ไมโครเวฟ กับ กระทะไฟฟ้า อันไหน กินไฟกว่า

เหตุการณ์สมมติ

ณ ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง
นาย เอ : เพิ่งย้ายคอนโด ควรซื้อเครื่องครัวอะไรบ้าง?
นางสาว บี : ทำอาหารกินเองบ่อยรึเปล่า หรือว่าแค่ซื้อมาอุ่นอาหาร
นาย เอ : อืมมม ไม่แน่ใจเท่าไร เอาอะไรที่ต้องใช้บ่อย ๆ ก่อนละกัน
นางสาว บี : งั้นดูว่าเครื่องไหนไม่กินไฟด้วยก็ดีนะ

เซฟไทยเชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายคนต้องเคยเจอจากเหตุการณ์สมมติข้างต้น ที่พอจะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าก็เกิดความลังเลว่าอันไหนที่จะคุ้มค่ากว่ากัน อันไหนกินไฟมากกว่า อันไหนราคาสูงกว่า และปัจจัยอื่นอีกมากมาย

บทความนี้เซฟไทยจึงอยากมาแชร์ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวกินไฟกันแค่ไหน?
มาดูกันเลย!

1. เครื่องชงกาแฟ 200 – 600 วัตต์
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องมีติดบ้านแน่นอน เพราะถือว่าเป็นเครื่องดื่มที่ขาดไม่ได้ในตอนเช้าของใครหลาย ๆ คน ยิ่งบ้านไหนอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ก็ยิ่งจำเป็นเลยทีเดียว เพราะเครื่องชงกาแฟอัตโนมัตินั้นช่วยอำนวยความสะดวกในช่วงเช้าที่รีบร้อนได้เป็นอย่างดี

2. เตาไมโครเวฟ 100 – 1,000 วัตต์
เครื่องใช้ไฟฟ้าสามัญประจำบ้าน ประโยช์มากมาย ไม่ว่าจะอุ่นอาหารแช่แข็ง หรือละลายน้ำแข็งของวัตถุดิบเพื่อนำไปประกอบอาหาร

3. เตาหุงต้มไฟฟ้า 200 – 1,500 วัตต์
บางบ้านเลือกใช้แก๊สหุงต้ม ในขณะที่บางบ้านก็เลือกใช้เตาหุงต้มไฟฟ้าเพื่อความสะดวกไม่ต้องกลัวแก๊สหมดเหมือนกัน ซึ่งก็มีข้อได้เปรียบที่แตกต่างกันไป เพราะเตาหุงต้มไฟฟ้านั้นหันมาใช้พลังงานไฟฟ้าแทน

4. ตู้เย็น 70 – 145 วัตต์
เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง เพราะต้องคอยรักษาความเย็นให้ทั้งอาหารสด อาหารแช่แข็ง หรือแม้แต่ขนมหวานที่ต้องการความเย็นอย่างไอศกรีม ถึงวัตต์จะไม่สูงมาก แต่การใช้งานตลอดเวลา ทำให้กินไฟได้ไม่น้อยเลย

5. หม้อหุงข้าว 450 – 1,500 วัตต์
ถึงแม้ว่าแต่ละบ้านจะมีสูตรการหุงข้าวที่แตกต่างกันไป บางคนชอบข้าวร่วน บางคนชอบข้าวแฉะ บางคนกินข้าวผสม แต่สิ่งที่เหมือนกันคือการใช้หม้อหุงข้าวเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกนั่นเอง

6. กาต้มน้ำร้อน 500 – 750 วัตต์
เครื่องใช้ไฟฟ้าอำนวยความสะดวกยอดฮิตเพราะทำได้ทั้ง ชงเครื่องดื่มร้อน หรือเอามาต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็ได้เช่นกัน

7. เครื่องปิ้งขนมปัง 800 – 1,000 วัตต์
ไว้ปิ้งขนมปังกินคู่กาแฟยามเช้าก็ดีไม่ใช่น้อย บางบ้านอาจใช้การจี่ขนมปังกับกระทะก็ได้เช่นกัน หรือที่อยากได้ความสะดวกก็สามารถซื้อเครื่องปิ้งขนมปังติดบ้านไว้ก็ได้เช่นกัน

