แม่น้ำโขง lasagongma spring

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 27 ก.พ.2564 สถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดดอนทราย และโขดหินโผล่พ้นน้ำมาเป็นจำนวนมากในแม่น้ำโขง ในพื้นที่ อ.เชียงของ และ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ทำให้การเดินเรือในแม่น้ำโขงเป็นไปได้อย่างยากลำบาก รวมไปถึงการทำการประมงในท้องถิ่น ซึ่งชาวประมงไม่สามารถนำเรือออกหาตามแหล่งน้ำที่เคยไปได้ เพราะปริมาณน้ำลดระดับลง ทำให้แหล่งที่อยู่อาศัยของปลาเปลี่ยนแปลงไป

นอกจากนี้ยังพบว่าเรือสินค้าในแม่น้ำโขง ทั้งฝั่งประเทศไทย และ สปป.ลาว เกยตื้นอยู่บนฝั่งหลายลำ เนื่องจากน้ำที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบการที่ท่าเรือต่างๆ ปิดตัวลง เพราะสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้เรือในแม่น้ำโขงหยุดเดินเรือในช่วงนี้ และทำให้การท่องเที่ยวในแม่น้ำโขงลดลงด้วย

นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว หรือครูตี๋ กลุ่มรักษ์เชียงของ กล่าวว่า ระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากเขื่อนในประเทศจีนปล่อยน้ำออกมาในปริมาณน้อย ส่งผลให้ประเทศที่อยู่ท้ายเขื่อนได้รับผลกระทบ ซึ่งในช่วง 2 ปีมานี้จะเห็นว่าหลายฝ่ายได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งด้านการเกษตรริมแม่น้ำ ระบบนิเวศ การประมง วิถีของชาวบ้านริมแม่น้ำโขงต่างได้รับผลกระทบทั้งหมด

อยากให้ทางการจีนมาศึกษาถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำที่ไม่เป็นธรรมชาติ เพราะการที่เขื่อนปล่อยน้ำตามใจไม่ได้ ทำให้เกิดผลกระทบเฉพาะการเดินเรือเท่านั้น แต่ส่งผลกระทบทุกด้าน ในส่วนความร่วมมือของกลุ่มนักอนุรักษ์ในลุ่มแม่น้ำโขง ทั้ง 8 จังหวัดที่ติดกับแม่น้ำโขงได้มีการยื่นหนังสือร่วมกับกลุ่ม กรรมาธิการแม่น้ำโขง หรือ MRC ซึ่งเป็นหน่วยงานของทางราชการแต่ละประเทศลุ่มแม่น้ำโขงได้รวมตัวกัน เพื่อทำหนังสือถึงทางการจีนเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยน้ำจากเขื่อนเพื่อให้แม่น้ำโขงกลับมามีระบบนิเวศที่ดีเช่นเดิม

ทางด้าน กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ แถลงเมื่อวันที่ 23 ก.พ.64 ที่ผ่านมาว่าสหรัฐ จะใช้ความร่วมมือในกรอบ Mekong- U.S. Partnership เพื่อส่งเสริมให้รัฐบาลและชุมชนท้องถิ่นในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงให้มีการพัฒนาอยางโปร่งใสตรวจสอบได้ โดยจะดำเนินการ Mekong Water Data Intiative และMekong Dam Monitor

พร้อมกันนี้สหรัฐมีความกังวล เกี่ยวกับระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่ลดลงอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับประเทศในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง และกรรมาธิการแม่น้ำโขง หรือ MRC จงร่วมกันเรียกร้องให้รัฐบาลจีนแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับน้ำในแม่น้ำโขงอย่างต่อเนื่องและทันสมัย รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการน้ำของจีน ตลอดจนกระตุ้นให้จีนร่วมมือกับประเทศในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงมากขึ้น

เนื่องจากสภาพพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่างประกอบด้วยแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขงจำนวนมาก มีพื้นที่ทางน้ำไหลของแม่น้ำสาขาที่ใหญ่ การจัดการระบบแม่น้ำแบบผสมผสาน (Integrated Basin Flow Management Programme-IBFM) ได้แบ่งแม่น้ำโขงออกเป็น 6 ช่วง (MRC 2009a) โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยลักษณะทางอุทกวิทยาและชลศาสตร์ ลักษณะการไหลของน้ำ ลักษณะภูมิประเทศของลุ่มน้ำ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดังแสดงใน รูปที่ 1

