ปัญหา ภัย ธรรมชาติ ในทวีปอเมริกาเหนือ

นี่เป็นอีกครั้งที่รัฐแคลิฟอร์เนียต้องรับมือกับไฟป่าครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ถึงเช่นนั้น ก็ยังคงไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจกับประเด็นต้นตอของการเกิดไฟป่าเท่าที่ควรทั้งที่ต้นเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดไฟป่าในครั้งที่ผ่านมาอาจทำให้ไฟป่าในครั้งต่อไปหนักหนาสาหัสยิ่งกว่าเดิม ไฟอาจลุกลามได้ไวยิ่งขึ้น และอาจเป็นภัยกับทั้งผู้คนและผืนป่าซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรอันมีค่าของประเทศ บทความนี้เราจะพูดถึงเบื้องหลังของสาเหตุไฟป่าแคลิฟอร์เนีย

เหตุการณ์ไฟป่าในปีนี้ ได้ทุบสถิติไฟป่าครั้งทุก ๆ ครั้งที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ของรัฐแคลิฟอร์เนีย และขึ้นแท่นเป็นไฟป่าครั้งที่ร้ายแรงที่สุดที่เคยเกิดขึ้นครั้งหนึ่งของรัฐ ไฟป่าทำลายพื้นที่ไปมากกว่า 2.5 ล้านเอเคอร์ (หรือประมาณ 6.3 ล้านไร่) ส่งผลให้ผู้คนหลายหมื่นต้องทิ้งบ้านตนไว้เบื้องหลังเพื่ออพยพไปพื้นที่หลบภัยในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งการเว้นระยะห่างจากผู้คนเป็นเรื่องสำคัญ แต่กลับหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก่อนหน้านี้ไฟป่าครั้งที่ร้ายแรงที่สุดได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2561 รู้จักกันในชื่อ “แคมป์ ไฟร์เออร์” (Camp Fire) เกิดขึ้นในเขตแคลิฟอร์เนียร์เหนือ และในปีเดียวกันนั้นเอง ไฟป่า “วูลซีย์ แอนด์ ฮิลล์” (Woolsey and Hill fires) ก็ได้ทำลายป่าอีกแห่งในเขตดังของรัฐแคลิฟอร์เนียใต้อย่างมาลิบูและเวสต์ฮิลล์ ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนมากมาย อีกหลายร้อยสาบสูญ และบ้านเรือนอีกหลายพันถูกทำลายไปในโศกนาฏกรรมครั้งนั้น

การรายงานข่าวผ่านสื่อต่างพุ่งประเด็นความสำคัญไปที่ความพยายามในการดับไฟป่าที่ลุกโชน แต่กลับให้ควารมสนใจน้อยมากในประเด็นต้นเหตุที่ส่งผลให้เกิดไฟป่า หรือแม้กระทั่งว่ามีผลกระทบต่อชีวิตประชาชนและผืนป่าอย่างไรบ้างก็แทบไม่มีให้เห็น

ที่แย่กว่านั้นคือ นักการเมืองบางคนและกลุ่มบริษัทกลับเผยแพร่ข้อมูลและการแก้ปัญหาผิดๆ ออกไปในช่วงที่ไฟป่ากำลังลุกลามไปทั่ว เพื่อฉวยโอกาสควบคุมอำนาจในจังหวะชุลมุนฉุกเฉิน และผลักดันนโยบายที่เป็นภัยกับธรรมชาติมากยิ่งกว่าที่เคย ประธานาธิบดีทรัมป์และกระทรวงมหาดไทยได้แต่กล่าวย้ำซ้ำไปซ้ำมาว่าอุตสาหกรรมป่าไม้พยายามปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม และการเพิ่มการตัดไม้ในพื้นที่สาธารณะโดยใช้เงินอุดหนุนจากภาษี

ต้นต่อของการเกิดไฟป่าต่อไปนี้ไม่ใช่การวิเคราะห์เหตุการณ์ในครั้งนี้หรือครั้งล่าสุดที่ผ่านมา แต่เป็นการวิเคราะห์แนวโน้มที่ส่งผลกับป่าไม้และไฟป่าที่เกิดขึ้นในพักหลังมานี้อย่างไรบ้าง

ไฟป่าโซเบอร์รีนส์ ในเขตอลาเมดา รัฐแคลิฟอร์เนีย ปี พ.ศ. 2559 © Alameda County Fire

