปอบเพราะความร้อนจะทำให้คราบเลือดที่ยังหลงเหลืออยู่ฝังแน่นในเส้นใยผ้า เมื่อผ้าแห้ง อย่าลืมตรวจดูว่าคราบเปื้อนจางหายไปหมดแล้วหรือยัง

    โฆษณา

  1. 1

    ทำแบบนี้ในวันที่มีแดดจ้า. วิธีนี้ใช้ของที่หาได้ใกล้ตัว แต่จะต้องรอให้ผ้าแห้งเสียก่อน จึงจะสามารถรู้ได้ว่าคราบเลือดที่เปื้อนอยู่ถูกขจัดออกไปหมดหรือเปล่า

    • ข้อควรระวัง: น้ำมะนาวและแดดแรงๆ อาจทำให้ผ้าที่บอบบางอย่างผ้าไหมเสียหายได้

  2. 2

    แช่ผ้าที่เปื้อนในน้ำเย็น. ควรแช่ผ้าล่วงหน้าซักครู่ ระหว่างรอก็เตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้อย่างน้ำมะนาว เกลือ และถุงซิปขนาดใหญ่ [6]

  3. 3

    บิดผ้าแล้วนำไปใส่ถุง. บิดผ้าแค่พอหมาดเท่านั้นก่อนจะนำไปใส่ถุงที่เตรียมไว้

  4. 4

    เติมน้ำมะนาวกับเกลือ. เทน้ำมะนาว 500 มล. (2 ถ้วย) และเกลืออีก 110 ก. (1/2 ถ้วย) โดยประมาณลงในถุงแล้วปิดให้สนิท

  5. 5

    ใช้มือบีบ. ใช้มือบีบถุงให้ทั่วเพื่อให้น้ำมะนาวซึมเข้าสู่เนื้อผ้า เกลือบางส่วนอาจจะละลายไปแล้ว แต่ส่วนที่ยังเหลืออยู่จะช่วยขจัดคราบเปื้อนได้ ต้องไม่ลืมเน้นบริเวณที่มีคราบเลือดติดอยู่เป็นพิเศษ

  6. 6

    ทิ้งไว้เพียง 10 นาที. เมื่อครบ 10 นาทีให้น้ำผ้าออกจากถุงแล้วบิดเอาน้ำมะนาวออก

  7. 7

    นำผ้าไปตากแดด. จะตากบนราวหรือผึ่งไว้บนพื้นเรียบๆ ให้แห้งก็ได้ เมื่อผ้าแห้งอาจจะดูทื่อๆ ไปหน่อย แต่เมื่อซักเสร็จผ้าก็จะกลับมานุ่มเหมือนเดิม

  8. 8

    ซักด้วยน้ำสะอาด. ถ้าคราบเลือดเลือนหายไปหมดแล้ว ให้นำผ้าไปซักน้ำเปล่าเพื่อล้างน้ำมะนาวออก แต่ถ้าคราบเจ้าปัญหายังอยู่ให้พรมน้ำพอหมาดก่อนนำไปตากแดดอีกครั้ง

    โฆษณา

  1. 1

    ขั้นตอนเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อผ้าบางชนิด. วิธีการดังต่อไปนี้จะใช้ผลิตภัณฑ์ขจัดคราบที่มีประสิทธิภาพสูงซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเส้นใยของผ้าบางชนิดได้ ผ้าที่เหมาะสมจึงควรมีสีขาว หรือเป็นผ้าที่มีความทนทาน นอกจากนี้ยังควรให้วิธีดังต่อไปนี้เป็นตัวเลือกสุดท้ายอีกด้วย

  2. 2

    ทดลองเสียก่อน. เมื่อเลือกผลิตภัณฑ์ใดๆ ในการขจัดคราบเลือด ควรใช้สำลีก้านหรือกระดาษทิชชู่จุ่มผลิตภัณฑ์แล้วนำมาป้ายลงบนเนื้อผ้าเสียก่อน แล้วทิ้งไว้สัก 5-10 นาที เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ทำลายเนื้อผ้าหรือเกิดรอยด่าง

