ย้ายทะเบียนบ้าน อายุไม่ถึง 20

หลายคนที่มีความจำเป็นต้องย้ายที่อยู่ใหม่ไปอยู่ภูมิลำเนาอื่น หรือบางคนอาจจะซื้อบ้าน หรือคอนโดไว้แล้ว แต่ตัวเองมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดอื่น แล้วต้องการย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านใหม่ จะต้องกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมของเราเพื่อดำเนินเรื่องหรือไม่ โดยปัจจุบันเราสามารถแจ้ง ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง หรือแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทางได้แล้ว โดยสามารถไปแจ้งย้ายได้ที่สำนักงานเขตหรืออำเภอท้องถิ่นที่บ้านหรือคอนโดเราตั้งอยู่ได้เลยโดยไม่ต้องกลับไปภูมิลำเนาเดิมของเรา ซึ่งขั้นตอนการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านปลายทางมีคำแนะนำดังนี้

การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง หมายถึง ผู้ที่ย้ายที่อยู่ไปแจ้งย้ายออกและย้ายเข้า ต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ได้ย้ายไปอยู่ใหม่ โดยไม่ต้องเดินทางกลับไปขอแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านเดิมในภูมิลำเนาเดิมที่เราอยู่

การแจ้งย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ใช้เอกสารในการติดต่อดังนี้

1.บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของผู้แจ้งย้ายพร้อมสำเนาจำนวน 1 ชุด
2.ทะเบียนบ้านเล่มที่จะแจ้งย้ายเข้าฉบับจริง
3.เจ้าบ้านหลังที่จะแจ้งย้ายเข้าให้ความยินยอมย้ายเข้าพร้อมบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงและสำเนา 1 ชุด
4.หากเจ้าบ้านไม่ได้มาดำเนินการจะต้องมีหนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าของเจ้าบ้านมาแสดงด้วย พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านลงชื่อรับรองสำเนา 1 ชุด
5.หากเป็นบ้านหรือคอนโดใหม่ของเราเอง ต้องมีเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของเช่นสำเนาโฉนดที่ดิน หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด หนังสือแสดงการครอบครองบ้าน เอกสารสัญญาซื้อขาย เป็นต้น


6.กรณีมอบหมายให้แจ้งย้ายแทน ต้องมีหนังสือมอบหมายจากผู้ย้ายที่อยู่พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบ และผู้รับมอบหนึ่งคนควรดำเนินการแทนผู้ประสงค์จะแจ้งย้ายที่อยู่ได้ไม่เกิน 3 คน
7.กรณีผู้เยาว์ย้ายที่อยู่ มารดาเป็นผู้ดำเนินการแจ้งย้าย ต้องใช้เอกสารสูติบัตรฉบับจริงพร้อมสำเนา 1 ชุด หากมีทะเบียนหย่าต้องมีการระบุว่ามารดาเป็นผู้มีอำนาจปกครองบุตรฉบับจริงพร้อมสำเนา 1 ชุด
8.กรณีผู้เยาว์ย้ายที่อยู่ บิดาเป็นผู้ดำเนินการแจ้งย้าย ต้องใช้เอกสารสูติบัตรของบุตรฉบับจริงพร้อมสำเนา 1 ชุด และต้องมีทะเบียนสมรส หรือทะเบียนรับรองบุตร หรือทะเบียนหย่าที่ระบุว่าบิดาเป็นผู้มีอำนาจปกครองบุตรฉบับจริงพร้อมสำเนา 1 ชุดมาแสดง

เมื่อเตรียมเอกสารทั้งหมดพร้อมแล้วก็ไปสำนักงานเขตหรือสำนักทะเบียนอำเภอที่เราจะย้ายไปอยู่ได้เลย ใช้เวลาดำเนินการไม่ถึง 10 นาทีก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็จะได้ทะเบียนบ้านที่มีชื่อเราอยู่ในนั้น

จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้มีความสะดวกสบายยิ่งขึ้นเนื่องจากข้อมูลทะเบียนราษฎร์ใช้ระบบออนไลน์กันหมดแล้ว หากใครที่ย้ายบ้านใหม่แล้วยังไม่ได้ดำเนินการย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านใหม่ก็สามารถไปดำเนินการแจ้งย้ายปลายทางได้เลยโดยไม่ต้องกลับไปแจ้งย้ายที่ภูมิลำเนาเดิมของเราอีกแล้ว

DetailsDetails

หลักเกณฑ์

การเพิ่มชื่อและรายการบุคคลเข้าในทะเบียนบ้านมีหลายกรณี ได้แก่                  

    1. กรณีตกสำรวจตรวจสอบทะเบียนราษฎรเมื่อปี พ.ศ. 2499 (จะต้องเป็นผู้เกิดก่อนวันที่ 1 มิถุนายน 2499)
    2. กรณีเพิ่มชื่อตามเอกสารทะเบียนราษฎรแบบเดิมที่ยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ได้แก่ สูติบัตร ใบแจ้งการย้าย ที่อยู่ และทะเบียนบ้าน
    3. กรณีคนสัญชาติไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ หรือเกิดในต่างประเทศแล้วเดินทางกลับเข้ามา ในประเทศไทย ทั้งที่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นคนไทยและไม่มีหลักฐาน
    4. กรณีอ้างว่าเป็นคนไทยแต่ไม่มีหลักฐานเอกสารมาแสดง
    5. กรณีเด็กอนาถาซึ่งอยู่ในความอุปการะของบุคคล หน่วยงานเอกชน หรือหน่วยงานของรัฐ
    6. กรณีบุคคลที่ลงรายการในทะเบียนบ้านว่า "ตาย" หรือ "จำหน่าย" มาขอเพิ่มชื่อ
    7. กรณีคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
    8. กรณีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
    9. กรณีที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่ต่อมาได้รับสัญชาติไทย
    10. กรณีคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทย โดยได้รับการผ่อนผันเป็นกรณีพิเศษหรือไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง รวมทั้งผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย

ผู้มีหน้าที่แจ้ง
    ได้แก่ เจ้าบ้าน หรือผู้ขอเพิ่มชื่อ บิดา หรือมารดา กรณีผู้ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้เยาว์ หรือผู้อุปการะ เลี้ยงดู กรณีเด็กอนาถา

สถานที่ยื่นคำร้อง
    ได้แก่ สำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ผู้ขอเพิ่มชื่อมีภูมิลำเนาอยู่ใน ปัจจุบันเว้นแต่
    1. กรณีเพิ่มชื่อตามสูติบัตรแบบเดิม ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ออกสูติบัตรฉบับนั้น
    2. กรณีเพิ่มชื่อตามแบบใบแจ้งการย้ายที่อยู่ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ประสงค์จะขอเพิ่มชื่อ
    3. กรณีเพิ่มชื่อตามทะเบียนบ้านแบบเดิม ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ครั้งสุดท้าย
    4. กรณีเพิ่มชื่อของผู้ที่ลงรายการจำหน่ายหรือตายไว้แล้ว ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ผู้นั้นเคยมีชื่อ ในทะเบียนบ้าน ก่อนถูกจำหน่ายรายการ

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ แบ่งเป็น 2 กรณี

กรณีมีหลักฐานมาแสดง
    1. บัตรประจำตัวเจ้าบ้านหรือผู้แจ้ง
    2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
    3. รูปถ่ายผู้ขอเพิ่มชื่อ 1 รูป (กรณีผู้ขอเพิ่มชื่ออายุเกิน 7 ปี)
    4. ทะเบียนบ้านหรือสำเนาทะเบียนบ้านฉบับปีพ.ศ. 2499 , พ.ศ. 2515 หรือ พ.ศ. 2526
    5. ใบสูติบัตร (แบบเดิมซึ่งไม่มีเลขประจำตัวประชาชน)
    6. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (แบบเดิมจึงไม่มีเลขประจำตัวประชาชน)

