รูป อุปกรณ์ป้องกันอันตราย ส่วน บุคคล

อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลมิถุนายน 13, 2016//in Energy Audit, Energy Conservation /by angsumon

Facebook0Tweet0

อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

(Personal Protection Equipments)

อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protection Equipment) หรือเรียกสั้นๆว่า พี พี อี (PPE) หมายถึง อุปกรณ์ที่สวมใส่ปกคลุมส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพและสิ่งแวดล้อมในขณะปฎิบัติงาน โดยทั่วไปในการทำงานจะมีการป้องกันและควบคุมสภาพแวดล้อมของการทำงานก่อน โดยการแก้ไขปรับปรุงทางวิศวกรรม เช่น การปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เปลี่ยนวิธีการทำงาน เป็นต้น แต่ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ จะต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลมาใช้เพื่อช่วยป้องกันอวัยวะของร่างกายไม่ให้เกิดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในขณปฎิบัติงาน

ประเภทของอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

  1. อุปกรณ์ป้องกันศรีษะ (Head Protection) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับป้องกันศรีษะจากการถูกกระแทก หรือวัตถุจากที่สูงตกลงมากระแทก และป้องกันตรายจากไฟฟ้าและสารเคมีเหลว ซึ่งอุปกรณ์ป้องกันศรีษะที่สำคัญ คือ หมวกนิรภัย (Safety Hat) และหมวกกันศรีษะชน (Bump Hat)
  2. อุปกรณ์ป้องกันดวงตา (Safety Glasses) ใช้สำหรับป้องกันดวงตาจากการกระแทกกับของแข็ง ป้องกันสารเคมีหรือวัตถุกระเด็นเข้าตาจนได้รับอันตรายในขณะปฎิบัติงาน
  3. อุปกรณ์ป้องกันหู (Ear Protection) เป็นอุกรณ์ที่ใช้สำหรับป้องกันเสียงที่ดังเกินกว่าที่หูคนเราจะสามารถรับได้ คือมีระดับเสียงสูงเกินกว่า 85 เดซิเบล (เอ) โดยหากระดับเสียงในขณะทำงานสูงเกินกว่า 130 เดซิเบล (เอ) ถือว่าเป็นตรายต่อการได้ยินของหู ซึ่งอุปกรณ์ป้องกันหูที่สำคัญและเหมาะสมกับการใช้งาน ได้แก่
    1. ปลั๊กลดเสียง (Ear Plug) เป็นอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเสียงที่ดังเกินไป โดยวัสดุที่ทำจากยาง พลาสติกอ่อน ทีมีขนาดพอดีกับรูหู และสามารถลดเสียงได้ไม่น้อยกว่า 15 เดซิเบล (เอ)
    2. ครอบหูลดเสียง (Ear Muffs) เป็นอุปกรณ์ป้องกันตรายจากเสียงแบบครอบหู โดยมีก้านโค้งครอบศรีษะและใช้วัสดุที่มีความนุ่มหุ้มทับ ในส่วนของตัวครอบหูนั้นถูกออกแบบให้มีลักษณะแตกต่างกันตามการใช้งาน และสามารถลดเสียงได้ไม่น้อยกว่า 25 เดซิเบล (เอ)
  4. อุปกรณ์ป้องกันมือ (Hand Protection) ในขณะปฎิบัติงานที่ต้องใช้ส่วนของมือ นิ้วมือ และแขน นั้นมีความเสี่ยงอันตรายจากการสัมผัสกับสิ่งของ วัสดุอุปกรณ์ หรือสารเคมีที่อาจทำให้เกิดอันตายร้ายแรงได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกันมือชนิดต่างๆ ซึ่งต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของงานดังนี้
    1. ถุงมือยางกันไฟฟ้า: ใช้สำหรับงานที่ต้องสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าเพื่อป้องกันไฟฟ้าดูดในขณะปฎิบัติงาน
    2. ถุงมือกันความร้อน: อาจเป็นถุงมือหนังหรือถุงมือผ้าขึ้นอยู่กับลักษณะของการทำงาน โดยถุงมือจะต้องมีความหนาและทนทานเมื่อใช้สัมผัสกับวัตถุหรืออุปกรณ์ที่มีความร้อนจะต้องไม่ฉีกขาด
    3. ถุงมือยางชนิดไวนีลหรือนีโอพรีน ใช้สำหรับงานที่ต้องสัมผัสสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อนหรือซึมผ่านผิวหนังได้
  5. อุปกรณ์ป้องกันเท้า (Safety Footwear) ใช้สำหรับป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการกระแทก หรือวัตถุหรือสารเคมีหกใส่เท้า รวมถึงป้องกันการสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าจากการปฎิบัติงาน โดยรองเท้าแบ่งออกตามลักษณะของงาน ดังนี้
    1. รองเท้าป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า: ใช้สำหรับงานที่ต้องสัมผัสกับกระแสไฟฟ้า สวมใส่เพื่อป้องกันไฟฟ้าดูด ทำจากยางธรรมชาติ หรือยางสังเคราะห์
    2. รองเท้านิรภัย ชนิดหัวรองเท้าเป็นโลหะซึ่งสามารถรองรับน้ำหนักได้ 2500 ปอนด์ และทนแรงกระแทกของวัตถุหนัที่ตกจากที่สูง 1 ฟุต ได้ 50 ปอนด์
    3. รองเท้าป้องกันสารเคมี ทำจากวัสดุที่ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี เช่น ยางธรรมชาติ ไวนิล นีโอพรีน หรือยางสังเคราะห์

อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการปฎิบัติงาน เนื่องจากในขณะปฎิบัติงานอันตรายต่างๆมีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งอาจทำให้ตัวท่านเกิดการบาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรสวมใส่อยู่เสมอเพื่อให้การปฎิบัติงานเป็นไปด้วยความปลอดภัยสูงสุด

Bibliography

มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (NA). อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในการทำงาน. Retrieved from //e-book.ram.edu/: //e-book.ram.edu/e-book/h/HA233/chapter6.pdf

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2556). PPE. Retrieved from //www.stou.ac.th/: //www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book56_1/sanitation.htm

ในบางสาขาอาชีพที่ต้องอยู่กับอันตรายในสถานที่ทำงาน เช่น เชื้อโรค เชื้อไวรัส สารเคมี หรือ อันตรายจากการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ เช่น การกระเด็นของโลหะ ของมีคม การป้องกันตัวจากการบาดเจ็บโดยการสวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลหรือชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า “PPE” เป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ ในบทความนี้ Jorportoday จะมาอธิบายว่า PPE คืออะไร ทำไมถึงสำคัญต่อความปลอดภัยของผู้ปฎิบัติงาน และ อุปกรณ์แต่ป้องกันตัวแต่ละอย่างมีอะไรบ้าง 

เลือก สารบัญ

Personal Protective Equipment : PPE คือ

Personal Protective Equipment : PPE คือ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เป็นอปุกรณ์สวมใส่เพื่อลดการสัมผัสกับอันตรายที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและการเจ็บป่วยในที่ทำงานอย่างร้ายแรง การบาดเจ็บและการเจ็บป่วยเหล่านี้อาจเกิดจากการสัมผัสกับสารเคมี รังสี กระแสไฟฟ้า เครื่องกล หรืออันตรายอื่นๆ ในที่ทำงาน อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลอาจรวมถึงสิ่งของต่างๆ เช่น ถุงมือ แว่นตาและรองเท้า ที่อุดหูหรือที่ครอบหู หมวกนิรภัย เครื่องช่วยหายใจ หรือเสื้อคลุม เสื้อกั๊ก และชุดคลุมทั้งตัว

อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่สวมใส่ควรได้รับการออกแบบ เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับความปลอดภัยอย่างแท้จริง (ของมีคุณภาพเพียงพอ) และควรได้รับการบำรุงรักษาในลักษณะที่สะอาดและเชื่อถือได้ ที่สำคัญชุดควรพอดีกับผู้สวมใส่ไม่ใหญ่หรือแน่นจนเกินไป 

สำหรับการดูแลด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในองค์กร นายจ้างมีหน้าที่จัดหาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้กับพนักงานและทำให้แน่ใจว่ามีการใช้งานอย่างเหมาะสม อีกทั้งนายจ้างยังต้องฝึกอบรมพนักงานแต่ละคนให้สามารถใช้อุปกรณ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

