บันทึกข้อความ ชี้แจง ข้อเท็จจริง

ขอค้าน … ถ้าใครว่าการทำ “หนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง” ง่ายกว่าการทำหนังสือชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา รวมทั้งเห็นว่าแนวคิดเรื่องการทำ “หนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง”เป็นเรื่องที่ง่ายนั้น เป็นสิ่งที่คิดผิด เพราะว่าการทำ “หนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง”ในเหตุร้องเรียนต่างๆ ผู้ชี้แจงข้อเท็จจริงจะมีเพียงข้อร้องเรียน โดยไม่มีการระบุฐานความผิดให้เป็นขอบเขตในการเขียนคำชี้แจงฯ ซึ่งต่างจากการทำหนังสือชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาที่ผู้ถูกกล่าวหา จะมีข้อกล่าวหาและฐานความผิดเป็นตัวกำหนดขอบเขตในการเขียนชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา

มือใหม่อาจ งง! กับความข้างต้น จึงใคร่ขออธิบายเพิ่มเติมว่าการทำ “หนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง”อาจไม่ใช่เรื่องยาก หากเป็นการชี้แจงข้อเท็จจริงเรื่องขาดงานหรือมาสาย ซึ่งท่านสามารถคาดการณ์ได้ว่าเป็นการชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความผิดฐานละทิ้งหน้าที่ราชการ ดังนั้น การวางโครงเรื่องของหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง ก็สามารถดำเนินการร่างคำชี้แจงฯ ตามองค์ประกอบความผิดฐานละทิ้งหน้าที่ราชการได้อย่างง่ายดาย

แต่เมื่อโลกแห่งความจริง ท่านยังต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชา และการทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง มิได้จำกัดเพียงเรื่องขาดงานหรือมาสาย ดังนั้น การไม่ระบุฐานความผิดให้เป็นขอบเขตแห่งการเขียนคำชี้แจงฯ จึงเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ชี้แจงข้อเท็จจริงไม่อาจเขียนคำชี้แจงข้อเท็จจริง เพื่อปกป้องตนเองได้ครบทุกฐานความผิดทางวินัย กระทั่งบางครั้ง อาจเกิดเป็นเรื่องที่น่าฉงนสงสัยว่า หลังจากชี้แจงข้อเท็จจริงไปแล้ว เหตุใดจึงมีการตั้งสอบวินัยติดตามมา

โปรดทราบ ! ผู้ถูกกล่าวหา / ผู้อุทธรณ์ สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับการแก้ข้อกล่าวหา / การอุทธรณ์ฯ ได้เพิ่มเติมที่ www. วินัย.com

หนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง คืออะไร

“หนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง” ในที่นี้คือหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง หรือบันทึกข้อความชี้แจงข้อเท็จจริงทางวินัย ซึ่งเป็นหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ทั้งในและนอกหน้าที่ราชการของเจ้าหน้าที่ผู้ถูกร้องเรียน ตามประเด็นการร้องเรียนในเรื่องต่างๆ หรือตามที่ผู้บังคับบัญชาสงสัยว่ามีการทำผิดวินัย

เนื่องจากกระบวนการต่างๆในชั้นสืบสวนข้อเท็จจริงนี้ ถือเป็นขั้นตอนภายในของฝ่ายปกครอง (ผู้บังคับบัญชา) เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเบื้องต้นว่ามีเจ้าหน้าที่ผู้ใด มีมูลอันควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยหรือไม่ ดังนั้น กระบวนการต่างๆในชั้นสืบสวนข้อเท็จจริง จึงยังมิได้มีผลกระทบต่อสิทธิหรือหน้าที่ใดๆของเจ้าหน้าที่ผู้ถูกร้องเรียน

เพราะหากผู้บังคับบัญชาเห็นว่าผลการสืบสวนข้อเท็จจริง เป็นกรณีไม่มีมูลความผิดวินัยก็ให้มีอำนาจยุติเรื่อง แต่หากเป็นกรณีที่มีมูลความผิดวินัยและมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแล้ว ก็ให้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยต่อไป ฉะนั้นแล้ว ในชั้นสืบสวนข้อเท็จจริง เจ้าหน้าที่ผู้ถูกร้องเรียน จึงยังมิใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากการสืบสวนข้อเท็จจริง อันที่จะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองแต่อย่างใด

รูปแบบหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง

ปกติแล้วผู้สืบสวนข้อเท็จจริงจะเป็นผู้กำหนดวิธีการและรายละเอียดในการชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ถูกร้องเรียนทำการชี้แจงข้อเท็จจริง โดยเบื้องต้นฝ่ายผู้สืบสวนมักจะกำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้ถูกร้องเรียนมาพบ และทำการชี้แจงข้อเท็จจริงด้วยวาจามากกว่าการเขียนชี้แจงข้อเท็จจริงเป็นหนังสือ ดังนั้น การชี้แจงข้อเท็จจริงในรูปแบบหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงหรือบันทึกข้อความชี้แจงข้อเท็จจริง ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นหลังจากที่เจ้าหน้าที่ผู้ถูกร้องเรียนไปพบผู้สืบสวนมาแล้ว และมีความประสงค์ต้องการทำรายละเอียดชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติม หรือเป็นกรณีที่ผู้บังคับบัญชาไม่แต่งตั้งผู้สืบสวน แต่ได้สั่งการเป็นหนังสือขอให้ชี้แจงข้อเท็จจริง ไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาโดยตรง ดังนั้น เพื่อเป็นการนำเสนอสาระต่างๆ เกี่ยวกับการจัดทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง เว็บวินัยฯ จึงขอนำเสนอรูปแบบการเขียนหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงทางวินัย ซึ่งแบ่งตามชนิดการร่างหนังสือ จำนวน 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. หนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงแบบ “เปิด” คือรูปแบบการร่างหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงที่ฝ่ายเจ้าหน้าที่ผู้ถูกร้องเรียนมีความมั่นใจทั้งในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย(กฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องที่ถูกร้องเรียน) หรือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อสั่งการที่ชอบด้วยระเบียบ กฎหมาย เช่น การเพิ่มชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน หรือการทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ กรณีบัตรหายหรือถูกทำลาย แม้เจ้าหน้าที่ผู้ถูกร้องเรียนปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบหลักเกณฑ์ของทางราชการ แต่หากผู้มาติดต่อราชการขาดความเข้าใจในระเบียบหลักเกณฑ์การปฎิบัติของทางราชการก็อาจเกิดข้อร้องเรียนได้ การชี้แจงข้อเท็จจริงในลักษณะเช่นนี้ ควรเปิดเผยข้อเท็จจริงให้หมดโดยไม่จำต้องปกปิดข้อเท็จจริงใด ซึ่งวิธีการอย่างง่ายในการร่างหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงรูปแบบนี้คือให้ทำการร่างตามลำดับการเดินทางของเอกสาร (คำขอทำบัตรฯ) โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการยื่นคำขอต่างๆของผู้ร้องเรียน กระทั่งถึงขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติ พร้อมทั้ง สรุปในตอนท้ายว่า เหตุต่างๆ ตามเรื่องร้องเรียนเป็นการดำเนินการตามระเบียบราชการเรื่องใด ข้อใด และคำขอของผู้ร้องขัดต่อระเบียบกฎหมายอย่างไร กับทั้งให้แนบเอกสารพยานหลักฐานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ประกอบท้ายหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง หรือบันทึกข้อความชี้แจงข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกต่อการเข้าชี้แจงข้อเท็จจริงด้วยวาจา หรือการมอบหมายบุคคลอื่น เข้าชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เพราะเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ถูกเสนอรวมไปพร้อมกับหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงแล้ว
  2. หนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงแบบ “ปิด” คือรูปแบบการร่างหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงที่ฝ่ายเจ้าหน้าที่ผู้ถูกร้องเรียน ยังไม่มีความมั่นใจในข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐาน รวมทั้งอาจเป็นกรณีที่ผลการตรวจพิสูจน์ยังไม่ยุติ แต่จำต้องชี้แจงข้อเท็จจริง ตามกรอบระยะเวลาที่ทางราชการกำหนด การเขียนหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงในลักษณะนี้ ผู้ร่างจะต้องไม่ทำการร่างหนังสือในลักษณะที่ผูกมัดตนเองเกินไป เพราะหากภายหลังปรากฏข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วได้ผลตรงข้ามกับการชี้แจงข้อเท็จจริงเดิม กรณีเช่นนี้อาจส่งผลร้ายต่อรูปคดีในชั้นสอบสวนทางวินัยได้ ดังนั้น การเขียนหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงในลักษณะปิดนี้ เจ้าหน้าที่ผู้ถูกร้องเรียน อาจทำการชี้แจงข้อเท็จจริงในลักษณะภาพรวม หรือตามแนวนโยบาย/วัตถุประสงค์โครงการ แต่ควรมีข้อความครบถ้วนถูกต้องตามหลักเกณฑ์การตอบเรื่องร้องเรียน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องสามารถจัดการตอบเรื่องร้องเรียนไปพลางได้ก่อน ซึ่งการเขียนหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงในลักษณะนี้ ผู้ร่างจะต้องมีความระมัดระวังในเรื่องการใช้ถ้อยคำ และการเชื่อมโยงของพยานเอกสารเป็นพิเศษ รวมทั้งจะต้องไม่หลงลืมในการทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมภายหลัง เมื่อมีข้อเท็จจริงใดยุติแล้ว

