กองทุนการออมแห่งชาติ ดีไหม

ตอบทุกคำถาม เคลียร์ทุกข้อสงสัยกับ
“กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)”

  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เป็นกองทุนที่ออกแบบมาให้คนที่ประกอบอาชีพอิสระได้มีเงินเก็บไว้ใช้ยามเกษียณ
  • เราออมส่วนหนึ่ง รัฐช่วยออมส่วนหนึ่ง แล้วนำเงินนี้ไปลงทุนต่อจะได้ผลตอบแทนสองส่วนคือส่วนที่สะสมเองกับส่วนที่รัฐออมให้ ต่างจากฝากประจำที่ได้แค่ดอกเบี้ย
  • ยิ่งออมตั้งแต่อายุยังน้อยและออมมาก ๆ เงินบำนาญที่ได้ต่อเดือนก็จะมากตาม
  • อายุมากขึ้น รัฐก็จะช่วยออมมากขึ้นอีกด้วย แถมนำไปลดหย่อนภาษีได้

ตอบ : กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. เป็นกองทุนการออมเพื่อเก็บเงินไว้ใช้ยามเกษียณ จัดตั้งมาเพื่อผู้ที่อยู่นอกระบบบำเหน็จบำนาญโดยเฉพาะ เช่น คนที่ประกอบอาชีพอิสระ (ฟรีแลนซ์), พ่อค้าแม่ค้า, หาบเร่แผงลอย, เกษตรกร, ขับรถรับจ้าง หรือรับจ้างทั่วไป

ถือเป็นการสร้างหลักประกันให้กับคนที่ไม่มีรายได้ประจำอย่างมนุษย์เงินเดือนให้ระบบการออมเพื่อการชราภาพเข้าถึงและครอบคลุมแรงงานได้ทุกประเภท ให้ทุกอาชีพได้รับสิทธิประโยชน์จากรัฐบาลเท่าเทียมกัน

2. ใครออมเงินกับ กอช. ได้บ้าง?

  • ผู้ที่มีอายุ 15 -60 ปี
  • สัญชาติไทย
  • ผู้ที่ไม่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญภาครัฐและเอกชน หมายถึง ผู้ที่มีกองทุนต่าง ๆ เหล่านี้


    – กองทุนประกันสังคม *ยกเว้นมาตรา 40 เฉพาะทางเลือก 1 ซึ่งไม่มีสิทธิคุ้มครองกรณีชราภาพ)

                     ❌ พนักงานบริษัทที่มีรายได้ประจำ

          – กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

                     ❌  ข้าราชการครู, ทหาร, ตำรวจ

                     ❌ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร

                     ❌ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น

                     ❌ ข้าราชการฝ่ายตุลาการ

          – กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) เป็นกองทุนที่นายจ้าง และลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ เพื่อให้ลูกจ้างมีเงินไว้ใช้ยามเกษียณ โดยลูกจ้างจะต้องจ่ายเงินสะสม ส่วนนายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบ แล้วนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนต่อ ทั้งนี้ *ขึ้นอยู่กับบริษัทว่ามีนโยบายหรือสวัสดิการกองทุนนี้หรือไม่

                     ❌ พนักงานบริษัทที่มีรายได้ประจำ

         – กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน

                     ❌ ครูโรงเรียนเอกชน

                     ❌ บุคลากรทางการศึกษาภาคเอกชน (บรรณารักษ์, ฝ่ายงานทะเบียน, ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ)

ตอบ : สามารถเริ่มออมได้ตั้งแต่ 50 บาท/ครั้ง จนถึงสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท/ปี ซึ่ง กอช. ก็ไม่ได้บังคับว่าแต่ละครั้งต้องออมเท่าไร และยังไม่จำเป็นต้องออมต่อเนื่องด้วยนะ เอาที่เราสะดวกมากกว่า ดีก็ตรงนี้แหละ

