ปัญหา เกี่ยวกับ อากาศ ในทวีปแอฟริกา

                  ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในทวีปแอฟริกา

            ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่กำลังพัฒนา มีประชากรมาก ประชากรส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ และยากจน ขาดแคลนอาหารและน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภคการ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าของแต่ละประเทศจึงเน้นไปที่เรื่องปากท้องของผู้คนเป็นหลัก ทำให้การดูแลจัดการปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมมีน้อย ซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของทวีปแอฟริกามีดังนี้

                1.ภัยแล้ง

            เป็นปัญหาที่สร้างความเสียหายให้กับทวีปแอฟริกามากที่สุด และเกิดต่อเนื่องมาเกือบทุกปี ทุกประเทศในทวีปล้วนประสบภัยแล้งด้วยกันทั้งสิ้น ภัยแล้งในทวีปแอฟริกาเกิดจากสภาพของพื้นที่อยู่ในเขตแห้งแล้ง การขยายตัวของพื้นที่ทะเลทรายซึ่งเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมถึง 25,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่สีเขียวถูกบุกรุกทำลายในสภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลง ผลของภัยแล้งทำให้พืชผลทางการเกษตรเสียหายปศุสัตว์ล้มตาย ขาดแคลนอาหารและน้ำอย่างรุนแรง ส่งผลทำให้เกิดทุพภิกขภัยติดตามมา ช่วงหลายปีที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตเพราะขาดอาหารในทวีปแอฟริกาประมาณ 1.6 ล้านคน และภัยแล้งยังทำให้พืชผลและต้นไม้ต่างๆถูกทำลาย

                2. การตัดไม้ทำลายป่า
             ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ป่าฝนที่อุดมสมบูรณ์เหลือเพียงร้อยละ 18 ของเนื้อที่ป่าของโลก เป็นทวีปที่มีการบุกรุกทำลายป่ามากที่สุดของโลกในปัจจุบันอันเนื่องมาจากหลายประเทศส่งเสริมการตัดไม้ ส่งสินค้าออก และแปรรูปผลผลิตจากไม้ ติดต่อกันมานาน เช่น แกมเบีย ไนเจอร์ สาธารณรัฐแอฟริกากลางสาธารณรัฐคองโก เป็นต้น ทั้งนี้บางประเทศที่เคยส่งไม้เป็นสินค้าออก ปัจจุบันต้องสั่งนำเข้า นอกจากนี้ยังเกิดจากประชากรต้องใช้ถ่านและฟืนเป็นเชื้อเพลิง รวมทั้งการบุกรุกพื้นที่ทำไร่เลื่อนลอยและทำฟาร์มเพาะปลูกขนาดใหญ่เพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ ซึ่งการทำลายป่าเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในเกือบทุกประเทศ

                3. ที่ดินเสื่อมโทรม
            เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การเพาะปลูกไม่ได้ผล ส่งผลให้เกิดภาวการณ์ขาดแคลนอาหาร เกิดการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าเพื่อใช้เป็นแหล่งเพาะปลูกใหม่มากขึ้น สาเหตุที่สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับดินเกิดปัญหาเสื่อมโทรม ส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบมาจากภัยแล้ง สาเหตุอื่นๆมาจากการเกษตรกรขาดความรู้ ความเข้าใจการจัดการดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ มีการใช้ปุ๋ยเคมี และสารปราบศัตรูพืชกันอย่างกว้างขวาง ผิวหน้าดินถูกชะล้างทำลายจากสาเหตุต่างๆ

                4. การขาดแคลนน้ำและมลพิษทางน้ำ
            แหล่งน้ำสำคัญของทวีปแอฟริกามีไม่มากและจำกัดอยู่เฉพาะในบางบริเวณ ผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลปริมาณน้ำในทะเลสาบและแม่น้ำสายสำคัญจึงลดลงมาก ประกอบกับการขยายพื้นที่เกษตรกรรมต้องใช้น้ำในการเพาะปลูกมากขึ้น ความต้องการใช้น้ำจากการเพิ่มขึ้นของประชากรส่งผลให้น้ำขาดแคลนมากขึ้น ประชากรต้องใช้น้ำที่ไม่สะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภค ทำให้เกิดปัญหาสาธารณสุขตามมา ประเทศที่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำมาก เช่น เอธิโอเปีย ซูดาน เป็นต้น

