รายงานโครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน doc

สวัสดีครับคุณครูทุกท่าน วันนี้ สื่อการสอนฟรี ดอทคอม ของเราได้นำไฟล์ ใบงานภาษาอังกฤษ 32 topic รวบรวมมาจากแหล่งต่างๆนะครับ ให้คุณครูได้นำไปปรับใช้ดูครับ

ดาวน์โหลดไฟล์ทั้งหมดที่นี่

เว็บไซต์สื่อการสอนฟรี ดอทคอม ของเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าไฟล์ ใบงานภาษาอังกฤษ 32 topic จะเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อยสำหรับคุณครูทุกท่าน หากมีข้อผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยนะครับ

ขอบคุณที่มาจากเพจ วิชาการ

เว็บไซต์ สื่อการสอนฟรี ดอทคอม ของเรา สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ แจกฟรี สื่อการสอน แนะนำ สื่อการสอนฟรี สำหรับครู ดาวน์โหลด ใบงาน ใบความรู้ สื่อออนไลน์ แบบฝึกหัด ข้อสอบ ทุกรายวิชา ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ บทความ เอกสารทางการศึกษา อบรมออนไลน์ เพื่อให้ครูนำไปใช้เป็นในการจัดการเรียนการสอน ให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติดตามข่าวการศึกษา ข่าวทั่วไป อัพเดททันต่อเหตุการณ์ สอบครูผู้ช่วย แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย รวมทั้งหมดไว้ที่นี่ www.สื่อการสอนฟรี.com เว็บไซต์เพื่อการศึกษา และยังสามารถติดตามได้ทางแฟนเพจ สื่อการสอนฟรี อีกช่องทาง เพื่อพัฒนาการศึกษาไทย โดยไม่แสวงหาผลกำไรแต่อย่างใด

ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน

  • ดาวน์โหลด
ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน

ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน

โดย

ครูอาชีพดอทคอม

-

6 พฤศจิกายน 2565 วันที่แก้ไข: 6 พฤศจิกายน 2022

322

0

แบ่งปัน

Facebook

Twitter

Pinterest

LINE

ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่านครับ

  • การดำเนินการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
  • คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
  • แบบรายงานผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
  • แบบรายงานผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
  • แบบบันทึกการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์
  • คุณลักษณะอันพึงประสงค์คืออะไร
    • ความสำคัญของคุณลักษณะอันพึงประสงค์
    • ความหมายของคุณลักษณะอันพึงประสงค์
  • แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์
    • ทฤษฎีพัฒนาการทางการรู้การคิดของเพียเจต์
    • ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
  • แนวทางการดำเนินการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพีงประสงค์ในระดับสถานศึกษา
  • แนวปฏิบัติในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
  • ตัวอย่างแผนการสอนคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน

บทความนี้ ครูอาชีพดอทคอม ขอนำเสนอไฟล์แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน เนื้อหาประกอบไปด้วยการนำแนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์สู่การปฏิบัติ การดำเนินการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ นิยาม ตัวชี้วัด พฤติกรรมบ่งชี้ และเกณฑ์การให้คะแนน ตัวอย่างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แผนการสอน การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ การดำเนินการวัดและประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา แนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์

กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ พร้อมกันทั่วประเทศ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓ โดยกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องยืดเป็นแนวทางในการดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนด นอกจากนั้นหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานยังมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้จัดทำแนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซึ่งประกอบด้วย แนวคิด ทฤษฎี และหลักการเกี่ยวกับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แนวทางการดำเนินการพัฒนาผู้เรียนพร้อมตัวย่างการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ แนวทางการดำเนินการวัดและประเมินผล และการรายงานผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขา คณาจารย์ ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้เกี่ยวข้องตลอดจนนักวิชาการของสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา และหน่วยงานต่าง ๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำเอกสารชุดนี้ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี และหวังว่าจะเป็น
ประโยชน์ในการดำเนินงานพัฒนาและวัดประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ในการจัดพิมพ์ครั้งที่ ” นี้ ได้มีการปรับปรุงแก้ไขกณฑ์การประเมินบางส่วนให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕ ๕ ๑

ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน

การดำเนินการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนรู้และการประเมินผู้เรียน เพื่อให้ผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนดทุกระดับการศึกษาเมื่อสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์แล้ว ครูที่รับผิดชอบการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนควรจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ ๑ ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน นิยามตัวชี้วัด พฤติกรรมบ่งชี้ และเกณฑ์การให้คะแนน เพื่อพิจารณาว่าตัวชี้วัดนั้นครอบคลุมและสอดคล้องกับลักษณะธรรมชาติของวิชา งาน กิจกรรมที่รับผิดชอบหรือไม่ อย่างไร
ขั้นตอนที่ ๒ ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ขั้นตอนที่ ๓ ศึกษาแนวปฏิบัติในการพัฒนาผู้เรียนว่าจะดำเนินการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ด้วยวิธีใดดังต่อไปนี้ คือ
๑. บูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระ
๒. จัดในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๓. จัดโครงการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๔. ปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยสอดแทรกในกิจวัตรประจำวันของสถานศึกษา
ขั้นตอนที่ ๔ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียนก่อนการพัฒนา

ขั้นตอนที่ ๕ สร้างหรือเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมสอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่เลือกดำเนินการ ตามขั้นตอนที่ ๓
ขั้นตอนที่ ๖ ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางที่กำหนดไว้และประเมินเป็นระยะ ๆ ผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ให้ปรับปรุงพัฒนา แล้วประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
ขั้นตอนที่ ๗ รายงานผลการพัฒนาต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนต่าง ๆ ที่กล่าวแล้ว แสดงได้ดังแผนภาพที่ ๑.๑

ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง ๘ ประการ ได้แก่
๑) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
๒) ซื่อสัตย์สุจริต
๓) มีวินัย
๔) ใฝ่เรียนรู้
๕) อยู่อย่างพอเพียง
๖) มุ่งมั่นในการทำงาน
๗) รักความเป็นไทย
๘) มีจิตสาธารณะ

การนำคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง ๘ ประการดังกล่าว ไปพัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลนั้น สถานศึกษาต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์อย่างชัดเจน โดยพิจารณาจากนิยาม ตัวชี้วัด พฤติกรรมบ่งชี้ และกณฑ์การให้คะแนนของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

แบบรายงานผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน

ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน

แบบรายงานผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน

แบบบันทึกการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน

ดาวน์โหลดไฟล์

คุณลักษณะอันพึงประสงค์คืออะไร

ความสำคัญของคุณลักษณะอันพึงประสงค์

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้กล่าวไว้ใน มาตราที่ ๒๓ ๒๔ และ ๒๖ เกี่ยวกับการจัดการศึกษาสรุปได้ว่า ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้และคุณธรรม การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องบูรณาการความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้เกี่ยวกับตนเองทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย ทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข โดยต้องผสมผสานสาระความรู้เหล่านั้นให้ได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชาและให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียน โดยพิจารณาพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบ ควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอน ตามความเหมาะสมในแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา (สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๔๕: ๑๓-๑๕)

ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงมีนโยบายปฏิรูปการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความรู้ มุ่งมั่นขยายโอกาสทางการศึกษา ให้เยาวชนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างกว้างขวางและทั่วถึง โดยคำนึงถึงการพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน ครอบคลุมทั้งด้านพฤติกรรม จิตใจ และปัญญา นอกเหนือจากการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมและสร้างความตระหนักให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกในคุณค่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี และวิถีประชาธิปไตย

