พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2561

เปิดเว็บไซต์04/09/2019ปรับปรุง01/02/2023สถิติผู้เข้าชม881415Page Views2467070

  กองทุนระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
 


 กองทุนระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
สมรรถภาพ ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ทั้งนี้ ให้รวมถึงการบริการการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ

นิยามที่คณะกรรมการพิจารณาร่างฯ ขอแก้ไขใหม่
“บริการสาธารณสุข”หมายความว่า บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งให้แก่บุคคล
เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟู
สมรรถภาพ ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ทั้งนี้หมายความรวมถึงการสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขด้วย
ประเด็นคัดค้าน นิยามเดิมให้ความสำคัญกับการครอบคลุมบริการการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก ตามที่เป็นนโยบายสำคัญของประเทศในเรื่องการพึ่งตนเอง และ ลดค่าใช้จ่ายได้

2. นิยามคำว่า “สถานบริการ”
นิยามที่คณะกรรมการพิจารณาร่างฯ ขอแก้ไขใหม่
“สถานบริการ”​หมายความว่า​สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ของเอกชน และของสภากาชาดไทย
หน่วยบริการการประกอบโรคศิลปะสาขาต่าง ๆ และสถานบริการสาธารณสุขอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนดเพิ่มเติม ทั้งนี้ให้หมายความรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐที่สนับสนุนส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามที่คณะกรรมการกำหนดด้วย

นิยามที่ภาคประชาชนขอแก้ไขใหม่
“สถานบริการ”​หมายความว่า​สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ของเอกชน และของสภากาชาดไทย
หน่วยบริการการประกอบวิชาชีพและการประกอบโรคศิลปะสาขาต่าง ๆ และสถานบริการสาธารณสุขอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนดเพิ่มเติม ทั้งนี้ให้หมายความรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐ องค์กรชุมชน องค์กรเอกชนและภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการแสวงหาผลกำไร ที่สนับสนุนส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันและควบคุมโรค ตามที่คณะกรรมการกำหนดเพิ่มเติม
ประเด็นคัดค้าน ในการให้บริการที่สนับสนุนส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับประชาชนในชุมชน โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง เข้าถึงยาก จำเป็นต้องให้องค์กรภาคประชาชนเข้าร่วมในการทำหน้าที่เพื่อเติมเต็มการทำงานของหน่วยบริการภาครัฐที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงกลุ่มเปราะบางเหล่านี้

​นอกจากนี้ “หลักการ” ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่สำคัญ นอกจากมุ่งเน้นการส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงการบริการรักษาอย่างมีมาตรฐานแล้ว ยังมุ่งเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในการร่วมให้บริการสาธารณสุขโดยประชาชน ประชาสังคม องค์กรสาธารณะ รวมทั้งองค์กรท้องถิ่น

3. นิยามคำว่า “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ”
นิยามที่คณะกรรมการพิจารณาร่างฯ ขอแก้ไขใหม่
“เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” หมายถึงเงินที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการตามมาตรา 46 รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นที่กำหนดไว้ในมาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 40 มาตรา 41 มาตรา 47 และ มาตรา 47/1
ประเด็นคัดค้าน

เนื่องจากการกำหนดนิยามคำนี้ จะเป็นการขัดกับวัตถุประสงค์ของกองทุนที่ระบุในมาตรา 38 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2545 ซึ่งให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สามารถนำเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพไปใช้เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนไทยสามารถเข้าถึงการบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

หมวด 4
กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา 38 ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรียกว่า
“กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคคลสามารถเข้าถึงการบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพให้ใช้จ่ายเงินกองทุนโดยคำนึงถึงการพัฒนาการบริการสาธารณสุขในเขตพื้นที่ที่ไม่มีหน่วยบริการเพียงพอหรือมีการกระจายหน่วยบริการอย่างไม่เหมาะสมประกอบด้วย

