โครงงาน ปุ๋ยหมัก จากใบ ก้ามปู

ออกซิเจนในน้ำ

กฤษณา ชุติมา.สุญญากาศ.รู้ไว้ใช่ว่า ประสาวิทยาศาสตร์ เล่ม 2”.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2541.

ออกซิเจนในน้ำมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ และพืชในน้ำ ปริมาณการละลายของออกซิเจนในน้ำเป็นเครื่องบ่งบอกการชี้บอกคุณภาพของน้ำในแหล่งนั้น ถ้าหากปริมาณออกซิเจนน้อยผิดปกติ แสดงว่าน้ำเสีย ทำให้สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อยู่ไม่ได้ ออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ มาจากอากาศเป็นแหล่งสำคัญ อากาศที่ละลายในน้ำให้ออกซิเจนราว 1 ลิตร ที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส และความดันอากาศ เท่ากับ 760 มิลลิเมตรปรอท หรือ101,300 พาสคัล ปริมาณการละลายของออกซิเจนในน้ำขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความดันอากาศ อุณหภูมิสูงขึ้นทำให้ออกซิเจนละลายได้น้อยลงแต่ถ้าความดันอากาศสูงขึ้นจะละลายได้มากขึ้น น้ำทะเลมีออกซิเจนละลายอยู่น้อยกว่าน้ำจืด เนื่องจากความเค็มของน้ำทะเล ออกซิเจนในน้ำส่วนหนึ่งได้มาจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชในน้ำ และในทางกลับกัน การหายใจของพืชก็จะทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง การกระจายของปริมาณออกซิเจนในระดับความลึกต่าง ๆ ของแหล่งน้ำย่อมแตกต่างกัน นอกจากนั้น ยังอยู่ที่ปริมาณธาตุอาหารมากน้อยในแหล่งน้ำนั้นด้วย น้ำโสโครกจากชุมชนทำให้น้ำในแหล่งน้ำเน่าเสีย เพราะสิ่งโสโครกมักมีสารอินทรีย์ ซึ่งจะมีการย่อยสลายโดยแบคทีเรีย จุลชีพเหล่านั้นต้องการออกซิเจนในการย่อยสลาย สารอินทรีย์ที่ปะปนอยู่ในน้ำ ทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง มลพิษทางน้ำอาจเกิดจากน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรม และน้ำจากเกษตรกรรมด้วย ปลาหายใจในน้ำ มันรับออกซิเจนจากน้ำ ไม่ใช่จากอากาศ น้ำผ่านช่องปาก แล้วผ่านต่อไปเข้าช่องเหงือกเหงือกจะรับเอาออกซิเจนไว้ แล้วถ่ายคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับน้ำที่ผ่านเข้าไป ปลาจึงมีน้ำผ่านเข้าไปในช่องเหงือกตลอดชีวิต ปลาบางชนิดมีวิวัฒนาการสูงขึ้นโดยมากมักเป็นปลาในเขตร้อน ซึ่งน้ำมีปริมาณออกซิเจนละลายอยู่น้อย ปลาเมืองร้อนบางชนิดพัฒนาอวัยวะบางอย่างขึ้นมา เอาไว้เก็บอากาศบนบกเพื่อใช้หายใจในน้ำได้ เช่น ปลาดุก ปลาช่อน

โดย : นางสาว chaowanee thammakhankaew, สถาบันราชเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2545

ที่มา://www.nectec.or.th/schoolnet/library/createweb/10000/science/10000-2705.html

มาตรวิทยา

ในธรรมชาติ การย่อยสลายทางชีวภาพด้วยวัสดุที่แตกต่างกัน จะใช้อัตราส่วนที่แตกต่างกันด้วย เพื่อให้สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจุลินทรีย์ต้องการแสง น้ำ และออกซิเจน ในการช่วยย่อยสลายทางชีวภาพ อุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดอัตราการย่อยสลายทางชีวภาพ เนื่องจากในสภาพอากาศอบอุ่นทำให้จุลินทรีย์มีแนวโน้มทำงานซ้ำๆได้เร็วขึ้น

การย่อยสลายทางชีวภาพสามารถวัดเป็นจำนวนได้หลายวิธี นักวิทยาศาสตร์มักใช้การทดสอบการหายใจของจุลิทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน (Aerobe) ในการหายใจ โดยเก็บตัวอย่างที่เป็นของเสียในรูปของแข็ง ที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์และดิน ต่อมาผึ่งลมทิ้งไว้หลายวัน จุลินทรีย์จะทำการย่อยตัวอย่างทีละน้อย และผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งผลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเป็นตัวบ่งชี้การย่อยสลาย การย่อยสลายทางชีวภาพสามารถวัดโดยจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic) และจำนวนมีเทน หรือ โลหะผสมที่สามารถผลิตได้ ในวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า กระบวนการการบำบัดสารมลพิษทางชีวภาพ[2]