ความหมายของคุณลักษณะอันพึงประสงค์

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง ลักษณะที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน อันเป็นคุณลักษณะที่สังคมต้องการในด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึก สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก (กลุ่มส่งเสริมการเรียนการสอนและประเมินผล สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, ๒๕๔๘. ๒) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ได้กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ – ประการ ได้แก่ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ

แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์

คุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นคุณลักษณะภายในของบุคคล ซึ่งเกี่ยวข้องกับสังคม อารมณ์ความรู้สึก ที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมตามที่สังคมต้องการ ประกอบด้วย คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม ซึ่งเกิดจากการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมทั้งการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โครงการกิจกรรมอื่น ๆ ที่สถานศึกษาจัดขึ้น ทั้งนี้สถานศึกษาสามารถเลือกใช้แนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับการพัฒาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ได้อย่างหลากหลายดังตัวอย่างต่อไปนี้

ทฤษฎีพัฒนาการทางการรู้การคิดของเพียเจต์

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (๒๕๕๑: ๑ ๕-๑๘) ได้สรุปว่า สติปัญญาหรือความสามารถในการรู้คิดเป็นพื้นฐานของการมีคุณธรรมจริยธรรม เนื่องจากผู้มีคุณธรรมจริยธรรมสูงมักเป็นผู้ที่สามารถคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณ และสามารถคาดการณ์เกี่ยวกับสาเหตุและผลของการกระทำได้ นักวิชาการทางจิตวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางการรู้การคิด คือ Jean Piaget ได้เสนอพัฒนาการทางการรู้การคิดไว้ ๔ ขั้นตอน ได้แก่

๑. ขั้นระยะการเคลื่อนไหวสัมผัส (the sensorimotor stage) เป็นช่วงของเด็กแรกเกิดถึงอายุ ๒ ขวบ จะมีพัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับความคงที่ของวัตถุ โดยจะเริ่มรับรู้ว่า
วัตถุที่หายไปจากสายตาของตนยังคงเป็นวัตถุเดิมและไม่ได้หายไปไหน เช่น เมื่อเอากระดาษมาคั่นของเล่นที่เด็กกำลังเล่นอยู่ เด็กจะปัดกระดาษเพื่อหาของเล่น แสดงว่าเด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับการคงอยู่ของวัตถุ ในช่วงนี้จะเกิดกระบวนการ ๒ ประเภท คือ

๑) การดูดซึม (assimiation) เป็นการรับรู้เข้าสู่โครงสร้างเดิมและเข้าสู่ระบบเดิมเป็นการปรับสภาพแวดล้อมให้เข้ากับการรู้คิดของตน และปฏิเสธสิ่งที่ไม่เข้ากับการรู้คิดของตน
๒) การปรับเปลี่ยน (accommodation) เป็นการปรับความคิดหรือปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ เกิดการยอมรับประสบการณ์ใหม่ กระบวนการทั้งสองจะทำให้บุคคลเกิดความสมดุล(equilibration)

๒. ขั้นก่อนปฏิบัติการ (the preoperational stage) เป็นช่วงของเด็กอายุ ๒-๗ ขวบโดยแบ่งเป็น ๒ ส่วน

๑) ส่วนแรกปรากฎในเด็กอายุ ๒-๕ ชวบ เด็กจะมีพัฒนาการทางสวีระมากขึ้นและสามารถสำรวจสภาพแวดล้อมได้มากขึ้น เรียนรู้คำและพฤติกรรมใหม่ ๆ แต่มีความคิดและพฤติกรรม
ที่เด่น คือ ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (egocentric เด็กเชื่อว่าสิ่งที่ตนเห็น ตนเข้าใจนั้น คนอื่น ๆ ก็จะเห็นและเข้าใจอย่างที่ตนเห็นและตนเข้าใจ ในช่วงนี้เด็กจะมีการเลียนแบบผู้ปกครองมาก ไม่ว่าจะเป็นคำพูดท่าทาง กิริยามารยาท และพฤติกรรมในช่วงนี้กระบวนการ assimilation เป็นกระบวนการที่ใช้มาก โดยเมื่อเด็กเล่นเด็กจะเข้าใจสิ่งต่าง 1 ที่อยู่รอบข้างมากขึ้น รวมทั้งกระบวนการ accommodation เช่น การเลียนแบบจะช่วยพัฒนาสติปัญญาของเด็กจากการเรียนรู้ทางสังคม