4. รัฐช่วยออมจริงรึเปล่า? แล้วช่วยเท่าไร

ตอบ : ถ้าออมเงินกับกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) จะมีเงินสมทบหรือเงินที่รัฐบาลช่วยออมแน่นอน ซึ่งจะแบ่งสัดส่วนตามอายุของคนออม เช่น

ถ้าออมตอนอายุ 15-30 ปี รัฐจะช่วยออมให้ 50% ของเงินที่สะสมเข้ากองทุน แต่ไม่เกินปีละ 600 บาท

อายุมากกว่า 30 ปี แต่ไม่เกิน 50 ปี รัฐจะช่วยออมให้ 80% ของเงินที่สะสมเข้ากองทุน แต่ไม่เกินปีละ 960 บาท

อายุมากกว่า 50 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี  รัฐช่วยออมให้ 100%  ของเงินที่สะสมเข้ากองทุน แต่ไม่เกินปีละ 1,200 บาท

เท่ากับว่า “ยิ่งอายุมากขึ้น รัฐจะช่วยออมให้มากขึ้น”

แนะนำว่าควรออมอย่างน้อยปีละ 1,200 บาท เพื่อให้ได้เงินสมทบเต็มจำนวน หรือจะออมมากกว่านี้ก็ได้ แต่เงินสมทบจะได้สูงสุดตามที่บอกไปตอนแรก เช่น ออม 13,200 บาท ตอนอายุ 50 ปี เงินสบทบที่ได้ก็ 960 บาท แต่มีเงินสะสมเยอะขึ้น โอกาสได้เงินบำนาญทีละมาก ๆ ก็ถือว่าดีทีเดียว


คำนวณให้เห็นภาพมากขึ้น

  • อายุ 15 – 30 ปี ออมปีละ 1,200 เท่ากับ (1,200 x 50% = 600)

1 ปีจะมีเงิน 1,200 + 600 = 1,800

1,800 x 15 ปี = 27,000 บาท (ยังไม่รวมผลตอบแทนการลงทุน)

  • อายุ 30 – 50 ปี ออมปีละ 1,200 เท่ากับ (1,200 x 80% = 960)

1 ปีจะมีเงิน 1,200 + 960 = 2,160  

2,160 x 20 ปี = 43,200 บาท (ยังไม่รวมผลตอบแทนการลงทุน)

  • อายุ 50 – 60 ปี ออมปีละ 1,200 เท่ากับ (1,200 x 100% = 1,200)

1 ปีจะมีเงิน 1,200 + 1,200 = 2,400

2,400 x 10 ปี = 24,000 บาท (ยังไม่รวมผลตอบแทนการลงทุน)

รวมเงินที่ส่งมา 45 ปี (สะสมเอง + รัฐช่วยสมทบ) = 94,200 บาท เป็นของเราสะสมเอง 54,000 บาท ของรัฐช่วยสมทบ 40,200 บาท นี่ยังไม่รวมผลตอบแทนการลงทุนนะ มาดูเงินที่เราจะได้ทั้งหมดจากการคำนวณของ กอช.กันเลย

5. เงินที่ออมใน กอช. เอาไปทำอะไร

ตอบ : รัฐจะเอาเงินที่เราออมไปลงทุนต่อในกองทุนรวมตราสารหนี้ (พันธบัตร/ตั๋วเงินคลัง), เงินฝาก, กองทุนรวมหุ้น (ตราสารทุน) และหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำ ฯลฯ

6. เงินใน กอช. เบิกหรือถอนออกมาใช้ได้ไหม

ตอบ :ออมเงินกับกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) จะไม่สามารถเบิกหรือถอนได้ เพราะเงินนี้เก็บไว้เพื่อเกษียณโดยเฉพาะ จะใช้ได้ก็ตอนอายุครบ 60 ปี ในรูปแบบเงินบำนาญรายเดือนเท่านั้น ยกเว้น

