กล้าม เนื้อ แถบ ใน แถบ นอก

            กะบังลม (อังกฤษ: Diaphragm หรือ Thoracic diaphragm)
            เป็นแผ่นของกล้ามเนื้อโครงร่างในร่างกายขึงอยู่ด้านล่างของซี่โครงกะบังลมกั้นระหว่างช่องอก (ประกอบด้วยหัวใจ ปอด และซี๋โครง เป็นต้น) และช่องท้อง ทำหน้าที่สำคัญในการหายใจในทางกายวิภาคศาสตร์กะบังลมบางครั้งอาจหมายถึง โครงสร้างแบนอื่นๆ เช่น กะบังลมเชิงกรานหรือฐานเชิงกราน (pelvic diaphragm; เช่นในโรค "กะบังลมหย่อน" ที่หมายถึงการ หย่อนของฐานเชิงกรานทำให้ทวารหนัก มดลูก หรือกระเพาะปัสสาวะยื่นออกมานอกช่องคลอด) แต่โดยทั่วไปแล้วคำว่า "กะบังลม" หมายถึงกะบังลมหน้าอก สัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นเช่นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานมีกะบังลมหรือ โครงสร้างคล้ายกะบังลมแต่มีลักษณะจำเพาะที่แตกต่างกันออกไป เช่น ตำแหน่งของปอดในช่องท้อง เป็นต้น

หน้าที่ของกล้ามเนื้อ หน้าที่ของกล้ามเนื้อกระบังลม หน้าที่ของกล้ามเนื้อหน้าท้อง
            กระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบหายใจจะทำงานได้ต้องมีองค์ประกอบอื่นๆร่วมกันคือ กระดูก และกล้ามเนื้อ
1. กระดูก (bone) กระดูกที่เกี่ยวข้องกับระบบการหายใจประกอบด้วย
            1.1 กระดูกสันหลังส่วนนอก (thoracic vertebrae) ซึ่งเป็นกระดูกที่เป็นที่เกาะของกระดูกซี่โครงโดยกระดูกสันหลังส่วน นอกมีทั้งหมด 12 ชิ้น
            1.2 กระดูกซี่โครง (ribs) กระดูกซี่โครงมีทั้งหมด 24 ชิ้น (12 คู่ ) ข้างละ 12 ชิ้นกระดูกซี่โครคู่ที่ 1-7จะโค้งจากระดูกสัน หลังตอนอกมาเกาะกับกระดูกอกทางด้านหน้าเรียกว่าทรูริบส์ (true ribs)กระดูกซี่โครงคู่ที่ 8-10 เชื่อมต่อกันและไปเชื่อมกับ กระดูกอ่อนของกระดูกซี่โครงที่อยู่ข้างบน กระดูกซี่โครงคู่ที่ 11-12 จะไม่มีกระดูกอ่อนและไม่มีการเชื่อมต่อกับกระดูกใด ๆ เรียกว่า กระดูกซี่โครงลอยหรือ โฟลติงริบส์ (Floating ribs)
            1.3 กระดูกอก (sternum) เป็นกระดูกที่อยู่ทางด้านหน้าของลำตัว มีรูปร่างแบนตรง ยาวประมาณ15-20 เซนติเมตร โดยเริ่ม จากบริเวณส่วนล่างของคอลงมาจนถึงส่วนบนของช่องท้องมีกระดูกซี่โครงมาเชื่อมต่อ 7 คู่ส่วนปลายด้านล่างของกระดูกเป็น กระดูกอ่อนยื่นออกมา เรียกว่าไซฟอยด์โพรเซสส์(xiphoid process) กระดูกต่าง ๆ เหล่านี้เชื่อมต่อกันเป็นโครงร่างของกระดูก ส่วนอก เรียกว่า กล่องอก (thoracic cage)