๒) ส่วนที่สองปรากฎในเด็กอายุ ๒-๗ ขวบ เป็นขั้นความคิดแบบอัตสัมฤทธิ์ (initiative though! เด็กจะลดการยึดตนเองเป็นศูนย์กลางลง จากการเรียนรู้สิ่งแวดล้อม เด็กอาจยังแยก
ไม่ออกระหว่างความเพ้อฝันหรือนิทานกับความเป็นจริง ช่วงนี้พัฒนาการทางความคิดเริ่มมีมากขึ้น

๓ ขั้นปฏิบัติการแบบรูปธรรม (the stage of concrete operations) ปรากฎในเด็กอายุ ๕-๑๐ ขวบ มีความคิดที่จัดเป็นระบบมากขึ้น สามารถคิดทวนกลับและมีสังกัปในเชิงของมวลสาร ปริมาตร และน้ำหนัก

๔. ขั้นปฏิบัติการแบบระบบ (the stage of formal operations) เป็นความสามารถในการคิดแบบสมมติและการคิดเป็นเหตุเป็นผล โดยมีลักษณะระบบคิดเป็น ประการ คือ

๑) การสร้างการทวนกลับความคิดเกี่ยวกับความจริงกับความเป็นไปได้ (thinking in possibilities) ผู้มีความสามารถในการคิดขั้นนี้ จะสามารถคิดสลับไปมาระหว่างความจริงกับความ
เป็นไปได้ ซึ่งเป็นความคิดสมมติ ผู้ที่มีพัฒนาการในขั้นนี้จะสามารถคิดในเชิงนามธรรมได้

๒) ความคิดแบบตั้งสมมติฐานจากหลักที่กว้างกว่า (hypothetical-deductive thinking) ผู้ที่คิดในเชิงนามธรรมได้จะสามารถตั้งสมมติฐานได้ แล้วตรวจสอบสมมติฐานด้วยการทำวิจัย

๓) การคิดถึงการคิด (thinking about thinking ผู้ที่คิดในขั้นนามธรรมแบบระบบชั้นนี้จะสามารถคิดถึงความหมาย ความสำคัญ คิดวิเคราะห์ และหาเหตุผลประกอบการคิดหรือการจินตนาการของตนเอง ซึ่งเป็นการสำรวจความคิดและการวิจารณ์ตนเองได้

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก

โคลเบิร์ก ยึดถือทฤษฎีพัฒนาการทางการรู้การคิดของเพียเจต์ (Piaget) เป็นหลักในการวัดพัฒนาการทางจริยธรรม และถือว่าพัฒนาการทงจริยธรรมเป็นผลของพัฒนาการทางปัญญา
ซึ่งสรุปได้ดังนี้ (พิศเพลิน เขียวหวาน และคณะ, ๒๕๔๖: ๓-๕)

เด็กวัยแรกเกิด-๒ ขวบ ปัญญาความคิดอยู่ในขั้นต่ำเกินกว่าที่จะเข้าใจความถูกผิดของการกระทำ เมื่อย่างเข้าสู่ระยะที่ ๒ อายุ ๒๗ ปี เริ่มที่จะเข้าใจเกี่ยวกับความถูกผิดของการกระทำเมื่อย่างเข้าสู่ระยะที่ ๓ อายุ ๗-๑๒ ปี เด็กสามารถคิดตามหลักเหตุผลได้ แต่จำกัดอยู่ในขอบเขตของสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น จัดประเภทให้เป็นระบบได้ และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ เมื่อความคิดของเด็กในระยะที่ ๒ และ ๓ ยังจำกัดอยู่ในขอบเขตของการนึกคิดเอาเองและการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นรูปธรรม ความคิดเกี่ยวกับความถูก-ผิดจึงจำกัดอยู่ในขอบเขตของสิ่งที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น ไม่สามารถเข้าใจกฎเกณฑ์ของสังคมอย่างเป็นระบบ โคลเบิร์กจัดอยู่ในระดับที่ ๑ คือ ระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม (preconventional level)

