วิธี แก้ไข ป้องกัน ในการใช้สื่อ

เป็นที่รู้กันดีว่าในยุคปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก และสื่อดังกล่าวก็เปรียบเสมือนดาบสองคมที่มีทั้งด้านบวกและด้านลบ อย่างในกรณีที่มีการเผยแพร่เนื้อหาแสดงออกถึงความรุนแรง เช่น การทำร้ายตัวเอง ทำร้ายผู้อื่น หรือการถ่ายทอดสดแสดงการฆ่าตัวตาย เป็นต้น ล้วนเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข

ในส่วนของปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์และปัญหาการฆ่าตัวตายมีความสัมพันธ์กันหรือไม่นั้น

แพทย์ระบุว่าการเผยแพร่ข้อความหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงรวมถึงการฆ่าตัวตาย ส่งผลโดยตรงในเรื่องของการเรียนรู้ในสังคม โดยเฉพาะอิทธิพลที่มีต่อเด็กและวัยรุ่นที่ยังรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่มีทักษะการแก้ไขปัญหาที่ดีพอ อาจมีการเลียนแบบพฤติกรรมได้ เนื่องจากคิดว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในเรื่องของการฆ่าตัวตายก็ต้องมีปัจจัยหลายอย่างร่วมด้วย นอกเหนือจากเลียนแบบพฤติกรรมตามเนื้อหาที่เผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ โดยปัญหาที่เกิดมากที่สุดมักเกิดกับวัยรุ่นโดยเฉพาะ เนื่องจากความสามารถของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการยับยั้งชั่งใจยังพัฒนาได้ไม่เท่ากับด้านของอารมณ์ ทำให้ขาดความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น

ในวัยรุ่นเองก็มีความเครียดที่ค่อนข้างหลากหลาย เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลายด้าน ทั้งในด้านสรีระที่เปลี่ยนไป หรือในด้านความรับผิดชอบที่เพิ่มมากขึ้นจากในวัยเด็ก รวมถึงเรื่องเพื่อนที่มีอิทธิพลต่อเด็กวัยนี้ค่อนข้างมาก เริ่มมีความรัก หรือมีความสนใจบางอย่างเป็นพิเศษ ส่งผลให้เกิดความเครียดและการแสดงออกทางพฤติกรรมได้ และการใช้สื่อสังคมออนไลน์ก็มีส่วนต่อการแสดงออกทางพฤติกรรมค่อนข้างมาก

การดูแลเกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์สำหรับเด็กวัยรุ่นคือ

ผู้ปกครองควรเฝ้าสังเกตอยู่ห่างๆ อาจใช้สื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับเด็กแต่ไม่ควรแสดงตัวตนมากนัก เนื่องจากการแสดงตัวมากไปอาจทำให้เด็กถอยหนีซึ่งส่งผลต่อการควบคุมที่ยากขึ้น คอยสังเกตดูว่าเด็กมีความสนใจในด้านไหน กดไลค์เนื้อหาประเภทใด และคอยให้คำแนะนำตามความเหมาะสม รวมถึงผู้ปกครองควรกำหนดเงื่อนไขการใช้งานอินเตอร์เน็ตของเด็ก เพื่อควบคุมปริมาณการใช้งานไม่ให้มากจนเกินไปและส่งผลเสียในที่สุด

ในเรื่องของการถ่ายทอดสดฆ่าตัวตายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงการเผยแพร่ข้อความที่เป็นสัญญาณในการฆ่าตัวตาย ที่ปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากผลสำรวจพบว่ามีการฆ่าตัวตายสำเร็จเพิ่มมากขึ้น แต่ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าเกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์หรือไม่ และพบว่าคนที่มีพฤติกรรมเผยแพร่เนื้อหาทำนองนี้ อาจเกิดจากแรงจูงใจบางอย่าง เช่น การได้รับคอมเมนต์ หรือการได้รับการกดไลค์ รวมถึงผู้เผยแพร่อาจมีอาการทางจิตเวชอย่างอื่นร่วมด้วย จึงส่งผลให้มีพฤติกรรมการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม

นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งภาวะที่น่าสนใจและควรทำความรู้จัก

เกี่ยวข้องกับการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์และอาการทางจิตเวชเรียกว่า Facebook Depression Syndrome หรือภาวะซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ค ซึ่งจะมีลักษณะ ดังนี้

  1. มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความเป็นจริงที่เป็นสุขของเพื่อนๆ ใน Facebook
  2. ตกเป็นเหยื่อทางอารมณ์ของกิจกรรมชีวิตประจำวันของผู้อื่น
  3. มักเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของตนเองกับเพื่อนๆ อยู่เสมอ
  4. มักเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ของตนเองอยู่เสมอเพื่อเรียกร้องความสนใจ
  5. รู้สึกกระวนกระวายใจเมื่อไม่สามารถเช็คข้อความข่าวสาร หรือสถานะของตัวเองได้เหมือนที่ทำเป็นปกติ
  6. มักอัพเดทสถานะแบบดึงดูด หรือโพสต์บทความต่างๆ เช่น ข้อความขำขัน ข้อความแหลมคม