Dr. Youba Sokona, Malian รองประธานคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกล่าวว่า นักวิชาการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสถาบันต่างๆในแอฟริกา มักไม่ได้รับคำปรึกษาจากผู้กำหนดนโยบายหรือรัฐบาลในทวีปนี้ การวิจัยและแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ของพวกเขานั้นถูกเก็บไว้นานเกินไปและแทบไม่เคยได้มีโอกาสนำมันเข้าสู่การอภิปรายนโยบายเลย และแนวทางที่กระจัดกระจายนี้ยังส่งผลจ่อนโยบายของรัฐบาลด้วย กระทรวงต่างๆมักจะดำเนินตามแนวคิดของผู้บริจาคที่แตกต่างกันไป โดยไม่ได้ประสานงานทางการเมืองระดับสูงอย่างเป็นระบบ และมันกำลังนำไปสู่ปัญหาที่ละน้อยๆ ดังนั้นผู้บริจาคจึงไม่ควรกำหนดนโยบายแต่ต้องทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น พูดง่ายๆว่าจะทำตามใจตัวเองไม่ได้ ต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้วย เพราะนี่อาจจะเป็นโอกาสสุดท้ายสำหรับแอฟริกาก็ได้ที่จะได้คิดอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับวิธีพพัฒนาและการจัดการ เพราะสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายไม่รอใคร ต้องลงมือทำได้แล้ว

การปล่อยมลพิษต้องเพิ่มขึ้นก่อน

งงล่ะสิ ทำไมต้องเพิ่มการปล่อยมลพิษ ศาสตราจารย์ Chukwumerije Okereke จากไนจีเรีย ผู้ทำงานธรรมาภิบาลสภาพภูมิอากาศและนักวิชาการด้านการพัฒนาระหว่างประเทศกล่าวว่า แม้ว่าจะมีผลกระทบในวงกว้างขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแอฟริกา แต่ประเทศที่สนับสนุนก็จะได้รับการปรับปรุงให้น้อยที่สุด กล่าวคือ พันธมิตรระหว่างประเทศมุ่งเน้นไปที่การป้องกันหรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 3 เท่าในการจัดการเรื่องนี้

ฉันทามติทั่วโลกดูเหมือนจะสมดุลโดยเน้นไปที่การกำจัดก๊าซเรือนกระจกผ่านพืชหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ สิ่งนี้ได้ละเลยการพัฒนาครั้งใหญ่และท้าทายด้านพลังงานที่แอฟริกาต้องเผชิญ และแน่นอนว่าการปล่อยมลพิษจากทวีปอาจต้องเพิ่มขึ้นอย่างมากในระยะเวลาอันใกล้นี้ก่อนที่จะตกดิ่งลงมา

ดูเหมือนว่าประเทศร่ำรวยหลายแห่งคาดหวังว่าแอฟริกาจะก้าวกระโดดไปสู่เทคโนโลยีสะอาดเพื่อการผลิตพลังงาน แต่ก็ไม่ค่อยกระตือรือร้นด้านการลงทุนตามขนาดที่จำเป็นเพื่อให้มันเกิดขึ้นจริง แม้ว่าแอฟริกาจะทำข้อตกลงในการลดการพึ่งพาถ่านหินได้อย่างมีขั้นมีตอนและเดินไปในทิศทางที่ถูกต้องแล้วก็ตาม

