วัตถุที่ ทํา จากวัสดุหลายชนิด ป. 1

สะเต็มศึกษา (วิทยาศาสตร์) ป.1 หน่วย 5 สมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุ, ชนิดของวัสดุ, จัดกลุ่มวัสดุตามสมบัติที่สังเกตได้

ระดับชั้น : ประถมศึกษาปีที่ 1
หน่วยที่ : 5
เรื่อง :  สมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุ
สาระ : สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ

ตัวชี้วัด :
ว 1.2.1 อธิบายสมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุที่ใช้ทำวัตถุซึ่งทำจากวัสดุชนิดเดียวหรือหลายชนิดประกอบกันโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
ว 1.2.2 ระบุชนิดของวัสดุและจัดกลุ่มวัสดุตามสมบัติที่สังเกตได้

บทนำของเรื่อง : 
ของเล่นของใช้ที่อยู่รอบตัวเรา ที่ใช้ในชีวิตประจำวันมีอยู่มากมาย ทั้งของเล่นและของใช้ต่างผลิตขึ้นมาจากวัสดุต่างๆ และมีสมบัติที่สังเกตได้ อาจเหมือนหรือแตกต่างกันซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดการกลุ่มวัสดุได้ วัสดุต่างๆ อาจทำมาจากวัสดุเดียว หรือหลายชนิดประกอบกัน

  • Science WOW
  • Exploring Activity
  • STEM Challenge
  • DIY
  • Youtube

ตัดแปะโดยใช้วัสดุอย่างสร้างสรรค์

จุดประสงค์ : ให้สามารถระบุชนิดของวัสดุและบอกสมบัติที่สังเกตได้
อุปกรณ์ : 1.รูปภาพต่างๆ เช่น บ้าน กระเป๋า 2. วัสดุชนิดต่างๆ เช่น ไม้เสียบลูกชิ้น กระดาษสี โลหะ ผ้า 3. กาว

วิธีทำการทดลอง :

  1. ให้นักเรียนสังเกตภาพ และใช้จินตนาการที่จะนำวัสดุชนิดต่างๆ
    มาติดลงในภาพให้สวยงาม
  2. ให้บอกชนิดของวัสดุ และสิ่งที่สังเกตได้ของวัสดุนั้น

ชนิดของวัสดุที่ 1 คือ ……………………………. สิ่งที่สังเกตได้คือ …………………………………..
ชนิดของวัสดุที่ 2 คือ ……………………………. สิ่งที่สังเกตได้คือ …………………………………..
ชนิดของวัสดุที่ 3 คือ ……………………………. สิ่งที่สังเกตได้คือ …………………………………..
ชนิดของวัสดุที่ 4 คือ ……………………………. สิ่งที่สังเกตได้คือ …………………………………..

ลิปดาและโพล่ามาช่วยกันเก็บของในห้อง เห็นสิ่งของต่างๆ มากมายเลยคิดกันว่าจะแยกประเภทของเล่นของใช้ (วัตถุ) ต่างๆ ในห้องได้อย่างไร

กิจกรรมที่ 1 แยกประเภท ของเล่น ของใช้ (วัตถุ) ต่างๆ ในห้อง
มาช่วยกันแยกประเภทของวัตถุต่างๆ ในห้องว่าอะไรเป็นของเล่นและของใช้ พร้อมทั้งบอกชนิดของวัสดุของวัตถุชิ้นนั้นว่าทำมาจากวัสดุอะไร

จำนวนของเล่นในห้องมี ………………………………………ชิ้น จำนวนของใช้ในห้องมี …………………………………………..ชิ้น
ของเล่นที่ชอบคือ ……………………………………………… ทำมาจากวัสดุใด ……………………………………………………………
ของใช้ที่ชอบคือ ……………………………………………….. ทำมาจากวัสดุใด ……………………………………………………………

ความรู้เพิ่มเติมจากกิจกรรม

สมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุชนิดต่างๆ
วัสดุที่ใช้ทำวัตถุที่เป็นของเล่น ของใช้ มีหลายชนิด เช่น ผ้า แก้ว พลาสติก ยาง ไม้ อิฐ หิน กระดาษ โลหะ วัสดุแต่ละชนิดมีสมบัติที่สังเกตได้ต่างๆ เช่น สี นุ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ ใส ขุ่น ยืดหดได้ บิดงอได้ สมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุแต่ละชนิดอาจเหมือนกัน ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดกลุ่มวัสดุได้

1. ผ้า เป็นวัสดุที่มี ความอ่อนนุ่ม เรียบ ยืดหดและบิดงอได้เล็กน้อย นิยมนำไปตัดเย็บขึ้นรูปได้ง่าย ซักง่ายแห้งเร็ว เช่น กระเป๋า ตุ๊กตา เสื้อผ้า

