วิธี ทํา ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว

วัสดุ อุปกรณ์

เครื่องใช้จากกะลามะพร้าวจะมีความสวยงาม มีสัดส่วน มีคุณค่า มีราคาและใช้เวลาในการผลิตมากน้อยเพียงใด เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบจะมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ในการทำผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวมีดังนี้

1 เลื่อยใช้ตัดวัสดุต่าง ๆ เลื่อยที่นิยมใช้กันได้แก่เลื่อยตัดเหล็ก เนื่องจากกะลามะพร้าวมีความเหนียวและต้องการความละเอียด ควรเลือกใช้ชนิดฟันละเอียด 20-32 ซี่ ต่อนิ้ว เลื่อยรอใช้ในการตัดไม้เล็ก ๆ ผ่าเดือย ใช้เลื่อยรอปากไม้ และส่วนที่ต้องการความละเอียดประณีตเลื่อยฉลุ เป็นเลื่อยที่ใช้ในงาน ตัด เจาะวงกลมและส่วนโค้งต่าง ๆ

2 สว่าน เป็นอุปกรณ์เจาะรูเพื่อใส่สลักยึดชิ้นส่วน หรือเจาะพื้นผิวของกะลาก่อนใช้เลื่อนฉลุฉลุลาย  สว่านที่นิยมใช้กัน ได้แก่ สว่านมือ และสว่านไฟฟ้า บุ้ง ใช้ตกแต่งชิ้นงาน มีลักษณะเหมือนตะไบ ที่นิยมใช้กันอยู่มี 3 ขนาด ได้แก่ บุ้งแบน บุ้งท้องปลิง  บุ้งกลม

3. เครื่องขัด (มอเตอร์หินเจีย) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถทำงานได้รวดเร็ว เหมาะสำหรับผู้ที่มีความชำนาญในการใช้เครื่องและมีทักษะในการทำงานพอสมควร  ที่เครื่องขัดจะมี 2 หัว (ด้านที่ขัด) สามารถนำมาดัดแปลงใช้งานได้หลายลักษณะ เช่น ใช้ขัดผิวภายนอก ขัดภายใน ใช้ตัด เป็นต้น

4. เครื่องมือวัด ใช้วัดระยะทั่ว ๆ ไป เช่น ไม้บรรทัด สายวัด ฉากเหล็ก เครื่องมือแคะเนื้อมะพร้าวและขูดผิวกะลาด้านใน

5. เหล็กแทง เป็นอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง  ทำหน้าที่งัด  หรือแทงให้เนื้อมะพร้าวออกไดสะดวก

6. เหล็กขูดผิวกะลาด้านใน ประดิษฐ์เอง ใช้ขูดผิวกะลามะพร้าวด้านใน สามารถขูดในที่แคบ ๆ และลึกได้

7. วัสดุยึด คือ กาวชนิดต่าง ๆ ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของงาน ที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป ได้แก่ กาวลาเท็กซ์  กาวยาง  กาวตราช้าง

8. ค้อน เป็นอุปกรณ์ใช้ตอก ไม่ค่อยใช้กับการทำผลิตภัณฑ์โดยตรง แต่เป็นเครื่องมือช่วยประกอบ

9. กระดาษทราย ใช้ขัดผิดภายนอกของกะลาให้เรียบเป็นมัน ถ้าทำเป็นจำนวนมากขัดด้วยเครื่องขัดและปัดด้วยเครื่องขัดเพื่อให้เกิดผิวมันวาว ส่วนมากจะใช้ดินขัดเป็นตัวช่วย

10. อื่น ๆ เช่น ปากกา ดินสอ ยางลบ กระดาษ เป็นต้น

วิธีการผลิตโคมไฟ จากกะลามะพร้าว

ขั้นตอนที่ 1 คัดเลือกมะพร้าว

1. คัดเลือกมะพร้าวสำหรับทำดอกไม้กะลามะพร้าว ใช้กะลาแก่จัดทรงกลมเนื้อหนา ขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง ประมาณ 12 ซม.

