ปัญหาประชาธิปไตยของไทยในปัจจุบัน

ต้องยอมรับว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยจะเน้นในเรื่องของการมีสิทธิเสรีภาพของผู้คนที่อาศัยในประเทศนั้นๆ เป็นหลัก ทำให้ทุกคนต่างก็มีสิทธิ์มีเสียงในการนำเสนอสิ่งต่างๆ หากมองว่าเป็นสิ่งที่สามารถสร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับคนอื่นๆ ได้มากมาย อย่างไรก็ตามแม้ทุกคนจะมีสิทธิ์ในการออกเสียงแต่สุดท้ายมันก็จะต้องหยุดอยู่ที่ว่าเสียงข้างมากเป็นอย่างไรอยู่ดี ถึงกระนั้นประเทศไทยของเราก็ยังคงมีอุปสรรคมากมายในการการพัฒนาประชาธิปไตย

อุปสรรคของการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย

  1. ขาดความรู้ความเข้าใจในการเป็นประชาธิปไตย – พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือคนไทยมักจะยังคงนิยมการเลือกตังแบบตัวบุคคลมากกว่าเรื่องของนโยบายซึ่งเอาเข้าจริงสิ่งเหล่านี้ยังถือว่าเป็นการไม่รู้จักประชาธิปไตยอย่างแท้จริง รวมไปถึงการเอาผลประโยชน์ของตนเองเป็นหลักมากกว่าการนึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวม เรื่องของการซื้อสิทธิ์ขายเสียงที่ถือว่าเป็นข้อห้ามสำคัญของประชาธิปไตยแต่เรายังคงเห็นได้ในประเทศไทย รวมไปถึงการใช้อิทธิพลเพื่อคดโกงการเลือกตั้งให้พรรคพวกของตนเองเป็นผู้ชนะเพื่อหาผลประโยชน์ต่อไป
  2. ผู้สมัครรับเลือกตั้งขาดคุณสมบัติที่เหมาสม – แค่การใช้อิทธิพลของตนเองในพื้นที่การเลือกตั้งที่ตนเองลงสมัครรับเลือกตั้งเอาไว้แต่นี้ก็ถือว่าเป็นการขาดคุณสมบัติที่ดีของผู้สมัครรับเลือกตั้งแล้ว เพราะการลงสมัครรับเลือกตั้งที่ถูกควรใช้ประชาชนเลือกจากความสามารถไม่ใช่การใช้อิทธิพลหรือการมีชื่อเสียงของตนเอง แล้วคิดดูว่าเมื่อเลือกคนที่มีอิทธิพลแต่ไม่มีความสามารถเข้าไปมันก็ยิ่งทำให้ประเทศไทยไม่พัฒนา
  3. ระบบการเลือกตั้งขาดความรอบคอบ รัดกุม – ทั้งการปล่อยให้นักธุรกิจที่แฝงตัวในคราบนักการเมืองเข้าไปมีสิทธิ์มีเสียงในภายในรัฐสภาด้วยการซื้อเสียง การติดสินบน หรืออื่นๆ เมื่อคนพวกนี้เข้าไปแล้วก็จะคิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตนที่ควรได้โดยไม่ได้มีการคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งตรงจุดนี้ต้องยอมรับว่าระบบการเลือกตั้งไทยยังไม่รัดกุมมากพอจึงปล่อยคนเหล่านี้ให้เข้าไปได้
  4. มีพรรคการเมืองเยอะเกินไป – เมื่อมีพรรคเล็กเยอะเกินไปก็เป็นโอกาสที่นายทุนจากพรรคใหญ่จะซื้อเสียงกับพรรคเล็กๆ ที่มีฐานเสียงในแต่ละพื้นที่ให้เข้ามาเป็นสมาชิกของตนเอง ซึ่งเมื่อพรรคเยอะเกินไประบบการบริหารประเทศก็จะวุ่นวายตามไปด้วยจากจำนวนคนที่มากเกิน
  5. รัฐบาลมีความอ่อนแอและการทุจริต – เป็นปัญหาหลักอีกข้อที่ทำให้ประชาธิปไตยของไทยไม่มีการพัฒนา เมื่อรัฐบาลอ่อนแอ มีการทุจริต ก็เกิดการประท้วง ขับไล่ ประเทศชาติก็ไม่เกิดการพัฒนาไปข้างหน้าแถมยังมีปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจอีกต่างหาก