กรณีไม่มีหลักฐานมาแสดง
    1. บัตรประจำตัวเจ้าบ้านหรือผู้แจ้ง
    2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
    3. รูปถ่ายของผู้ขอเพิ่มชื่อ 1 รูป (กรณีผู้ขอเพิ่มชื่ออายุเกิน 7 ปี)
    4. บัตรประจำตัวบิดา มารดา (ถ้ามี)
    5. บัตรประจำตัวพยานบุคคลที่ให้การรับรอง
    6. เอกสารประกอบ เช่น หลักฐานการศึกษา (ถ้ามี) ส.ด.9 (ถ้ามี)

ขั้นตอนในการติดต่อ
    * 1. การยื่นเอกสารและหลักฐาน
    - กรณีมีหลักฐานมาแสดงให้ยื่นต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ผู้ร้องขอเพิ่มชื่อปรากฎรายการในเอกสารนั้น ๆ
    - กรณีไม่มีหลักฐานมาแสดงให้ยื่นต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ผู้ร้องอาศัยอยู่ในปัจจุบัน
    * 2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน
    * 3. ตรวจสอบรายการในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
    * 4. สอบสวนพยานบุคคลที่ให้การรับรอง
    * 5. บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคลที่ขอเพิ่มชื่อ ผู้แจ้ง และพยานบุคคลที่ให้การรับรองและให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วมือ  ตามแบบ ท.ร.25
    * 6. รวบรวมหลักฐานเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติในการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
    * 7. คืนหลักฐานให้ผู้แจ้ง

ย้ายทะเบียนบ้านปลายทางต้องอายุเท่าไร

2. ย้ายปลายทาง คือ การไม่ได้แจ้งย้ายออก แต่มาติดต่อย้ายเข้าในสำนักทะเบียนที่จะย้ายเข้าเลย (เลยเรียกว่าปลายทางนี่แหละ) กรณีเด็กที่อายุไม่เกิน 15 ปี ย่อมเป็นอำนาจของบิดามารดา โดยชอบด้วยกฎหมาย หรือผู้ใช้อำนาจปกครองตามกฎหมายในการแจ้งย้ายปลายทาง โดยมีเจ้าบ้านปลายทางมายินยอมให้ย้ายเข้า ซึ่งถ้าจะถามว่า พ่อหรือแม่ จะมีอำนาจก็ ...

ถ้าจะย้ายทะเบียนบ้านต้องทำยังไง

ยื่นเอกสาร และหลักฐานต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่จะย้ายเข้า.
นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการใบแจ้งการย้ายที่อยู่และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) โดยตรวจสอบรายการให้ถูกต้องตรงกัน แล้วมอบสำเนาทะเบียนบ้านและ หลักฐานคืนให้ผู้แจ้ง.

ย้ายทะเบียนบ้านมีค่าใช้จ่ายไหม

ยื่นหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่จะย้ายเข้า นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานและลงรายการ ในใบแจ้งการย้ายที่อยู่โดยให้ผู้แจ้งลงลายมือชื่อ ในช่องผู้แจ้งย้ายออกและช่องผู้แจ้งย้ายเข้าสำหรับช่อง เจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้าให้เขียนชื่อ-สกุลตัวบรรจง และเสียค่าธรรมเนียม 5 บาท

ย้ายทะเบียนบ้านต้องไปทุกคนไหม

A3: เจ้าบ้านมีความจำเป็นต้องไปยังสำนักงานเขตเพื่อทำการส่งคำร้องและยินยอมให้สามารถย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาได้ และมีเอกสารที่จำเป็นต้องเซ็นด้วยตัวเจ้าบ้าน แต่หากเจ้าบ้านไม่สามารถไปได้ด้วยตัวเอง สามารถออกหนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าจากเจ้าบ้าน พร้อมแนบบัตรประชาชนของเจ้าบ้านมาผ่านตัวผู้ย้ายได้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้