ประเพณีเกี่ยวกับข้าว ภาคเหนือ

ประเพณีการปลูกเรือน

ประเพณีวัฒนธรรมการปลูกเรือนนั้น ในแต่ละสังคมย่อมมีวิธีการที่แตกต่างและคล้ายคลึงกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางสังคมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และสภาพแวดล้อม ประเพณีการปลูกเรือนล้วนแฝงไว้ด้วยคติความเชื่อของสังคมนั้นๆซึ่งเป็นตัวกำหนดพื้นฐานของการปลูกสร้างบ้านเรือน เพื่อให้บังเกิดความอยู่เย็นเป็นสุขแก่ผู้อาศัยในเรือนนั้นๆ การปกหอยอเฮือน เป็นคำพูดในภาษาล้านนา หมายถึงประเพณีการปลูกเรือนล้านนา

ประเพณีกินแขกแต่งงาน

ประเพณีแต่งงานแบบล้านนา เป็นวัฒนธรรมที่งดงามแฝงไปด้วยคติความเชื่อและศีลธรรมแห่งการครองเรือน เพื่อครองชีวิตคู่อย่างมีความสุขตามกรอบจารีตประเพณีล้านนา เมื่อบ่าวสาวถึงวัยอันควร ดังคำโบราณล้านนากล่าวไว้ว่า "ไม้ดีผ่า ป่าดีเผา"คือ พร้อมทั้งวัยวุฒิ คุณวุฒิ คุณสมบัติที่จะมีครอบครัวได้ และเมื่อรักชอบพอกัน เรียนรู้คบหากันมาได้สักระยะหนึ่ง

ประเพณีขึ้นเรือนใหม่

เรือน เป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต เป็นสถานที่ที่รวมกันของสมาชิกในครอบครัว เมื่อสร้างเรือนขึ้นในแต่ละครั้ง ผู้เป็นเจ้าของต้องทุ่มเททุนทรัพย์และกำลังกายเป็นอย่างมาก เมื่อสร้างเรือนเสร็จ ผู้เป็นเจ้าของจึงมีความภาคภูมิใจในเรือนของตนมากขึ้นตามไปด้วย ความภาคภูมิใจและความปิติยินดีดังกล่าวนั้น จึงแสดงออกมาในรูปของพิธีกรรมก่อนการเข้าไปอยู่อาศัยภายในเรือนใหม่ที่เรียกกันว่า การขึ้นเรือนใหม่

ประเพณีทานสลากภัต

ประเพณีทานก๋วยสลาก หรือสลากภัต เป็นประเพณีทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญที่แสดงออกถึงความสามัคคีกันในการมาพร้อมหน้าในบรรดาหมู่ญาติพี่น้อง เพื่อการทำบุญถึงญาติที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ประเพณีนี้ ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน ในดินแดนล้านนา เริ่มถือปฏิบัติตั้งแต่ครั้งใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด การทานก๋วยสลาก เริ่มราววันเพ็ญเดือน ๑๒ เหนือ หรือประมาณเดือนกันยายน และสิ้นสุดในเดือนเกี๋ยงดับ หรือประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี

ประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้า

ประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้า คือการนำเอาฟืนมาเผา เพื่อให้พระพุทธเจ้าได้ผิงไฟ จัดขึ้นในช่วงเดือน ๔ เหนือ หรือประมาณเดือนธันวาคมถึงมกราคม ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำของเดือน เป็นช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น ชาวล้านนามีความเชื่อว่า พระพุทธเจ้าหรือพระพุทธรูปในวิหารก็รู้สึกถึงความหนาวเย็นเช่นเดียวกับคนเรา จึงร่วมกันหาไม้ฟืนมาจุดเผาไฟผิงให้เกิดความอบอุ่น

