ญาติพี่น้องทะเลาะกัน ส่งผลให้

ในอดีตเมื่อสังคมเป็นสังคมเกษตรกรรม เราคงเคยได้ยินว่าหลายครอบครัวนิยมมีลูกหลาย ๆ คนด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ คือเพื่อมาช่วยทำงาน แม้ว่าค่านิยมนี้จะเปลี่ยนแปลงไปในยุคปัจจุบันคือ แต่ละครอบครัวมีลูกจำนวนน้อยลง แต่ก็ยังมีหลายครอบครัวที่มีลูกมากกว่าหนึ่งคน อันทำให้เกิดปัญหาที่มักพบบ่อย ๆ คือ ปัญหาพี่น้องทะเลาะกัน อิจฉากัน แย่งของกัน รู้สึกไม่รักกัน ชิงดีชิงเด่นกัน ซึ่งจะพบมากในเด็กวัย 1-5 ปี และในหลายกรณี ปัญหานี้ไม่ได้หายไปเมื่อเด็กโตขึ้น กลับยังคงเป็นปัญหาในความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องที่ทอดยาวไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งคงเป็นสิ่งที่ไม่มีพ่อแม่คนใดปรารถนาให้เกิดขึ้น พ่อแม่จึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงที่มาของปัญหานี้และแก้ไขด้วยวิธีการที่เหมาะสมตั้งแต่วัยเด็ก

ปัญหา ?พี่น้องทะเลาะกัน? มักเกิดในครอบครัวที่มีพี่น้องอายุไล่เลี่ยกัน อันที่จริงการทะเลาะกันของเด็กเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติตามวัยของเด็ก เกิดได้ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน เช่น เด็กแย่งของเล่นกัน พูดอวดของเล่นหรือสิ่งของใหม่ที่ตนเองมี เกทับอีกฝ่ายหรือ พูดอวดความสามารถหรือความสำเร็จ ฯลฯ โดยสิ่งที่ตามมาเมื่อพี่น้องทะเลาะกันคือ การพูดจาต่อกันด้วยน้ำเสียงหรือคำพูดที่รุนแรง พูดกดอีกฝ่ายว่าด้อยกว่า ซึ่งจะทำให้อีกฝ่ายไม่พอใจ และอาจเกินเลยถึงขั้นใช้กำลังต่อสู้กัน ในขณะที่เด็กยังคุมอารมณ์และการตอบสนองของตนเองไม่ได้ดีนัก รวมทั้งยังประเมินแรงหรือยั้งแรงไม่เป็น ทำให้การตอบสนองรุนแรงจนอีกฝ่ายบาดเจ็บ กลายเป็นความไม่ชอบ ไม่พอใจ หรืออาจเลยไปเป็นความเกลียดชังกันได้หากพ่อแม่ปล่อยในเกิดสถานการณ์แบบนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง

พ่อแม่ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบดูแลอบรมสั่งสอนลูกแต่ละคนจึงมีหน้าที่ต้องจัดการ ไม่ว่าจะเป็นการห้ามศึก ไกล่เกลี่ย ตัดสิน ให้คุณให้โทษ ทำความเข้าใจ ออกกติการ่วม เพื่อให้เกิดความปรองดองรักใคร่ระหว่างลูก ๆ ให้มากที่สุด เริ่มตั้งแต่เขายังเป็นเด็กและไม่ปล่อยให้เด็กสร้างนิสัยชิงดีชิงเด่น เอาแต่ใจตัวเอง อิจฉาริษยา ไม่พอใจในสิ่งที่ตนเองมี ซึ่งจะทำให้ลูกกลายเป็นคนไม่มีความสุขในการใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่น ๆ ดังนั้นก็เริ่มต้นที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดี ถูกต้องในพี่น้องก่อน

ในขั้นต้น พ่อแม่ต้องสามารถจับสัญญาณของการไม่พอใจกันให้ได้ก่อน โดยสังเกตได้จากคำพูดของลูก เช่น เมื่อลูกคนใดคนหนึ่งบอกว่า หนูไม่ชอบพี่ ไม่รักน้อง พี่ไม่น่ารัก น้องไม่น่ารัก หรือพูดว่าพ่อแม่รักพี่มากกว่า หรือรักน้องมากกว่า คำพูดเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนให้พ่อแม่ต้องหันมาดูอย่างใกล้ชิดมากขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง

มีสาเหตุหลัก ๆ บางประการที่ทำให้พี่น้องเกิดความไม่พึงพอใจกัน อาทิ คนใดคนหนึ่งคิดว่าตนเองกำลังถูกพี่หรือน้องแย่งความรักของพ่อแม่ไป เช่น กรณีที่ลูกคนโตยังอายุ 3-4 ปี แล้วมีน้องแรกคลอด ซึ่งพ่อแม่อาจจะต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ จนไม่ได้ให้ความสนใจกับลูกคนแรกเหมือนเดิม กรณีนี้ ลูกคนแรกอาจรู้สึกว่าน้องมาแย่งเวลา แย่งความรัก แย่งความสนใจ ออกไป ข้อที่ควรปฏิบัติสำหรับพ่อและแม่คือการแสดงออกถึงความรักที่มีให้กับทั้งพี่และน้องอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นการยืนยันด้วยคำพูดว่าหรือการชวนให้พี่มาช่วยดูแลน้องใหม่ เช่น ?พ่อแม่ยังรักหนูเหมือนเดิม แต่น้องยังเล็กอยู่ พ่อแม่จึงต้องช่วยน้องมากหน่อย เหมือนตอนหนูยังเล็กเท่าน้อง พ่อแม่ก็ดูแลหนูแบบนี้? หรือ ?เรามาช่วยกันดูแลน้องดีไหม หนูคิดว่าจะช่วยดูแลน้องตรงไหนได้บ้าง?

