ไม่มีเงินจ่ายค่ารักษา pantip

มนุษย์เรารู้จักการบริหารความเสี่ยงมาตั้งแต่สมัยโบราณ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปอยู่ในถ้ำเพื่อป้องกันตนเองจากภัยธรรมชาติและสัตว์ป่า การทำโล่กำบังตนจากคมเขี้ยวและอาวุธ การติดลวดหนามหรือสัญญาณระวังภัยบริเวณที่อยู่อาศัยเพื่อซื้อเวลาในการหลบหนีหรือป้องกันตัว จนกระทั่งการบริหารความเสี่ยงนั้นถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นธุรกิจประกันในที่สุด


ปัจจุบันการจะทำประกันชีวิตสักฉบับจะว่าเป็นเรื่องง่ายก็ไม่ใช่ จะว่าเป็นเรื่องยากก็ไม่เชิง แถมทุกวันนี้มีรูปแบบประกันให้เลือกยาวเหยียดเป็นหน้ากระดาษ จนตัดสินใจไม่ถูกว่าจะซื้อประกันแบบไหนดี เพื่อให้เห็นภาพของการบริหารความเสี่ยงด้วยการทำประกันชีวิตให้มากขึ้น ลองมาเริ่มต้นจากคำถามยอดฮิตกันดูบ้าง

1. ซื้อประกันของที่ไหนดี?

เราไม่สามารถนำแบบประกันทุกแบบของทุกที่มาเปรียบเทียบกันได้ แต่สิ่งที่เราทำได้คือถามตัวเองก่อนว่า เรากำลังมองหาประกันชีวิตเพื่อลดความกังวลด้านใดของเรา เช่น ด้านสุขภาพ ด้านหลักประกันให้ครอบครัว หรือความมั่นคงหลังเกษียณ จากนั้นก็ไปดูแบบประกันที่เกี่ยวข้องกับความกังวลของเรา อาจให้ตัวแทนขายประกันช่วยทำข้อมูลสรุปผลประโยชน์ของแบบประกันในลักษณะที่เราต้องการมาให้ก่อน แล้วลองเปรียบเทียบกับบริษัทประกันที่น่าเชื่อถืออื่นๆ เพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นจากตัวเลือกที่ใกล้เคียงกัน


2. มีสวัสดิการของที่ทำงานแล้ว ต้องซื้อประกันสุขภาพด้วยหรือไม่?

ข้อนี้ตอบได้เลยว่า ถ้าอยากมีประกันสุขภาพไว้อุ่นใจยามเจ็บป่วย ซื้อเป็นของตัวเองดีที่สุด เพราะสวัสดิการของที่ทำงานไม่ได้ครอบคลุมไปจนถึงหลังเกษียณซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เราน่าจะได้ใช้มากที่สุด ประกันส่วนตัวยังสามารถใช้ร่วมกับสวัสดิการของบริษัทเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายได้มากขึ้นด้วย ซื้อไว้ตั้งแต่ยังมีสุขภาพแข็งแรงดีที่สุด จะได้ไม่มีข้อยกเว้นในการไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนทำประกัน และควรทำผูกไว้กับประกันชีวิตที่ได้ความคุ้มครองยาวไปจนถึงหลังเกษียณ อย่างประกันชีวิตแบบตลอดชีพ อย่าซื้อพ่วงกับแบบประกันที่มีระยะเวลาคุ้มครองน้อย เพราะประกันสุขภาพจะหมดเร็วตามไปด้วย และไม่แนะนำให้ซื้อประกันสุขภาพที่มาเดี่ยวๆ เพราะค่าเบี้ยประกันอาจถูกกว่า แต่โอกาสที่จะถูกปฏิเสธการต่ออายุในปีต่อไปมีสูงกว่า


3. ซื้อประกันไว้ลดหย่อนภาษี ควรซื้อแบบไหนดี?

การซื้อประกันควรเลือกที่ตอบโจทย์ความต้องการระยะยาวของเรา ส่วนผลประโยชน์ด้านภาษีขอให้มองเป็นผลพลอยได้ หากเราซื้อประกันเพื่อต้องการหักภาษีเพียงอย่างเดียว จะได้ประโยชน์จากการทำประกันชีวิตไม่เต็มที่ และอาจทำให้หลายคนลืมนึกถึงความสามารถในการชำระเบี้ยประกันในระยะยาวจนได้ไม่คุ้มเสีย เพราะการนำค่าเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีไปแล้ว ต่อมาเกิดจ่ายไม่ไหว จนต้องยกเลิกประกันชีวิตก่อนครบกำหนด 10 ปี (ตามเงื่อนไขของการยกเว้นภาษี) ก็จะต้องคืนเงินภาษีที่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนไปก่อนหน้านี้ พร้อมกับเสียเงินเพิ่มให้กรมสรรพากรด้วย