  • กรณี “ทุพพลภาพก่อนอายุ 60” จะได้รับแค่เงินและผลตอบแทนจากการลงทุนในส่วนที่สะสมเอง ส่วนเงินสมทบและผลตอบแทนจากการลงทุนที่รัฐช่วยออม จะได้รับเมื่อมีอายุครบ 60 ปี
  • อีกกรณีหนึ่งคือต้อง “ยกเลิกการเป็นสมาชิกจาก กอช.” แต่เงินที่ได้นั้นจะเป็นในส่วนเงินและผลตอบแทนจากการลงทุนในส่วนที่สะสมเองเหมือนกัน ส่วนเงินสมทบกับผลตอบแทนที่รัฐบาลช่วยออมจะไม่ได้รับ

7. เสียชีวิตก่อนอายุ 60 เงินจะตกเป็นของใคร

ตอบ : เงินที่ออมใน กอช. ทั้งหมด ทั้งที่สะสมเอง + รัฐช่วยออม + ผลตอบแทนจากการลงทุน จะตกเป็นของผู้รับผลประโยชน์ทั้งหมด

8. ถ้าออมไปแล้ว วันหนึ่งไปสมัครงานที่เขาทำประกันสังคมให้ ต้องออกจากสมาชิกหรือไม่

ตอบ :ไม่ต้องออกค่ะ เพราะเมื่อเข้าระบบประกันสังคมแล้ว สิทธิได้รับเงินสมทบจากรัฐบาลใน กอช. จะสิ้นสุดชั่วคราวโดยอัตโนมัติ แต่เงินออมใน กอช. ที่ผ่านมาจะยังอยู่เหมือนเดิม และถ้าวันนึงออกจากระบบประกันสังคม ก็สามารถกลับมาออมและได้รับเงินสมทบจากรัฐบาลใน กอช. ต่อได้

แต่จริง ๆ ถ้าได้งานที่เขาให้สิทธิ์ประกันสังคมหรือบำเหน็จบำนาญอื่น ๆ ก็ยังสามารถออมกับ กอช. ได้นะ เพียงแต่จะไม่ได้เงินสบทบจากรัฐก็เท่านั้นเอง และเงินที่สะสมในช่วงเวลานี้จะไม่ถูกนำมารวมคำนวณเป็นเงินบำนาญ ทาง กอช.จะคืนเป็นเงินก้อน พร้อมผลตอบแทนค่ะ

9. ถ้าไม่ได้ส่งเงินสะสมทุกเดือนหรือทุกปี จะถูกตัดสิทธิ์อะไรไหม

ตอบ : ไม่เสียสิทธิใด ๆ ยังคงเป็นสมาชิกและเงินออมยังคงอยู่ สบายใจได้เลย

10. กอช. ใช้ลดหย่อนภาษีได้หรือไม่

ตอบ : ได้เลย โดยนำใบแจ้งยอดส่วนที่รับรองการส่งเงินสะสมยื่นต่อกรมสรรพากร เพื่อขอลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวนตามเงินที่ส่งเข้ากองทุนในแต่ละปี

11. ออมกับ กอช. แตกต่างจากออมกับธนาคารอย่างไร

ตอบ : กอช. จะให้ผลตอบแทนดีกว่า การออมกับธนาคารผลตอบแทนที่ได้คือ (เงินฝาก + ดอกเบี้ย) แต่ถ้าออมกับ กอช. ผลตอบแทนที่ได้คือ (เงินสะสม + ผลตอบแทนการลงทุนจากเงินที่สะสม + เงินสมทบที่รัฐช่วยออม + ผลตอบแทนการลงทุนจากเงินที่รัฐช่วยออม)

โดยการสรุปยอดผลตอบแทนจะสรุปเป็นรายสัปดาห์ อาจจะมีการลงทุนที่ติดลบบ้างในบางสัปดาห์ เพราะเป็นไปตามมูลค่าตลาด