มีอะไรบ้างที่ไม่ใช่ชุด PPE

  • ชุดหรือเครื่องแบบการทำงานทั่วไป ที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของคนงาน
  • เสื้อผ้าที่จัดเตรียมไว้สำหรับสุขอนามัยของอาหาร (เอี้ยม)
  • อุปกรณ์สำหรับป้องกันขณะเดินทาง เช่น หมวดกันน็อก
  • อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งกีฬา (แต่ชุด PPE จะรวมถึงอุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ ที่ครูสอนกีฬาใช้ เช่น เสื้อชูชีพสำหรับกีฬาทางน้ำ)
  • อุปกรณ์สำหรับตรวจจับและส่งสัญญาณเสียง 

ประเภทของชุด PPE

การเลือกชุด PPE ที่เหมาะสมในการปฎิบัติงานมีความสำคัญไม่แพ้การปฏิบัติตามขั้นตอนในการทำงาน อย่างที่ผมได้กล่าวไปตอนก่อนหน้านี้ว่านายจ้างมีหน้าที่จัดหาทรัพยากรที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม ตาม พรบ ความปลอดภัย ปี 2554 โดยในหัวข้อนี้ผมจะพูดถึงชุด PEE ประเภทต่างๆ ที่เหมาะสำหรับการใช้งานที่แตกต่างกัน

1.อุปกรณ์ป้องกันดวงตาและใบหน้า (Eye and Face Protection)

การป้องกันดวงตาทำได้โดยการสวมแว่นที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อลดความเสี่ยงจากการโดนสารเคมีกระเด็นใส่ ป้องกันรังสี แสงเลเซอร์ และ/หรือ เศษวัสดุที่ลอยกระเด็นจากการทำงาน สำหรับอุปกรณ์ป้องกันดวงตาสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลัก (แต่ละชนิดมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ผู้ใช่ควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน)

แว่นตานิรภัยทั่วไป
  • แว่นตานิรภัยรูปแบบนี้ต้องมีชิลด์ด้านข้างหรือลักษณะของเลนส์เป็นแบบชิ้นเดียวรอบดวงตา
  • เป็นการป้องกันดวงตาระดับต่ำสุด ที่ผู้ปฏิบัติงานควรสวมใส่ขณะทำงาน
  • ไม่มีประสิทธิภาพป้องกันดวงตาจากกระเด็นของเศษวัสดุต่างๆ แนะนำให้ใช้กับสารละลายที่ไม่ทำลายดวงตาเท่านั้น
แว่นตานิรภัยชนิดกันแสงเลเซอร์
  • ในการเลือกจะขึ้นอยู่กับกำลังและความยาวคลื่นของแสงเลเซอร์
  • คุณสมบัติการป้องกันจะอยู่ที่เลนส์ของแว่นในการป้องกันแสงกระทบดวงตา
แว่นตากันสารเคมี
  • มีหน้าที่ป้องกันสารเคมีหรือสารติดเชื้อกระเด็นเข้าสู่ดวงตา
  • ด้วยความที่ลักษณะของแว่นครอบปิดมิดชิด จึงสามารถช่วยในการป้องกันไม่ให้เศษต่างๆ กระเด็นเข้าสู่ดวงตาได้ดี
  • ควรพิจารณาเลือกซื้อตามที่ หน่วยงานด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (EH&S) แนะนำ
แว่นตากันกระแทก
  • แว่นตานิรภัยชนิดนี้ช่วยป้องกันการกระแทกจากเศษชิ้นส่วนที่มีโอกาสกระเด็นเข้าสู่ดวงตาเท่านั้น
  • ถ้าหากไม่มีแว่นตากันกระแทก สามารถใช้แว่นตาป้องกันสารเคมีทดแทนได้

2.อุปกรณ์ป้องกันมือ (Hand Protection)

การเลือกถุงมือที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญในการปกป้องมือของคุณ ถุงมือป้องกันสารเคมีเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการลดการสัมผัสสารเคมีทางผิวหนังในห้องปฏิบัติงาน (ดังที่คุณเห็นในข่าวว่าหมอและพยาบาลต้องการถุงมือยางเป็นจำนวนมาก จากการแพร่ระบาดของโควิท 19) ผู้ปฏิบัติงานควรใช้ถุงมือในสภาวะเฉพาะที่เหมาะสมเท่านั้น เนื่องจากคุณสมบัติของถุงมือมีหลายชนิดและแตกต่างกันเป็นอย่างมาก