ผู้ที่สามารถคิดในเชิงเหตุผลนามธรรมได้ เป็นผู้ที่มีอายุประมาณ ๑๒ ปีขึ้นไป สามารถเข้าใจบทบาทของบุคคลและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่าง ๆ ในสังคมอย่างเป็นระบบ จะตัดสิน
ความถูกผิดของการกระทำของบุคคลต่ง ๆ ตามกฎเกณฑ์ของสังคมไทย ความเข้าใจเกี่ยวกับความถูกผิดในทำนองนี้จัดอยู่ในระดับที่ ๒ คือ ระดับกฎเกณฑ์สังคม (conventional morality)

สำหรับผู้ที่สามารถคิดเชิงตรรกได้เป็นอย่างดีอาจจะพัฒนาการรับรู้ของตนเองในระดับที่สูงขึ้นไปอีก อยู่ในระดับที่ ๓ คือ ระดับสูงกว่ากฎเกณฑ์สังคม (postconventional morality) ซึ่งสามารถตัดสินความถูกต้องเหมาะสมตามกฎเกณฑ์ต่าง 1ของสังคม แล้วไตร่ตรองด้วยตนเองว่าถูกต้องผู้ที่สามารถตัดสินความถูกต้องของการกระทำในระดับสูงนี้ต้องอาศัยปัญญาความคิดระดับสูง และเป็นผู้ที่ช่างคิดช่างสังเกต ผู้ที่จะวิพากษักฎเกณฑ์ต่าง ๆ ได้ ต้องใช้เวลาอีกหลายปี จากเริ่มวัยรุ่นจนกระทั่งยายุอย่างน้อย ๒๐ ปี จึงจะทำไต้

ตามทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก แบ่งระดับพัฒนาการออกเป็น ๓ ระดับคือ ระดับที่ ๑ ก่อนกฎเกณฑ์สังคม ระดับที่ ๒ กฎเกณฑ์สังคม และระดับที่ ๓ สูงกว่ากฎเกณฑ์สังคมในแต่ละระดับโคลเบิร์กยังแบ่งพัฒนาการออกเป็น ๒ ขั้น รวมเป็น : ขั้น เรียงตามลำดับดังนี้

ระดับที่ ๑ ก่อนกฎเกณฑ์สังคม (preconventional level)
ขั้นที่ ๑ การลงโทษและการเชื่อฟัง (punishment-obedience orientation)
ก. สิ่งที่ถูก
-ต้องเชื่อฟัง ไม่ฝาฝืนกฎเกณฑ์ที่มีการลงโทษ
-ไม่ทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน
ข. เหตุผล
-เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ

ขั้นที่ ๒ เอกบุคคลนิยม การตอบสนองความต้องการ และการชำระแลกเปลี่ยน (instrumental relativist orientation)
ก. สิ่งที่ถูก
-ทำตามกฎเกณฑ์เพื่อเกิดประโยชน์แก่ตนเองในปัจจุบัน
-ทุกคนทำในสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของตน
-ความยุติธรรมในการชำระแลกเปลี่ยน
ข. เหตุผล
-การตอบสนองความต้องการของตนจำเป็นต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้อื่นด้วย

