อาชีพ นักดนตรี ทำ อะไร บ้าง

  📌 วันนี้ขอมาแชร์บทความดี ๆ จาก “Mugen Guitar Shop” จะมีอะไรบ้างนั้นลองไปดูกันเลย

📌 1. การขยันขันแข็งในการฝ้กซ้อม จะช่วยให้มีความคล่องตัว ช่วยเพิ่มพูนฝีมือ เพิ่มพูนความเข้าใจ เพิ่มพูนความเร็ว การขยันฝึกซ้อมนั้น จะต้องทำให้เป็นนิสัย แม้จะได้ชื่อว่าเป็นผู้เก่งแล้ว ก็ยังต้องหมั่นฝึกซ้อมอยู่เสมอ

📌 2. หมั่นศึกษาหาความรู้ทางดนตรีเพิ่มเติมอยู่เสมอจากครู อาจารย์ จากเพื่อนร่วมงาน จากตำหรับตำรา จากการฟัง ฯลฯ วิวัฒนาการและเทคโนโลยี ก้าวไปบ้างหน้าตลอดเวลาถ้าหยุดศึกษา จะกลายเป็นคนล้าหลัง และตามเพื่อนพ้องไม่ทัน

📌 3. มีความละเอียดละออในการฟัง การอ่าน การเขียนและการเล่น อย่าปล่อยให้รายละเอียดที่ไพเราะน่าสนใจ หรือกลเม็ดต่างๆ ผ่านไป โดยมิได้กระทบประสาทสัมผัสของเรา

📌 4. หมั่นดูแลรักษาเครื่องมือประจำตัวที่ใช้ประกอบอาชีพ หรือเล่นเป็นประจำ ให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ เสียงทุกเสียงต้องไม่เพี้ยนเลย(เป็นอันขาด) สภาพของเครื่องตนตรีต้องใช้การได้ดีตลอดเวลา

📌 5. ลดอัตตาในตนเองให้มากที่สุด จงเป็นคนถ่อมตัว อย่าถือว่า ความคิดของตนเองเป็นใหญ่ อย่าคิดว่าเราเองต้องเป็นฝ่ายถูกตลอดกาล การคิดเช่นนั้นจะทำให้เราไม่ได้อะไร ที่ใหม่ๆ และกลายเป็นคนโง่ที่คิดว่าตัวเองฉลาด

📌 6. อย่าตำหนิติเตียนผู้มีฝีมือด้อยกว่า จงแนะนำสิ่งที่น่าสนใจแก่เขา ตามกำลังความสามารถของเขาที่จะรับได้ จงให้กำลังใจแก่เขา และส่งเสริมให้เขามีฝีมือขึ้นมาเสมอเรา หรือก้าวไปกว่าเรา ความเจริญและความดีงามของสังคม อยู่ที่การมีคนที่มีคุณภาพจำนวนมาก

📌 7. เป็นคนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ไม่ว่าในหมู่เพื่อนร่วมงาน หรือผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ในธุรกิจการดนตรี รับฟังและเคารพในความคิดเห็นของคนอื่น อย่าเป็นตัวสร้างปัญหาให้กับบุคคลอื่นเสมอๆ จะทำให้เรากลายเป็นบุคคลที่น่าเบื่อหน่าย

📌 8. เป็นผู้ที่ตรงต่อเวลา ไม่ว่าเป็นการนัดฝึกซ้อมหรือในการแสดงจริง ต้องตรงต่อเวลาจริงๆ ทั้งต้องเผื่อเวลาไว้สำหรับอุปสรรคในการเดินทางด้วย งานทุกงานควรเริมต้นและจบลงตามกำหนดการ

📌 9. เมื่อมีโอกาสถ่ายทอดความรู้สู่ผู้อื่น จงกระทำในลักษณะ แนะนำ แจกแจงให้เห็น จงอย่าสอน ถ้าจะสอนต้องคำนึงถึงความยอมรับในตัวเรา จากผู้เรียนให้มากที่สุด

📌 10. จงเคารพในสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น อย่าถือวิสาสะหยิบหรือเคลื่อนย้ายเครื่องมือของผู้อื่น โดยเจ้าของไม่ได้อนุญาตเสียก่อน