อีกเรื่องที่สำคัญคือ ผู้ใช้งานต้องทราบด้วยว่าถุงมือมีการเสื่อมสภาพเมื่อใช้งานไปสักระยะ ดังนั้นควรเปลี่ยนตามความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่ามีการป้องกันอย่างเพียงพอ โดยรูปแบบของถุงมือมีดังต่อไปนี้

ถุงมือยางชนิดอ่อน หรือถุงมือยางไนไตร
  • ถุงมือยางใช้แล้วทิ้ง (มีแบบมีผง และไม่มีผง) : ใช้สำหรับการทำงานกับอันตรายทางชีวภาพ เช่น เลือดมนุษย์ ของเหลวในร่างกาย เนื้อเยื้อ เชื้อโรคในเลือดเป็นต้น (Covid 19 ใช้ถุงมือชนิดนี้เป็นส่วนใหญ่)
  • ถุงมือไนไตรล์แบบใช้แล้วทิ้ง (ทนการเจาะและการฉีกขาด) : ใช้สำหรับการทำงานกับอันตรายทางชีวภาพและอันตรายจากการกระเซ็นของสารเคมี
ถุงมือทนสารเคมีชนิดเบา
  • ผลิตจากน้ำยางธรรมชาติ (ทนสารเคมีและของเหลว) : สามารถใช้กับการทำงานที่ต้องสัมผัสกับของเหลวชนิดกัดกร่อน ตัวทำละลายอินทรีย์ สารประกอบไวไฟในปริมาณเล็กน้อย
ถุงมือทนสารเคมีเบาถึงหนัก
  • ถุงมือไนไตรล์  (ทนต่อสารเคมี การรั่วหรือฉีกขาด) : เหมาะกับการใช้งานภายใต้แรงดันอากาศ หรือ สารเคมีที่ทำปฎิกิริยากับน้ำ
ถุงมือทนสารเคมีหนัก
  • Butyl Rubber หรือ ยางบิวทิล (ทนทานต่อการซึมผ่านของสารเคมีส่วนใหญ่ได้สูง) : สามารถใช้งานกับการทำงานที่ต้องสัมผัสกับตัวทำละลายอินทรีย์ปริมาณน้อยถึงมาก และสารพิษเฉียบพลันหรือวัสดุอันตราย
  • Viton® II  (ทนทานต่อการซึมผ่านของสารเคมีส่วนใหญ่) : คุณสมบัติคล้ายกับถึงมือบิวทิล ป้องกันสารอันตรายที่หกรั่วไหล
  • Silver shield (ป้องกันสารเคมี) : คุณสมบัติเช่นเดียวกับ ถุงมือบิวทิลและ Viton® II แต่เพิ่มการป้องกันทางชีวภาพ
ถุงมือฉนวน
  • Terrycloth autoclave (ถุงมือชนิดทนความร้อน) : ใช้สำหรับการทำงานกับของเหลว หรือ อุปกรณ์ที่มีความร้อน เช่น เปลวไฟ อ่างน้ำร้อน อ่างน้ำมัน
  • Cryogen (กันน้ำที่มีอุณหภูมิเย็นจัด) : ใช้สำหรับการทำงานที่มีอุณหภูมิต่ำ

3.อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย (Body Protection)

PPE สำหรับป้องกันร่างกายทั้งหมดมีอยู่หลายชนิดควรเลือกตามความเหมาะสมของรูปแบบการปฏิบัติงาน

  • Traditional : ชุดรูปแบบดั่งเดิม (วัสดุทำงานผ้าฝ้าย หรือ ผ้าฝ้ายผสมโพลีเอสเตอร์) : ใช้สำหรับปกป้องผิวหนังและเสื้อผ้าจากสิ่งสกปรก หมึกพิมส์ สารเคมีที่ไม่เป็นอันตราย
  • Flame resistant : ชุดป้องกันชนิดทรการติดไฟ (วัสดุทำจาก Normex ที่เนื้อวัสดุเป็นเส้นใย Aramid มีโครงสร้างโมเลกุลลักษณะพิเศษซึ่งมีคุณสมบัติต้านทานเปลวไฟในตัวเอง) : ใช้สำหรับทำงานกับสารเคมีที่ทำปฏิกิริยากับน้ำและอากาศ ตัวทำละลายอินทรีย์ที่มีความเข้มข้น และสารเคมีที่อาจระเบิดได้
  • Barrier Suits (วัสดุส่วนใหย่ทำมาจากโพลีเอสเตอร์ ช่วยป้องกันน้ำกระเด็ดโดนผิวหนัง) : ใช้สำหรับการทำงานกับวัสดุติดเชื้อ