2.2 มาตรา 5
มาตรา​5 บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดโดยพระราชบัญญัตินี้
คณะกรรมการอาจกำหนดให้บุคคลที่เข้ารับการบริการสาธารณสุขต้องร่วมจ่ายค่าบริการในอัตรา
ที่กำหนดให้แก่หน่วยบริการในแต่ละครั้งที่เข้ารับการบริการ เว้นแต่ผู้ยากไร้หรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไม่ต้องจ่ายค่าบริการ
ประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุขที่บุคคลจะมีสิทธิได้รับให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ
ประกาศกำหนดข้อเสนอของคณะกรรมการพิจารณาร่างฯ คงเนื้อหาในมาตรา 5 เดิม

ข้อเสนอที่ภาคประชาชนขอแก้ไขใหม่
มาตรา​5 บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดโดยพระราชบัญญัตินี้ให้หมายรวมถึง บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิคนไทยพลัดถิ่น คนไทยตกสำรวจ
คณะกรรมการอาจกำหนดให้บุคคลที่เข้ารับการบริการสาธารณสุขต้องร่วมจ่ายค่าบริการในอัตราที่กำหนดให้แก่หน่วยบริการในแต่ละครั้งที่เข้ารับการบริการ เว้นแต่ผู้ยากไร้หรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไม่ต้องจ่ายค่าบริการ
ประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุขที่บุคคลจะมีสิทธิได้รับให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ
ประกาศกำหนด

เหตุผลของข้อเสนอภาคประชาชนคือ
1. เพิ่มผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพ ให้รวมถึงคนไทยในสถานภาพต่างๆ ได้แก่ คนไทยที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ คนไทยพลัดถิ่น คนไทยตกสำรวจ เพื่อให้คนเหล่านี้มีสิทธิในการเข้าถึงบริการสุขภาพ ตามหลักการของพ.ร.บ.ฉบับนี้
2, ตัดวรรคสองออกทั้งวรรค เนื่องจากหากคงไว้ จะส่งผลให้เกิดการเก็บเงินประชาชนผู้มารับบริการ “ร่วมจ่าย” ในแต่ละครั้งที่เข้ารับการบริการ ซึ่งจะกระทบต่อการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยได้ดังเหตุผลต่อไปนี้
2.1 ไม่สนับสนุนให้มีการเก็บเงินร่วมจ่ายในแต่ละครั้งที่ไปเข้ารับบริการ เพราะจะเป็นอุปสรรคด้านการเงินต่อการเข้าถึงบริการ
2.2 ก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติหลายมาตรฐานก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างหน่วยบริการและผู้มารับบริการ
2.3 สร้างให้เกิดระบบการตรวจสอบเศรษฐานะของบุคคล และสถานะของบุคคล ทำให้ลดศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

2.3 มาตรา 9, 10
ข้อเสนอที่ภาคประชาชนขอแก้ไขใหม่
ที่ผ่านมาในบทเฉพาะกาลในมาตรา 66 มีเจตนารมณ์ให้ประชาชนทุกคนเข้ามาร่วมในการรับบริการตามพระราชบัญญตินี้ ภายใน 1 ปี แต่เนื่องจากไม่สามารถดำเนินการได้จริงตามเจตนารมณ์ดังกล่าว จึงควรให้มีการปรับแก้สาระของมาตรา 9, 10 เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และยืนยันสิทธิมนุษยชนด้านสุขภาพที่ทุกคนจะได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรมในการรับบริการสุขภาพของประชาชน และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกองทุนร่วมกัน ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข 20 ปี ที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำในระบบบริการสาธารณสุข

“มาตรา 66 ให้ตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 9 และมาตรา 10 ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่
พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และหากไม่แล้วเสร็จให้ขยายระยะเวลาได้ครั้งละหนึ่งปี โดยให้สำนักงาน
หรือสำนักงานและสำนักงานประกันสังคม แล้วแต่กรณี รายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการได้ต่อ
คณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และจัดให้มีการเผยแพร่รายงานนั้นต่อสาธารณชน”