2. คัดเลือกมะพร้าวสำหรับทำเกสรใช้กะลาแก่ลูกเล็ก (ซึ่งหายากพอสมควร) เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 – 6 ซม. จำนวน 5 ใบ

หมายเหตุ   ใช้กะลาทั้งหมดประมาณ 15 ลูก ในการทำดอกไม้โคมไฟเพื่อปักแจกัน

ขั้นตอนที่ 2 ขัดผิวกะลา

นำกะลาที่คัดแล้ว ขูดขุยให้เกลี้ยงตัดด้านบนเพื่อนำน้ำและเนื้อมะพร้าวออกให้เหลือเฉพาะเนื้อกะลา ต่อ จากนั้นนำไปขัดด้วยกระดาษทราย ขนาดเบอร์ 150 และ 320 ให้ผิวกะลาเรียบทั้งในและนอกตัวกะลา

ขั้นตอนที่ 3  ทำกลีบดอกไม้

1. นำกะลาที่ขัดผิวแล้วทั้งลูกมาวาดลวดลายกลีบดอก (ดอกชบา) จัดฟอร์มดอกไม้ให้เท่ากัน และสวยงาม ดอกไม้ 1 ดอกใช้กะลา 2 ลูก ขนาดลดหลั่นกัน เพื่อทำกลีบดอก กลีบใน กลีบนอก

2. เจียรกะลาตามลายกลีบดอกที่วาดไว้ กรีดกลีบดอกพร้อมเส้นก้านกลีบให้มีศิลปะ (เหมือนดอก ไม้จริง)

3. นำกลีบดอกไม้ที่วาดลาย มาเจาะรูลายดอก พร้อมทั้งเจาะกรีดลายกลีบดอกด้วยเลื่อยเล็ก เพื่อความสวยงามและความอ่อนช้อยในงานศิลปะ

ขั้นตอนที่ 4 ทำฐานดอกไม้

นำไม้มะพร้าวหรือไม้เนื้อแข็งหนา ประมาณ ½ ซม. เจียรเป็นรูปทรงกลมเจาะรู้ตรงกลางกะขนาดให้พอดีกับฐานหลอดไฟ ประกอบชุดหลอดไฟฟ้าได้

ขั้นตอนที่ 5 ทำตัวดอกไม้ (ดอกชบากะลามะพร้าว)

นำฐานดอกไม้และกลีบดอกชบาแต่ละชุดมาประกอบเป็นดอกชบากลีบชั้นในใช้กะลาขนาด

เล็ก กลีบชั้นนอกใช้กะลาขนาดใหญ่กว่า สลับกลีบดอกให้มีศิลปะสวยงามนำส่วนประกอบทุกขั้นตอนมาประกอบเป็นโคมไฟจะได้โคมไฟกะลามะพร้าวที่สวยงาม 

แหล่งอ้างอิง: 

//www.nidtep.go.th/quality/?name=news&file=readnews&id=22

กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าวบ้านควนขนุน

สถานที่ผลิต 215 หมู่ที่ 9 ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

ประธานกลุ่ม นางเรณู ชูพิทักษณาเวช

ประวัติความเป็นมา มนุษย์รู้จักมะพร้าวมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล มะพร้าวเป็นอาหารทำน้ำมัน และทำเป็นเครื่องปรุงอาหารหวานคาวนานาชนิดมะพร้าวจึงเป็นพื้นที่มนุษย์ทุก ชาติทุกภาษารู้จักคุ้นเคยเป็นอย่างดี กะลามะพร้าว ได้รับการประดิษฐ์เป็นจับปิ้งเพื่อห้อยเป็นเครื่องปกปิดอวัยวะเพศของเด็ก หญิงตัวน้อยได้อีกอย่างหนึ่งโดยทั่วไปเครื่องปกปิดอวัยวะเพศของเด็กหญิงนั้น ในหมู่ผู้มีฐานะ จะทำด้วยเงินทองหรือนาก แต่ข้าวบ้านที่มีความเป็นอยู่ไม่ดีนักก็ใช้จับปิ้งกะลาหรือเรียกว่าปิ้งพลกก็มากมะพร้าวจึงมีอรรถประโยชน์นานาประการ กะลามะพร้าวนั้นเคยทำเป็นของใช้ประเภท ขันตักน้ำกระบวยตักน้ำ และทำเป็นป้อยตวงข้าวสารสำหรับหุงข้าวกันมานาน เพิ่งจะหายไปเมื่อเร็วๆ นี้ คนบางคนที่ไม่กินเนื้อสัตว์ยามไปกินอาหารในงานต่าง ก็จะใช้กะลาใหม่ ๆใส่อาหารรับประทาน เสร็จแล้วก็โยนทิ้งไปทำนองเดียวกับการใช้ถ้วยชามโฟมในปัจจุบันนี้ ดังนี้จะเห็นว่ามะพร้าวหรือกะลามะพร้าวได้นำมาจัดทำผลิตภัณฑ์หลายชนิด ความสำคัญของกะโหลกกะลาในสมัยก่อนนั้นมีน้อยนิดเดียวจึงเกิดการเปรียบเปรยคน ที่ใช้ชีวิตอย่างไร้คุณค่า คือไม่ได้ทำอะไรเลย เพลไถลไปเรื่อยๆ จะถูกเรียกขานว่า “ไอ้พลกไอ้ต้อ” เป็นการบ่งบอกถึงความไร้ค่าเสมอด้วยกะลา

