หลักการ ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล และการ ตรวจ สอบ แหล่งข้อมูลสารสนเทศ มี ขั้น ตอน อย่างไร บาง

ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากสื่อต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น อีเมล บล็อก และโปรแกรมสนทนา  มีทั้งข้อมูลที่เชื่อถือได้และข้อมูลที่หลอกลวง ผู้รับข้อมูลต้องรู้จักใช้ข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ ตรวจสอบ ประเมินความถูกต้องของข้อมูล โดยพิจารณาได้จากผู้เผยแพร่ วันที่เผยแพร่ และการอ้างอิงแหล่งข้อมูล การเลือกใช้แหล่งข้อมูลที่ไม่เหมาะสมหรือมีการบิดเบือน อาจทำให้ข้อสรุปที่ได้ผิดพลาดหรือชี้นําผิดทาง นอกจากนี้อาจทำให้เกิดอันตรายและสร้างความเสียหายในรูปแบบต่าง ๆ ได้ โดยหลักในการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล ควรพิจารณา ดังนี้

ประเมินความน่าเชื่อถือและความทันสมัยของสารสนเทศ

2.1 ประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งสารสนเทศ  โดยพิจารณาว่าสารสนเทศนั้นได้ มาจากแหล่งสารสนเทศใด โดยส่วนใหญ่ แหล่งสารสนเทศที่น่าเชื่อถือนั้นจะเป็นแหล่งสารสนเทศสถาบัน เช่น ห้องสมุด เนื่องจากสารสนเทศที่อยู่ในห้องสมุดได้ผ่านกระบวนการกลั่นกรองเนื้อหาจาก บรรณารักษ์และผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่วนแหล่งสารสนเทศอินเทอร์เน็ต จะมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าหรือไม่มีความน่าเชื่อเลย คือ การรับรู้สารสนเทศจากอินเทอร์เน็ตนั้นเราต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง เนื้อหาเองว่าเนื้อหาจากเว็บไซต์ใดที่น่าเชื่อถือ

2.2 ประเมินความน่าเชื่อถือของ ทรัพยากรสารสนเทศ โดย พิจารณาว่า ทรัพยากรสารสนเทศหรือสารสนเทศนั้น ๆ เป็นรูปแบบใด สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อไม่ตีพิมพ์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หากเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นสิ่งพิมพ์ประเภทใด หนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง วารสาร นิตยสาร เป็นต้น

2.3 ประเมินความน่าเชื่อถือของ ผู้เขียน ผู้จัดทำ สำนักพิมพ์ โดยพิจารณาว่า ผู้เขียนมีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ ตรงหรือสอดคล้องกับเรื่องที่เขียนหรือไม่ รวม ทั้งความน่าเชื่อถือผู้จัดทำ สำนักพิมพ์ที่มีประสบการณ์ในเนื้อหาเฉพาะด้าน มักจะมีความน่าเชื่อถือในแวดวงวิชาการนั้น ๆ หน่วยงานผู้รับผิดชอบเป็นภาครัฐบาล องค์กร สมาคม มักจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าหน่วยงานภาคเอกชนหรือบุคคล ตัวอย่าง เช่น กรณีที่เป็นบท ความวิชาการ ให้พิจารณาว่า ตีพิมพ์ในวารสารที่มีชื่อวารสารที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชานั้น ๆ มีชื่อเสียงในทางวิชาการ เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายหรือไม่ ผู้เขียน/ผู้จัดทำ/สำนักพิมพ์มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ และต้องมีความต่อเนื่องในการเผยแพร่

2.4 ประเมินความทันสมัยของสารสนเทศ โดยหากเป็นสื่อสิ่งพิมพ์พิจารณาความทันสมัย จาก วัน เดือน ปี ที่พิมพ์ หากเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พิจารณาจาก วัน เดือน ปีที่เผยแพร่ เป็นต้น

แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้

        เมื่อเราต้องการข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในงานด้านต่างๆ  เราสามารถค้นหาข้อมูลได้จากแหล่งข้อมูลรอบตัวที่มีอยู่มากมาย  และควรเลือกค้นหาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้  ซึ่งมีลักษณะเป็นแหล่งที่มีการรวบรวมข้อมูลอย่างมีหลักเกณฑ์  มีเหตุผล  และมีการอ้างอิง  จึงให้ข้อมูลที่ถูกต้อง  ตรงตามความเป็นจริง  ตัวอย่างแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้  มีดังนี้

  1.      เจ้าของข้อมูล เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆสามารถให้ข้อมูลได้ถูกต้องตรงความเป็นจริงมากกว่าบุคคลอื่นที่รับฟังข้อมูลมาเล่าต่อ  ซึ่งอาจจดจำมาผิด  และอาจเสริมเติมแต่งทำให้ข้อมูลผิดเพื้ยนไปได้

ตัวอย่าง : เจ้าของข้อมูล  เช่น คุณพ่อเล่าเรื่องต่าง ๆ ที่เคยพบในอดีต

  1.  หน่วยงานหรือผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเป็นหน่วยงาน  บุคคลที่ทำงานหรือศึกษาค้นคว้าในด้านใดด้านหนึ่ง  ทำให้มีความรู้จากประสบการณ์ในการทำงานหรือการศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง  ลึกซึ้ง  จึงมีข้อมูลที่ถูกต้องตรงความเป็นจริง