tips:หนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง

เคล็ดลับสำหรับการทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงนั้น หากเป็นเรื่องร้องเรียนที่คาบเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว ท่านต้องนำหน้าที่ราชการตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งหรือคำสั่งมอบหมายงาน มาประกอบการชี้แจงฯ เพื่อตัดเรื่องร้องเรียนให้ขาดก่อนว่าเป็นการร้องเรียนในเรื่องส่วนตัว หรือเรื่องในหน้าที่ราชการ จากนั้น จึงทำการชี้แจงข้อเท็จจริงตามรูปเรื่องที่เกิดขึ้น

แต่หากเป็นการชี้แจงข้อเท็จจริงในเรื่องทางวินัยที่คาบเกี่ยวกับคดีแพ่งและคดีอาญา ตัวอย่างเช่น การชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีการร้องเรียนเรื่องกู้ยืมเงิน / ร่วมลงทุนขายสินค้า หรือการเล่นแชร์ทองคำ แชร์อาหารเสริม แชร์ปุ๋ยเคมี ซึ่งพฤติการณ์ทางคดีอาจเป็นได้ทั้งเรื่องการกู้ยืมเงิน หรือร่วมลงทุน (คดีแพ่ง) หรือเรื่องฉ้อโกง(คดีอาญา) ดังนั้น การทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงในเรื่องทำนองนี้ ท่านควรเขียนอธิบายขั้นตอนและพฤติการณ์ต่างๆ ในการประกอบธุรกิจ เช่น พื้นฐานหรือประวัติทางค้า(เดิม) ขั้นตอนการสั่งซื้อ และการจำหน่ายสินค้า ภาพถ่ายการมีหน้าร้านเพื่อจำหน่ายสินค้า หรือ อธิบายเส้นทางการเงินของผู้ร้อง ว่ามีความเกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกับเจ้าหน้าที่ผู้ถูกร้องเรียนหรือไม่ อย่างไร เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาได้เห็นรูปเรื่องทั้งหมดว่าเป็นการกู้ยืม หรือร่วมลงทุน หรือฉ้อโกง เพราะพฤติการณ์ในเรื่องร้องเรียนบางเรื่อง อาจเกิดจากการเข้าใจผิด และอาจไม่เป็นความผิดทางวินัยก็ได้ ตัวอย่างเช่น การร่วมลงทุนจำหน่ายสินค้า ซึ่งผู้ร้องได้นำเงินมาร่วมลงทุนจำหน่ายสินค้ากับเจ้าหน้าที่ผู้ถูกร้องเรียน แต่ต่อมาภายหลังมีการขาดทุนมิได้รับประโยชน์ตามที่คาดหวัง หากข้อเท็จจริงมิได้มีการหลอกลวง หรือคดโกงกัน แต่เป็นเรื่องของการมีกำไรหรือการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นได้ตามปกติในทางการค้าแล้ว รูปเรื่องในลักษณะเช่นนี้ย่อมไม่มีมูลความผิดทางวินัยแต่อย่างใดครับ.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้