ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ ม.1 ppt

คำแนะนำ >> เลือกเรื่องย่อยของหน่วยการเรียนรู้เมนูด้านซ้าย

ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ

ระบบประสาทที่มีผลต่อวัยรุ่น
              1.  ความสำคัญของระบบประสาท
                   ระบบประสาท  ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของส่วนต่าง ๆ ทุกระบบในร่างกายให้ประสานสัมพันธ์กัน เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม
ระบบประสาทแบ่งออกเป็น  2  ส่วน  คือ
                   1.  ระบบประสาทส่วนกลาง
                   2.  ระบบประสาทส่วนปลาย
              1.  ระบบประสาทส่วนกลาง  ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง
                   1.1  สมอง  เป็นอวัยวะที่สลับซับซ้อนมากประกอบด้วยกลุ่มของเนื้อเยื้อที่มีความอ่อนนุ่ม  บรรจุอยู่ในกะโหลกศีรษะ  แบ่งออกเป็น  3  ส่วน  ดังนี้
                        1)  สมองส่วนหน้า
                        2) สมองส่วนกลาง
                        3)  สมองส่วนท้าย
                            สมองส่วนหน้า  ประกอบด้วย  4  ส่วนทำหน้าที่ดังนี้
                                 1. ซีรีบรัม  ทำหน้าที่ควบคุมกิจกรรมต่างๆ เช่นการพูด  การมองเห็น  การได้ยิน  การเรียนรู้  สติปัญญา  ความคิด  ความจำ
                                 2.  ออลแฟกทอรีบัลบ์  ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น
                                 3.  ทาลามัส  ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมของกระแสประสาท  แล้วถ่ายทอด  สัญญาณส่งไปยังสมองส่วนต่าง ๆ
                                 4.  ไฮโพทาลามัส  ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนประสาทบางชนิด  ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมกระบวนการและพฤติกรรมบางอย่างของร่างกาย  เช่นควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย  ความดันโลหิต  ความอิ่ม  การนอนหลับ  การเต้นของหัวใจ  ความสมดุลของน้ำในร่างกาย อารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ
                            สมองส่วนกลาง  ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น  การกลอกลูกตา  รวมทั้งควบคุมการปิดและเปิดของม่านตาในเวลาที่แสงสว่างมากหรือน้อย
                            สมองส่วนท้าย  ประกอบด้วย  3  ส่วนดังนี้
                                 1.  เซรีเบลลัม  ทำหน้าที่ควบคุมการประสานงานส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและระบบกล้ามเนื้อเพื่อให้ทำงานอย่างสมดุล
                                 2.  พอนส์  ทำหน้าควบคุมการทำงานบางอย่าง  เช่น การทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าเกี่ยวกับการหลับตา  การยิ้ม  การยักคิ้ว  รวมถึงการเคี้ยวและหลั่งน้ำลาย
                                 3.  เมดัลลาออบลองกาตา  ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลังที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายใน  เช่นการหายใจ  การหมุนเวียนโลหิต  การลำเลียงอาหารของลำไส้  การไอ  การจาม
              1.2  ไขสันหลัง  มีหน้าที่สำคัญเท่า ๆ กับสมอง  เป็นส่วนที่ต่อออกจากสมองผ่านมาตามกระดูกสันหลัง  ตลอดความยาวของกระดูกสันหลังจะมีเส้นประสาทแยกออกและแผ่ขยายออกไปครอบคลุมเกือบทุกส่วนของร่างกาย  เพื่อรับข้อมูลจากอวัยวะต่าง ๆ ไปสู่สมอง  และในขณะเดียวกันก็จะนำคำสั่งจากสมองไปยังอวัยวะเหล่านั้นด้วย  นอกจากนี้ยังสามารถ  ควบคุมปฏิกิริยาตอบสนอง  ที่เรียกว่า  ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์
              2.  ระบบประสาทส่วนปลาย
                   ทำหน้าที่เชื่อมต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้ทำงานร่วมกันได้  ประกอบด้วย
                   2.1  เส้นประสาทสมองและเส้นประสาทไขสันหลัง
                        2.1.1  เส้นประสาทสมอง  บางคู่จะทำหน้าที่รับความรู้สึก  บางคู่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว  บางคู่ทำทั้งสองอย่าง
                        2.1.2  เป็นเส้นประสาทที่แผ่ออกจาไขสันหลัง  ทำหน้าที่รับความรู้สึกและควบคุมการเคลื่อนไหว
                   2.2  ระบบประสาทอัตโนมัติ  เป็นระบบประสาทที่มีการทำงานควบคุมการไหลเวียนของโลหิต  การย่อยอาหาร  การหายใจ  อวัยวะสืบพันธุ์  และการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย  และยังควบคุมการทำงานของต่อมต่าง ๆ ด้วย  ระบบประสาทอัตโนมัติ  แบ่งเป็น  2  ส่วน  ดังนี้
                        2.2.1  ระบบประสาทซิมพาเทติก  เป็นระบบประสาทที่มีการทำงานแบบเกิดขึ้นทันทีทันใด  หรือขณะที่ตื่นเต้น  ภาวะฉุกเฉิน  หรือระยะเจ็บป่วย
                        2.2.2  ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก  ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายใน  เส้นเลือด  ต่อมต่าง ๆ  ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะทำงานได้เป็นปกติ  เช่น  ทำให้หัวใจเต้นช้าลง  เส้นเลือดคลายตัว  เป็นต้น
              ระบบประสาททั้งสองส่วนนี้จะทำงานตรงข้ามกันเพื่อสร้างความสมดุลในร่างกาย  เช่น  ขณะที่เราโกรธหรือกลัว  ระบบประสาทซิมพาเทติก  จะทำให้หัวใจเต้นเร็ว  หายใจถี่  ม่านตา  ขยายออก  ผิวซีด  เพื่อเตรียมสู้หรือหนี  ในขณะที่ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก  จะเข้ามาช่วยทำให้ร่างกายกลับคืนสู่ภาวะปกติ  เช่น  ชีพจรและความดันเลือดลดลง  เป็นต้น
              2.  การดูแลรักษาระบบประสาทให้ทำงานตามปกติ
                   การดูแลรักษาการทำงานของระบบประสาท  สามารถทำได้ดังนี้
                        1.  หมั่นสำรวจและดูแลสุขภาตนเองอย่างสม่ำเสมอโดยการตรวจสมรรถภาพที่เกี่ยวกับอวัยวะที่รับความรู้สึกของระบบประสาท  เช่น  การตรวจสายตา  การทดสอบการได้ยิน  เป็นต้น
                        2.  การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
                        3.  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์  เช่น  ผัก  ผลไม้  ซึ่งมีวิตามินสูง
                        4.  หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง  หรืออาหารประเภททอด  ตลอดจนอาหารที่ไม่มีประโยชน์
                        5.  หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม  แอลกอฮอล์  ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุและเกิดอันตรายต่ออวัยวะต่าง ๆ  ได้
                        6.  ถนอมและบำรุงรักษาอวัยวะต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องเช่น
                            6.1  หลีกเลี่ยงการใช้สายตาที่ซึ่งมีแสงสว่างไม่เพียงพอ
                             6.2  ไม่ควรใช้สายตาจ้องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน  เพราะจะทำให้สายตาล้าและปวดตา
                            6.3  ระวังการแคะหู  การเจาะลิ้น  ใส่หมุดตามแฟชั่น  การแคะจมูก
ซึ้งอาจทำให้ติดเชื้อได้
                        7.  พักผ่อนให้เพียงพอ  ทำกิจกรรมคลายเครียด  เช่น  ออกกำลังกาย  เล่นกีฬา  ฝึกสมาธิ  ทำงานอดิเรก
                        8.  หากมีความรู้สึกผิดปกติของอวัยวะที่เกี่ยวกับระบบประสาท
ควรรีบไปพบแพทย์  เพื่อดำเนินการักษาให้ทันท่วงที