มาตรา 9 ขอบเขตของสิทธิรับบริการสาธารณสุขของบุคคลดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายกฎ ระเบียบ ประกาศ มติคณะรัฐมนตรีหรือคำสั่งใด ๆ ที่กำหนดขึ้นสำหรับส่วนราชการ องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และบุคคลดังต่อไปนี้ให้ใช้สิทธิดังกล่าวตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการ
(2)พนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(3)พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ หรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานอื่นของรัฐหรือบุคคลอื่นใดที่มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยใช้จ่ายจากเงินงบประมาณ
(4)บิดามารดา คู่สมรส บุตร หรือบุคคลอื่นใดที่ได้รับสวัสดิการการรักษาพยาบาลโดยอาศัยสิทธิของบุคคลตาม (1) (2) หรือ (3)
ในการนี้ ให้คณะกรรมการมีหน้าที่จัดการให้บุคคลดังกล่าวสามารถได้รับบริการสาธารณสุขตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ได้ตกลงกันกับรัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐแล้วแต่กรณี

การกำหนดให้บุคคลตามวรรคหนึ่งประเภทใด หรือหน่วยงานใด ใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขตามพระราชบัญญัตินี้ได้เมื่อใดให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยโดยให้ประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกาภายในหนึ่งปีหลังจากพระราชบัญญัตินี้ประกาศใช้
เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาตามวรรคสามใช้บังคับแล้ว ให้รัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ แล้วแต่กรณี ดำเนินการจัดสรรเงินในส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายในการรับบริการสาธารณสุขสำหรับบุคคลตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกานั้นให้แก่กองทุนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดตกลงกับคณะกรรมการ

มาตรา​10​ขอบเขตของสิทธิรับบริการสาธารณสุขของให้ผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมมาใช้สิทธิตามพระราชบัญญัตินี้โดยให้ประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกาภายในหนึ่งปีหลังจากพระราชบัญญัตินี้ประกาศใช้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม การขยายบริการสาธารณสุขตามพระราชบัญญัตินี้ไปยังผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการและคณะกรรมการประกันสังคมตกลงกัน

เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งใช้บังคับแล้ว ให้คณะกรรมการมีหน้าที่จัดการให้บุคคลดังกล่าวสามารถได้รับบริการสาธารณสุขตามพระราชบัญญัตินี้ และให้รัฐบาล ดำเนินการจัดสรรเงินในส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายในการรับบริการสาธารณสุขสำหรับบุคคลตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกานั้นให้แก่กองทุนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดให้คณะกรรมการจัดเตรียมความพร้อมในการให้บริการสาธารณสุขแก่ผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม และเมื่อได้ตกลงกันเกี่ยวกับความพร้อมให้บริการสาธารณสุขกับคณะกรรมการประกันสังคมแล้ว ให้คณะกรรมการเสนอรัฐบาลเพื่อตราพระราชกฤษฎีกากำหนดระยะเวลาการเริ่มให้บริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการตามพระราชบัญญัตินี้แก่ผู้มีสิทธิดังกล่าว
เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาตามวรรคสองใช้บังคับแล้ว ให้สำนักงานประกันสังคมส่งเงินค่าใช้จ่าย
เพื่อบริการสาธารณสุขจากกองทุนประกันสังคมให้แก่กองทุนตามจำนวนที่คณะกรรมการและคณะกรรมการประกันสังคมตกลงกัน
ให้สำนักงานประกันสังคมยุติเก็บเงินสมทบสำหรับสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาล และให้ดำเนินการโอนย้ายผู้ประกันตนมาอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยรัฐบาลสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ประกันตน

2.4 มาตรา 13 องค์ประกอบคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ข้อเสนอของคณะกรรมการพิจารณาร่างฯให้เพิ่มสัดส่วนกรรมการหลักประกันสุขภาพฯดังนี้
“(5)​ผู้แทนหน่วยบริการภาครัฐ จำนวน 2 คนให้คัดเลือกกันเอง”
ประเด็นคัดค้าน
หากต้องการให้คงหลักการแยกบทบาท (Purchaser-Provider Split) ของผู้ซื้อบริการ (Purchaser) ผู้ให้บริการ (Provider) ที่ระบุในเหตุผลของการแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติครั้งนี้ ซึ่งถือว่า คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพฯทำหน้าที่เป็น ผู้ซื้อบริการ จึงไม่ควรมีส่วนของผู้ให้บริการมาร่วมในการตัดสินใจเกินกว่าสัดส่วนกรรมการด้านอื่นจนขาดสมดุล เนื่องจากจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนได้ ทั้งนี้ควรตัดผู้แทนสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ออกด้วยเช่นกัน