อุตสาหกรรมป่าไม้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดไฟป่า

ถึงอุตสาหกรรมป่าไม้จะคอยพร่ำบอกเสมอว่า การตัดไม้เป็นเสมือนการช่วย “ตัดไฟตั้งแต่ต้นลม” แต่กลับขัดแย้งกับผลวิจัยที่ออกมาอย่างชัดเจน เมื่อผลการวิจัยชี้ว่าตัวอุตสาหกรรมป่าไม้เองที่ส่งผลกับความปลอดภัยของชุมชน การตัดไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจจำนวนมากออกไปเท่ากับการเพิ่มไฟป่าและอัตราความเสี่ยงในการเกิดไฟ ไม้เหล่านั้นมีความทนไฟและสร้างร่มเงา การตัดไม้ที่มีอายุมาก เป็นการเปิด “หลังคา” ของป่าไม้ออก และทำให้พื้นที่ป่าร้อนและแห้งขึ้น ซึ่งก็คือสาเหตุของการเกิดไฟป่า เศษไม้และกิ่งไม้ของไม้ที่ถูกตัดไป หรือเรียกว่าการ “ถูกเฉือน” ก็คือเชื้อเพลิงไฟป่าชั้นดีที่ตกอยู่ตามพื้น รอวันที่จะถูกจุดขึ้นมา

ซ้ำแล้ว อุตสาหกรรมป่าไม้ยังมีความจำเป็นในการใช้ถนนเพื่อการขนส่งอีกด้วย มีถนนเก่าแก่มากมายหลายร้อยเส้นที่เคยถูกใช้สำหรับการขนส่งไม้ถูกทิ้งร้างเอาไว้ในเขตป่าของสหรัฐอเมริกา และกลายเป็นอีกหนึ่งชนวนไฟป่าและเป็นพื้นที่รกรุงรังของวัชพืชซึ่งเพิ่มอัตราการเกิดไฟป่าจากตัวมนุษย์เองทั้งแบบไม่ได้ตั้งใจและตั้งใจ นอกจากนั้นมาตรการเงินอุดหนุนจากภาษีเพื่อตัดไม้ในเขตรัฐและอุตสาหกรรมตัดไม้ในพื้นที่เอกชนที่เกิดขึ้นได้ทิ้งความเสียหายครั้งใหญ่ให้คนรุ่นต่อไปไว้เป็นมรดก

ทางแก้ปัญหา: U.S. Forest Service and Bureau of Land Management (กรมป่าไม้และสำนักงานบริหารจัดการที่ดินของสหรัฐอเมริกา) ควรลดอัตราการใช้ภาษีเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมป่าลง และย้ายงบมาสนับสนุนการจัดหางานและการฟื้นฟูระบบนิเวศแทน รวมถึงการป้องกันการเกิดไฟป่าที่อาจเกิดขึ้นซ้ำอีกในอนาคต

กรมป่าไม้และสำนักงานบริหารจัดการที่ดินของสหรัฐอเมริกาไม่ได้พูดถูกไปเสียทั้งหมด

กลยุทธ์การ “ตัดไฟตั้งแต่ต้นลม” ไม่เคยใช้ได้ผลสักครั้งในช่วงเกือบสิบปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังเพิ่มเชื้อเพลิงให้ไฟป่าด้วยซ้ำ ป่าหลายแห่งในเขตตะวันตกสามารถทำให้ไม่มีไฟป่าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติได้ ด้วยกลยุทธ์การดับไฟที่ใช้  ซึ่งโดยปกติไฟป่าธรรมชาตินี้จะต้องเกิดขึ้น เพราะตามหลักนิเวศวิทยาแล้ว ป่าจำเป็นจะต้องถูกเผาไหม้ตามธรรมชาติเช่นเดียวกับในช่วงหลายพันปีที่ผ่านมาเพื่อรักษาสมดุลของวงจรชีวิตแห่งการเกิด แก่ เจ็บ ตายเอาไว้ เราควรปกป้องผู้คนและทรัพย์สินเอาไว้เพียงแค่นั้น และหลีกเลี่ยงการเข้าแทรกแซงวงจรธรรมชาตินี้ เพื่อปล่อยให้ป่าที่ต้องการเกิดใหม่ได้งอกงามและเติบโตตามที่ควรเป็น