4.การป้องกันระบบการได้ยิน

บุคลากรที่ทำงานให้ห้องปฏิบัติการรวมถึงไลน์การผลิตทุกคนต้องติดต่อกับหน่วยงานด้าน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (EH&S) เพื่อตรวจสอบเสียงในสภาพแวดล้อมการทำงานว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ ถ้ามีเสียงดังเกินค่ามาตรฐาน ทีมงาน ด้านความปลอดภัยจะมีหน้าที่จัดหน้าและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้เครื่องป้องกันเสียงโดยเฉพาะ

ผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานในสถานที่ที่เกินกว่าระดับ 85 dBA ในระยะเวลาเฉลี่ยมากกว่าแปดชั่วโมงต่อวัน จะได้รับการลงทะเบียนในข้อมูลของหน่วยงานที่ดูแลด้านความปลอดภัย บุคคลเหล่านี้ควรจะได้รับการทดสอบวัดเสียงประจำปี และจะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันเสียงที่ผู้บังคับบัญชาจัดเตรียมไว้ให้ รวมถึงจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับการติดตั้ง ใช้งาน และดูแลอุปกรณ์เหล่านี้

  • ที่อุดหูแบบใช้แล้วทิ้ง : วัสดุผลิตจาก โพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) หรือโพลียูรีเทนโฟม ออกแบบมาสำหรับใช้ครั้งเดียว (ไม่ต้องทำความสะอาด) มีขนาดมาตรฐานสามารถใช้ได้กับทุกขนาดของรูหู มีน้ำหนักเบา ราคาประหยัด ช่วยในการบล็อกเสียงทั้งหมด ใช้สำหรับการทำงานในพื้นที่ที่มีระดับเสียงเฉลี่ยมากกว่า 85 dBa
  • ที่อุดหูแบบใช้ซ้ำได้ : ผลิตจากซิลิโคนมีลักษณะเรียว สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (ต้องทำความสะอาด) มีทั้งแบบมีสายหรือไม่มีสาย มีน้ำหนักเบา ทนทานกว่าที่อุดหูแบบใช้แล้วทิ้ง ใช้สำหรับการทำงานในพื้นที่ที่มีระดับเสียงเฉลี่ยมากกว่า 85 dBa

5.ระบบป้องกันระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Protection)

ระบบป้องกันระบบทางเดินหายใจส่วนใหญ่มักใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือเรียกว่าเป็น “แนวป้องกันสุดท้าย” ดังนั้นผู้ใช้งานจึงต้องมีการฝึกอบรมเป็นรายบุคคลและมีการประเมินโดยหน่วยงานที่ดูแลด้าน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (EH&S) ก่อนการใช้งานเพื่อความถูกต้องและถูกหลักในการดูแลความปลอดภัยของพนักงาน

  • หน้ากากอนามัย (ป้องกันละอองน้ำได้ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่) : ใช้สำหรับการทำงานกับสัตว์ที่มีชีวิต ทำงานกับวัสดุติดเชื้อในห้องปฏิบัติการระดับ BSL-2+
  • หน้ากากชนิด N-95 (ป้องกันฝุ่น ควัน ละออง จุลินทรีย์) : ใช้สำหรับการทำงานกับสัตว์ที่มีชีวิตหรือวัสดุติดเชื้อในห้องปฏิบัติการระดับ BSL-2 หรือ ใช้สำหรับกรณีมีโรคติดต่อทางอากาศ เช่น วัณโรค ไข้หวัดใหญ่ และ สภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยฝุ่น (อย่างช่วงฤดูหนาวที่ฝุ่นหนาแน่นของประเทศไทยเรา)
  • หน้ากากครึ่งหน้า (ช่วยในการฟอกอากาศ ป้องกันอนุภาคต่างๆ เช่น ไอละเหย ฝุ่น หมอกควัน ความละเอียดขึ้นอยู่กับตัวกรองที่ใช้) : ใช้สำหรับกรณีที่มีไอละเหยของสารเคมี อนุภาคต่างๆ สถานที่ที่มีโรคติดต่อทางอากาศ สภาพแวดล้อมที่มีฝุ่น
  • หน้ากากแบบเต็มหน้า (ช่วยในการป้องกันเช่นเดียวกับหน้ากากแบบครึ่งหน้า แต่สามารถป้องกันได้มากกว่าโดยสามารถป้องกันในส่วนของใบหน้า และดวงตา) : ใช้สำหรับกรณีที่มีไอละเหยของสารเคมี อนุภาคต่างๆ สถานที่ที่มีโรคติดต่อทางอากาศ สภาพแวดล้อมที่มีฝุ่น