​2.5 มาตรา 18 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ข้อเสนอภาคประชาชน ให้มีการเพิ่มอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ดังนี้
(4/1) กำหนดหลักเกณฑ์การจัดซื้อยาเวชภัณฑ์ วัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่มีความจำเป็น เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการและประสิทธิภาพในการบริหารเงินกองทุน
เหตุผลของข้อเสนอภาคประชาชนคือ
​เพื่อเพิ่มอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เงินกองทุน ในการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดซื้อยาฯ ซึ่งที่ผ่านมามีผลงานเชิงประจักษ์ว่าในการจัดหาเวชภัณฑ์และอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นสามารถประหยัดงบประมาณได้เป็นมูลค่าสูงมากมาโดยตลอด ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เงินกองทุน ภายใต้ข้อจำกัดของงบประมาณ และมีการบันทึกในข้อสังเกตของการประชุมพิจารณาร่างพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ...ของสภาผู้แทนราษฎรที่รับรองข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ... ที่นำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร ในข้อที่ 6 ดังนี้

หมายเหตุ: ในการยกร่างมาตรา 20 ในขณะนั้นคือมาตราที่ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปัจจุบันคือมาตรา 18

2.6 มาตรา 26 อำนาจหน้าที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ข้อเสนอภาคประชาชน เพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของสำนักงานเพื่อเพิ่มธรรมาภิบาลในระบบตามเหตุผลที่ระบุในการแก้ไขพ.ร.บ.นี้ ที่ผ่านมาไม่มีข้อกำหนดในกฎหมายรองรับการทำงานด้านการตรวจสอบของสำนักงานเพื่อให้เกิดการใช้จ่ายเงินอย่างถูกต้อง และสุจริต มีการพบว่าหน่วยบริการที่มีการเรียกเก็บเงินจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยไม่ชอบ หรือ โกงการเบิกค่าใช้จ่าย แต่คณะกรรมการและ สปสช.ไม่มีอำนาจในการลงโทษทางปกครองได้ จึงจำเป็นต้องมีข้อกฎหมายให้อำนาจ โดยเสนอให้แก้อำนาจหน้าที่ตาม (6) ดังนี้

(6)​ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการรวมทั้งการเรียกเอกสารประกอบการเบิกจ่ายค่าบริการสาธารณสุขเพื่อการตรวจสอบตามรูปแบบที่สำนักงานกำหนดหากตรวจพบว่า หน่วยบริการใดจงใจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเกินจริงหรือกระทำการอื่นใดอันเป็นเหตุให้สำนักงานต้องจ่ายค่าใช้จ่ายแก่หน่วยบริการมากเกินควรแก่กรณีให้สำนักงานเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อดำเนินการตามมาตรา 18 (11)

2.7 มาตรา 41 เพิ่มเงินเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้รับบริการและผู้ให้บริการ
ข้อเสนอภาคประชาชน
“มาตรา 41 ให้คณะกรรมการกันเงินจำนวนไม่เกินร้อยละหนึ่งของเงินที่จะจ่ายให้หน่วยบริการไว้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้รับบริการและผู้ให้บริการตามพระราชบัญญัตินี้ที่ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ โดยหาผู้กระทำผิดมิได้หรือหาผู้กระทำผิดได้ แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควร ทั้งนี้ การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินเยียวยาความเสียหายดังกล่าวให้จ่ายได้โดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ความรับผิดก่อน และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด”
เหตุผลของข้อเสนอภาคประชาชน

เงินช่วยเหลือเบื้องต้นจะไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาของผู้รับบริการหรือผู้ให้บริการในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ จึงจำเป็นต้องเพิ่มเงินเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้รับบริการและผู้ให้บริการ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้