กรมธรรม์บางฉบับไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ เพราะมีเงินคืนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือมีระยะเวลาเอาประกันน้อยเกินกว่ากำหนด ดังนั้นหากจะนำค่าเบี้ยประกันชีวิตมาลดหย่อนภาษีก็ต้องถามให้แน่ใจด้วยว่ากรมธรรม์นั้นเข้าเกณฑ์ที่จะนำมาลดหย่อนภาษีด้วยหรือไม่ และหากจะนำมาลดหย่อนภาษีก็ควรเลือกแบบประกันที่สามารถใช้ลดหย่อนได้หลายปี เพื่อจะได้ตอบโจทย์ผลพลอยได้ทางภาษีอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย


4. ทำไมประกันชีวิตของเรา ไม่ดีเหมือนของคนอื่น?

คำว่า “สนามหญ้าหน้าบ้านคนอื่น มักเขียวกว่าบ้านเรา” ลอยขึ้นมาทันทีสำหรับคำถามนี้ ทำไมประกันของเธอดีกว่า ทำไมของเธอเคลมได้…ของเราเคลมไม่ได้ ทำไมของเขามีเงินคืน…ของเราไม่มี นั่นเพราะประกันชีวิตมีหลายรูปแบบ แต่ละแบบก็มีรายละเอียดต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าประกันชีวิตฉบับนั้นๆ เน้นบริหารความเสี่ยงด้านไหนให้เราเป็นพิเศษ

ยกตัวอย่างนาย เอก อยากมีประกันสุขภาพไว้ช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายกรณีเจ็บป่วยต้องนอนโรงพยาบาล แต่นาย เอก เงินเดือนยังไม่มาก เพื่อให้ตอบโจทย์ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้ได้มากที่สุด ตัวแทนจึงไม่ได้เสนอค่าชดเชยรายวันกรณีเจ็บป่วยและต้องหยุดงานรวมไว้ในค่าเบี้ยที่ต้องจ่ายทุกปี เพราะไม่มีความจำเป็น จึงไปเน้นสิทธิประโยชน์ค่าห้อง ค่ารักษาพยาบาลให้แทน ถ้านาย เอก ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาลขึ้นมา ก็จะเคลมได้เฉพาะค่าใช้จ่ายที่ได้ทำประกันไว้ แต่ไม่สามารถเคลมค่าชดเชยรายวันได้นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอีกมากที่ทำให้ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ของแต่ละคนแตกต่างกัน เช่น อายุ เพศ อาชีพ จำนวนเงินเอาประกัน หรือแม้แต่การดำเนินชีวิตของแต่ละคน

5. ครอบครัวมีประวัติเป็นความดัน เบาหวาน มะเร็ง มีผลต่อการรับประกันสุขภาพหรือไม่?

การทำประกันสุขภาพเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล หากเราไม่ได้เป็นโรคดังกล่าวก่อนการทำประกันก็หมดห่วงได้  เว้นแต่บริษัทประกันเห็นว่าเรามีความเสี่ยงด้านสุขภาพ เช่น น้ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์ หรือเคยมีประวัติเข้ารับการรักษาอาการบางอย่าง ก็อาจต้องไปตรวจสุขภาพเพิ่มเติมตามรายการที่บริษัทกำหนด ซึ่งค่าตรวจสุขภาพส่วนใหญ่แล้วผู้ขอเอาประกันจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง แต่อาจมีข้อยกเว้น เช่น ตรวจแล้วพบว่าไม่มีปัญหาอะไร สามารถทำประกันได้ บริษัทประกันอาจจะออกค่าใช้จ่ายส่วนนี้ให้เรา หากวงเงินในการทำประกันของเราเข้าเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด
 

6. มีประวัติการรักษาพยาบาลและเคยผ่าตัด จะทำประกันสุขภาพได้หรือไม่?

ใครที่มองหาประกันสุขภาพในวันที่มีโรคประจำตัว เคยผ่าตัด หรือมีประวัติการตรวจพบอาการผิดปกติบางอย่างแล้วก็อย่าเพิ่งหมดหวัง เราสามารถกรอกคำขอเอาประกันตามความเป็นจริงเพื่อส่งให้บริษัทประกันพิจารณาก่อนได้ บริษัทฯ อาจให้ตรวจสุขภาพเพิ่มเติม หรือไปขอประวัติการรักษาพยาบาลมาประกอบ ซึ่งผลการพิจารณาสามารถออกมาได้หลายแบบ ดังนี้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้