ที่มา : //th.wikipedia.org/wikiการย่อยสลายทางชีวภาพ

ปุ๋ยหมัก

       ปุ๋ยหมัก  คือ ปุ๋ยที่ได้จากการหมักสารอินทรีย์ให้สลายตัวผุพังตามธรรมชาติ   โดยนำสิ่งเหล่านั้นมากองรวมกัน รดน้ำให้ชื้น แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เกิดการย่อยสลายตัวโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ จึงนำไปใช้ปรับปรุงดิน ในการเตรียมกองปุ๋ยหมัก อาจใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเร่งกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน เป็นการเพิ่มคุณค่าด้านธาตุอาหารของปุ๋ยหมักด้วย


ปัจจัยที่จำเป็นต่อการทำปุ๋ยหมัก

          1. การเลือกสถานที่ที่จะใช้ในการทำปุ๋ยหมัก

           - ควรเลือกบริเวณใกล้กับแหล่งซากสัตว์และซากพืช ให้มากที่สุด และสะดวกในการขนย้ายไปใช้
           - ควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ แต่ควรอยู่ห่างจากแหล่งน้ำบริโภค

           - ควรเป็นบริเวณที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง

          2. แรงงาน เพื่อใช้ในการขนย้าย

การเตรียมวัสดุต่างๆเพื่อนำมาใช้ผลิตปุ๋ยหมัก


         - ซากพืช เช่น ฟางข้าว เปลือกถั่ว ต้นถั่ว ต้นข้าวโพด ใบอ้อย ต้นและใบฝ้าย ซากพืชตระกูลถั่วต่างๆทั้งที่เป็นหญ้าสดและหญ้าแห้งใบไม้ทุกชนิดเป็นต้น

         - ซากสัตว์ หรือ ปุ๋ยคอก เป็นแหล่งของจุลินทรีย์ และอาหารของจุลินทรีย์ หรืออาจจะใช้สารเร่งที่เป็นแหล่งจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลาย

         - อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการผลิตปุ๋ย

การดูแลรักษาปุ๋ยหมัก

          - ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ

          - ควรตรวจสอบความชื้นในกองปุ๋ย โดยการบีบเศษวัสดุจากกองปุ๋ย

          - การกองปุ๋ยปุ๋ยแบบชนิดกลับกอง จะมีการจัดวางกองเป็นชั้น แล้วมีการกลับกองทุก 10-15 วัน
          - การกองปุ๋ยแบบไม่กลับกอง จะทำแบบเดียวกับแบบชนิดกลับกอง แต่มีการทำช่องระบายอากาศไว้

ลักษณะปุ๋ยหมักที่นำไปใช้ได้แล้ว

          - อุณหภูมิในกองลดลงเท่ากับอุณหภูมิภายนอกรอบๆกองปุ๋ย

          - สีของเศษวัสดุเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ และมีลักษณะอ่อนนุ่มและเปื่อยยุ่ย

          - ไม่มีกลิ่นฉุนของก๊าซต่างๆ        

- อาจมีหญ้าหรือเห็ดขึ้นบนกองปุ๋ยหมักได้

การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมัก

          - การใช้ปุ๋ยหมักในการเตรียมแปลงในการปลูกผักและพืชไร่และไม้ดอก

          - ใช้เป็นปุ๋ยแต่งหน้า

          - การใช้ปุ๋ยหมักกับการปลูกพืชผักและไม้ดอกไม้ประดับในภาชนะปลูก

          - การใช้ปุ๋ยหมักกับไม้ผล

ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธี วิศวกรรมแม่โจ้ 1” มีดังนี้

          1. นำฟางข้าวหรือใบไม้ เลี้ยงสัตว์ 4 ส่วน วางเป็นชั้นบางๆ สูงไม่เกิน 10 เซนติเมตร โดยไม่ต้องเหยียบ โปรยทับด้วยมูลสัตว์ 1 ส่วน แล้วรดน้ำ ทำเช่นนี้ จนเต็มวง รดน้ำแต่ละชั้นให้มีความชื้น ความสำคัญของการที่ต้องทำเป็นชั้นบางๆ เพื่อให้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในมูลสัตว์ได้ใช้ทั้งธาตุคาร์บอนที่มีอยู่ในเศษพืชและธาตุไนโตรเจนที่มีในมูลสัตว์ในการเจริญเติบโตและสร้างเซลล์ ซึ่งจะทำให้การย่อยสลายวัตถุดิบเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