ไฟป่าไม่ได้คร่าชีวิตของผืนป่าเพียงอย่างเดียว แต่ได้มอบหลายอย่างกลับคืนให้ผืนป่าด้วยเช่นกัน ไฟป่าช่วยดูแลให้ผืนป่าอุดมสมบูรณ์และรักษาวัฏจักรชีวิตของผืนป่าเอาไว้ให้ยั่งยืนมานานกว่าพันปีก่อนที่คนจะเข้ามา มาตรการการดับไฟป่านี้ได้รับการสนับสนุนอย่างล้นหลามจากอุตสาหกรรมป่าไม้ซึ่งตอนนี้กำลังเรียกร้องให้ตนได้รับอนุญาตให้ได้ตัดไม้เพิ่มด้วยเหตุผลน่าขันอย่างการทำไปเพื่อช่วยดูแลรักษาป่า

ทางแก้ปัญหา: หันมาให้ความสำคัญกับการดับไฟป่าเพื่อช่วยปกป้องชีวิตผู้คนและทรัพย์สินเมื่อเกิดไฟป่าแทนการนำชีวิตของนักดับเพลิงเข้าไปเสี่ยงและการผลาญภาษีไปกับการดับไฟป่าที่ไม่ได้เป็นภัยกับชุมชน ปล่อยให้ไฟได้มอดไหม้ต่อไปเพื่อให้เกิดวงจรชีวิตการเกิดใหม่ของป่า ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับป่าไม้ตามหลักของระบบนิเวศวิทยา เช่นต้นไม้เมื่อแห้งตายแล้ว (Snag Forest) จะกลายเป็นบ้านของสัตว์ป่าหลายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น นกฮูกสีเทา นกฮูกด่างแคลิฟอร์เนีย และนกหัวขวานหลังดำ

วิวของสะพานโกลเดนเกตที่ถูกปกคลุมไปด้วยหมอกควัน

แต่กรมป่าไม้และสำนักงานบริหารจัดการที่ดินของสหรัฐอเมริกาก็มีส่วนที่พูดถูกด้วยเช่นกัน

ไม่ว่าอากาศจะร้อนหรือแห้งมากเพียงไหนก็ตาม ไฟป่าไม่สามารถติดขึ้นมาเองได้โดยธรรมชาติ ชนวนไฟจำเป็นจะต้องถูกจุดขึ้นมาเสียก่อน เช่นในธรรมชาติจะมีฟ้าผ่าที่เป็นเสมือนการจุดชนวนซึ่งมักจะมาพร้อมกับสายฝน ในทางกลับกัน กิจกรรมของมนุษย์ต่าง ๆ เช่นการไปตั้งแคมป์ การทิ้งก้นบุหรี่ และประกายไฟจากโซ่ผูกรถลากเมื่อถูกลากไปตามพื้น ก็ถือว่าเป็นการจุดชนวนไฟป่าได้อย่างง่ายๆ สิ่งก่อสร้างจากเขตเมือง เช่น ระบบสายส่งไฟฟ้า เป็นต้น โดยเฉพาะเมื่อไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม

ชนวนไฟที่เกิดจากมนุษย์มักเกิดขึ้นในช่วงเวลาของปีที่การจุดชนวนโดยธรรมชาติแทบจะไม่เกิดขึ้นเลย (เช่นสภาวะแล้งจัดในช่วงพายุฟ้าผ่าเกิดขึ้นน้อยมาก) ด้วยความ “ชำนาญ” ของมนุษย์ในการจุดชนวนไฟป่าทำให้อัตราการเกิดไฟป่า 80% ที่ผ่านมาในเขตอเมริกาตะวันตกล้วนแล้วมาจากมนุษย์ทั้งสิ้น

ทางแก้ปัญหา: ลดกิจกรรมของมนุษย์ที่อาจเป็นการจุดชนวนไฟป่าโดยการปิดและนำถนนขนไม้เก่าออกไป และเริ่มให้ความรู้กับผู้คนในหัวข้อนี้ นอกจากนี้หน่วยงานก็ควรส่งสารของเขาไปให้บริษัทและรัฐบาลด้วยเช่นกัน เพราะพวกเขารับผิดชอบต่อสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่อาจจุดชนวนไฟป่าได้โดยตรง