📌 11. จงเป็นผู้มองโลกในแง่ดีเสมอ ให้อภัยคน อย่าเป็นคนโกรธง่าย อย่าใช้ยาเสพติด เมื่อต้องการอารมณ์สุนทรีย์ นักดนตรีควรจะมีอารมณ์สุนทรีย์โดยธรรมชาติ มองโลกให้กว้าง

📌 12. อย่าเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น ทั้งฝีมือและพฤติกรรม คนแต่ละคนมีจริตและสิ่งเอื้ออำนวยที่แตกต่างกัน โดยธรรมชาติ ไม่มีอะไรที่จะเปรียบเทียบกันได้ ความกระตือรือร้น ความทะเยอทะยาน ที่จะมีฝีมือและความรู้ที่มากขึ้น ควรขึ้นอยู่กับความท้าทายจากสิ่งที่เราเรียนรู้นี้ มิใช่เกิดขึ้นเพราะอยากเอาชนะผู้อื่น เราจะไม่วันชนะใคร ตราบเท่าที่เราอยากเอาชนะ

ถ้าน้อง ๆ เป็นอีกคนหนึ่งที่หลงใหลในเสียงดนตรี อยากทำงานในสายนี้ แต่ก็ติดอยู่ตรงที่ว่าเล่นดนตรีไม่เป็นสักอย่าง จะทำยังไงดี? บทความนี้มีคำตอบ!

อย่างแรกเลยที่ต้องทำความเข้าใจคือ ในสายดนตรีไม่ได้มีแค่ มือกลอง กีตาร์ เบส และนักร้อง ที่ออกมายืนเบื้องหน้าเท่านั้น! แต่ยังต้องอาศัยทีมงานคอยจัดแจงเรื่องต่าง ๆ และมีองค์ประกอบที่หลากหลายอยู่เบื้องหลัง แถมสำคัญมาก ๆ อีกด้วย วันนี้เราจะมายกตัวอย่างให้ฟังว่ามีอะไรบ้าง! และแน่นอนว่าทุกตำแหน่งไม่จำเป็นจะต้องมีความรู้ด้านดนตรีเฉพาะทาง

1.อาชีพดูแลศิลปิน ( Artist Relations )

ตำแหน่งนี้ถือว่าเป็นตำแหน่งที่ใครหลาย ๆ คนใฝ่ฝัน เพราะดูเหมือนว่าได้ใกล้ชิดกับศิลปิน ได้ดูคอนเสิร์ตฟรี ยิ่งถ้าได้ดูแลศิลปินที่เราเป็นแฟนคลับอยู่แล้ว บอกได้เลยว่าฟินสุด ๆ แต่... หน้าที่นี้ต้องอาศัยความรับผิดชอบสูง ต้องดูแลตั้งแต่สุขภาพกาย สุขภาพใจ เพื่อให้พร้อมทำงานอยู่เสมอ รู้วิธีรับมือกับศิลปินแต่ละคน มีจิตวิทยา รับผิดชอบความปลอดภัย ความสะดวกเรียบร้อยต่าง ๆ ในการทำงาน ทั้งการซักซ้อม, การเป็นกำลังใจ รวมถึงสังเกต Feedback ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ปัจจุบันหน้าที่นี้ยังต้องช่วยถ่ายรูป รวมไปถึงเทคแคร์แฟนคลับ เรียกได้ว่า ดูแลกันแบบ 360 องศาในการพาศิลปินไปออกงาน (ทั้ง Music Video, ออกงานทุกประเภท) รู้รายละเอียดของงานทุกส่วน รับผิดชอบให้ทุกคนทำงานตรงเวลาเพื่อให้ผ่านลุล่วงไปด้วยดี และด้วยความใกล้ชิดกับศิลปิน ต้องสร้างทัศนคติที่ดีด้วย ป้องกันให้เกิดข้อผิดพลาดในงานน้อยที่สุด เตรียมรับมือทุกสถานการณ์

คุณสมบัติที่สำคัญ

  • เข้าใจการทำงานและอยู่ร่วมกับศิลปินได้ดี
  • มีความรับผิดชอบสูงเพราะต้องรับผิดชอบคนหมู่มาก
  • รอบคอบกับทุกสิ่ง
  • ตรงต่อเวลา สามารถดูแลเรื่องเวลาให้กับทุกฝ่ายได้
  • มีไหวพริบ รับมือและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
  • ชอบดูแลเอาใจใส่คนรอบตัว ช่างสังเกต
  • มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี รู้จักการประนีประนอม
  • มีความรู้เกี่ยวกับดนตรี และการเล่นคอนเสิร์ตบ้าง เช่น รายละเอียดการ Sound Check

