เปิดร้านอาหารตามสั่ง ต้อง จดทะเบียน ไหม

ผู้ประกอบการร้านอาหารหลายคนที่กำลังจะเปิดร้านอาหาร นอกเหนือจากงานทำร้าน ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้าง การตกแต่ง งานระบบ งานครัว งานบริการ ฯลฯ และอีกสารพัดงานแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ ห้าม! มองข้าม คือการ จดทะเบียนร้านอาหาร ให้เปิดขายได้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่า ต้องเตรียมตัว เตรียมเอกสารอย่างไรบ้าง วันนี้เราหาคำตอบมาให้แล้วครับ

การเปิดร้านอาหารต้องจดทะเบียนพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 โดยวันนี้ขอยกรูปแบบการจดทะเบียนที่ใกล้ตัวผู้ประกอบการทุกท่านมา 2 ลักษณะ ดังนี้

1.ประเภทบุคคลธรรมดา (เจ้าของคนเดียว)

เอกสารที่ต้องยื่นต่อเจ้าหน้าที่มีดังนี้

  • คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ หรือทพ. สามารถดาวน์โหลดได้ที่ //www.dbd.go.th/download/downloads/01_tp/form_tp.pdf
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประกอบกิจการ
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบกิจการ กรณีที่ผู้ประกอบการไม่ได้เป็นเจ้าบ้านของสถานที่ตั้งร้าน ต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
    • หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่
    • สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้าน หรือสำเนาสัญญาเช่า โดยมีผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้เช่า หรือเอกสารสิทธิ์อย่างอื่นที่ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นผู้ให้ความยินยอม
    • แผนที่แสดงสถานที่ตั้งร้าน และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียง
  • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ประกอบกิจการไม่ได้ยื่นเรื่องเอง)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  • ค่าทำเนียมการจดทะเบียน 50 บาท

2.ประเภทห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล กิจการร่วมค้า (มีเจ้าของร่วม)

เอกสารที่ต้องยื่นต่อเจ้าหน้าที่มีดังนี้

  • คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ หรือทพ. สามารถดาวน์โหลดได้ที่ //www.dbd.go.th/download/downloads/01_tp/form_tp.pdf
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
  • หนังสือหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล
  • หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้านหรือผู้ขอเลขที่บ้าน หรือสำเนาสัญญาเช่า โดยมีผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้เช่า หรือเอกสารสิทธิ์อย่างอื่นที่ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นผู้ให้ความยินยอม
  • แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่แลสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
  • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ประกอบกิจการไม่ได้ยื่นเรื่องเอง)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  • ค่าทำเนียมการจดทะเบียน 50 บาท

 

เมื่อเตรียมเอกสารครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว สามารถไปจดทะเบียนได้หลากหลายสถานที่ ดังนี้

กรณีร้านอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่ :

(1) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร

(2) ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่ของเขตนั้น

กรณีต่างจังหวัด ยื่นจดทะเบียนได้ที่ : เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยา รับจดทะเบียนพาณิชย์ของผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยาแล้วแต่กรณี

ทั้งนี้ผู้ประกอบการจะต้องไปจดทะเบียนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ประกอบกิจการ หลังจากจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ต้องปฏิบัติดังนี้

1.ต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย

2.ต้องจัดให้มีป้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจ ไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขาโดย เปิดเผยภายในเวลา 30 วันนับแต่วันที่จดทะเบียน ป้ายชื่อให้เขียนเป็นอักษรไทย อ่านง่ายและชัดเจน จะมีอักษร ต่างประเทศในป้ายชื่อด้วยก็ได้ และจะต้องตรงกับชื่อที่จดทะเบียนไว้ หากเป็นสำนักงานสาขาจะต้องมีคำว่า “สาขา” ไว้ด้วย

3.หากเกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ เช่น เลิกกิจการ ใบทะเบียนพาณิชน์สูญหาย ต้องยื่นคำขอใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เปลี่ยนแปลง สูญหาย หรือชำรุด