ระดับที่ ๒ กฎเกณฑ์สังคม (conventional morality)
ขั้นที่ ๓ ความคาดหวังทางสังคม ความสัมพันธ์ และการคล้อยตาม(good boy-nice girl orientation)
ก. สิ่งที่ถูก
-กระทำในสิ่งที่สังคมคาดหวัง
-มีความปรารถนาดีและอาทรต่อผู้อื่น
-ความไว้วางใจ ความภักดี ความเคารพ และความกตัญญู
ข. เหตุผล
-ต้องการเป็นคนดีในทรรศนะของตนและของบุคคลต่าง ๆ ในสังคม
-ต้องการรักษากฎเกณฑ์ต่าง ๆ ทางสังคม เพื่อรักษาพฤติกรรมดีงามต่าง ๆ ให้คงอยู่

ขั้นที่ ๔ ระบบสังคมและมโนธรรม (law and order orientation)

ก. สิ่งที่ถูก
-การปฏิบัติตามหน้าที่ของตน
-กฎหมายต้องเป็นกฎหมาย ยกเว้นในกรณีที่ขัดกับหน้าที่ทางสังคมอื่น ๆ
-การบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม กลุ่ม หรือสถาบัน

ข. เหตุผล
-เพื่อให้สถาบันต่าง ๆ ของสังคมดำรงอยู่ต่อไป
-รักษาระบบสังคมให้คงอยู่ ไม่พังทลาย

ระดับที่ ๓ สูงกว่ากฎเกณฑ์สังคมหรือตามหลักการ (postconventional morality or principled level)

ขั้นที่ ๕ สัญญาสังคมหรืออรรถประโยชน์และสิทธิส่วนบุคคล (social contract orientation)

ก. สิ่งที่ถูก
-การเข้าใจว่าบุคคลในสังคมต่างมีค่านิยมและความเห็นต่างกัน
-การเข้าใจกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคมว่าเกิดจากการตกลงกันของบุคคลในสังคม
-การปฏิบัติตามสัญญาสังคม
ข. เหตุผล

– เพื่อประโยชน์และเพื่อพิทักษ์สิทธิของทุกคนในสังคม
-ความรู้สึกผูกพันต่อสัญญาสังคมกับบุคคลต่าง ๆ

ขั้นที่ ๖ หลักการจริยธรรมสากล (universal ethical principle orientation)

ก. สิ่งที่ถูก
-ทำตามหลักการทางจริยธรรมที่ตนเลือกเอง
-กฎหมายและสัญญาสังคมที่ถูกต้องควรเป็นไปตามหลักการเหล่านี้
-เมื่อกฎหมายขัดกับหลักการเหล่านี้จะต้องทำตามหลักการ
-หลักการที่ถูกต้องคือ หลักการสากลเกี่ยวกับความยุติธรรม ซึ่งได้แก่ ความเสมอภาคในสิทธิของมนุษย์ และการเคารพ

ข. เหตุผล
– หลักการจริยธรรมสากลเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามหลักเหตุผล

การเกิดจริยธรรมตามทรศนะของโคลเบิร์กนั้น จริยธรรมหรือความเข้าใจเกี่ยวกับความถูกผิดมิได้เกิดจากการเรียนรู้ มิได้เกิดจากสังคมแวดล้อม แต่เกิดจากการคิดไตร่ตรองตามเหตุผลของแต่ละบุคคลพัฒนาการของจริยธรรมเป็นผลของกรสังเกตและการคิดไตร่ตรองของบุคคล ผู้ที่ไม่ชอบสังเกตหรือไม่ชอบ