2. กล้ามเนื้อ (muscle) กล้ามเนื้อที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการหายใจแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
            2.1 กล้ามเนื้อหายใจเข้า (inspiratory muscle) ประกอบด้วยกล้ามเนื้อสำคัญคือ
                        2.1.1 กล้ามเนื้อกระบังลม (diaphragm) มีความสำคัญที่สุด อากาศที่หายใจเข้าประมาณร้อยละ 75เกิดจากการหด ตัวของกล้ามเนื้อนี้ขณะที่หายใจออกกล้มเนื้อกระบังลม มีลักษณะเป็นรูปโดม และเมื่อหายใจเข้ากล้ามเนื้อกระบังลมจะลดตัวต่ำ ลงเพิ่มขนาดของช่องอกในแนวตั้งให้มากขึ้น และยังช่วยดันให้ซี่โครงส่วนล่างเคลื่อนที่ขึ้นด้วยขณะที่หายใจแบบปกติ กล้ามเนื้อ กระบังลมจะเคลื่อนตัวต่ำลง 1-2เซนติเมตร แต่ถ้าหายใจเข้าเต็มที่กล้ามเนื้อกระบังลมอาจเคลื่อนตัวต่ำลงได้ถึง 10-12 เซนติเมตร เส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อกระบังลม คือ ประสาทเฟรนิก (phrenic nerve) ถ้าหากเส้นประสาทนี้ถูกทำลาย ทำให้กล้ามเนื้อ กระบังลมทำงานไม่ได้และเป็นอัมพาต
                        2.1.2 กล้ามเนื้อยึดซี่โครงด้านนอก (external intercostals muscle) มีความสำคัญน้อยกว่ากล้ามเนื้อกระบังลม โดยเมื่อ หดตัวจะทำให้อากาศไหลเข้าปอดได้ประมาณร้อยละ 25 การหดตัวของกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงด้านนอก ทำให้กระดูกซี่โครง ทางด้านหน้าเคลื่อนขึ้นด้านบนและออกไปทางด้านหน้าทำให้เพิ่มขนาดของช่องอกทางแนวนอน เส้นประสาทที่มาเลี้ยงคือ เส้น ประสาทระหว่างซี่โครง (intercostals nerve)
            2.2 กล้ามเนื้อหายใจออก (expiratory muscle) ในการหายใจธรรมดาไม่จำเป็นต้องอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อ แต่อาศัย การคืนตัวกลับของปอดโดยปอดหดตัวกลับและเกิดการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดการหายใจเข้าแต่ถ้าหากมีการ หายใจออกมากกว่าธรรมดาจะมีการหดตัวของกล้ามเนื้อหายใจออก คือกล้ามเนื้อหน้าท้อง (abdominal muscle) ซึ่งจะไปดัน กล้ามเนื้อกระบังลมขึ้นทำให้ช่องอกแคบลง นอกจากนี้ยังมีความสำคัญและจำเป็นในการไอ จาม อาเจียน เบ่งปัสสาวะและ อุจจาระการหดตัวของกล้ามเนื้อยึดซี่โครงด้านใน (internal intercostals muscle) ก็ทำให้ซี่โครงลดต่ำลงทำให้เกิดการหายใจออก เช่นกัน

- การหายใจเข้า กล้ามเนื้อกระบังลมหดตัวส่วนโค้งของกะบังลมจะต่ำลงด้านล่าง กระดูกซี่โครงยกขึ้น ปริมาตรช่องอกเพิ่มขึ้น ความดันอากาศในปอดต่ำลง
- การหายใจออก กล้ามเนื้อกระบังลมคลายตัวกะบังลมจะอยู่ในสภาพโค้งขึ้นเหมือนเดิมพร้อมกับกระดูกซี่โครงและกระดูกอก ลดตัวลงปริมาตรของช่องอกลดลงเป็นจังหวะของการกระดูกซี่โครงลดลงปริมาตรช่องอกลดลงความดันเพิ่มขึ้นอากาศออก

กระบังลม
            - มีส่วนช่วยเปลี่ยนแปลงปริมาตรของช่องอกเป็นแผ่นกล้ามเนื้อเรียบแข็งแรงกั้นระหว่างช่องอกกับช่องท้อง
            - การหายใจเข้าและการหายใจออกซึ่งเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อกะบังลมอยู่ในการบังคับของระบบประสาท อัตโนมัติแต่บางครั้งกล้ามเนื้อกระดูกซี่โครงกับกล้ามเนื้อกะบังลมทำงานไม่สัมพันธ์กัน โดยกะบังลมหดตัวในช่วงหายใจออก ทำให้เกิดการสะอึก ดังนั้นการหายใจเข้าจึงเป็นการทำให้ปริมาตรทรวงอกเพิ่มขึ้นได้มี 2 วิธี คือ
            1. การหดตัวของกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงแถบนอก ( External intercostals muscle )
            2. การหดตัวของกะบังลม ( Diaphragm )

ที่มา : //th.wikipedia.org/wiki/กะบังลม
ที่มา : //iyayaya.exteen.com/page-4

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้