4.ต้องไปให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายการจดทะเบียนตามคำสั่งของนายทะเบียน

5.ต้องอำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ในการเข้าทำการตรวจสอบสำนักงานของผู้ประกอบกิจการ

1.การจดทะเบียนพาณิชย์ (ประเภทบุคคลธรรมดา) เป็นลักษณะกิจการเจ้าของคนเดียว หลายคน ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารประเภทบุคคลธรรมดาต้องจดทะเบียนพาณิชย์โดยยื่นจดทะเบียนดังนี้ -ในกรุงเทพฯ ยื่นจดทะเบียนที่สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1-7 สำนักทะเบียนธุรกิจและจดทะเบียนธุรกิจกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ - ต่างจังหวัด ยื่นขอจดทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอที่ตั้งสถานประกอบการ ยกเว้นอำเภอเมือง หรือ อำเภอที่มีการกำหนดให้ยื่น ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดที่ตั้งสถานประกอบการ *ต้องยื่นขอเป็นผู้มีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรต่อ สรรพากรพื้นที่ ที่ตั้งของสถานประกอบการ - ต้องยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีและครึ่งปี (ภ.ง.ด.90 และ 94) - หากมีรายได้เกิน 1,200,000 ต่อปี ต้องยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ. 30 2.การจดทะเบียนพาณิชย์ (ประเภทนิติบุคคล) ผู้ประกอบการธุรกิจต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สถานที่ยื่นขอจดทะเบียน - กรุงเทพฯ ยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1 – 7 และส่งจดทะเบียนธุรกิจกลาง สำนักทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ - ต่างจังหวัด ยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ที่ห้างหุ้นส่วนบริษัทมี สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ *ต้องยื่นขอเป็นผู้มีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรต่อ สรรพากรพื้นที่ ที่ตั้งของสถานประกอบการ - ต้องยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล ประจำปี และ ครึ่งปี (ภ.ง.ด.50 และ 51) - หากมีรายได้เกิน 1,200,000 ต่อปี ต้องยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ. 30   ขอบคุณรูปภาพ : //ed.files-media.com/ud/gal/campaign/26/76396/Take-A-Seat500-2.jpg

เปิดร้านอาหารตามสั่งต้องขออนุญาตอะไรบ้าง

เปิดร้านอาหาร ต้องจดทะเบียนร้านอย่างไร?.
แบบ ทพ. คลิดดาวน์โหลดได้ที่นี่.
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้จดทะเบียนพาณิชย์.
กรณี ที่ตั้งของร้าน ผู้ขอจดไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน ต้องมีเอกสารแนบเพิ่มเติมคือ หนังสือให้ความยินยอมใช้สถานที่ และสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านที่เราไปขอใช้สถานที่.
แผนที่ตั้งของร้าน.

ร้านค้าเล็กๆต้องจดทะเบียนพาณิชย์ไหม

ตอบ คุณกาญ ผู้ประกอบการขายสินค้าเป็นประจำเหมือนอาชีพปกติโดยมีที่ตั้งสำนักงานมีลักษณะเป็นอาคารถาวร มีเลขที่อาคารชัดเจนตรวจสอบได้ ถือเป็นผู้เข้าข่ายต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ซึ่งต้องจดภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้เริ่มประกอบกิจการ

เปิดร้านอาหารต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

> ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ในครั้งที่ 2.

เปิดร้านอาหารต้องทำอะไรบ้าง

10 ขั้นตอนที่ต้องรู้ ก่อนเปิดธุรกิจร้านอาหาร.
กำหนดคอนเซ็ปของร้าน.
เลือกทำเลที่ตั้ง.
เช็คความเป็นไปได้ด้วยแผนธุรกิจ.
วางแผนเมนูและตั้งราคาขาย.
ออกแบบผังร้านให้มีประสิทธิภาพสูงสุด.
ขอใบอนุญาตและศึกษาข้อกฎหมายต่าง ๆ.
หาแหล่งซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์.
การวางแผนกำลังคน.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้