ทั้งนี้ทั้งนั้นอาการดังกล่าวเป็นเพียงสัญญาณของการเกิดภาวะซึมเศร้าจากเฟสบุ๊ค แต่ยังไม่ใช่ผลวินิจฉัยทางโรคจิตเวช และผู้ที่มีพฤติกรรมดังกล่าวอาจมีอาการป่วยทางจิตเวชอยู่แล้ว เช่น ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแล้วมาใช้งาน Facebook จึงมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงภาวะซึมเศร้า แต่อาจไม่ใช่อาการที่เกิดขึ้นจาก Facebook เสียทีเดียว

ในด้านของปริมาณการใช้อินเตอร์เน็ตนั้นยังมีความสัมพันธ์กับอาการซึมเศร้าด้วย รวมถึงอาการทางจิตเวชอื่นๆ เช่น วิตกกังวล ก้าวร้าวรุนแรง มีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น แต่ยังไม่จัดว่าเป็นโรคเสียทีเดียว เพียงแต่ส่งผลให้มีบุคลิกในอีกรูปแบบหนึ่ง สืบเนื่องมาจากการเสพติดสื่อออนไลน์

การควบคุมปริมาณการฆ่าตัวตายที่เผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์

คนในครอบครัวคือบทบาทที่สำคัญที่สุด โดยการสอดส่องดูแลพฤติกรรมของคนในครอบครัว สังเกตว่านิสัยใจคอเปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไร หรือมีอาการเก็บตัวหรือไม่ รวมถึงการเรียนถดถอยลงไหม ไปจนถึงพฤติกรรมการทานอาหาร การเข้านอน และที่สำคัญคือปริมาณการใช้สื่อออนไลน์ในปริมาณที่มากเกินไปหรือเปล่า

ข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อส่งผลด้านบวก

คือควรเลือกสื่อที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก เหมาะสมกับการเรียนรู้ในแต่ละช่วงวัย และใช้ในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป รวมถึงพยายามดูแลคนในครอบครัวไม่ให้ละเลยความรับผิดชอบในภาระหน้าที่ต่างๆ อย่างการเรียนหรือการทำงานบ้าน อันเนื่องมาจากการเสพติดสื่อออนไลน์

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | Big Story ปัญหาการใช้สื่อออนไลน์ของวัยรุ่นกับปัญหาสุขภาพจิต” ได้ที่นี่

YouTube: //youtu.be/dhf5tCRVSKA

ฆ่าตัวตาย ติดโซเชียล ออนไลน์ สังคมออนไลน์ Facebook Depression Syndrome ภาวะซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ค สื่อสังคมออนไลน์

4 วิธีของเด็ก - 6 วิธีสำหรับผู้ใหญ่ ป้องกันอันตรายจากเน็ต

 อินเตอร์เน็ตถือเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมและอยู่ใกล้ชิดเยาวชนมากที่สุด ช่วยให้เยาวชนสามารถค้นคว้าหาความรู้และสาระได้อย่างเท่าเทียมกับอารยประเทศ แม้มีประโยชน์มากมายแต่ก็ยังมีอันตรายไม่น้อยสำหรับเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลายเป็นแหล่งก่อให้เกิดปัญหาการล่อลวงเด็ก และเกิดความเสียหายกับตัวเด็ก ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีข้อเสนอ 6 แนวทางสำหรับผู้ใหญ่ และ 4 แนวทางสำหรับเด็กในการป้องกันอันตรายจากอินเตอร์เน็ตที่มีกับเด็ก ลดช่องว่างด้านเทคโนโลยี และสกัดกั้นความเสียหายต่ออนาคตของชาติ จากผู้ใช้ในเมืองไทย 4.5 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นเยาวชน

ส่วนของพ่อแม่ ผู้ปกครอง... 

1. ไม่ควรปล่อยให้เยาวชนหรือบุตรหลานเล่นอินเตอร์เน็ตตามลำพัง 

2. กระตุ้นให้เด็กเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็นในอินเตอร์เน็ตให้กับผู้ปกครองได้รับทราบ และขอคำปรึกษาเมื่อพบกับปัญหา 

3. ทำความเข้าใจกับเด็กเกี่ยวกับการใช้อินเตอร์เน็ต เพื่อป้องกันเด็กจากเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม 

4. แนะนำเด็กในการใช้อีเมล์ และให้ตรวจสอบหรือสอบถามเกี่ยวกับการส่งอีเมล์ที่ส่งมาให้เด็กอยู่เสมอ 

5. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้แชตรูม หรือห้องสนทนาเกี่ยวกับข้อมูลที่เด็กควรปกปิดไว้ ไม่ควรบอกให้คู่สนทนารู้ เช่น นามสกุล ที่อยู่ 

6. ควรวางคอมพิวเตอร์ที่เด็กใช้ไว้ในที่เปิดเผย เช่น ห้องนั่งเล่น มากกว่าที่จะวางไว้ในห้องนอน หรือห้องส่วนตัว

สำหรับเยาวชน มีข้อควรระวัง... 

1. ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน ให้แก่บุคคลอื่นที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ต 

2. แจ้งให้ผู้ปกครองทราบโดยทันทีที่พบข้อมูลหรือรูปภาพใดๆ บนอินเตอร์เน็ตที่หยาบคายไม่เหมาะสม 

3. ไม่ไปพบบุคคลใดก็ตามที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ตโดยไม่ขออนุญาตจากผู้ปกครองก่อน 

4. ไม่ส่งรูปหรือสิ่งของใดๆ ให้แก่ผู้อื่นที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้ขออนุญาตจากผู้ปกครองก่อ

ข้อเสนอแนะว่าจะใช้ “ เน็ต ” อย่างไรให้ปลอดภัย 

1. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่นชื่อนามสกุลจริง ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน 

2. ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตนเองและคนในครอบครัวให้ผู้อื่น 

3. ไม่ควรโอนเงินให้ใครอย่างเด็ดขาด นอกจากจะเป็นญาติสนิทที่เชื่อใจได้ จริงๆ 

4. ไม่ออกไปพบเพื่อนที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ต เพื่อป้องกันการลักพาตัว หรือการกระทำมิดีมิร้ายต่างๆ 

5. ระมัดระวังการซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ต รวมถึงคำโฆษณาชวนเชื่ออื่นๆ 

6. ควรบอกพ่อแม่ผู้ปกครองหรือคุณครู ถ้าถูกกลั่นแกล้งทางอินเตอร์เน็ต เช่น ได้รับอีเมล์หยาบคาย หรือถูกนำรูปถ่ายไปตัดต่อสร้างความเสียหาย 

7. ระลึกอยู่เสมอว่า บุคคลที่เรารู้จักทางเว็บอาจจะเป็นบุคคลที่ไม่พึงประสงค์ 

8. ระวังตัวทุกครั้งที่มีการลงทะเบียนสมัครสมาชิกกับเว็บต่างๆ เพราะเราอาจกำลังตกอยู่ในสายตาของ ผู้ไม่ประสงค์ดี ที่กำลังจับตามองอยู่   

9. ถ้าคนมาชวนสร้างรายได้ โดยทำธุรกรรมผ่านทางเว็บ ให้คิดเสมอว่ารายได้ที่สูงเกินความจริง อาจตกอยู่ กลลวงของผู้ประสงค์ร้าย 

วิธีป้องกันอันตรายจากการใช้อินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง

วิธีปกป้องตัวตน Digital บนโลกออนไลน์ทำอย่างไรบ้าง.
1. ตั้งรหัสผ่านที่เดายาก ไม่ใช้ซ้ำ และหมั่นเปลี่ยนอยู่เสมอ ... .
2. หมั่น Update ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์ ... .
3. หลีกเลี่ยงการใช้ Wi-Fi สาธารณะ ... .
4. อย่าแชร์ทุกอย่างที่คิด ก่อนแชร์ให้คิดก่อนเสมอ ... .
5. จดบันทึกประวัติการใช้งานทางการเงิน ... .
6. ตรวจสอบประวัติการใช้งานอินเทอร์เน็ตเสมอ.

นักเรียนใช้วิธีใดในการปกป้องตนเองจากภัยที่มาจากโลกออนไลน์

1. ห้ามโพสต์ข้อมูลที่ระบุตัวตนอย่างบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด เบอร์โทรศัพท์ เหล่านี้เด็ดขาด 2. ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวบนโซเชียลเน็ตเวิร์คและรับ add เฉพาะคนรู้จัก 3. การตั้งพาสเวิร์ดให้แข็งแรง เพราะตั้งพาสเวิร์ดง่ายๆก็มีโอกาสโดนแฮคได้ง่ายๆเช่นกัน

ข้อใดคือวิธีป้องกันบุตรหลานกับสื่อที่ไม่ปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต

1. ไม่ควรปล่อยให้เยาวชนหรือบุตรหลานเล่นอินเตอร์เน็ตตามลำพัง 2. กระตุ้นให้เด็กเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็นในอินเตอร์เน็ตให้กับผู้ปกครองได้รับทราบ และขอคำปรึกษาเมื่อพบกับปัญหา 3. ทำความเข้าใจกับเด็กเกี่ยวกับการใช้อินเตอร์เน็ต เพื่อป้องกันเด็กจากเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม

สามารถป้องกันอันตรายจากสื่อโฆษณาเพื่อการบริโภคได้อย่างไรบ้าง

- ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าเป็นแหล่งน่าเชื่อถือได้ และมีการรับรอง - หลีกเลี่ยงสื่อโฆษณาที่เกินความจริงและไม่ปลอดภัย การป้องกันตนเองจากสื่อโฆษณา - ไม่หลงเชื่อคาเชิญชวนในสรรพคุณของสินค้า โดยไม่มีการตรวจสอบ - เมื่อมีปัญหาสุขภาพหรือปัญหาใดๆ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่มีใบรับรอง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้