  3. 3

    ใช้น้ำส้มสายชู. เป็นตัวเลือกที่ดีในการทำความสะอาดแต่ต้องระวังเพราะอาจกัดเนื้อผ้าได้ ให้แช่ผ้าลงในน้ำส้มสายชูประมาณครึ่งชั่วโมง จากนั้นให้ใช้นิ้วมือขยี้ผ้าก่อนนำไปซักในน้ำสะอาด[7] ถ้ารอยเปื้อนจางลงแต่ยังไม่หายไปทั้งหมด ให้ทำขั้นตอนนี้ซ้ำอีกครั้ง

  4. 4

    ลองใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์. ใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 3% ที่สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไปราดลงบนรอยเปื้อนโดยตรง หรือเลือกใช้สำลีก้อนจุ่มแล้วทาก็ได้ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์จะกัดทำลายเนื้อผ้าและอาจทำให้สีซีดได้ โดยให้นำผ้าไปไว้ในที่มืด 5-10 นาที เนื่องจากแสงจะทำลายฤทธิ์ของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ก่อนจะใช้ฟองน้ำหรือผ้าซับออก[8]

  5. 5

    ใช้แอมโมเนียเจือจาง. เลือกใช้แอมโมเนียที่นิยมใช้กันในครัวเรือนหรือที่เรียกว่า "แอมโมเนียไฮดรอกไซด์" นำไปผสมน้ำในอัตราส่วนเท่าๆ กัน แล้วนำมาหยดลงบนคราบเลือด ทิ้งไว้ 15 นาทีก่อนจะซับออกแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด[9] อย่าลืมว่าควรทดลองบริเวณเล็กๆ ก่อน หากผ้าเป็นรอยด่างให้เจือจางส่วนผสม โดยใช้แอมโมเนียไฮดรอกไซด์ 15 มล. (1 ช.ต.) ต่อน้ำ 1 ลิตร พร้อมผสมเจลล้างมือไปด้วย เป็นต้น [10]

    • คำเตือน: แอมโมเรียอาจทำลายเส้นใยในผ้าไหมหรือผ้าขนสัตว์ได้
    • แอมโมเนียที่หาซื้อได้ทั่วไปจะมีแอมโมเนียประมาณ 5-10% เท่านั้น ส่วนประกอบที่เหลือคือน้ำ[11] แอมโมเนียที่เข้มข้นกว่า ควรจะนำไปเจือจางในน้ำ

    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ควรทดลองผลิตภัณฑ์ทุกชนิดเป็นบริเวณเล็กๆ ในที่ลับตา เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อผ้าจะไม่ถูกทำลายและสีไม่ซีดจาง
  • คำแนะนำข้างต้น สามารถใช้ในการขจัดคราบเลือดออกจากพรมหรือผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ได้ โดยพื้นผิวเหล่านี้ ควรใช้ฟองน้ำหรือผ้าเปียกแทนการนำไปแช่น้ำซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้

โฆษณา

คำเตือน

  • ห้ามนำผ้าไปอบหรือนำไปผ่านความร้อนใดๆ จนกว่าจะแน่ใจว่าคราบเลือดหลุดออกทั้งหมด อุณหภูมิที่สูงจะทำให้คราบเลือดฝังแน่นยิ่งขึ้น
  • เพื่อสุขอนามัยที่ดี ควรสวมถุงมือทุกครั้งที่สัมผัสกับเลือดของผู้อื่น
  • ห้ามผสมแอมโมเนียกับกรดโดยเด็ดขาด เพราะส่วนผสมจะปล่อยสารระเหยที่เป็นอันตราย

โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

อาจใช้เพียงอย่างเดียวหรือมากกว่า:

  • สบู่ (ควรเลือกสบู่ก้อนหรือสบู่สำหรับซักผ้า)
  • แอมโมเนีย และผลิตภัณฑ์ล้างจานแบบเหลว
  • ผงซักฟอกที่มีเอนไซม์เป็นส่วนผสม
  • น้ำมะนาว เกลือ และถุงซิป
  • ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และสำลีก้อน
  • ผงหมักเนื้อนุ่มแบบไม่ปรุงรส
  • น้ำส้มสายชู

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,969 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้