มาตรฐาน PPE ที่กฎหมายไทยยอมรับ

  1. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม – สัญลักษณ์คือ มอก. หรือ TIS
  2. มาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล (International Standardization and Organization) – สัญลักษณ์ ISO
  3. มาตรฐานสหภาพยุโรป (European Standards) – สัญลักษณ์คือ EN หรือ CE 
  4. มาตรฐานประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ (Australia Standards/New Zealand Standards) – สัญลักษณ์คือ AS/NZS
  5. มาตรฐานสถาบันมาตรฐานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute) – สัญลักษณ์คือ ANSI
  6. มาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น (Japanese Industrial Standards) – สัญลักษณ์คือ JIS
  7. มาตรฐานสถาบันความปลอดภัยและอนามัยในการทํางานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (The national Institute for Occupational Safety and Health) – สัญลักษณ์คือ NIOSH
  8. มาตรฐานสํานักงานบริหารความปลอดภัย และอาชีวอนามัยแห่งชาติ กรมแรงงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and Health Administration) – สัญลักษณ์คือ OSHA
  9. มาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Fire Protection Association) – สัญลักษณ์คือ NFPA

 

6. อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ

ชนิดของหมวกนิรภัย ชนิด I เป็นหมวกช่วยลดแรงกระแทก บริเวณศีรษะเท่านั้น ชนิด II เป็นหมวกที่ช่วยลดแรงกระแทก บริเวณตรงกลางหรือด้านบนศีรษะ ประเภทของหมวกนิรภัย

1.หมวกนิรภัย ชนิด Class G ลดอันตรายจากไฟฟ้าแรงต่ำ

  • ต้องต้านทานแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ 2,200โวลต์ ที่ความถี่ 50 Hz เป็นเวลา 1 นาที
  • ค่าแรงกระแทกสูงสุดที่ส่งผ่านหมวกไม่เกิน 4,448 นิวตัน
  • ค่าเฉลี่ยกระแทกที่ส่งผ่านติ้งไม่เกิน 3,781 นิวตัน
  • ความต้านทานแรงเจาะ รอบเจาะที่เกิดขึ้นต้องลึกไม่เกิน 10 มม. ใช้ในการก่อสร้าง งานทั่วไป

2.หมวกนิรภัย ชนิด Class E ลดอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูง

  • ต้องต้านทานแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับได้ 20,000 โวลต์ ที่ความถี่ 50 Hzเป็นเวลา3นาที
  • ค่าแรงกระแทกสูงสุดที่ส่งผ่านหมวกไม่เกิน 4,448 นิวตัน
  • ค่าเฉลี่ยกระแทกที่ส่งผ่านติ้งไม่เกิน 3,781 นิวตัน
  • ความต้านทานแรงเจาะ รอบเจาะที่เกิดขึ้นต้องลึกไม่เกิน 10 มม. ใช้ในงานกันไฟฟ้าแรงสูง

3.หมวกนิรภัย ชนิด Class C มวกนิรภัยที่ไม่สามารถทนแรงดันไฟฟ้าได้ เนื่องจากเป็นโลหะ

  • ค่าแรงกระแทกสูงสุดที่ส่งผ่านหมวกไม่เกิน 4,448 นิวตัน
  • ค่าเฉลี่ยกระแทกที่ส่งผ่านติ้งไม่เกิน 3,781 นิวตัน
  • ความต้านทานแรงเจาะ รอบเจาะที่เกิดขึ้นต้องลึกไม่เกิน 10 มม. ใช้ในงานขุดเจาะน้ำมัน โรงกลั่นน้ำมัน แก๊ส