2. แก้ว เป็นวัสดุที่โปร่งใส ผิวเรียบ ทนต่อรอยขูดขีดและความร้อน-เย็น นิยมนำไปใช้ทำขวดบรรจุภัณฑ์ แก้วน้ำ อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ หลอดไฟ เป็นต้น

3. พลาสติก เป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ไม่นำความร้อน น้ำซึมไม่ได้ ราคาถูก นิยมนำไปใช้ทำเก้าอี้ บรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ เป็นต้น

4. ยาง มีความยืดหยุ่นดี บิดงอได้ นุ่ม ผิวเรียบ ไม่นำไฟฟ้า กันน้ำได้

5. ไม้ เป็นวัสดุที่มีความแข็ง ทนทาน ยืดหดและบิดงอไม่ได้

6. อิฐ หิน เป็นวัสดุที่มีความแข็ง ผิวขรุขระหรือเรียบ อาจจะมีแตกหักได้

7. กระดาษ เป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ซับน้ำได้ดี ฉีกขาดง่าย

8. โลหะ เป็นวัสดุที่มีความแข็ง มีความทนทาน ผิวมันวาว นำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี

สมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุต่างๆ

01 Inspiration & Engagement
ลิปดาเห็นลุงเคนสร้างบ้านจากวัสดุต่างๆ ลิปดาสงสัยว่าทำไมบ้านหลังหนึ่งต้องใช้วัสดุหลายชนิดด้วย ลุงเคนจึงตอบว่า เพราะว่าวัสดุชนิดต่างๆ มีสมบัติที่แตกต่างกันไงล่ะครับ

02 Problem & Question
วัสดุแต่ละชนิดมีสมบัติที่สังเกตได้แตกต่างกันอย่างไร

03 Definition
วัตถุแต่ละชนิดทำมาจากวัสดุที่แตกต่างกัน เช่น ผ้า แก้ว พลาสติก ยาง ไม้ อิฐ หิน กระดาษ โลหะ โดยวัสดุแต่ละชนิดมีสมบัติที่สังเกตได้ที่แตกต่างกัน เช่น สี นุ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ ใส ขุ่น ยืดหดได้ บิดงอได้ เป็นต้น

04 Hands – On Activity
1.ให้นักเรียนนำวัสดุ ผ้า แก้ว พลาสติก ยาง ไม้ อิฐ หิน กระดาษ โลหะ มาทำการสำรวจด้วยการใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ คือ สังเกตด้วย การมอง การสัมผัสเพื่อจำแนกและลงความคิดเห็นลงในตาราง
2. นำข้อมูล ไปสรุปผลและนำเสนอหน้าชั้น

05 Materials
วัสดุ ผ้า แก้ว พลาสติก ยาง ไม้ อิฐ หิน กระดาษ โลหะ

06 Data Collection
ให้นักเรียนเขย่ากล่อง ใช้มือสัมผัสและทายสิ่งของในกล่อง

07 Analysis & Discussion
วัสดุชนิดใดบ้างมีผิวเรียบ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
วัสดุชนิดใดบ้างมีสมบัติความยืดหยุ่นที่ดี
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

08 Conclusion
สมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุ มีอะไรบ้าง ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

09 Knowledge Tank
สมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุชนิดต่างๆ

1. ผ้า เป็นวัสดุที่ได้มาจากเส้นใยของพืช เช่น ฝ้าย
สี-ความโปร่งแสง : ทึบขุ่น
พื้นผิว : เรียบ-อ่อนนุ่ม
ความแข็ง : น้อย ตัดได้ง่าย
การซึมน้ำ : ได้ดี
ความยืดหยุ่น-บิดงอ : ได้ดี
น้ำหนัก : เบา
เหมาะสำหรับนำไปใช้ : เครื่องนุ่งห่ม กระเป๋า

2. แก้ว เป็นวัสดุที่ได้มาจากทรายนำไปเผารวมกับโซดาแอซ
สี-ความโปร่งแสง : ใส-โปร่งแสง
พื้นผิว : เรียบ
ความแข็ง : ทนทานแตกง่าย
การซึมน้ำ : ไม่ได้
ความยืดหยุ่น-บิดงอ : ไม่ได้
น้ำหนัก : ปานกลาง
เหมาะสำหรับนำไปใช้ : แก้วน้ำ, อุปกรณ์วิทยาศาสตร์

3. พลาสติก เป็นวัสดุที่ได้มาจากน้ำมันดิบ-ปิโตรเคมี
สี-ความโปร่งแสง : หลากสี-ทึบ
พื้นผิว : เรียบแข็ง
ความแข็ง : ปานกลาง
การซึมน้ำ : ไม่ได้
ความยืดหยุ่น-บิดงอ : ได้เล็กน้อย
น้ำหนัก : เบา
เหมาะสำหรับนำไปใช้ : ของใช้ – ของเล่น ทั่วไป