วิกฤตสภาพภูมิอากาศจะทำให้ปัญหาทั้งหลายที่มนุษย์สร้างขึ้นมาหนักหนาขึ้นไปอีก

เราไม่สามารถพุ่งเป้าไปที่วิกฤตสภาพภูมิอากาศว่าเป็นต้นเหตุอย่างเดียวของการเกิดไฟป่าได้ ถึงแม้ภาวะโลกร้อนจะมีส่วนทำให้อากาศในสหรัฐอเมริกาตะวันตกร้อนและแห้งยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้ไฟป่าร้ายแรงมากขึ้นและมีฤดูไฟป่าที่ยาวนานมากกว่าเดิม มิหนำซ้ำยังเพิ่มขนาดรัศมีของไฟป่าอีกด้วย อีกทั้งยังขยายตัวไปบริเวณรอบๆ ได้ไวขึ้น บวกกับการตัดไม้ทำลายป่ามานานนับสิบปี การสร้างถนน และวิธีการดับไฟป่าที่ใช้อาจทำให้ไฟป่าในอนาคตรุนแรงจนไม่สามารถรับมือได้เลยทีเดียว

ทางแก้ปัญหา: อนุรักษ์ผืนป่าธรรมชาติเอาไว้ โดยยุติการขยายการขุดหาพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลและเริ่มเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นการป้องกันไม่ให้วิกฤตสภาพภูมิอากาศแย่ลงไปกว่าเดิม

การพัฒนาพื้นที่ของมนุษย์

สาเหตุที่ต้นทุนในการดับไฟป่าสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดมาจากการพัฒนาพื้นที่ของมนุษย์ที่ขยายเข้าไปในเขตเสี่ยงไฟป่า เมื่อมีที่อยู่และสิ่งก่อสร้างในพื้นที่ร้อน (Hot-Zone) มากขึ้น ก็จำเป็นจะต้องมีมาตรการการดับไฟป่าที่เข้มข้นขึ้นเช่นกัน สิ่งปลูกสร้างในเขตเสี่ยงไฟป่าจำเป็นต้องได้รับการออกแบบให้ป้องกันและดูแลรักษาได้หากเกิดไฟป่า ไม่ต่างจากการสร้างบ้านเรือนในเขตที่ราบน้ำท่วมถึงหรือพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว

ทางแก้ปัญหา: วางแผนการพัฒนาขยายพื้นที่อย่างไตร่ตรองและเตรียมพร้อมกับการรับมือไฟป่า รวมถึงปรับเปลี่ยนให้มีกฎการใช้องค์ประกอบสร้างบ้านที่ได้มาตรฐานเพื่อการปกป้องบ้าน (หรือเรียกว่าการสร้างความแข็งแรงให้กับโครงสร้างบ้าน) นอกจากนั้น คือการหันมาให้ความสำคัญกับการ “เผาตามกำหนด” (Prescribed Burns) และการนำน้ำมันเชื้อเพลิงออกจากบริเวณที่อยู่อาศัยและบริเวณโดยรอบหากมีความจำเป็น เราควรหันมาลงทุนกับสิ่งเหล่านี้เพื่อให้ความปลอดภัยกับทั้งชีวิตคนจนและคนรวยอย่างเท่าเทียม การป้องกันคือสิ่งที่ควรค่าแก่การลงทุนมากที่สุดเพื่อดูแลชีวิตเพื่อนมนุษย์ ความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า ความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ดับไฟป่าง และเป็นการใช้เงินภาษีคุ้มค่า แทนการตามดับไฟเมื่อเกิดอัคคีภัยเกิดขึ้นแล้ว

วิธีการดับไฟป่าได้เปลี่ยนไป แต่กลับเปลี่ยนไปใช้วิธีการที่มีการเผาป่ามากขึ้น

ที่ผ่านมา วิธีการดับไฟป่าถูกพัฒนามาเรื่อยๆ ตามเทคโนโลยี และหลักการวิทยาศาสตร์มาโดยตลอด หรือแม้กระทั่งแปรเปลี่ยนไปตามประเด็นการเมือง การรับมือกับไฟป่าของรัฐบาลเคยเป็นวิธีการเข้าจัดการไฟโดยตรง ซึ่งทั้งใช้งบสูงและเป็นอันตรายอีกด้วย แต่ทว่าในตอนนี้ มีนโยบายแบบไม่เป็นทางการแบบใหม่ที่ถูกนำมาใช้ เรียกว่า “แบคออฟ แอนด์ แบคไฟเออร์” (Back Off and Backfire) เข้ามาแทนที่การดับไฟป่าแบบเก่าแล้ว