2.อาชีพส่งเสริมการขาย ( Promoter Artist )

เป็นตำแหน่งที่สำคัญมาก ๆ ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้ เพราะต้องวางแผนกลยุทธ์ กำหนดทิศทางต่าง ๆ เพื่อให้ศิลปินไปสู่เป้าหมายสูงสุด แน่นอนว่าวงดนตรียุคนี้จะให้มาเล่นคอนเสิร์ตอย่างเดียวก็คงไม่พอ พฤติกรรมของผู้ฟังเปลี่ยนไป แถมเดี๋ยวนี้วงดนตรีก็มากหน้าหลายตา จะทำยังไงให้คนจำศิลปินได้ ก็ต้องอาศัย "Promoter" มาช่วยวางแผนทางการตลาด อาทิเช่น ต้องวิเคราะห์เพลงและตัวตนศิลปิน ว่าควรเป็นไปในทิศทางใด ควรขายให้คนกลุ่มไหน คิดวิธีที่จะทำให้ผลงานไปถึงกลุ่มผู้ฟัง รวมถึงสื่อที่ใช้ในการโปรโมททั้งหมด (รูปภาพ, MV, Video) ช่องทางการจัดจำหน่าย ต้องตามทันโลก รู้หมดว่าในขณะนี้อะไรกำลังเป็นกระแส! เห็นภาพรวมทั้งหมด เป็นงานที่ทำงานร่วมศิลปินและฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติที่สำคัญ

  • ต้องมีความรอบรู้ทุกกระแส รวมถึงเทรนด์แฟชั่น หลงใหลทุกอย่างที่เกี่ยวกับเพลง
  • มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการตลาดเพื่อวางแผนให้ถูกต้อง
  • มีความเข้าใจเกี่ยวกับโปรดักชัน ทั้งภาพนิ่งและ Music Video
  • สามารถสื่อสารทำความเข้าใจกับบุคคลที่เกี่ยวข้องและแต่ละฝ่ายได้เป็นอย่างดี
  • เป็นคนช่างสังเกต สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุง และพร้อมปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้เสมอ

3.อาชีพประชาสัมพันธ์ ( Public Relation )

เมื่อศิลปินทำเพลงขึ้นมาเสร็จกระบวนการเรียบร้อยแล้ว เพลงถูกปล่อยออกมาก็ต้องอาศัยตำแหน่งนี้เพื่อประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จัก โดยจะต้องดูว่าสื่อไหนที่ตรงกับกลุ่มคนฟังของศิลปิน จากนั้นก็เขียนข่าวส่งสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคลื่นวิทยุ , สำนักข่าวบันเทิง, สิ่งพิมพ์, สื่อออนไลน์, งานแถลงข่าว หรืออื่น ๆ ซึ่งความยากอยู่ตรงที่จะมีวิธีการอย่างไรให้สื่อมวลชนมีความสนใจในตัวศิลปิน อาจจะต้องคิดแคมเปญทำร่วมกับสื่อต่าง ๆ อีกด้วย และที่สำคัญต้องผลักดันให้ศิลปินอยู่ในหน้าสื่อต่าง ๆ อยู่เสมอ โดยต้องคำนึงถึงความเหมาะสม

คุณสมบัติที่สำคัญ

  • เข้าใจในตัวตนศิลปิน เพื่อจะสามารถผลักดันไปในสื่อที่เหมาะสม และเข้าใจในธรรมชาติของสื่อต่าง ๆ
  • สามารถสร้างโอกาสและช่องทางในการประชาสัมพันธ์ได้อยู่เสมอ
  • มีทักษะการสื่อสารที่ดี มีบุคลิกภาพที่ดี
  • สนใจสื่อต่าง ๆ รอบตัว ทันทุกเทรนด์ ทันกระแส
  • ชอบเข้าสังคม

4.อาชีพทำเนื้อหาเกี่ยวกับดนตรี (Online Music Content)