ประเทศในแอฟริกาที่อุดมไปด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลและจำเป็นต้องรู้ว่าโลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงต้องสร้างสถาบันและนโยบายเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงไปสู่พลังงานสีเขียว ซึ่งมีตัวอย่างให้ดูแล้วในรวันดาและเอธิโอเปีย แต่ก็ยังต้องดำเนินการอีกมากมายในการกำกับดูแลที่ยังไม่ดีพอ

ต้องใช้เงินทุน ไม่ใช่เงินกู้

Dr. Christopher Trisos จากแอฟริกาใต้ ผู้ริเริ่มโครงการด้านสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาแอฟริกาใต้กล่าว่า หลายประเทศพึ่งพาพลังงานหมุนเวียนอย่างมาก นั่นคือ ไฟฟ้าพลังงานน้ำ เพื่อผลิตกระแสไฟ แต่ภัยแล้งเมื่อเร็วๆนี้ เช่น เอลนีโญในปี 2015-2016 ทำให้เกิดการขาดแคลนไฟฟ้าเป็นวงกว้าง งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในอนาคตจะสามารถลดกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำได้อย่างมากในลุ่มน้ำสำคัญของแอฟริกา และจะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมที่มีการจ้างงานคนจำนวนมาก

การจำกัดภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียสจะช่วยลดความเสียหายต่ออนาคตการดำรงชีวิต สุขภาพ โครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจและระบบนิเวศของแอฟริกาเป็นอย่างมาก เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้จึงจำเป็นที่จะต้องมีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับที่ลึกขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศที่มีการปล่อยมลพิษสูงนอกจากแอฟริกา

คุณภาพของการเงินก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน เนื่องจากปัจจุบันส่วนใหญ่มีการจัดหาเงินให้กู้ยืมมากกว่าการให้เงินช่วยเหลือ ซึ่งหมายความว่าประเทศต่างๆที่ทำประโยชน์ได้เพียงเล็กน้อยและก่อให้เกิดวิกฤตสภาพภูมิอากาศจะกลายเป็นหนี้บุญคุณต่อประเทศที่ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ผู้ก่อมลพิษต้องจ่าย

Dr. Kgaugelo Chiloane ผู้ก่อตั้ง KEC Environmental Solutions ชาวแอฟริกากล่าวว่า ชุมชนชาวแอฟริกาที่อ่อนแอและยากจนต้องการความช่วยเหลือในการปรับตัวให้เข้ากับผลกระทบที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่เสียงของพวกเขาต้องได้รับการรับฟังด้วย พวกเขามีความรู้และความเชี่ยวชาญแบบดั้งเดิมมากมายบนผืนดินที่ถูกละเลย นโยบายมักถูกนำไปใช้โดยชุมชนไม่ได้ไปมีส่วนร่วม ผู้ที่ก่อมลพิษควรชดใช้ด้วยเงินทุนที่จะเอามาแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น บริษัทที่ปล่อยคาร์บอนขนาดใหญ่ ควรรับผิดชอบและชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นในฐานะผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ เนื่องจากเราปล่อยให้พวกเขาสร้างผลกำไรมานานหลายทศวรรษ

ก่อนหน้านี้แอฟริกาประสบกับปัญหาภัยแล้งรุนแรง ทำให้รัฐบาลต้องขนส่งอาหารที่จำเป็นมาให้คนในแต่ละพื้นที่เพื่อประทังความหิวโหย เด็กและสตรีมีครรภ์มีภาวะขาดสารอาหาร หลายประเทศในแอฟริกาจำเป็นต้องใช้น้ำเพื่อการเกษตรและพลังงานไฟฟ้า แต่ต้องขาดแคลนไป ทำให้ผู้คนหารายได้ไม่ได้ ทำงานไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อแรงงานหลายพันคนและผู้ประกอบการอีกหลายเจ้า ซึ่งสามารถอ่านบทความภัยแล้งในเคนย่าต่อได้ที่ ประเทศเคนย่าน่าห่วง โดนภัยแล้งโจมตี สัตว์ล้มตาย คนนับล้านขาดสารอาหาร

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้