4.หมวกนิรภัย ชนิด Class D หมวกนิรภัยที่สามารถทนความร้อนสูงได้

  • ทำด้วยพลาสติกหรือไฟเบอร์กลาส เม่อติดไฟแล้วต้องดับได้เอง
  • ค่าแรงกระแทกสูงสุดที่ส่งผ่านหมวกไม่เกิน 4,448 นิวตัน
  • ค่าเฉลี่ยกระแทกที่ส่งผ่านติ้งไม่เกิน 3,781 นิวตัน
  • ความต้านทานแรงเจาะ รอบเจาะที่เกิดขึ้นต้องลึกไม่เกิน 10 มม. ใช้ในงานดับเพลิง งานเหมือง

4 เหตุผลสำคัญที่คุณควรใส่ชุด PPE ในที่ทำงาน

คำถามสำคัญว่า ทำไมจึงจำเป็นต้องสวมชุด PPE ในที่ทำงาน? อุตสาหกรรมจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการผลิและการก่อสร้าง ล้วนเต็มไปด้วยอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ปฎิบัติงาน แม้ว่าคุณจะระมัดระวังตัวเองแล้วแต่เหตุไม่คาดฝันเกินขึ้นได้เสมอ 

คุณอาจคุ้นชินกับการพบว่าตัวเองอยูในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัยในการทำงาน แต่คุณไม่ควรรู้สึกว่าร่างกายของคุณมีแนวโน้มจะได้รับอันตราย นี้คือเหตุผล 4 ประการที่บ่งชี้ว่าทำไมการใช้ PPE ในที่ทำงานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

1.ป้องกันไม่ให้คุณต้องรับผิดชอบต่อการบาดเจ็บของตัวคุณเอง

สำหรับพนักงานระดับปฏิบัติงานคุณควรทราบถึงกฎความปลอดภัยของบริษัทที่ส่งผลต่อการได้รับการชดเชยค่าเสียหายในกรณีที่เกิดเหตุร้ายแรง โดยปกติบริษัทจะมอบหมายให้ จป หัวหน้างาน หรือ จป บริหาร ในการออกนโยบายและตรวจสอบในแน่ใจว่าพนักงานปฏิบัติตามนโยบายด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด แต่ถ้าหากว่าคุณเองเป็นฝ่ายละเลยกฎนี้ การบาดเจ็บที่คุณได้รับอาจอยู่นอกเหนือความคุ้มครองของบริษัท และคุณอาจะต้องเป็นคนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายนั้นด้วยตนเอง!! 

แต่ในกรณีที่คุณปฏิบัติตามกฎของบริษัท สวมชุด PEE ปฏิบัติงานได้เคร่งครัดตลาดระยะเวลาการทำงาน คุณจะมั่นใจได้ว่า หากเกิดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยที่ส่งผลโดยตรงจากการทำงาน นายจ้างของคุณจะต้องรับผิดชอบอย่างเต็มที่ ไม่เว้นแม้แต่งานที่คุณใช้เวลา  “เพียงไม่กี่วินาที” คุณก็ควรสวมชุด PPE ป้องกันเช่นกัน

2.โรคภัยระยะยาวที่มาพร้อมกับการละเลยการป้องกันตัวเองในระยะสั้น

สำหรับพนักงานที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่เสี่ยงต่อการสัมผัสกับสารเคมีและสารประกอบต่างๆ สามารถส่งผลระยะยาวต่อสุขภาพของคุณได้

 ผมขอยกเคสตัวอย่างของงานวิจัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกา 

ในปี 2560  ชาวอเมริกันกว่า 3,000 คน/ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น  Mesothelioma หรือ มะเร็งเยื่อหุ้มปอดและเยื่อหุ้มอื่น ระหว่าง 70-80% ของเคสที่ถูกวินิจฉัยเหล่านี้ถ้าสืบถึงประวัติการทำงานพบว่ามีการสัมผัสกับ เส้นใยหินที่ใช้ในการผลิตวัสดุสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ แต่อย่างที่คุณคงทราบกฎระเบียบด้านความปลอดภัยในปัจจุบันกำหนดให้ผู้ที่ปฏิบัติงานกับแร่ใยหินต้องสวมชุด PPE และต้องอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนออกจากที่ทำงาน ในกรณีของโรค Mesothelioma ส่วนใหญ่เกิดขึ้นก่อนที่เราจะรู้ความเชื่อมโยงระหว่างโรคกับปัจจัยเสี่ยงนี้

เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากกรณีศึกษานี้ถ้าคุณทำงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี สารละเหย น้ำมัน แร่ใยหิน หรืออื่นๆ ชุด PPE คือเครื่องมือที่จะปกป้องคุณจากโรคร้ายที่อาจติดตัวและทำลายสุขภาพของคุณในระยะยาว

3.ดวงตาของคุณมีคู่เดียว

แว่นตานิรภัยเป็นหนึ่งในชุด PPE ที่พบได้บ่อยที่สุดและมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก เนื่องจากช่วยในการป้องกันสารใดๆ ไม่ว่าจะเป็นสารกัดกร่อนหรือไม่ รวมถึงวัสดุทั้งแหลมและไม่แหล่ม ที่จะส่งผลอันตรายต่อดวงตาของคุณ

จากข้อมูลของ American Academy of Ophthalmology (AAO)  รายงานว่าทุกปีมีการบาดเจ็บที่ดวงตาประมาณ 2.4 ล้านครั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งระหว่างการทำงานและการทำกิจกรรมยามว่าง โดยการบาดเจ็บเหล่านี้ประมาณ 50,000 รายสูญเสียการมองเห็น โดย 90% ของอาการบาดเจ็บเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการสวมแว่นตานิรภัย

สำหรับการทำงานของคุณควรศึกษาชนิดของแว่นตานิรภัยให้ดี เลือกชนิดที่เหมาะสมกับประเภทของงานที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะถ้าคุณทำงานงานอุตสาหกรรมที่มีโอกาสเกินการบาดเจ็บได้ง่านเช่น อุตสาหกรรมการผลิต ก่อสร้าง

4.ช่วยเพิ่มคุณภาพการทำงานของคุณ

สำหรับการทำงานให้คิดเสียว่าชุด PPE คือ ระบบสนับสนุนสำหรับง่านที่คุณต้องรับผิดชอบ คุณอาจรู้สึกว่างานที่ได้รับอาจจะไม่ได้รับอันตรายใดๆ แต่อย่างไรก็ตามการมีอุปกรณ์ไว้ป้องกันตัวช่วยให้ความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุที่ส่งผลถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพและร่างกายให้น้อยที่สุด

Personal Protective Equipment มีอะไรบ้าง

ชนิดของ PPE. อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา(Face and Eye protection) • อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ (Head protection) • อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ (Respiratory protection) • อุปกรณ์ป้องกันมือ (Hand protection) • อุปกรณ์ป้องกันเท้า (Foot protection) • อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย (Body protection)

Head Protection Devices หมายถึงอะไร

อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ (Head Protection Devices) สวมไว้เพื่อป้องกันศีรษะจากการถูกชน หรือกระแทก หรือวัตถุตกจากที่สูง กระทบต่อศีรษะ ได้แก่ หมวกนิรภัย มี 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีขอบหมวกโดยรอบ และชนิดที่มีเฉพาะกระบังด้านหน้า ส่วนประกอบของหมวกนิรภัยตัวหมวก ทำด้วยพลาสติก หรือไฟเปบอร์กลาส หรือโลหะ

หลักเกณฑ์สําคัญสําหรับการใช้เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลมีอะไรบ้าง

หลักเกณฑ์ในการเลือกและใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล.
เลือกให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่เป็นอันตราย.
ควรมีให้เลือกหลายแบบ.
มีขนาดพอเหมาะกับผู้ใช้.
อุปกรณ์ที่ผ่านการทดสอบหรือรับรองประสิทธิภาพ.
มีประสิทธิภาพในการป้องกันอันตรายสูง.
มีน้ำหนักเบาสวมใส่สบาย.
ใช้ง่ายไม่ยุ่งยาก.
รักษาและดูแลง่าย.

ข้อใดคืออุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันวัสดุตกมากระทบตัวผู้สวมใส่

อุปกรณ์นิรภัยส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment, PPE) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับผู้ปฏิบัติงานสวมใส่ขณะทำงานเพื่อป้องกันอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากสภาพและสิ่งแวดล้อมการทำงาน เช่น เสียงดัง แสง สารเคมี ความร้อน การตกจากที่สูง วัสดุกระเด็นเข้าตา วัสดุหล่นกระแทก หรือทับ เป็นต้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้