4. ยาง เป็นวัสดุที่ได้มาจากยางของต้นยาง
สี-ความโปร่งแสง : หลากสี-ทึบ
พื้นผิว : อ่อนนุ่ม
ความแข็ง : น้อย ตัดได้ง่าย
การซึมน้ำ : ไม่ได้
ความยืดหยุ่น-บิดงอ : ได้ดี
น้ำหนัก : เบา
เหมาะสำหรับนำไปใช้ : สิ่งของที่ต้องการความยืดหยุ่น

5. ไม้ เป็นวัสดุที่ได้มาจากต้นไม้
สี-ความโปร่งแสง : ทึบ
พื้นผิว : เรียบ-แข็ง
ความแข็ง : ปานกลางตัดได้
การซึมน้ำ : ได้น้อย
ความยืดหยุ่น-บิดงอ : ไม่ได้
น้ำหนัก : เบา
เหมาะสำหรับนำไปใช้ : ทำเฟอร์นิเจอร์ ของเล่น

6. อิฐ-หิน เป็นวัสดุที่ได้มาจากต้นไม้
สี-ความโปร่งแสง : ทึบ-สีหลากหลาย
พื้นผิว : ขรุขระ
ความแข็ง : แข็งแรงมาก
การซึมน้ำ : ไม่ได้
ความยืดหยุ่น-บิดงอ : ไม่ได้
น้ำหนัก : มาก
เหมาะสำหรับนำไปใช้ : เฟอร์นิเจอร์ ก่อสร้าง

7. กระดาษ เป็นวัสดุที่ได้มาจากต้นไม้
สี-ความโปร่งแสง : หลากสี-ทึบ
พื้นผิว : เรียบ
ความแข็ง : น้อย ฉีกขาดง่าย
การซึมน้ำ : ได้ดี
ความยืดหยุ่น-บิดงอ : ได้เล็กน้อย
น้ำหนัก : เบามาก
เหมาะสำหรับนำไปใช้ : สมุด หนังสือ และสิ่งพิมพ์

8. โลหะเหล็ก เป็นวัสดุที่ได้มาจากหินแร่ธาตุ
สี-ความโปร่งแสง : ทึบ
พื้นผิว : เรียบ มันวาว
ความแข็ง : มาก แตกหักยาก
การซึมน้ำ : ไม่ได้
ความยืดหยุ่น-บิดงอ : ไม่ได้
น้ำหนัก : มาก
เหมาะสำหรับนำไปใช้ : อุปกรณ์ที่แข็งแรงที่ทนทาน

วัตถุต่างๆ ทำมาจากวัสดุอะไรบ้าง

01 Inspiration & Engagement
ลุงเคนกำลังเตรียมประดิษฐ์ของเล่นอยู่ และได้เตรียมวัสดุมาหลายชนิด ลิปดาและโพล่าสงสัยว่าทำไมวัตถุชิ้นหนึ่ง จึงใช้วัสดุหลายชนิดประกอบมาด้วยนะ

02 Problem & Question
วัตถุแต่ละประกอบขึ้นมาจากวัสดุอะไรบ้าง

03 Definition
วัสดุบางอย่างสามารถนำมาประกอบกัน เพื่อทำเป็นวัตถุต่าง ๆ เช่น ผ้าและกระดุม ใช้ทำเสื้อ ไม้และโลหะ ใช้ทำกระทะ

04 Hands – On Activity
1.ให้นักเรียนเลือกวัตถุที่อยู่ภายในห้องเรียนหรือจากที่ครูเตรียมไว้ 3 อย่าง
2.ถ่ายรูปหรือเขียนชื่อวัตถุที่เลือกลงในตาราง
3.ให้เขียนวัสดุที่ใช้ประกอบขึ้นมาเป็นวัตถุนั้นพร้อมบันทึกสมบัติของวัสดุที่สังเกตได้ลงในตาราง

05 Materials
1. วัตถุต่างๆ 5 ชนิด 2. กล้องถ่ายภาพ 3. สมุดบันทึก

06 Data Collection
ให้เลือกวัตถุ บอกชื่อวัสดุที่ประกอบขึ้นมาเป็นวัตถุพร้อมบอกคุณสมบัติที่สังเกตได้

07 Analysis & Discussion
วัตถุที่เลือกมา มีอะไรบ้างที่ประกอบมาจากวัสดุ ชนิดเดียว
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
วัตถุที่เลือกมา มีอะไรบ้างที่ประกอบมาจากวัสดุ หลายชนิด
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