อีกกรณีคือ ลูกคิดว่าพ่อแม่ลำเอียง กรณีนี้มักเกิดขึ้นในครอบครัวที่มีลูกคนใดคนหนึ่งมีลักษณะหรือคุณสมบัติบางด้านโดดเด่นกว่าลูกคนที่เหลือ เช่น อาจมีความสามารถโดดเด่นกว่าลูกคนอื่น มีอุปนิสัยตรงตามที่พ่อแม่ต้องการ มีรูปร่างหน้าตาผิวพรรณภายนอกน่ารักเป็นที่เอ็นดูของพ่อแม่หรือคนในครอบครัว เป็นต้น ทำให้เกิดการเปรียบเทียบทั้งด้วยคำพูดและการกระทำ เช่น พ่อแม่บางคนมักพูดว่า ?ทำไปลูกถึงดื้ออย่างนี้ ไม่ว่านอนสอนง่ายเหมือนน้องเลย? หรือ พ่อแม่บางคนอาจจะดูแลลูกคนที่เรียนเก่ง มากกว่าลูกคนอื่นที่เรียนไม่ดีนัก สิ่งนี้เป็นเหตุหนึ่งของปัญหาด้วย ในบางกรณี พ่อแม่อาจไม่สามารถดูแลลูกทุกคนได้ จึงเลือกเลี้ยงลูกคนเล็กเองได้และฝากลูกคนโตให้ญาติช่วยเลี้ยง พอลูกกลับมาอยู่ร่วมกัน ลูกคนที่ไปฝากเลี้ยงอาจตีความว่าพ่อแม่รักลูกคนโตน้อยกว่าคนเล็ก

ในหลายครอบครัวอาจมี ?กติกา? ในครอบครัวที่ไม่ชัดเจน เช่น บางครอบครัวไม่ได้กำหนดกติกาในการแบ่งของเล่นระหว่างพี่น้องว่าแต่ละคนจะเล่นได้นานเท่าใด พอลูกคนหนึ่งเล่นของบางอย่างนานโดยไม่แบ่งให้อีกคนเล่น ก็เกิดการทะเลาะกัน ยิ่งเด็กเล็กมากเท่าใดก็ยิ่งมีโอกาสทะเลาะกันง่ายขึ้นเท่านั้น เพราะเด็กยังอายุน้อย ขาดทักษะในการเข้าสังคม การเล่นด้วยกัน จึงจำเป็นที่พ่อแม่ต้องกำหนดกฎกติกาในครอบครัว เช่น การพูดจาต่อกัน การแสดงออกต่อกัน การใช้ของร่วมกัน ฯลฯ

นอกจากแนวทางข้างต้นแล้ว พ่อแม่ต้องพูดในแง่ดีของลูกแต่ละคนให้ลูกคนอื่น ๆ ฟังเสมอ เช่น ?พี่ชอบชมหนูให้พ่อฟังบ่อย ๆ ว่าหนูเป็นเด็กที่มีน้ำใจ แบ่งของให้พี่เขาเล่น? ?น้องเขาชมพี่ให้แม่ฟังบ่อย ๆ ว่าพี่ใจดีเป็นห่วงและรักเขามาก? สิ่งนี้จะช่วยเติมความรู้สึกที่ดีระหว่างกันให้เกิดขึ้น พ่อแม่ต้องหลีกเลี่ยงการพูดเปรียบเทียบหรือดุฝ่ายหนึ่งให้อีกฝ่ายฟัง

พ่อแม่ต้องหมั่นสื่อสารและเปิดโอกาสให้ลูกแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความเห็น ซักถาม หรือถกเถียงได้เสมอ เช่น ลูกอาจสงสัยว่าทำไมพ่อแม่ใช้เขาทำงานบ้านมากกว่าน้อง หากพ่อแม่ไม่เปิดโอกาสให้ถาม แต่กลับพูดว่า ?อย่าถามมาก ขี้เกียจทำใช่ไหมถึงถามอย่างนี้? ก็จะยิ่งทำให้ลูกไม่เข้าใจเหตุผล เกิดติดค้างในใจ กลายเป็นความไม่เข้าใจและความสับสน หรือลูกอาจสงสัยว่าทำไมพ่อแม่ให้พี่ไปเที่ยวกับเพื่อนแต่กลับไม่ให้เขาไป เป็นต้น การเปิดให้ลูกถามช่วยป้องกันไม่ให้ลูกคิดไปเอง ตีความไปเอง ซึ่งอาจทำให้ลูกได้คำตอบที่ผิดจากเจตนาของพ่อแม่ กลายเป็นความไม่พอใจสะสมจนอาจขยายเป็นความเกลียดชังกันระหว่างกันพี่น้องได้