วิธีการดับไฟป่าโดยการเผากลับ (Backfire) คือการที่หน่วยดับไฟป่าจุดไฟเผาเชื้อเพลิงป่าเอาไว้เสียก่อน เมื่อไฟป่ามาถึงพื้นที่นั้น ก็จะไม่เหลือเชื้อเพลิงสำหรับการมอดไหม้อีกต่อไป โดยส่วนหนึ่งของปริมาณไฟป่าที่เกิดขึ้นก็มาจากการเผากลับเช่นกัน ซึ่งหมายความว่าตอนนี้สหรัฐอเมริกาใช้วิธีหนามยอกเอาหนามบ่ง ด้วยการดับไฟป่าโดยการเผาป่าเพิ่ม ถึงอย่างนั้นขนาดรัศมีของไฟป่าที่สื่อรายงานมักไม่ระบุว่าเพลิงบางส่วนก็มาจากวิธีการที่ใช้ในการดับไฟป่านั้นเอง

ทางแก้ปัญหา: เนื่องจากมีไฟสองประเภท รัฐบาลสหรัฐควรคอยติดตามและรายงานความแตกต่างของไฟจริงและไฟที่มาจากการเผากลับ (รู้จักกันในนามไฟเพื่อการดับไฟ หรือ Supression Fires) นอกจากนั้นรัฐบาลกลางและหน่วยงานท้องถิ่นควรระดมทุนในการศึกษานิเวศวิทยาในส่วนของผลกระทบจากการจัดการไฟป่าด้วยการเผากลับเพื่อการจัดการไฟป่าที่ดีขึ้นในอนาคต

ร่วมบริจาค

ด้วยความช่วยเหลือจากคุณ ทำให้เราสามารถใช้วิธีการที่สร้างสรรค์อย่างสันติ เปิดโปงการทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องมหาสมุทร ป่าไม้ แหล่งน้ำ อาหาร และสภาพภูมิอากาศ ซึ่งล้วนเป็นระบบพื้นฐานสำหรับทุกชีวิตบนโลกใบนี้

มีส่วนร่วม

ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดในทวีปอเมริกาเหนือมีอะไรบ้าง

ภัยธรรมชาติ ในทวีปอเมริกา 1. ฝนตกหนัก 2. น ้าท่วม 3. โคลนถล่ม 4. ภูเขาไฟระเบิด –แผ่นดินไหว 5. ไฟฟ่า 6. พายุทอร์นาโด เฮอริเคน 7. คลื่นความเย็น คลื่นความ ร้อน

ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาเหนือ มีอะไรบ้าง

ทวีปอเมริกาเหนือมีปัญหาสิ่งแวดล้อมหลายอย่าง เช่น การตัดไม้ทำลายป่า อันมีผลกระทบโดยตรงต่อการสูญพันธุ์ และการลดจำนวนของสัตว์ป่า การทำเกษตรที่ผิดวิธี และการขยายตัวของพื้นที่ทำกิน การพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตร ทำให้ดินและน้ำเกิดความเสื่อมโทรม การขยายตัวของเขตเมือง และพื้นที่อุตสาหกรรม ส่งผลให้มีขยะของเสียจากบ้านเรือน และ ...

ภัยพิบัติใดที่ส่งผลกระทบต่อทวีปอเมริกาเหนือ

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศส่งผลกระทบต่อทวีปอเมริกาเหนือ ดังนี้ 1. คลื่นความร้อน 2. ภัยแล้ง 3. พายุเฮอร์ริเคน

ภัยพิบัติใดมีความรุงแรงที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ

พายุเฮอริเคนแคทรีนา (อังกฤษ: Hurricane Katrina) คือพายุเฮอริเคนที่รุนแรง และสร้างความเสียหายที่สุด ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ถูกจัดความรุนแรงตาม มาตราเฮอริเคนในประเภทที่ 5 (ตามมาตราของ Saffir-Simpson Hurricane Scale) ซึ่งถือว่ารุนแรงที่สุด และมีพายุเฮอริเคนที่อยู่ในประเภทนี้มาก่อนเพียง 3 ลูกเท่านั้น ได้แก่ เฮอริ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้