ฟังดูแล้วอาจจะเป็นเรื่องธรรมดา! แต่อย่างที่รู้กันว่าสมัยนี้สื่อออนไลน์มีความสำคัญกับสังคม แหล่งข่าวที่สำคัญส่วนมากก็มาจากอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่ และใคร ๆ ก็สามารถทำได้ แถมยังได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่เป็นอย่างดี โดยสื่อออนไลน์อย่างง่ายที่สุดคือ Facebook page ที่เราเห็นกันอย่างคุ้นตา

3 ไอเดียในการทำเพจเนื้อหาเกี่ยวกับดนตรี

  1. Facebook Page มีเนื้อหาแนะนำศิลปินใหม่ ๆ ,จัดอันดับเพลงที่ชอบประจำสัปดาห์, รีวิวผลงานศิลปิน เช่น ฟังหูไว้หู - Funghoowaihoo, NOW Independent Music, เสพย์สากล - Sepsakon, เนชอบฟังเพลง
  2. Facebook Fanpage ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับศิลปินที่ชื่นชอบ อัปเดตตารางงาน หรือข่าวสารเกี่ยวกับศิลปินในทุกแง่มุม เช่น Cherpang BNK48 Fanclub
  3. Music Streaming คือ Platform การฟังเพลงในรูปแบบออนไลน์ อย่าง ฟังใจ - Fungjai , Joox Music

ทั้ง 3 ไอเดียนี้เป็นตัวอย่างของการทำสื่อออนไลน์ที่เกี่ยวกับดนตรี สามารถต่อยอดไปได้หลายอย่าง เมื่อมีฐานแฟนหรือยอดกดไลค์ที่เยอะ ก็จะมีรายได้มาจากผู้ที่สนใจซื้อพื้นที่โฆษณาในเพจ นอกจากนี้ยังสามารถต่อยอดเป็นงานอีเวนต์ /คอนเสิร์ตได้อีกด้วย เนื่องจากมีทั้งฐานแฟนเพจที่เป็นที่รู้จัก และ มี Connection นักดนตรีต่าง ๆ

5.ผู้จัด ( EVENT, Concert )

ถ้าเราเป็นผู้เล่นไม่ได้ ก็เป็นผู้จัดหรือผู้ว่าจ้างเองเลยละกัน! ซึ่งอาชีพนี้ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง ทั้งทีมงานในหลายฝ่าย, ต้นทุน, สปอนเซอร์ และอื่น ๆ แต่ถ้าเริ่มคิดที่จะจัดงานเป็นของตัวเองแล้ว อาจจะเริ่มต้นจากเล็ก ๆ ถึงแม้จะมีความเสี่ยงสูงแต่ไม่ต้องกังวลไป ประสบการณ์จะสอนเราเอง! วันนี้เราจะมาบอกแนวคิด และการเตรียมตัวเบื้องต้นสำหรับคนที่กำลังสนใจอยากเป็นผู้จัด

หากอยากเริ่มต้นจัดคอนเสิร์ตต้องทำอย่างไรบ้าง?

  • ต้องหมั่นดูคอนเสิร์ตบ่อย ๆ จดรายละเอียดของแต่ละงานลงโน้ต เพื่อประเมินข้อดีข้อเสีย วิเคราะห์รายละเอียดต่าง ๆ เช่น การจัดการภายในคอนเสิร์ต, ที่จอดรถเพียงพอหรือไม่, แสง สี เสียงเป็นอย่างไรบ้าง, ระบบการซื้อ-ขายบัตร, อาหารในงาน รวมถึงการทำประชาสัมพันธ์ของงานนั้น ๆ
  • หาโอกาสที่จะได้พบกับประสบการณ์จัดคอนเสิร์ต โดยการติดตามข่าวสารการเปิดรับสมัครทีมงาน เพื่อได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ๆ
  • เมื่อมีประสบการณ์ระดับหนึ่งแล้ว อาจเริ่มจัดงานเล็ก ๆ ที่อยากทำ เพื่อเป็นการทดลองและสั่งสมประสบการณ์ไปเรื่อย ๆ

การที่เราได้มีโอกาสเป็นผู้จัดสักครั้งหนึ่ง เป็นงานที่เหนื่อยแต่เมื่อจบงานแล้วเราจะได้เรียนรู้กับสิ่งต่าง ๆ มากมาย และจะได้ทดสอบว่าเรามีความฝันทางด้านนี้จริงหรือเปล่า