**แต่รัฐบาลจะค้ำประกันผลตอบแทนเท่ากับดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน หากสมาชิกออมเงินจนครบอายุ 60 ปี (เฉลี่ย 5 ธนาคารพาณิชย์ใหญ่ และ 2 ธนาคารรัฐ) คือ หากการลงทุนติดลบในปีที่สมาชิกเกษียณอายุนั้น ทางรัฐบาลจะค้ำประกันผลตอบแทนให้ไม่ต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนของ 7 ธนาคาร ถ้าเป็นกองทุนอื่นจะไม่การันตีผลตอบแทนเหมือน กอช. นะ

12. ถ้าเปลี่ยนชุดรัฐบาล จะมีผลอะไรกับ กอช. ไหม

ตอบ : การเปลี่ยนชุดรัฐบาลจะไม่มีผลกับการออมเงิน กอช. เพราะมันมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ผ่านมาหลายรัฐบาลแล้ว ยังอยู่ดีเหมือนเดิม  

13. การจ่ายแบบบำนาญของ กอช. จ่ายแบบไหน เท่าไร ?

ตอบ :การจ่ายบำนาญของกองทุนการออมแห่งชาติแบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่

  1. 1. กรณีอายุ 60 ปี แล้วมีเงินสะสมมากกว่า 144,000 บาท มีสิทธิได้รับบำนาญรายเดือนขั้นต่ำ 600 บาท/เดือน สูงสุดประมาณ 7,000 กว่าบาทตลอดชีพ จนกว่าสมาชิกจะเสียชีวิต เรียกว่า “บำนาญตลอดชีพ” ซึ่งจำนวนเงินที่แต่ละคนได้จะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับเงินสะสมในกองทุน

“ยิ่งออมนาน ออมมาก ยิ่งได้เงินบำนาญเยอะ”

  1. 2. กรณีอายุ 60 ปี แล้วมีเงินสะสมน้อยกว่า 144,000 บาท จะได้รับบำนาญ 600 บาท/เดือน จนกว่าเงินในกองทุนจะหมด เรียกว่า “เงินดำรงชีพ” (ไม่ได้จ่ายให้จนกว่าจะเสียชีวิต)

ส่วนใครที่อายุ 40 – 50 ปี เพิ่งเริ่มออม สามารถออมได้สูงสุด 13,200 บาท/ปี เพื่อรับเงินบำนาญได้เหมือนกัน

ป.ล. ไม่สามารถรับเป็นบำเหน็จหรือเงินก้อนได้

เกณฑ์การคำนวณบำนาญ คือ “เงินทั้งหมด หารด้วย 240”

– หากต้องการทราบยอดเงินบำนาญ สามารถลองใช้โปรแกรมคำนวณตามลิงก์นี้ได้เลย //pension.nsf.or.th/

14. สมัคร กอช. ได้ที่ไหนบ้าง

ตอบ : วิธีการสมัครกองทุนการออมแห่งชาติมีหลายช่องทาง

– แอปพลิเคชัน กอช.

– เว็บไซต์กองทุนการออมแห่งชาติ //eservice.nsf.or.th/member/registration

– ธนาคาร ธกส., ธอส., ออมสิน, กรุงไทย

– ที่ว่าการอำเภอ

– คลังจังหวัดทั่วประเทศ

– เคาน์เตอร์เซอร์วิส 

15. ช่องทางส่งเงินให้ กอช. มีที่ไหนบ้าง

ตอบ :ช่องทางการออม กอช. มีให้เลือกหลากหลาย และไม่จำเป็นต้องส่งเงินที่เดิมเสมอไป ได้แก่

  • เคาน์เตอร์ เซอร์วิส
  • เทสโก้ โลตัส (แจ้งเลขบัตรประชาชน)
  • จ่ายผ่านตู้ ATM, ตู้รับฝากเงิน
  • ตู้บุญเติม
  • หักผ่านแอปธนาคารกรุงไทย / กสิกร

          กรุงไทย > จ่ายเงิน > หมวดหมู่ > หลักทรัพย์/กองทุน > กองทุนการออมแห่งชาติ รับชำระเงินสะสมงวดถัดไป (กอช.)