ความไม่แน่นอนเป็นสิ่งแน่นอนจริง ๆจึงก้าวมาถึงวันที่กะลาอันไร้ค่า เกิดมีค่าขึ้นมาในสายตาของนักประดิษฐ์มีการจัดการแปรรูปกะลาเป็นผลิตภัณฑ์ ที่เพิ่มคุณค่าได้มากหลายนอกจากทำเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนแล้ว ยังประดิษฐ์เป็นเครื่องตกแต่งบ้าน เครื่องประดับและเครื่องแต่งกายสภาพสตรี ออกแบบเป็นกระเป๋าถือ สภาพสตรี เข็มขัด เข็มกลัดปั่นปักผม สร้อย ที่เด่น ๆ ก็ได้แก่ โคมไฟฟ้าสามขา และตะเกียงเจ้าพายุนักประดิษฐ์ได้คิดค้นผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าวรูปแบบใหม่นานา ชนิด ซึ่งได้หลั่งไหลไปสู่ตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศอย่างไม่ขาดสาย

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์ ลักษณะที่โดดเด่นของผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว

1. เป็นผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นตำนานของปราชญ์ท้องถิ่น วิถีชีวิตชาวบ้าน ตลอดจนวัฒนธรรมที่ดีงามของการเรียนรู้

2. มีลักษณะโดดเด่นที่เน้นงานฝีมือของชาวบ้านที่สามารถพัฒนาและเพิ่มคุณค่าของวัสดุในท้องถิ่นและไม่ลายสิ่งแวดล้อม เป็นวิถีทางสังคมได้อย่างลงตัว

3. เป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สามารถพัฒนาสังคมแห่งการเรียนสังคม เอื้ออาทร สังคมภูมิปัญญาไปพร้อมกับการพัฒนารายได้ขยายการผลิตการตลาดอย่างกว้างขวาง และสามารถ ทำรายได้สู่ชุมชนและจังหวัดพัทลุงปีละหลายล้านบาทอีกทั้งวิถีชีวิตของชุมชน ยังส่งผลให้ธุรกิจการท่องเที่ยวเจริญเติบโดตามไปด้วย จะมีความนุ่มและสวยงามคงทนทำจากวัสดุธรรมชาติซึ่งหาได้ในพื้นที่

ความสัมพันธ์กับชุมชน จากภูมิปัญญามาเป็นรายได้ จากสิ่งที่อยู่เหมือนไร้ค่า ชาวบ้านไม่ให้ความสำคัญจนมีแนวนโยบายภาครัฐในการส่งเสริมภูมิปัญญาและ วิสาหกิจชุมชนมีการพัฒนาตามแนวทางโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการขายและการตลาดมากขึ้นเป็นที่รู้จักมากขึ้น ดำเนินการจัดตั้งกลุ่มเริ่มจากจำนวนสมาชิกน้อยผลิตของชิ้นเล็ก ๆ และได้พัฒนาฝีมือขึ้นมาตามลำดับ ผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของตลาดและได้พัฒนาฝีมือขึ้นตามลำดับประกอบกับมี ความรู้และประสบการณ์เดิมที่สั่งสมมาจากบิดา นายสาธิต ชูพิทักษณาเวช ได้คิดค้นประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามามีส่วนร่วมใน การผลิตรูปแบบของผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นอาชีพเสริมในการสร้างงานและสร้างรายได้ ให้กับครอบครัวและสมาชิก ปัจจุบันมีสมาชิกเพิ่มขึ้น จำนวน 30 คน มีการขยายการผลิต ขยายการตลาดมากขึ้น ได้รับการยอมรับในท้องถิ่น ตลาดในจังหวัดต่างจังหวัดและต่างประเทศรายได้เพิ่มขึ้นตามลำดับ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นความรู้ ความสามารถและทักษะดั้งเดิมของประชาชนในท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อ กันมาจากบรรพบุรุษซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้านที่ ได้รับการถ่ายทอดต่อกันมาจึงทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันธุ์เหมือนญาติพี่ น้องอย่างเหนียวแน่นกอรปกับการผสมผสานกับองค์ความรู้ใหม่ได้อย่างเหมาะสมกับ สถาพท้องถิ่น “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” จึงเป็นสิ่งสำคัญ มีคุณค่าควรได้มีการบันทึกเพื่อการอนุรักษ์และถ่ายทอดต่อชุมชนรุ่นหลังสืบไป