อ่านมาถึงตรงนี้ เพื่อน ๆ คนไหนที่กำลังลังเลอยู่ว่าจะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นไหนดี
เซฟไทยก็ขอแนะนำให้ชั่งน้ำหนักระหว่างสิ่งที่ต้องได้กับสิ่งที่ต้องจ่ายไปนะครับ
เช่น ถ้าบ้านเพื่อน ๆ มีสมาชิกจำนวนมากที่ดื่มกาแฟ การเลือกซื้อเครื่องชงกาแฟอาจคุ้มค่ากว่าการซื้อกาต้มน้ำร้อนนะครับ

ที่มา : กระทรวงพลังงาน

ที่มา : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)

ด้วยสถานการณ์โควิด – 19 ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาอยู่ที่บ้านกันมากขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือ ค่าไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากเครื่องอำนวยความสะดวกส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็น เครื่องปรับอากาศ พัดลม หม้อหุงข้าว และอื่นๆ อีกมากมาย ล้วนต้องใช้ไฟฟ้าในการใช้งานแทบทั้งสิ้น ยิ่งมีการใช้งานมากก็ทำให้ต้องเสียค่าไฟฟ้ามากขึ้น หากคุณต้องการประหยัดค่าไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น สิ่งที่ต้องรู้ก็คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ชนิดกินไฟมากน้อยแค่ไหน เพื่อจะได้วางแผนการใช้งานให้มีความเหมาะสมถูกต้อง  เราจึงนำวิธีการคำนวณค่าไฟง่ายๆ และวิธีการประหยัดไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่างๆ มาฝากให้คุณนำไปใช้บอกลาค่าไฟแพงๆ กัน

วิธีดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟเท่าไร

            การดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟเท่าไหร่นั้น สามารถสังเกตได้จากจำนวนวัตต์ (Watt) ที่ระบุอยู่ในคู่มือหรือติดอยู่ที่ตัวเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนั้นๆ เช่น หากระบุว่า 1,000 W ก็หมายความว่า เมื่อใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้า 1,000 วัตต์ ส่วนจะคิดเป็นค่าไฟเท่าไหร่นั้นสามารถคำนวณได้ดังนี้

ค่าไฟฟ้าต่อชั่วโมง (บาท) = (จำนวนวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้า x ค่าไฟต่อยูนิต)/1000

ค่าไฟฟ้าต่อชั่วโมง (บาท) = (1,000 W X 3.9* )/ 1,000

ค่าไฟฟ้าต่อชั่วโมง (บาท) = 3.9

ดังนั้น หากใช้ไฟฟ้าต่อเนื่องติดต่อกัน 1 ชั่วโมง จะต้องเสียค่าไฟฟ้าชั่วโมงละ 3.9 บาท

*ราคาค่าไฟต่อยูนิตจะขึ้นอยู่กับไฟฟ้าที่เราใช้บริการและอัตราการคิดจะมีความแตกต่างกันซึ่งยังไม่รวมค่าบริการอื่น 

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มักจะใช้งานอยู่เป็นประจำ

1.เครื่องปรับอากาศ

เครื่องปรับอากาศ จะกินไฟอยู่ที่ 1,200-3,300 วัตต์ แล้วแต่ขนาดที่เลือกใช้ คิดเป็นค่าไฟประมาณ ชั่วโมงละ 5-13 บาท เคล็ดลับที่จะช่วยประหยัดไฟคือ ควรเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดเหมาะสมกับห้อง ไม่ติดตั้งใกล้วัตถุไวไฟ ขณะใช้งานควรปิดหน้าต่างให้มิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้ความเย็นรั่วไหลจนทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนัก ติดตั้งผ้าม่านเพื่อป้องกันความร้อนจากภายนอก และควรตั้งอุณหภูมิไม่ต่ำจนเกินไป หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ หากอากาศไม่ร้อนมากก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน ไม่ใช้ก็ไม่ต้องเปลืองไฟนั่นเอง