ประเพณีบวชลูกแก้ว

ประเพณีการบวชลูกแก้ว คือ การบวชเณรของชาวล้านนา ประเพณีนี้ถือว่าเป็นงานที่ใหญ่พอสมควรจึงเรียกอีกอย่างว่า พอยน้อย (ออกเสียงว่าปอยหน้อย) ในล้านนามีรูปแบบการบวชอยู่ ๒ อย่าง การบรรพชาบวชเณรนั้น นิยมเรียกว่า บวชพระ หรือ บวชลูกแก้ว ส่วนการอุปสมบทหรือบวชเป็นพระภิกษุนั้นเรียกว่า บวชเป็กข์ หรือ เป็กข์ตุ๊ ซึ่งคำเรียก เณร ทางล้านนานิยมเรียกว่า พระ ส่วน ภิกษุนั้น เรียกว่า ตุ๊เจ้า

ประเพณีปอยล้อ

ชาวล้านนานับถือพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ทำให้วิถีชีวิตของชาวล้านนาผูกพันกับพระพุทธศาสนาอย่างแนบแน่น หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อชาวล้านนาในด้านวิทยาการความรู้ต่างๆ รวมทั้งได้มีส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดแบบแผนทางวัฒนธรรมหลายๆ ตลอดจนคติความเชื่อประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเพณีพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย ซึ่งหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เน้นเรื่องผลของบาปกรรม ชาติภพ ดังนั้นความเชื่อหลังความตายจึงก่อให้เกิดประเพณีเพื่อการเฉลิมฉลองให้กับคนตายที่ได้สร้างคุณงามความดีมาตลอดทั้งชีวิตขึ้น ประเพณีดังกล่าวนี้เรียกว่า ประเพณีปอยล้อหรือปอยลากปราสาท

ประเพณีปอยหลวง

คำว่า ปอยหลวง เป็นการนำเอาคำสองคำที่มีความหมายแตกต่างกันมารวมกัน โดยคำว่า ปอย เข้าใจว่ามาจากภาษาพม่าตรงกับคำว่า ปะแว ซึ่งกลายมาจากภาษาลีว่า ปเวณี หรือประเพณี (ยุพิน ธิฉลาด, ๒๕๔๒, หน้า ๔๖๑๐) อันหมายถึง งานที่มีคนชุมนุมกัน แต่เมื่อชาวพม่าออกเสียงเร็วๆ จะออกสำเนียงว่า ปอย

ประเพณีปีใหม่เมือง

ประเพณีปีใหม่เมือง (อ่านว่า ปี๋ใหม่เมือง) เป็นประเพณีการเริ่มต้นเข้าสู่ศักราชใหม่ของชาวล้านนา จะแตกต่างจากสงกรานต์ของชาวไทยภาคกลาง ทั้งระยะเวลา กิจกรรม ความเชื่อ และความมุ่งหมาย ดังนั้นปีใหม่เมืองของชาวล้านนา จึงมีวันและการปฏิบัติตนตามระบบโหราศาสตร์ ปักกะทืนล้านนา ประกาศออกมาเป็นหนังสือปีใหม่เมือง มีวันและกิจกรรมมากกว่าสงกรานต์ของคนภาคกลางได้แก่ วันสังขานต์ล่อง วันเน่า วันพญาวัน วันปากปี วันปากเดือน และวันปากยาม

ประเพณียี่เป็ง

ประเพณียี่เป็ง หรือประเพณีเดือนยี่เป็ง คำว่า "ยี่" ในภาษาล้านนาหมายถึงเดือน ๒ ส่วนคำว่า "เป็ง"หมายถึง คืนที่พระจันทร์เต็มดวง ดังนั้น ยี่เป็ง จึงหมายถึงวันเพ็ญเดือนยี่ ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองของคนภาคกลาง การนับเดือนของทางล้านนาจะเร็วกว่าภาคกลางไป ๒ เดือน อันเนื่องมาจากการนับเดือนของคนล้านนา นับเดือนทางจันทรคติ ประเพณียี่เป็ง ถือเป็นประเพณีที่สนุกสนานรื่นเริงของชาวล้านนาในยามฤดูปลายฝนต้นฤดูหนาว น้ำเหนือเริ่มเหือดแห้ง เมฆฝนเริ่มจากไป เป็นเทศกาลแห่งลมเหนือเมื่อหนาว ท้องทุ่งข้าวออกรวงเหลืองอร่าม

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้