ระบบต่อมไร้ท่อที่มีผลต่อวัยรุ่น
              1.  ความสำคัญของระบบต่อมไร้ท่อ
                   ระบบต่อมไร้ท่อ  มีความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเกี่ยวกับกระบวนการเมแทบอลิซึม  การควบคุมปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์  การขนส่งเข้าออกภายในเซลล์  อันมีผลต่อการเจริญเติบโต  การใช้พลังงาน  การสืบพันธุ์  การตอบสนองทางด้านอารมณ์
                   ต่อมไร้ท่อ  ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน  ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีความสำคัญต่อการรักษาสมดุลภายในร่างกาย  โดยฮอร์โมนจะถูกขับออกมาจากต่อมต่าง ๆ  เข้าสู่กระแสโลหิตที่ส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ  และเป็นตัวกระตุ้นของร่างกายให้ทำงาน
              1.  ต่อมใต้สมองหรือต่อมพิทูอิทารี  เป็นต่อมที่มีขนาดเล็กที่สุด  และมีความสำคัญมากที่สุด  เพราะฮอร์โมนที่ต่อมใต้สมองผลิตขึ้นมานั้นจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่อเกือบทั้งหมด
                   ต่อมใต้สมอง  แบ่งออกเป็น  2  ส่วน  ดังนี้
                        1.1  ต่อมใต้สมองส่วนหน้า  จะผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ  คือ
                            1)  ทรอฟิกฮอร์โมน  เป็นฮอร์โมนที่ควบคุม


กลับสู่ดานบน เข้าสู้เนื้อหา

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้