เหมือนจะวกกลับเข้ามาสู่แนวทางประชาธิปไตยตามนิยามสากล แต่หากพิจารณาความรู้สึกของประชาชนผมคิดว่าส่วนใหญ่มีความคาดหวังต่ำในการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก เพราะไม่ว่ารัฐบาลจะเป็นใครขึ้นมาสู่อำนาจในบริบทใดดูเหมือนประเทศไทยเพียงแต่เปลี่ยนตัวผู้เล่น ย้ายค่ายบนกลุ่มผลประโยชน์ลักษณะเดิมเปรียบเสมือนเหล้าเก่าในขวดใหม่แต่ผลลัพธ์ไม่แตกต่าง ทั้งที่บทเรียนมีอยู่มากมายผ่านการเดินทางกลับไปมาระหว่างรัฐประหารและประชาธิปไตยหลายครั้ง เกี่ยวอะไรกับเราฉบับนี้จะพิจารณา 4 ข้อจำกัดประชาธิปไตยเพื่อตอบคำถามว่า ปัญหาสังคมไทยอยู่ที่ระบอบการปกครองที่เราเลือกเดินมากว่า 70 ปีหรือไม่

I. การทำงานที่หวังผลระยะสั้น:

ระบอบประชาธิปไตยมีรอบการเลือกตั้งที่แน่นอนและมักถูกวิจารณ์ว่าผู้เล่นระบบจะทำงานโดยหวังผลระยะสั้น เพราะต้องทำผลงานให้ได้รับการเลือกตั้งในรอบต่อไปทำให้มาตรการส่วนใหญ่ออกมาในลักษณะประชานิยมบนการใช้เงินของรัฐที่ไม่มีประสิทธิภาพและทำให้การผลักดันนโยบายที่สำคัญแต่ใช้เวลาดำเนินการเป็นเรื่องที่ไม่ได้รับความสนใจหรือนำมาปฏิบัติ

ตัวอย่างที่พอเห็นชัดในประชาธิปไตยปัจจุบันคือ นโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่รัฐบาลทั่วโลกรวมถึงไทยไม่ได้ให้ความสำคัญเพราะอานิสงส์ของการกระทำจะเห็นผลในระยะยาวที่มักจะผลัดเปลี่ยนรัฐบาลไปแล้ว อีกหนึ่งตัวอย่างคือมาตรการการรัดเข็มขัด (Austerity) ที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอาจมีความจำเป็นในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจการเงินและการคลังเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน แต่รัฐบาลส่วนใหญ่อาจไม่อยากทำแต่แก้ปัญหาระยะสั้นผ่านนโยบายแจกเงินทางตรงและทางอ้อมเพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจและการยอมรับในระยะสั้น

II. การเข้ามามีบทบาทของกลุ่มอภิสิทธิ์ชน

ในหลายประเทศประชาธิปไตยกลุ่มธุรกิจที่มีผลประโยชน์จากนโยบายรัฐบาลต่างขยายอิทธิพลในการสนับสนุนนักการเมืองเพื่อหวังผลทางธุรกิจ ซึ่งทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำกลายเป็นวัฎจักรเพราะโครงสร้างทางสังคมได้เอื้อประโยชน์ระยะยาวให้กับกลุ่มอภิสิทธิ์ชนเหล่านี้ ผ่านสัมปทานงานรัฐต่างๆ และทำให้ช่องว่างระหว่างคนมีกับคนไม่มีเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลส่วนใหญ่ที่เข้ามาในวัฎจักรนี้ก็ต้องดำเนินมาตรการประชานิยมเพื่อประครองสถานการณ์และฐานเสียงตนบนการใช้งบรัฐที่ขาดประสิทธิภาพ