ขั้นตอนการผลิต การเตรียมวัตถุดิบ ขั้นแรกต้องหากะลามะพร้าวจากที่ใกล้ๆ ถ้าไม่มีต้องสั่งจากท้องถิ่นอื่น โดยนำมาคัดขนาดรูปร่างของลูกมะพร้าวตามที่ต้องการตามแบบที่ลูกค้าต้องการ หรือตามคำสั่งจัดการขูดเนื้อมะพร้าวออกจำหน่าย และรอขั้นตอนการจัดขึ้นรูป เมื่อขึ้นรูปแบบชิ้นส่วนประกอบตัวผลิตภัณฑ์เรียบร้อยแล้วตกแต่งด้วยการพ่นเล็คเกอร์ ขัดน้ำมันมะกอก หรือขัดเงากับผ้า จนดูเรียบร้อย สวยงาม ตามความเหมาะสมของเนื้องานและก่อนขั้นตอนการบรรจุภัณฑ์หรือรอการจำหน่าย ได้ดำเนินการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าทุกชิ้นโดยการตรวจดูความเรียบร้อย ถ้าเป็นโคมไฟต้องทดสอบความปลอดภัยของสายไฟ และหลอดไฟ ตลอดจนการใช้งานของผลิตภัณฑ์ก่อนส่งจำหน่ายถึงมือลูกค้า

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต ต้องเป็นกะลาที่แก่มากๆ เพราะจะไม่เป็นเชื้อราและหดตัว

แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การหาตลาดและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งซึ่ง ส่วนใหญ่คณะกรรมการกลุ่มจะทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรงต้องติดต่อประสานงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุนในการนำผลิตภัณฑ์กระจูดไปวางขายที่ตลาดภาย ในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัดห้างสรรพสินค้า และตลาด กรุงเทพฯ พร้อมทั้งนำออกแสดงและจำหน่ายในงานต่างๆเช่นงานแสดงสินค้าเมืองทองธานี กรุงเทพๆ ซึ่งเป็นที่สนใจของผู้ชมงานและผู้ส่งออกจนมีใบสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ตามมาเป็น จำนวนมากซึ่งกลุ่มมีกำลังการผลิตและแหล่งวัตถุดิบที่ยังสามารถเพิ่มปริมาณ การผลิตได้อีกเท่าที่ลูกค้าต้องการผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าวของกลุ่มและน่าจะมี อนาคตที่ยาวไกล ถ้าตราบใดที่ยังรวมกันเป็นกลุ่ม และปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเศษวัสดุจากกะลามะพร้าวและไม้ เป็นวัสดุที่มีอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากวิถีชีวิตต้องบริโภคเป็นประจำวัตถุดิบ ที่ไม่มีวันหมด

สถานที่จำหน่าย ศูนย์หัตถกรรมกะลามะพร้าวและสินค้า OTOP อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงสถานที่ตั้งบ้านเลขที่ 215 หมู่ที่ 9 ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โทร.0-7468-1217หรือสามารถติดต่อขอรายละเอียดผ่านทางสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอควนขนุน โทร 0-7468 -2000 ราคาจำหน่ายตั้งแต่ 10 – 5,000 บาท ขึ้นอยู่กับชิ้นงานต้นทุน ความยากง่าย และฝีมือ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้