ความร่วมมือระดับภูมิภาค คือ

ตั้งอยู่ ณ ประเทศสิงคโปร์ ทำหน้าที่ประสานงาน และให้ข้อมูลแก่องค์กรภายในของเอเปค รวมทั้งให้บริการแก่สาธารณชนเกี่ยวกับข้อมูลเอเปค นอกจากนี้ สำนัก เลขาธิการฯ ยังมีหน้าที่ประสานและจัดสรรงบประมาณสำหรับการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของเอเปคด้วย

ภูมิหลัง

เอเปค (APEC)  เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างเขตเศรษฐกิจ (economy) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 โดยประเทศไทยเป็นสมาชิกแรกเริ่มของเอเปคตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ปัจจุบันมีสมาชิกเอเปค รวมทั้งสิ้น 21 สมาชิก ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์ ไทย สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกง จีนไทเป เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี ชิลี เปรู เวียดนาม และรัสเซีย เป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีพลังและพลวัตรของการเจริญเติบโตสูงสุดของโลก กลุ่มสมาชิกเอเปคมีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) รวมกันกว่า 19 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ของ โลก มีสัดส่วนการค้ากว่าร้อยละ 41 ของมูลค่าการค้าโลก และสัดส่วนการค้าระหว่างไทยกับสมาชิกเอเปคสูงถึงร้อยละ 70 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยทั้งหมด

วัตถุประสงค์

-ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เห็นความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือและพึ่งพากันทางเศรษฐกิจ เพื่อการพัฒนาที่ยั่นยืนของภูมิภาคและของโลก และเพื่อให้ประเทศในภูมิภาคนี้มีสิทธิมีเสียงมากขึ้นในการเจรจาการค้าพหุภาคี ผู้นำเอเปคได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมายการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน โดยพิจารณาจากความแตกต่างของระดับการพัฒนาของสมาชิก ตั้งแต่สมาชิกที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สมาชิกที่มีศักยภาพเศรษฐกิจปานกลาง เช่น สาธารณรัฐเกาหลี จีน จีนไทเป และสมาชิกกำลังพัฒนาเช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย ฯลฯ เป้าหมายของเอเปคคือ เป้าหมายโบกอร์ ที่สมาชิกเอเปคเห็นชอบในระหว่างการประชุมผู้นำฯ ที่เมืองโบกอร์ ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี 2537 ที่จะให้มีการเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก โดยเริ่มจากสมาชิกที่พัฒนาแล้วภายในปี 2553 (ค.ศ. 2010) และสมาชิกกำลังพัฒนาที่เหลือภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกกำลังพัฒนาได้มีระยะเวลาเพียงพอ ในการเตรียมความพร้อมและสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและทรัพยากรภายในของตน เพื่อรองรับการเปิดเสรี

**ในบริบทของเอเปคจะใช้คำว่า “เขตเศรษฐกิจ (economy)” แทนคำว่า “ประเทศ” เนื่อง จากสมาชิกของเอเปคสองราย คือ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง และจีนไทเป มิได้มีสถานะเป็นประเทศ แต่ได้รับการยอมรับให้เข้าเป็นสมาชิกในฐานะที่เป็นเขตเศรษฐกิจที่มีความ สำคัญในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

กลไกการทำงานของเอเปค

สมาชิกเอเปคทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ จะผลัดกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค รวมทั้งดำรงตำแหน่งประธานการประชุม (APEC Chair) ในแต่ละปี เขตเศรษฐกิจใดที่ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมจะดำรงตำแหน่งประธานการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders Meeting – ALEM) การประชุมรัฐมนตรีเอเปค (APEC Ministerial Meeting - AMM) การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค (Senior Officials Meeting - SOM) และการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (APEC Business Advisory Council - ABAC) ที่จะมีขึ้นในระหว่างปีนั้นด้วย

แบ่งการดำเนินงานออกเป็นสองระดับได้แก่ 1) ระดับนโยบาย และ 2) ระดับปฏิบัติ

1. ระดับนโยบาย

1.1. การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders Meeting – ALEM) สมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคซึ่งเป็นเจ้าภาพจะจัดการประชุมดังกล่าวปีละ 1 ครั้ง โดยจะมีการประกาศนโยบายและเป้าหมายการดำเนินงานของเอเปคในปีต่อไปในรูปของปฎิญญาผู้นำเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders Declaration)