ที่จะคิดไตร่ตรอง พัฒนาการทางจริธรรมก็ไม่เกิด แม้ว่าพัฒนาการทางปัญญาได้เข้าสู่ขั้นสูงแล้วก็ตามซึ่งโคลเบิร์กเชื่อว่าพัฒนาการเกิดเป็นขั้น 1 จากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งตามลำดับอย่างแน่นอนตายตัว(invariant) ดังนั้นจริยธรรมจึงพัฒนาเป็นชั้น 1 จากขั้นต่ำกว่าไปสู่ขั้นสูงกว่าทีละขั้น ไม่มีการข้ามชั้นไม่มีการสลับขั้น และไม่ว่าบุคคลจะเติบตในสังคมใดหรือนับถือศาสนาใด ย่อมมีลำดับขั้นการพัฒนาของจริยธรรมที่เหมือน ๆ กัน เรียกชื่อว่าทฤษฎีพัฒนาการเชิงโครงสร้าง (structural development theory และทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญา (cognitive development theory)

ดาวน์โหลดไฟล์

แนวทางการดำเนินการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพีงประสงค์ในระดับสถานศึกษา

การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สถานศึกษาควรดำเนินการโดยคณะกรรมการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถาศึกษา าจเป็นชุดเดียวกับคณะกรรมการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในกรณีสถานศึกษาขนาดเล็กอาจจะให้ครูผู้สอน ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษาเป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนา ทั้งนี้ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา โดยมีหน้าที่ดังนี้

๑.๑ ศึกษานิยาม ตัวชี้วัด และพฤติกรรมบ่งชี้ของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง ๘ ประการ

๑.๒ วิเคราะห์ตัวชี้วัดและพฤติกรรมบ่งชี้เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์แต่ละคุณลักษณะ

๑.๓ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียนรายบุคคลก่อนการพัฒนา เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาให้สอดคล้องและเหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้เรียน

๑.๔ สร้างหรือเลือกเครื่องมือในการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

๑.๕ กำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้เรียนที่ต้องการพัฒนา

๑.๖ ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางที่กำหนดไว้ และประเมินผู้เรียนเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้า

๑.๗ ดำเนินการประเมินผู้เรียนหลังการพัฒนาและสรุปผลการประเมิน

๑. ๘ รายงานผลการพัฒนาต่อผู้บริหารสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง

ดังแผนภาพที่ ๓.๑

ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน

แนวปฏิบัติในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕, มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง ๘ ประการ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ในการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ จำเป็นต้องอาศัยการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ครูผู้สอน ครูประจำชั้น ผู้ปกครอง และชุมชนต้องร่วมมือกันปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง จึงต้องพิจารณาถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่สถานศึกษากำหนดให้จัดขึ้น แล้วส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซึ่งอาจดำเนินการพัฒนาด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เช่น

๑. บูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระ
๒. จัดในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๓. จัดโครงการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๔. ปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยสอดแทรกในกิจวัตรประจำวัน

แนวปฏิบัติในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้น สามารถพัฒนาได้โดยการนำคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตัวชี้วัด และพฤติกรรมบ่งชี้ที่วิเคราะห์ไว้ไปบูรณาการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โครงการต่าง ๆ และกิจวัตรประจำวันของผู้เรียน

ตัวอย่างแผนการสอนคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน

ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน

ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน

ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน 13

ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน 14

ขอบคุณที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน | – สพฐ (obec.go.th)

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ดาวน์โหลด โปรแกรมวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียน ไฟล์ Excel *.xls แก้ไขได้
  • ดาวน์โหลดฟรี โปรแกรมประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียน Xls (ไฟล์ Excel) พร้อมปริ้น โดย โรงเรียนบ้านขะเนจื้อ
  • ดาวน์โหลดไฟล์ ตัวอย่างคำสั่งประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (ไฟล์ *.doc) แก้ไขได้ ฉบับครูสายบัว

  • แท็ก
  • คุณลักษณะอันพึงประสงค์
  • คุณลักษณะอึงพึงประสงค์
  • คู่มือ
  • ดาวน์โหลด
  • แนวทาง

Facebook

Twitter

Pinterest

LINE

บทความก่อนหน้านี้ดาวน์โหลดบัญชีรายการครุภัณฑ์ และเกณฑ์การขอจัดตั้งงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

บทความถัดไปรวมสื่อการสอน วีดิทัศน์ และเอกสารการเรียนรู้ Coding สื่อโค้ดดิ้ง สื่อ Unplugged coding โดย สำนักวิชาการฯ สพฐ.