III. การสร้างความแตกแยกในสังคมผ่านการแข่งขันที่รุนแรง

ระบอบประชาธิปไตยที่ทุกฝ่ายมีเสรีภาพการสื่อสารในสนามเลือกตั้งทำให้เกิดการตั้งข้อสังเกตถึงการยอมรับนโยบายของฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ซึ่งแม้จะเป็นนโยบายที่ดีก็ไม่สามารถยอมรับได้เพราะการแข่งขันต้องเน้นการสร้างความแตกต่างและโดดเด่น ที่สำคัญขั้นตอนของการสร้างความโดดเด่นนี้มักจะเน้นการเล่นกับอารมณ์ของประชาชนและจุดชนวนให้เกิดการคล้อยตามมากกว่าการให้ข้อเท็จจริง จนเกิดความแตกแยกที่เห็นชัดในสังคมไทย

IV. ความไม่รู้ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

ทฤษฎีประชาธิปไตยคาดหวังผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่เข้าใจความต้องการตัวเองอย่างถ่องแท้สามารถวิเคราะห์ว่า นโยบายจากพรรคใดที่จะทำให้ตนได้รับความต้องการนั้นและเลือกผู้ลงสมัครทางการเมืองที่ดำเนินโยบายนั้นจนสำเร็จ แต่ในความจริงประชาชนส่วนใหญ่ไม่ว่าในประเทศใดมักเลือกพรรคและผู้สมัครที่มาจากท้องถิ่นตน มีวัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนาเดียวกันหรือใกล้เคียง และส่วนน้อยที่จะเข้าใจความสัมพันธ์เชิงนโยบายของตัวผู้สมัคร พรรคและปัจจัยพื้นฐานประเทศว่านโยบายใดน่าจะส่งผลบวกตรงตามความต้องการตน ซึ่งเป็นที่มาของแนวคิด ว่าการปกครองในรูปแบบอื่นไม่ว่าจะเป็นประเทศที่มีผู้นำที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จ (Authoritarian) หรือการปกครองที่อาศัย ผู้ทรงความรู้วิทยาการสมัยใหม่สาขาต่างๆ ที่มามีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายสาธารณะ (Technocrat) อาจมีความเหมาะสมกว่าระบอบประชาธิปไตย

หากพิจารณาระบอบประชาธิปไตยอย่างเป็นกลางบนข้อมูลเชิงประจักษ์จะพบว่าข้อจำกัดข้างต้นนอกจากจะมีอยู่ในเกือบทุกประเทศประชาธิปไตย ยังมีอยู่ในทุกระบอบการปกครองไม่ว่าจะเป็นระบอบผู้มีอำนาจเบ็ดเสร็จหรือระบอบเทคโนแครต เพราะต่างก็มีส่วนประกอบของกลุ่มอภิสิทธิ์ชนผ่านการคัดเลือกพวกพ้องมาเป็นชนชั้นปกครอง ดำเนินนโยบายหวังผลระยะสั้นและทำให้เกิดการแตกแยกได้ทั้งนั้น อย่างไรก็ตามแต่ละประเทศไม่ว่าอยู่ในระบอบการปกครองใดก็สามารถแก้หรือบรรเทาปัญหาเหล่านี้ได้ผ่านการวางกรอบนโยบายอย่างรอบคอบบนผู้นำที่มีคุณธรรมและความสามารถ

ผมมีความมั่นใจว่าประเทศไทยจะก้าวผ่านข้อจำกัดส่วนใหญ่ของระบอบประชาธิปไตยไปได้ในที่สุด หากภาคประชาชนซึ่งรวมถึงนักการเมืองและนักธุรกิจที่เข้ามามีบทบาทด้านการเมืองเข้าใจว่าสิทธิและหน้าที่เป็นของคู่กันผ่านการยกระดับการศึกษาที่มีมาตรฐานและความเท่าเทียมที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ถึงแม้ปัญหาระบบการศึกษาเป็นเรื่องที่แก้ยากและหลายฝ่ายมองว่าไกลเกินกว่าจะเห็นผลในระยะสั้น แต่อย่างน้อยการปลูกฝังเรื่องสิทธิและหน้าที่ของการอยู่ร่วมกันในสังคมสามารถทำได้โดยเริ่มจากสถาบันครอบครัวที่คนรุ่นปัจจุบันสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากหลายช่องทาง เปรียบเทียบข้อมูล ประสบการณ์และสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยตลอด 10 ปีที่ผ่านมา แล้วสามารถตัดสินใจด้วยตนเองว่าสิทธิและหน้าที่ของประชาชนคนไทยควรจะมีและถูกแสดงออกอย่างไรในอนาคต

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้