ประการสุดท้ายซึ่งสำคัญมากคือ พ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ดีในการแก้ปัญหา เพราะลูกจะสังเกตว่าเวลาพ่อแม่ทะเลาะกัน พ่อแม่จัดการปัญหาอย่างไร หากพ่อแม่จัดการปัญหาด้วยความรุนแรง ลงไม้ลงมือแทนการพูดกันด้วยเหตุผล ไม่มีการพูดคุยหรือแก้ปัญหาด้วยกันอย่างสร้างสรรค์ ลูกจะจำเป็นแบบอย่าง เมื่อลูก ๆ มีปัญหาขัดแย้งกันย่อมจะเลียนแบบวิธีการของพ่อแม่ในการแก้ปัญหาเช่นกัน เช่น ลงมือทำร้ายร่างกายกัน งอนกัน กระทืบเท้าใส่ ฯลฯ อาจกล่าวได้ว่า สิ่งที่พ่อแม่ปฏิบัติต่อกันในการแก้ปัญหา เป็นคำสอนที่มี ?ชีวิต? ให้ลูกเห็นได้จากชีวิตจริง พ่อแม่จึงเป็นต้นแบบสำคัญที่สุดของการแก้ปัญหาและการสร้างความปรองดองในครอบครัว

การอยู่ด้วยกันในหน่วยสังคมที่เล็กที่สุดคือครอบครัว หากสมาชิกในครอบครัวเรียนรู้ที่จะแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ไม่ใช่ด้วยการใช้ความรุนแรงทางคำพูดหรือการกระทำ ย่อมเป็นการสร้างรากฐานที่ดีให้สังคมในภาพรวมแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธีเช่นกัน อนาคตของสังคมจึงอยู่ที่พ่อแม่ในวันนี้ที่จะเลี้ยงลูกขึ้นมาให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

พี่น้องทะเลาะกันเพราะอะไร

สาเหตุที่พี่น้องทะเลาะกันบ่อย การลงโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะทำให้ผู้ถูกลงโทษน้อยใจ โกรธเคืองและอาจคิดแกล้ง อีกฝ่ายหนึ่งต่อไป ฝ่ายที่ได้เปรียบบ่อยๆจะรู้สึกได้ใจ โดยส่วนมากเป็นผู้น้อง และมักจะอ้อนมากขึ้น ช่างฟ้อง ทำให้พี่ถูกลงโทษบ่อย และรู้สึกขุ่นเคือง แสดงในรูปยั่วแหย่แกล้งน้องเป็นวงจรของพี่น้องที่ไม่ถูกกันเรื่อยๆ

พ่อแม่กับลูกขัดแย้งกันมีผลทำให้เป็นอย่างไร

1. เด็กๆ จะกลายเป็นเด็กก้าวร้าว ในเมื่อเขาเห็นพฤติกรรมไม่ดีของเราบ่อยๆ เขาก็จะค่อยๆ ซึมซับสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เพราะด้วยความเป็นเด็ก เขามักจะเลียนแบบพฤติกรรมต่างๆ จากผู้ใหญ่ ซึ่งการที่พ่อแม่ทะเลาะกันก็จะทำให้เด็กๆ กลายเป็นเด็กก้าวร้าว ชอบใช้กำลัง หรืออาจจะมีการรังแกเพื่อนเกิดขึ้นได้ด้วย 2. เด็กขาดทักษะในการแก้ปัญหา

พี่น้องทะเลาะกันทำอย่างไร

เมื่อพี่น้องทะเลาะกัน คุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็น อย่าพึ่งดุลูกในทันที และไม่ควรฟังความข้างเดียว ต้องรับฟังเรื่องราวของทั้งสองฝ่าย หาสาเหตุของปัญหาที่ทำให้เกิดการทะเลาะ แล้วหาทางออกร่วมกัน สอนให้เขาเรียนรู้ซึ่งกันและกัน รู้จักการเสียสละ อดทน ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ ที่สำคัญคือ การสอนให้ลูกรู้จักยอมรับผิด สอนให้พูด 'ขอโทษ' ...

ความขัดแย้งระหว่างพี่กับน้องในครอบครัวมาจากสาเหตุใดมากที่สุด

ปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างพี่น้อง จริงๆ แล้วสาเหตุหลักอาจเกิดจากพ่อแม่เองก็ได้ ซึ่งปัญหาพี่น้องไม่รักกัน ทะเลาะกันอาจนำไปสู่ความล้มเหลวของชีวิตคู่ของพ่อแม่ได้เลยนะคะ เนื่องจากลูกมักดึงพ่อแม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมกับการโต้เถียงด้วย และถ้าพ่อแม่คนใดเข้าข้างลูกคนไหน ก็อาจทำให้ปัญหาความขัดแย้งเพียงเล็กน้อยของลูกบานปลายกลาย ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้