บทลงโทษ ขายประกัน ไม่มี ใบอนุญาต

ไม่จบง่ายๆ ตัวแทนขายประกันส่งเอสเอ็มเอสเย้ยลูกค้า ล่าสุด คปภ.สั่งสอบต่อ มีโทษถึงขั้นพักใบอนุญาต และปรับสูงสุด 5 หมื่นบาท ศุกร์ที่ 30 เมษายน 2564 เวลา 14.21 น.

 

นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยกรณีที่ปรากฏตามข่าวมีตัวแทนประกันชีวิตรายหนึ่ง ได้เสนอขายประกันภัยผ่านทางโทรศัพท์ แต่ถูกลูกค้าปฏิเสธการซื้อ ต่อมาตัวแทนประกันชีวิตรายนี้ได้ส่งข้อความที่ไม่เหมาะสมให้ลูกค้าว่า คปภ. ไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหา จึงสั่งการบริษัทประกันชีวิตตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าตัวแทนประกันชีวิตรายนี้มีการกระทำที่ขัดต่อจรรยาบรรณของคนกลางประกันภัยหรือไม่ และสั่งการให้สายกฎหมายและคดี สำนักงาน คปภ. เรียกตัวแทนประกันชีวิตรายนี้มาสอบสวน เพื่อจะได้ดำเนินการบังคับตามมาตรการทางกฎหมายอย่างเข้มข้นต่อไป นอกจากนี้ ยังได้แจ้งเตือนไปยังบริษัทประกันภัย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน และสมาคมนายหน้าประกันภัยไทย ให้กำชับสมาชิกถือปฏิบัติตามที่ประกาศกำหนดโดยเคร่งครัดแล้ว

  “ตามข่าวที่ปรากฏน่าจะเข้าข่ายการรบกวน หรือก่อความรำคาญให้กับลูกค้า ซึ่ง คปภ. จะตรวจสอบข้อเท็จจริงจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้รอบคอบ หากพบว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศที่กำหนด มีสิทธิสั่งแก้ไขให้ถูกต้อง หรือสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันภัยหรือใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันภัยได้ จนกว่าจะได้ดำเนินการให้ถูกต้อง และอาจโทษปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือกำหนดมาตรการอื่นที่หนักขึ้น ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องปรามไม่ให้มีการกระทำในทำนองนี้อีก”

คุณเห็นด้วยกับข่าวนี้หรือไม่

  • เห็นด้วย

    0%

  • ไม่เห็นด้วย

    0%

ความคิดเห็น

ข่าวล่าสุด

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2560 ธุรกิจประกันภัยทั้งระบบมีตัวแทน/นายหน้าประกันภัย จำนวนทั้งสิ้น 526,951 ราย โดยแบ่งเป็นตัวแทนประกันชีวิต จำนวน 273,853 ราย ตัวแทนประกันวินาศภัย จำนวน 19,984ราย นายหน้าประกันชีวิต จำนวน 106,143 ราย และนายหน้าประกันวินาศภัย จำนวน 126,971 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุคลากรที่มีมาตรฐานและคุณภาพที่ดี ส่วนตัวแทน/นายหน้าประกันภัยที่กระทำผิดกฎหมายสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนนั้นถือได้ว่ามีอัตราส่วนที่น้อยมาก ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. ได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานพิสูจน์ยืนยันแล้ว จึงได้ดำเนินการลงโทษอย่างเคร่งครัดด้วยการเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งใน ไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 (วันที่ 1 เมษายน - 30 มิถุนายน) ตนในฐานะนายทะเบียนได้มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตัวแทน/นายหน้าประกันภัย รวม 17 ราย โดยอาศัยอำนาจตาม ข้อ 6 (4) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการประกาศ หรือโฆษณาการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต (วินาศภัย) พ.ศ. 2556 ซึ่งผู้ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตทั้ง 17 ราย จะไม่สามารถกระทำการเป็นตัวแทน/นายหน้าประกันภัยหรือขอรับใบอนุญาตใหม่ได้ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับสาเหตุของการกระทำความผิดของตัวแทน/นายหน้าประกันภัยที่นำไปสู่การเพิกถอนใบอนุญาตในครั้งนี้  เกิดจาก 4 กรณี ได้แก่ ได้รับชำระเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัย แต่มิได้นำเงินค่าเบี้ยประกันภัยส่งให้บริษัท กระทำการทุจริตการสอบ โดยสวมสิทธิ์เข้าสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต ยินยอมให้ผู้อื่นที่มิได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตให้กับบุคคลเอาประกันภัยกับบริษัทในนามตนเอง และชักชวนให้ผู้เอาประกันภัยทำสัญญาประกันภัยโดยมิได้อธิบายเงื่อนไขให้ชัดแจ้ง

“ที่ผ่านมา สำนักงาน คปภ. ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับคุณภาพของตัวแทน/นายหน้าประกันภัย ตั้งแต่กระบวนการก่อนการขาย การเสนอขายตลอดจนการให้บริการหลังการขาย อีกทั้งมีการอบรม การสอบ การขอต่ออายุ เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทน/นายหน้าประกันภัย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองประชาชนผู้เอาประกันภัยไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ สำนักงาน คปภ. จะดำเนินการตรวจสอบและพิจารณาลงโทษตัวแทน/นายหน้า ที่มีพฤติการณ์เอารัดเอาเปรียบและฝ่าฝืนกฎกติกาที่กำหนดโดยเคร่งครัด จริงจัง และต่อเนื่อง และจากนี้ไปการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องนี้จะมีแต่เข้มข้นมากยิ่งขึ้น เนื่องจากได้มีการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันชีวิตและพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย ให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัย โดยได้กำหนดบทลงโทษทางอาญาทั้งจำคุกและปรับด้วย ซึ่งในอนาคตหากตัวแทนและนายหน้าประกันภัยกระทำผิด นอกจากจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตแล้ว ถ้าการกระทำเข้าองค์ประกอบความผิดเรื่องการฉ้อฉลประกันภัยก็อาจถูกดำเนินคดีจนถึงขั้นจำคุกและปรับอีกด้วย”

ดร.สุทธิพล กล่าวทิ้งท้ายว่า เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนในอันที่จะได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง จากการซื้อประกันภัยจากตัวแทน/นายหน้าประกันภัยที่มีคุณภาพ ประชาชนควรตรวจสอบว่าผู้เสนอขายประกันภัย เป็นตัวแทน/นายหน้าประกันภัยที่ได้รับใบอนุญาตถูกต้อง โดยสามารถตรวจสอบสถานะตัวแทน/นายหน้าประกันภัย ได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานคปภ. www.oic.or.th หรือสอบถามได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186

ที่มา : //www.oic.or.th/th/consumer/news/releases/87493

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้