2. รักษาความชื้นภายในกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอตลอดเวลา (มีค่าประมาณร้อยละ 60–70) โดยมี 2 ขั้นตอนดังนี้

          ขั้นตอนที่ 1 รดน้ำภายนอกกองปุ๋ยวันละครั้ง โดยไม่ให้มีน้ำไหลนองออกมาจากกองปุ๋ยมากเกินไป

ขั้นตอนที่ 2 เมื่อครบวันที่ 10 ใช้ไม้แทงกองปุ๋ยให้เป็นรูลึกถึงข้างล่างแล้วกรอกน้ำลงไป ระยะห่างของรูประมาณ 40 เซนติเมตร ทำขั้นตอนที่สองนี้ 5 ครั้ง ระยะเวลาห่างกัน 10 วัน เมื่อเติมน้ำเสร็จแล้วให้ปิดรู เพื่อไม่ให้สูญ เสียความร้อนภายในกองปุ๋ย ขั้นตอนนี้แม้ว่าในช่วงของฤดูฝนก็ยังต้องทำเพราะน้ำฝนไม่สามารถไหลซึมเข้าไปในกองปุ๋ยได้ จากข้อดีที่น้ำฝนไม่สามารถชะล้างเข้าไปในกองปุ๋ยได้ ผู้ดูแลจึงสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีนี้ในฤดูฝนได้ด้วย

ภายในเวลา 5 วันแรก กองปุ๋ยจะมีค่าอุณหภูมิสูงขึ้นมาก บางครั้งสูงถึง 70 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็น เรื่องปกติสำหรับกองปุ๋ยที่ทำได้ถูกวิธี

ความร้อนสูง นี้เกิดจากกิจกรรมการย่อยสลายของจุลินทรีย์  (จุลินทรีย์มีมากมายและหลากหลายในมูลสัตว์อยู่แล้ว) และความร้อนสูงนี้ยังเป็นสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมกับการทำงานของจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยอีกด้วย (จุลินทรีย์กลุ่ม Thermophiles และ Mesophiles) หลังจากนั้นอุณหภูมิจะค่อยๆ ลดลงจนมีค่าอุณหภูมิปกติที่อายุ 60 วัน

3. เมื่อกองปุ๋ยมีอายุครบ 60 วัน ก็หยุดให้ความชื้น กองปุ๋ยจะยุบตัวลงประมาณ 1 ส่วน 3 ของวงตาข่าย แล้วทำปุ๋ยอินทรีย์ให้แห้งเพื่อให้จุลินทรีย์สงบตัว (Stabilization Period) และไม่ให้เป็นอันตรายต่อรากพืช วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์ให้แห้งอาจทำโดยทิ้งไว้ในกองเฉยๆ ประมาณ 1 เดือน หรืออาจแผ่กระจายให้มีความหนาประมาณ 20 – 30 ซม. ซึ่งจะแห้งภายในเวลา 3–4 วัน สำหรับผู้ที่ต้องการจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ก็อาจนำปุ๋ยอินทรีย์ที่แห้งแล้วไปตีป่นให้มีขนาดเล็กสม่ำเสมอ สามารถเก็บได้นานหลายปี

กองปุ๋ยที่สูง 1.5 เมตรจะสามารถเก็บกักความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาการย่อยสลายของจุลินทรีย์เอาไว้ในกองปุ๋ย ความร้อนนี้นอกจากจะเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับจุลินทรีย์ชนิดชอบความร้อนสูงที่มีในมูลสัตว์แล้วเมื่อความร้อนนี้ลอยตัวสูงขึ้นจะทำให้อากาศภายนอกที่เย็นกว่าไหลเวียนเข้าไปในภายในกองปุ๋ย ซึ่งเกิดจากการพาความร้อน (Chimney Convection) อากาศภายนอกที่ไหลหมุนเวียนเข้ากองปุ๋ยนี้ช่วยทำให้เกิดสภาวะการย่อยสลายของจุลินทรีย์แบบใช้ออกซิเจน (Aerobic Decomposition) ทำให้ไม่ต้องมีการพลิกกลับกอง และช่วยให้กองปุ๋ยไม่มีกลิ่นหรือน้ำเสียใดๆ

หัวใจสำคัญของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธี วิศวกรรมแม่โจ้ 1”

หัวใจสำคัญของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีนี้ คือ ต้องรักษาความชื้นภายในกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอตลอดเวลาทั้งภายในและภายนอกกองปุ๋ยด้วยวิธีการ 2 ขั้นตอนข้างต้น บริเวณใดที่แห้งเกินไปหรือแฉะเกินไปจุลินทรีย์จะไม่สามารถย่อยสลายได้ ทำให้วัสดุไม่ย่อยสลาย กระบวนการอาจใช้เวลานานถึง 6 เดือนถึง 1 ปีก็ได้