Early Bird - บัตรที่มีโปรโมชั่นราคาพิเศษสำหรับการซื้อก่อน พร้อมสิทธิพิเศษอื่น ๆ

Headliner - วงหลักของแต่ละงาน เป็นวงที่สามารถดึงดูดผู้ชมให้อยากดูมากที่สุด

Rider - รายละเอียดที่ศิลปินใช้แจ้งกับผู้จัดว่ามีอุปกรณ์และเครื่องดนตรีอะไรบ้างที่จำเป็นต้องใช้ รวมถึงตำแหน่งในการแสดง

Sound Check - ตรวจสอบความถูกต้องและพร้อมใช้งานของระบบเสียงทั้งหมด รวมถึงปรับแต่งเสียงให้เหมาะสมก่อนทำการแสดงจริง

Pre - Light - ตรวจสอบความถูกต้องของแสงให้พร้อมใช้งานตามที่ได้ดีไซน์มา ให้เข้ากับเพลงนั้น ๆ รวมถึงลำดับในการใช้แสงพร้อมโชว์ทั้งหมด

Run Through - เป็นขั้นตอนรีเช็คระบบของทุกฝ่ายเหมือนแสดงจริง ตั้งแต่เริ่มจนจบ เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจคิวในการแสดงทั้งหมด

สำหรับน้อง ๆ ที่อยากเรียนรู้ 5 อาชีพนี้ ก็มีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนอยู่ด้วย โดยจะเน้นไปที่ภาพรวมของวงการดนตรีทั้งหมด

  • มหาวิทยาลัยศิลปากรคณะดุริยางคศาสตร์วิชาเอกธุรกิจดนตรีและบันเทิง หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมบันเทิง
  • มหาวิทยาลัยมหิดล คณะดุริยางคศิลป์ วิชาเอกธุรกิจดนตรี ศิลปศาสตรมหาบัณฆิต สาขาดนตรี

สำหรับใครที่อยากจัดคอนเสิร์ตหรืออีเวนต์ดนตรี สามารถเข้าเรียนได้ที่

  • มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการผลิตอีเวนต์ และการจัดการนิทรรศการและการประชุม

อาชีพทางด้านดนตรีมีอาชีพอะไรบ้าง

1. นักดนตรี ... .
2. นักร้อง ... .
3. นักเรียบเรียงเพลง และ นักเรียบเรียงเสียงประสาน ... .
4. นักประพันธ์เพลง ... .
5. อาชีพนักจัดรายการเพลงหรือ ดีเจ ... .
6. อาชีพนักเต้น หรือ แดนเซอร์ ... .
7. อาชีพผู้อำนวยการสร้างผลงานเพลง หรือ โปรดิวเซอร์.

นักดนตรีมีคุณสมบัติอะไรบ้าง

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพนักดนตรี มีความขยันหมั่นเพียรในการฝึกซ้อมเพื่อเล่นดนตรี อดทน ทันสมัย มีความคิดริเริ่ม มีความเชื่อมั่นในตนเอง สำคัญที่สุด คือ กล้าแสดงออก

อาชีพนักแต่งเพลงมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง

ประพันธ์บทเพลง และระบุตัวโน๊ตเสียงสูงต่ำ ของการขับร้องและการเล่นเครื่องดนตรี ในแต่ละวันทำอะไร? 1. ศึกษาทฤษฎีดนตรี และแต่งเพลงสำหรับนักร้องและนักดนตรี 2. กำหนดเสียง เครื่องดนตรี จังหวะของเพลง และเรียบเรียงตัวโน้ตเพื่อให้ได้บทเพลงตามต้องการ

นักดนตรีทํางานที่ไหน

ถาม : เรียนคณะดนตรีจบแล้วทำอาชีพอะไรได้บ้าง ตอบ : นักดนตรี,ดุริยางค์ทหาร/ตำรวจ,นักแต่งเพลงมเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร,ซาวน์เอนจิเนียร์ อาจารย์สอนดนตรี,Youtuber หรือ จะเป็นธุรกิจด้านห้องซ้อมดนตรีและธุรกิจด้านจำหน่ายเครื่องดนตรี

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้