          กสิกร > จ่ายบิล > อื่น ๆ > กองทุนการออมแห่งชาติ

  • ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง (ธกส., ธอส., ออมสิน, กรุงไทย) *สามารถหักอัตโนมัติได้ โดยธนาคารจะทำการหักบัญชีเงินฝากของสมาชิกทุกวันที่ 20 ของเดือน แต่ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อสมัครบริการนี้ก่อนนะจ๊ะ
  • สามารถรับคิวอาร์โค้ดจากแอป กอช. ไปจ่ายผ่านแอปพลิเคชันธนาคารอื่น ๆ ได้

ใครที่เช็กแล้วว่าตัวเองสามารถสมัครกองทุนการออมแห่งชาติได้ ลุยเลยนะคะ เพราะถือว่าเป็นกองทุนหนึ่งที่ช่วยเรามาก ๆ เลย แอปพลิเคชันก็ใช้ง่าย สามารถทดลองคำนวณเงินบำนาญให้เราได้ด้วย หากใครมีข้อสงสัยสามารถถามได้ที่ไลน์ของ กอช. โดยตรง (ตอบดีมาก) ไอดีนี้เลย @nsf.th

SHARE

RELATED POSTS

เคล็ดลับวางแผนเก็บเงินของคนโสดที่จำเป็นต้องรู้ เพื่อระบบการเงินที่มีคุณภาพ มั่นคง ถึงแม้จะไม่มีแฟนก็ใช้ชีวิตได้อย่างแฮปปี้…

เรียนจบมาหมาด ๆ เงินก็ขาดไม่พอใช้ ทำอย่างไรดี…

กองทุนการออมแห่งชาติ ดีอย่างไร

ข้อดีของการออมกับ กอช. ก็คือ เป็นการออมที่ยืดหยุ่นสูง เหมาะกับคนที่มีรายได้ไม่แน่นอน เพราะไม่จำเป็นต้องออมทุกเดือน เดือนไหนมีน้อย ออมน้อย ถ้าเดือนไหนมีมากค่อยออมมาก เริ่มต้นออมเงินเพียง 50 บาท สูงสุดปีละไม่เกิน 13,200 บาท

กองทุนการออมแห่งชาติกอชหมายถึงอะไร

กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เป็นหน่วยงานของรัฐ มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมของสมาชิกและเป็นหลักประกันการจ่ายบำนาญให้แก่สมาชิกเมื่อสิ้นสมาชิกภาพ ผู้มีสิทธิ์เป็นสมาชิก กอช. - สัญชาติไทย - อายุ 15 – 60 ปี

กองทุนการออมแห่งชาติ ได้กี่บาท

กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. เชิญชวนสมาชิกส่งเงินออมสะสมต่อเนื่อง 50 – 13,200 บาท/ปี เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินในชีวิต พร้อมรับเงินสมทบจากรัฐบาลตามช่วงอายุของสมาชิก โดยสามารถส่งเงินออมสะสมได้ที่หน่วยรับสมัครสมาชิกของ กอช. ทั่วประเทศ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถตรวจสอบสิทธิก่อนการสมัครสมาชิกได้ที่แอปพลิเคชัน “กอช” หรือ ...

กองทุนการออมแห่งชาติมีลักษณะอย่างไรบ้าง

กองทุนการออมแห่งชาติ ( National Savings Fund ) หรือ กอช. ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกองทุนบำนาญสำหรับทุกคนที่มีอาชีพอิสระ ให้ได้มีหลักประกันความมั่นคงให้ชีวิตยามเกษียณของตนเอง ให้ประชาชนมีการออมเงิน โดยมี กอช. เป็นหลักประกันการจ่ายบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนเมื่อ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้