2. หม้อหุงข้าว

หม้อหุงข้าว เป็นของคู่บ้านที่มีกันแทบทุกบ้านอย่างขาดไม่ได้ ซึ่งจะกินไฟประมาณ 450 – 1,500 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ ชั่วโมงละ 2 – 6 บาท วิธีที่จะช่วยประหยัดไฟฟ้าก็คือ ควรเลือกขนาดหม้อหุงข้าว ให้พอดีกับคนในครอบครัว หุงข้าวในปริมาณที่เพียงพอต่อการกินในแต่ละมื้อ โดยไม่หุงเกินความจำเป็น หลังจากหุงข้าวเสร็จทุกครั้งควรถอดปลั๊กไฟ และตรวจสอบแท่นความร้อนที่อยู่ภายในหม้อให้อยู่ในสภาพใช้งาน หมั่นทำความสะอาดไม่ให้มีข้าวเกาะเพราะจะทำให้ข้าวสุกช้า ซึ่งเป็นสาเหตุของการเปลืองไฟมากขึ้น

3.เตาไมโครเวฟ

เตาไมโครเวฟ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความสำคัญกับคนยุคใหม่ไม่น้อย นิยมใช้สำหรับอุ่นอาหารเพราะใช้งานได้สะดวก และรวดเร็ว โดยจะกินไฟประมาณ 100 – 1,000 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ ชั่วโมงละ 0.4 – 4 บาท เคล็ดลับที่จะช่วยประหยัดไฟ คือ การกำหนดความร้อนให้มีความเหมาะสมกับอาหารที่ต้องการอุ่น เลือกภาชนะก้นแบนหรือภาชนะที่แถมมากับเครื่องเพราะสามารถรับความร้อนได้ดีกว่า เลือกใช้เวลาให้เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงการเปิด –  ปิดฝาบ่อยๆ หมั่นทำความสะอาด และหลังการใช้งานทุกครั้งควรถอดปลั๊กให้เรียบร้อย 

4.เครื่องดูดฝุ่น

เครื่องดูดฝุ่น จะกินไฟอยู่ที่ 750-1,200 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ ชั่วโมงละ 3 – 5 บาท เพื่อให้เครื่องทำงานได้มีประสิทธิภาพและกินไฟน้อยลงควรเทฝุ่นออกทุกครั้ง และไม่ควรใช้งานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะจะทำให้เครื่องร้อนเกินไปจนอาจจะเกิดความเสียหายขึ้นได้ และอย่าลืมตรวจสอบเต้าเสียบไม่ให้เกิดการชำรุดเสียหาย ถอดปลั๊กทุกครั้งหลังการใช้งาน ก็จะช่วยประหยัดไฟเพิ่มขึ้น

5.เครื่องซักผ้า

เครื่องซักผ้า คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความจำเป็น จึงทำให้มีการพัฒนาเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะรุ่นที่มีเครื่องอบผ้าที่จะกินไฟฟ้ามากเป็นพิเศษ ประมาณ 3,000 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ ชั่วโมงละ 12 บาท เคล็ดลับที่จะช่วยประหยัดไฟก็คือ ควรปฏิบัติตามคู่มือ ใส่จำนวนเสื้อผ้าให้มีความเหมาะสมกับตัวเครื่อง ไม่มากหรือน้อยไป และหากมีแค่ 1 – 2 ชิ้น ควรซักด้วยมือแทน หมั่นตรวจสอบปลั๊กไฟ และตัวเครื่องให้อยู่ในสภาพดี และถอดปลั๊กทุกครั้งหลังใช้งานเสร็จเรียบร้อย            

ผ่านไปแล้วกับวิธีการคำนวณค่าไฟและวิธีการประหยัดไฟฟ้าในเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่างๆ โดยเฉพาะการคำนวณค่าไฟ ที่สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแต่ต้องรู้ก่อนว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนั้นๆใช้ปริมาณไฟเท่าไหร่ และไฟฟ้าที่คุณใช้บริการ มีการคิดอัตราค่าไฟฟ้าต่อ ยูนิต หรือที่เรามักจะเรียกกันง่ายๆ ว่า หน่วย อย่างไร คิดในราคาเท่าไหร่ ก็จะช่วยให้คำนวณได้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น และหากคุณไม่ต้องการเสียค่าไฟฟ้าแพงก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ให้น้อยลง หรือใช้ด้วยความประหยัด เหมาะสม ถูกต้อง เพื่อจะได้เหลือเงินในกระเป๋าให้มากขึ้นนั่นเอง         

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้