      ตัวอย่าง : หน่วยงานหรือผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน  เช่น  องค์การนาซ่า  ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวงโคจรของดาวหาง  แพทย์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาโรค  เจ้าของฟาร์มสุนัขหรือสัตวแพทย์เขียนหนังสือให้ข้อมูลการเลี้ยงสุนัขที่ถูกวิธี

  1. หน่วยงานของรัฐเป็นหน่วยงานที่มีข้อมูลซึ่งมีผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและการพัฒนาประเทศ  เนื่องจากข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐจะถูกนำไปใช้ในการกำหนดนโยบาย  วางแผน  ลงมือปฏิบัติงาน  และใช้อ้างอิง  จึงเป็นข้อมูลสำคัญที่ต้องมีการรวบรวม  เก็บรักษา  หรือสร้างข้อมูลขึ้นอย่างรอบคอบและระมัดระวัง  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงความเป็นจริงเสมอ

ตัวอย่าง : แหล่งข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐ  เช่น  กระทรวงศึกษาธิการให้ข้อมูลที่อยู่ของโรงเรียนทั่วประเทศผ่านทางเว็บไซต์

ใช้หลักการ PROMPT

  • Presentationการนำเสนอข้อมูลต้องชัดเจน ตรงตามเนื้อหา กระชับ
  • Relevance  การพิจารณาความสัมพันธ์ ความสอดคล้องของข้อมูลกับสิ่งที่ต้องการ
  • Objectivity  ข้อมูลที่นำมาใช้ต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ไม่มีเจตนาแอบแฝง หรือเป็นข้อมูลที่แสดงความคิดเห็น
  • Method มีการวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ
  • Provenance มีการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลอย่างชัดเจน เชื่อถือได้
  • Timeliness ข้อมูลต้องเป็นปัจจุบัน ทันสมัย

การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูล

  1. เว็บไซต์หรือแหล่งที่มาของข้อมูลต้องบอกวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือเผยแพร่ข้อมูลในเว็บไซต์อย่างชัดเจน

  2. การนำเสนอเนื้อหาต้องตรงตามวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือเผยแพร่ข้อมูลของเว็บไซต์

  3. เนื้อหาของเว็บไซต์ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายศีลธรรมและจริยธรรม

  4. มีการระบุชื่อผู้เขียนบทความหรือผู้ให้ข้อมูลบนเว็บไซต์

  5. มีการอ้างอิงแหล่งที่มาหรือแหล่งต้นตอของข้อมูลที่มีเนื้อหาปรากฏบนเว็บไซต์

  6. สามารถเชื่อมโยง (Link)ไปเว็บไซต์ที่อ้างอิงเพื่อตรวจสอบแหล่งต้นตอของข้อมูลได้

  7. มีการระบุวันเวลาในการเผยแพร่ข้อมูลบนว็บไซต์

  8. มีการให้ที่อยู่หรืออีเมลที่ผู้อ่านสามารถติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ได้

  9. มีช่องทางให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็น

  10. มีข้อความเตือนผู้อ่านให้ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจใช้ข้อมูลที่ปรากฏบนเว็บไซต์

การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของของข้อมูล CRAAP

  • ความทันสมัยของข้อมูล (currency) ควรตรวจสอบว่าข้อมูลเผยแพร่เมื่อใด สำรวจและปรับปรุงเมื่อใด นอกจากนี้ในปัญหาที่สนใจ ควรตรวจสอบว่าสามารถใช้ข้อมูลที่เผยแพร่นานมาแล้วได้หรือไม่
  • ความสอดคล้องกับการใช้งาน (relevance) ควรตรวจสอบว่าข้อมูลเกี่ยวข้องกับปัญหาที่ต้องการหรือไม่
  • ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล (authority) พิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล ผู้เผยแพร่มีความชำนาญพอที่จะให้ข้อมูลในเรื่องดังกล่าวหรือไม่สามารถติดต่อผู้เผยแพร่ได้หรือไม่
  • ความถูกต้องแม่นยำ (accuracy) ตรวจสอบความถูกต้องพื้นฐานของข้อมูล ตรวจสอบว่ามีการนํา ข้อมูลไปอ้างอิงที่อื่น หรือไม่ หรือมีการตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของข้อมูลหรือไม่
  • จุดมุ่งหมายของแหล่งข้อมูล (purpose) ตรวจสอบว่าข้อมูลดังกล่าวถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป้าหมายใด เช่น เพื่อใช้ในการรณรงค์ เผยแพร่เพื่อการโฆษณา หรือเพื่อการศึกษาอื่น ๆ

ที่มา 

สุเมศ  ชาแท่น “การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล” จากเว็บไซต์ //sites.google.com/ site/teacherreybanis1/ngan-xdirek-laea-khwam-samarth-phises/bth-thi-7-kar-trwc-sxb-khwam-na-cheux-thux-khxng-khxmul เมื่อวันที่ 05 พฤษภาคม 2563

ครูไอที “การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล” จากเว็บไซต์ //kru-it.com/computing-science-p5/credibility/

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้