1.2. การประชุมรัฐมนตรีเอเปค (APEC Ministerial Meeting - AMM) รัฐมนตรีต่างประเทศ และรัฐมนตรีพาณิชย์หรือรัฐมนตรีเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจสมาชิกจะเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ซึ่งจัดขึ้นก่อนการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ที่ประชุมจะทบทวนกิจกรรมของเอเปคตลอดปีที่ผ่านมา และประมวลข้อเสนอแนะ เพื่อเสนอแนะให้ที่ประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

1.3. การประชุมรัฐมนตรีสาขาต่างๆ (Sectoral Ministerial Meeting) จะกำกับดูแลความร่วมมือด้านการศึกษา พลังงาน สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน การคลัง สาธารณสุข การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โทรคมนาคม และอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ การท่องเที่ยว การค้า คมนาคม กิจการสตรี ฯลฯ

1.4. คณะกรรมการที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (APEC Business Advisory Council - ABAC) เอเปคซึ่งจะประกอบด้วยตัวแทนนักธุรกิจจากเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปคจำนวนเขตเศรษฐกิจละ 3 คน ทำหน้าที่เสนอมุมมอง และข้อคิดเห็นของภาคธุรกิจเอเปคต่อที่ประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจ ในรูปแบบของรายงานปีละ 1 ครั้ง โดยเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจและการลงทุนในภูมิภาค ABAC จะจัดการประชุมภายในกันปีละ 4 ครั้ง

2. ระดับปฎิบัติ

2.1. การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials Meeting - SOM) ทำหน้าที่ดำเนินการตามบัญชาของรัฐมนตรี โดยเจ้าหน้าที่อาวุโสจะให้แนวทางแก่คณะกรรมการ คณะทำงานและกลุ่มทำงานต่างๆของเอเปค และรวบรวมข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีและผู้นำเขตเศรษฐกิจ เจ้าหน้าที่อาวุโสจะประชุมกันปีละ 3-4 ครั้ง โดยประธานจะมาจากเขตเศรษฐกิจสมาชิกซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในปีนั้น

2.2. คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุน (Committee on Trade and Investment - CTI) ทำหน้าที่ประสานความร่วมมือเอเปคด้านการเปิดเสรี และอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน CTI จะดำเนินการเพื่อนำไปสู่การลดอุปสรรคทางการค้า

2.3. คณะกรรมการด้านงบประมาณและการบริหาร (Budget and Management Committee - BMC) ให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านงบประมาณ การบริหารและการจัดการ และทำหน้าที่ติดตามและประเมินการดำเนินงานของโครงการต่างๆ ของคณะกรรมการ คณะทำงาน และกลุ่มทำงานต่างๆ ซึ่งได้รับอนุมัติงบประมาณของเอเปค ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะแก่เจ้าหน้าที่อาวุโสในเรื่องการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของเอเปค

2.4. คณะกรรมการด้านเศรษฐกิจ (Economic Committee - EC) ทำหน้าที่ศึกษา วิจัย หารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางและประเด็นทางเศรษฐกิจในภูมิภาคที่อยู่ในความสนใจ รวมทั้งด้านการปรับโครงสร้างภายใน ซึ่งเรียกว่าประเด็นหลังพรมแดน (behind border issues) และยุทธศาสตร์ด้านการเจริญเติบโต โดยมีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านนโยบายด้านการแข่งขันและกฎหมาย

2.5. คณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (Steering Committee on Economic and Technical Cooperation - SCE) ทำหน้าที่กำหนดเป้าหมายและจัดลำดับของกิจกรรมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการของเอเปค ตลอดจนสนับสนุนการริเริ่มกิจกรรมเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เพื่อให้กิจกรรมเหล่านั้นบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ตามนโยบายที่กำหนดโดยรัฐมนตรีและผู้นำ  ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นสามกลุ่มดังต่อไปนี้

ระดับคณะทำงาน (Working Groups) ดำเนินงานในสาขาของตนตามที่ได้รับบัญชาจากผู้นำเขตเศรษฐกิจ รัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโส เอเปค ซึ่งมีทั้งหมด 12 คณะทำงาน ได้แก่

• คณะทำงานด้านความร่วมมือวิชาการการเกษตร (Agricultural Technical Cooperation )

• คณะทำงานด้านการต่อต้านการทุจริตและความโปร่งใส (Anti – Corruption and Transparency)

• คณะทำงานด้านการต่อต้านการก่อการร้าย (Counter Terrorism)

• คณะทำงานด้านการเตรียมการด้านภัยพิบัติ (Emergency Preparedness)

• คณะทำงานด้านพลังงาน (Energy)กลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการต่อต้านการค้าไม้ผิดกฎหมายและการค้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (Experts Group on Illegal Logging and Associated Trade)คณะทำงานด้านสุขภาพ (Health Working Group)

• คณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development)

• คณะทำงานด้านมหาสมุทรและการประมง (Oceans and Fisheries)

• คณะทำงานด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises)

• คณะทำงานด้านโทรคมนาคมและสารสนเทศ (Telecommunications and Information)

• คณะทำงานด้านการท่องเที่ยว (Tourism)

• คณะทำงานด้านการคมนาคม (Transportation)

• ระดับกลุ่มทำงานพิเศษ ได้แก่ กลุ่มทำงานพิเศษด้านเหมืองแร่ (Special Task Group on Mining)

• ระดับหุ้นส่วนเชิงนโยบายภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนใน 3 สาขา ได้แก่

• หุ้นส่วนเชิงนโยบายภาครัฐและภาคเอกชนด้านการมีส่วนร่วมของสตรีในระบบเศรษฐกิจ (Women and the Economy)

• หุ้นส่วนเชิงนโยบายภาครัฐและภาคเอกชนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (Science Technology and Innovation)

• หุ้นส่วนเชิงนโยบายภาครัฐและภาคเอกชนด้านความมั่นคงทางอาหาร (Food Security)

 2.6. กลุ่มความร่วมมือและความริเริ่มอื่นๆ มีบทบาทในการสนับสนุนเป้าหมายของเอเปค ซึ่งมีทั้งที่อยู่นอกเหนือโครงสร้างของคณะกรรมการและคณะทำงานของเอเปคอื่นๆ ได้แก่กระบวนการหารือรัฐมนตรีคลัง (Finance Ministers’ Process) ความร่วมมือระหว่างศูนย์ศึกษาเอเปค (APEC Study Centers Consortium) การหารือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Business Government Dialogues) และการหารือระดับอุตสาหกรรมที่อยู่ภายใต้ดังกล่าวข้างต้น

บทบาทของไทยในเอเปค

ในช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ไทยได้รับประโยชน์อย่างยิ่งในจากการเป็นสมาชิกเอเปค โดยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการประชุมทุกระดับ ตั้งแต่ระดับผู้นำ รัฐมนตรี เจ้าหน้าที่อาวุโส ตลอดจนการประชุมระหว่างผู้เชี่ยวชาญในกรอบความร่วมมือสาขาต่าง ๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นโอกาสให้ไทยเข้าไปผลักดันและร่วมกำหนดทิศทางความร่วมมือ ของเอเปคให้สอดคล้องกับนโยบายของไทย นอกจากนี้ ไทยยังได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากเอเปคในการนำไปจัดทำโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อไทยแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกโดยรวมอีกด้วย ที่ผ่านมา ไทยได้รับการสนับสนุนเงินทุนในการจัดทำโครงการในลักษณะดังกล่าวจากเอเปค เฉลี่ยปีละประมาณ 300,000.- ดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ไทยต้องเสียค่าสมาชิกให้เอเปค ปีละ 75,000  ดอลลาร์สหรัฐฯ

บทบาทของกรมประมง

ให้ความร่วมมือในการประสานข้อมูล ความคิดเห็นด้านการประมงระดับประเทศทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ และส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมประจำปี คณะทำงานด้านการประมง (Fisheries Working Group) ซึ่งมีบทบาทในการศึกษา วิจัยอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในภูมิภาคเอเปค

ความร่วมมือระดับภูมิภาค มีอะไรบ้าง

ข้อมูลความร่วมมือในกรอบอนุภูมิภาคและภูมิภาค : กรอบภูมิภาค.
แผนโคลัมโบ (Colombo Plan) ... .
กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC) ... .
การประชุมเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Meeting – ASEM) ... .
กรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue: ACD).

องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคมีอะไรบ้าง

กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ.
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก (APEC).
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN).
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน ญี่ปุ่น เกาหลี (ASEAN+3).
ธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (EMEAP).
ความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA).

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจหมายถึงอะไร

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ หมายถึง การที่ประเทศตั้งแต่สองประเทศขึ้นไปตกลงกัน เพื่อลด หรือยกเลิกข้อจำกัดทางด้านการค้าระหว่างกัน ทั้งด้านภาษีและไม่ใช่ภาษีศุลกากร การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจสามารถแบ่งระดับของความร่วมมือตามลำดับจากน้อยไปหามาก

ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจมีอะไรบ้าง

1) การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ มี5 ระดับ คือ (1) เขตการค้าเสรี (Free Trade Area) (2) สหภาพศุลกากร (Custom Union) (3) ตลาดร่วม (Common Market) (4) สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union) (5) สหภาพเหนือชาติ (Supranational Union)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้