ครูอาชีพดอทคอม

//www.kruachieve.com

บทความโดย : ครูอาชีพดอทคอม ติดตามได้ที่ : //www.facebook.com/kruachieve เว็บไซต์ : //www.kruachieve.com

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมจากผู้เขียน

ดาวน์โหลด

ดาวน์โหลดฟรี แบบฝึกทักษะคัดลายมือ ก-ฮ ไฟล์เวิร์ด แก้ไขได้ แบบฝึกคัดไทย doc

กิจกรรมน่าสนใจ

ดาวน์โหลดไฟล์ แบบฟอร์มบรรทัดสำหรับฝึกคัดลายมือมาตรฐาน 5 เส้น และ แบบตาราง แจกฟรี

ดาวน์โหลด

แจกไฟล์รายงานผลปฏิบัติงานข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ว.PA ปี 2566 ไฟล์เวิร์ด doc พร้อมปก เครดิตนางสาวสุนารี ไทยจันอัด โรงเรียนนครราชสีมาปัญญานุกูล

ดาวน์โหลด

แจกฟรี แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ประจำปีงบ 2566 รายวิชาคณิตศาสตร์ ข้อตกลงในการพัฒนางาน คณิตศาสตร์ ไฟล์ word แก้ไขได้

ดาวน์โหลด

ดาวน์โหลดฟรี โปรแกรมประมวลผลการประเมินการอ่านเขียนภาษาไทย ครั้งที่ 2 (ภาคเรียนที่ 2/2565) สพฐ.

ดาวน์โหลด

ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการควบคุมงานก่อสร้าง สำหรับโรงเรียนที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ทิ้งคำตอบไว้ ยกเลิกการตอบ

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!

กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

คุณป้อนที่อยู่อีเมลไม่ถูกต้อง!

กรุณาใส่ที่อยู่อีเมลของคุณที่นี่

บันทึกชื่ออีเมลและเว็บไซต์ของฉันในเบราว์เซอร์นี้ในครั้งต่อไปที่ฉันแสดงความคิดเห็น

Δ

ค้นหา

เว็บไซต์พันธมิตรฯ

สอบ IELTS  |  IELTS Life Skills

E-sports     |  รับทำบัญชี

ป้ายกำกับ

COVID-19 Starfish Labz ก.ค.ศ. กระทรวงศึกษาธิการ การประกวด ข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ครูผู้ช่วย คุรุสภา คู่มือ ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ดาวน์โหลด ดาวน์โหลดฟรี ตรีนุช เทียนทอง ทดสอบออนไลน์ บรรจุครู พนักงานราชการ พุทธศาสนา ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย รับเกียรติบัตรฟรี ลูกเสือ วPA วิทยฐานะ วิทยฐานะเกณฑ์ใหม่ วิทยาการคำนวณ วิทยาศาสตร์ สพฐ. สมัครงาน สมัครสอบ สสวท สอบครู สอบครูผู้ช่วย สื่อการสอน หลักสูตร อบรมออนไลน์ อบรมออนไลน์ฟรี อัมพร พินะสา เปิดภาคเรียน เรียกบรรจุครูผู้ช่วย เรียนออนไลน์ เสวนาออนไลน์ แผนการจัดการเรียนรู้ โควิด 19 โค้ดดิ้ง ใบประกอบวิชาชีพ

บทความล่าสุด

กิจกรรมน่าสนใจ

ลิงก์แบบประเมินรับเกียรติบัตร จาก สมศ. โครงการส่งเสริมสถานศึกษาและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต้นสังกัด ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน วันที่ 17 ธันวาคม 2565 เวลา 09.00 - 12.00 น. โดย สมศ.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้