08 Conclusion
นักเรียนคิดว่า ทำไมวัตถุบางอย่างจึงใช้วัสดุหลายชนิดประกอบกัน
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

ความรู้เพิ่มเติมจากกิจกรรม

การจัดกลุ่มของเล่นของใช้โดยการใช้สมบัติภายนอกเป็นเกณฑ์
วัตถุแต่ละชนิดทำมาจากวัสดุที่แตกต่างกันโดยมีสมบัติภายนอกของวัสดุที่ปรากฏ เช่น สี (โปร่งใส-ขุ่น), พื้นผิว (เรียบ- ขรุขระ), ความแข็ง (นุ่ม-แข็ง), ความยืดหยุ่น (บิดงอ) ที่ความแตกต่างกัน ซึ่งเราสามารถใช้เกณฑ์ของสมบัติภายนอกที่สังเกตนี้ มาใช้ในการจัดกลุ่ม ได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

1. สี คือการจัดกลุ่มวัตถุตามสมบัติสีของวัสดุ เช่น สีแดง เหลือง น้ำตาล สีเขียว

2. ใสขุ่น คือการจัดกลุ่มวัตถุตามสมบัติความใสและความขุ่น ของวัสดุ

3. ความนุ่ม แข็ง การจัดกลุ่มตามความแข็งแรงของวัสดุ เช่น แข็ง นุ่ม แตกหักง่าย

4. พื้นผิว ขรุขระ เรียบ การจัดกลุ่มตามพื้นผิว เช่น เรียบและขรุขระ เป็นต้น

5. ยืดหยุ่น (บิดงอได้หรือไม่) การจัดกลุ่มตามการยืดหยุ่นของวัตถุ

การใช้สมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุเป็นเกณฑ์ในการจัดกลุ่มวัสดุ

ลิปดาและโพล่า รู้ว่าวัตถุต่างๆ อาจจะประกอบขึ้นมาได้จากหลายวัสดุ และรู้จักชนิดของวัสดุต่างๆ ว่าแต่ละชนิดมีสมบัติที่สังเกตได้ เช่น สี นุ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ ใส ขุ่น ยืดหดได้ บิดงอได้ ซึ่งเราสามารถนำสมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุมาใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดกลุ่มวัสดุได้

Missons :

  1. ให้นักเรียนเลือกวัตถุ 20 อย่างจากวัตถุที่คุณครูเตรียมมาให้นักเรียน 25 อย่าง
  2. จากนั้นจัดกลุ่มวัตถุ โดยใช้แบ่งเป็นประเภทเป็นของเล่นของใช้
  3. สังเกตว่าวัตถุนั้นประกอบขึ้นมาจากวัสดุใดบ้าง
  4. ให้นักเรียนใช้สมบัติของวัสดุที่มองเห็นได้มาเป็นเกณฑ์ในการจัดกลุ่มวัตถุ
  5. นำเสนอหน้าชั้นเรียนถึงเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดกลุ่มของวัสดุนั้น

Materials : 1. วัตถุต่างๆ ที่คุณครูเตรียมไว้ให้ 25 อย่าง 2. สมุดจดบันทึก

Plan & Design : ให้นักเรียนออกแบบและวางแผนการดำเนินงานของทีมให้เป็นขั้นตอน

  1. เราทำกิจกรรมต่างๆ โดยใช้ส่วนใดร่วมกันบ้างและอยากดูแลรักษาอย่างไร

Challenge Activity

สร้างนวัตกรรมของเล่นของใช้จากวัสดุในท้องถิ่น

Investigate :เด็กๆ ไปดูงานแสดงสินค้า OTOP ในงานมีของใช้ที่ทำมาจากวัสดุต่างๆ มากมายจึงอยากประดิษฐ์สินค้า OTOP บ้าง

Missions :

  1. ประดิษฐ์ของเล่นของใช้ โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น (ว 2.1.1)
  2. สิ่งประดิษฐ์มีความสวยงาม สามารถนำไปจำหน่ายได้ในราคาไม่เกิน 20 บาท

Materials :

  1. วัสดุในท้องถิ่น
  2. อุปกรณ์ตกแต่ง

Building & Testing

  1. นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากกระบวนการสร้างชิ้นงานนี้
  2. นักเรียนลองเปรียบเทียบประโยชน์และความสวยงามของสิ่งประดิษฐ์กับเพื่อนๆ กลุ่มอื่นๆ

Evaluation & Redesign

  1. ชิ้นงานของนักเรียนสามารถใช้งานได้ตามข้อกำหนดหรือไม่
  2. นักเรียนพบปัญหาในการทำกิจกรรมนี้หรือไม่
  3. เมื่อพบปัญหานักเรียนมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้