ข้อห้ามของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธี วิศวกรรมแม่โจ้ 1”

ข้อห้ามของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีนี้คือ

1. ห้ามขึ้นเหยียบกองปุ๋ยให้แน่น หรือเอาผ้าคลุมกองปุ๋ย หรือเอาดินปกคลุมด้านบนกองปุ๋ย เพราะจะทำให้อากาศไม่สามารถไหลถ่ายเทได้

2. ห้ามละเลยการดูแลความชื้นทั้ง 2 ขั้นตอน เพราะถ้ากองปุ๋ยแห้งเกินไป จะทำให้ระยะเวลาแล้วเสร็จนานและปุ๋ยอินทรีย์มีคุณภาพต่ำ

3. ห้ามวางเศษพืชเป็นชั้นหนาเกินไป การวางเศษพืชเป็นชั้นหนาเกินไปจะทำให้จุลินทรีย์ที่มีในมูลสัตว์ไม่สามารถเข้าไปย่อยสลายเศษพืชได้

4. ห้ามทำกองปุ๋ยใต้ต้นไม้ เพราะความร้อนของกองปุ๋ยอาจทำให้ต้นไม้ตายได้

5. ห้ามระบายความร้อนออกจากกองปุ๋ย เพราะความร้อนสูงในกองปุ๋ยจะช่วยให้จุลินทรีย์ทำงานได้ดีมากขึ้น และยังช่วยให้เกิดการไหลเวียนของอากาศผ่านกองปุ๋ยอีกด้วย

ใบไม้ / โครงเส้นใบของใบไม้

          ใบไม้ (leaf) เป็นส่วนที่สร้างอาหารโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ใบไม้มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันหลายแบบแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ๆ ตามลักษณะที่แตกต่างกัน

ประเภทของใบไม้

ใบเดี่ยว

          ใบเดี่ยว  (simple leaf) หมายถึง ใบที่มีเพียงใบเดียวติดกับก้านที่แตกออกจากกิ่ง หรือลำต้น เช่น มะม่วง กล้วย แต่ยังมีใบเดี่ยวบางชนิดที่ขอบใบเว้าเข้าไปมากทำให้ดูคล้ายใบประกอบ เช่น มะละกอ มันสำปะหลัง เป็นต้น

ใบประกอบ

           ใบประกอบ (compound leaves) หมายถึง ใบที่มีใบย่อยตั้งแต่ 2 ใบอยู่ติดกับก้านใบ 1 ก้าน แต่ละใบของใบประกอบ เรียก ใบย่อย (leaflet หรือ Pina) ก้านใบย่อย เรียก เพทิโอลูล (petiolule หรือ petiolet) ส่วนก้านใบใหญ่ที่อยู่ระหว่างช่วงก้านใบย่อย เรียก ราคิส (rachis)

ใบประกอบแยกย่อยได้ 2 แบบ

          ใบประกอบแบบฝ่ามือหรือแบบนิ้วมือ (palmately compound leaves) ใบย่อยแต่ละใบจะแยกออกจากก้านใบที่จุดรวมเดียวกัน โดยจะมีใบย่อยตั้งแต่ 2 ใบเช่น มะขามเทศ ใบย่อย 3 ใบเช่น ยางพารา ถั่ว  ใบย่อย 4 ใบ เช่น ใบนุ่น หนวดปลาหมึก

          ใบประกอบแบบขนนก (pinnately compound leaves) ใบย่อยแต่ละใบแยกออกจากก้าน 2 ข้างของแกนกลาง คล้ายขนนก ถ้าปลายสุดของใบจะเป็นใบย่อยเพียงใบเดียวเรียก แบบขนนกคี่ (odd pinnate) เช่น กุหลาบ อัญชัน ก้ามปู ถ้าสุดปลายใบมี 2 ใบ เรียกแบบขนนกคู่ (even pinnate) ใบประกอบแบบขนนกอาจแบ่งย่อยได้อีก คือ

          ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว  (unipinnate) เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยแยกออกจากแกนกลางเพียงครั้งเดียว เช่น กุหลาบ มะขาม ขี้เหล็ก เป็นต้น

          ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น (bipinnate) เป็นใบประกอบแบบขนนกที่แยกออกจากก้านเป็นครั้งที่ 2 จึงมีใบย่อย เช่น จามจุรี หางนกยูง เป็นต้น

          ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น  (tripinnate) เป็นใบประกอบแบบขนนกที่แตกแขนงออกจากก้านเป็นครั้งที่ 3 จึงมีใบย่อย เช่น ปีบ มะรุม เป็นต้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้