โดยแม่น้ำโขงช่วงที่ 1 เริ่มตั้งแต่แม่น้ำแม่น้ำหลานชางเจียง หรือลุ่มน้ำโขงตอนบนในประเทศจีน ซึ่งต้นกำเนิดของแม่น้ำโขงมาจากการละลายของหิมะบนที่ราบสูงทิเบตเป็นส่วนใหญ่ แล้วไหลผ่านมณฑลยูนนานซึ่งเป็นบริเวณที่มีการวางแผนสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำจำนวนมากและอาจส่งผลกระทบต่อการไหลของน้ำไปยังตอนล่างของแม่น้ำโขง

แม่น้ำโขงช่วงที่ 2 จากเชียงแสนถึงเวียงจันทน์และหนองคาย ลักษณะภูมิประเทศจะเป็นภูเขาและป่าไม้ มีพื้นที่เพียงเล็กน้อยสำหรับการพัฒนาการเกษตรถาวร และไม่มีแผนด้านการพัฒนาทรัพยากรน้ำ มีการศึกษาความเป็นไปได้ของการสร้างไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กสำหรับความต้องการไฟฟ้าในระดับท้องถิ่น โครงการที่น่าสนใจคือโครงการแม่น้ำอูนตอนบน ซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาที่ได้รับการพัฒนาเพื่อส่งออกพลังงานไฟฟ้าไปยังประเทศจีน

แม่น้ำโขงช่วงที่ 3 จากเวียงจันทน์และหนองคายไปยังปากเซ เป็นช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอุทกวิทยาของแม่น้ำโขง กล่าวคือแม่น้ำโขงช่วงที่ 2 ส่งผลกระทบต่อแม่น้ำโขงช่วงที่ 3 สาเหตุมาจากแม่น้ำสาขาสำคัญๆ 6 สาย ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงใน สปป.ลาว ได้แก่ แม่น้ำงึม แม่น้ำเทิน แม่น้ำหินบูน แม่น้ำเซบั้งไฟ แม่น้ำเซบางเฮียง และแม่น้ำเซโดน ส่วนทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงบริเวณประเทศไทยมี แม่น้ำสาขาสำคัญๆ 2 แม่น้ำ ได้แก่ แม่น้ำมูลและแม่น้ำชี

แม่น้ำโขงช่วงที่ 4 จากปากเซไปถึงกระแจะ (Kratie) ประเทศกัมพูชา ลักษณะทางอุทกวิทยาของแม่น้ำโขงในช่วงนี้ได้รับผลมาจากแม่น้ำสาขา ได้แก่ แม่น้ำเซกอง แม่น้ำเซซาน และแม่น้ำเซรย์ปกกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณการไหลเฉลี่ยรายปีเมื่อวัดที่กระแจะ

แม่น้ำโขงช่วงที่ 5 จากกระแจะไปยังพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ซึ่งมีความซับซ้อนทางด้าน ชลศาสตร์บริเวณทะเลสาบโตนเลสาบและทะเลสาบใหญ่ประเทศกัมพูชา ปริมาณน้ำกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ ไหลมารวมกับแม่น้ำโขงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุทกวิทยาและเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ

แม่น้ำโขงช่วงที่ 6 จากกรุงพนมเปญไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ ในช่วงนี้จะมีความซับซ้อนของการไหลของน้ำในแม่น้ำโขง ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง มีอิทธิพลต่อการรุกล้ำของน้ำเค็มจากทะเลจีนใต้ โดยเฉลี่ย 30-50 เปอร์เซ็นต์ มักเกิดอุทกภัยอยู่บ่อยครั้งในช่วงฤดูฝนของทุกปี ส่งผลกระทบต่อระบบโครงสร้าง ถนน และเขื่อนป้องกันตลิ่ง

รูปที่ 1 ทิศทางการไหลของแม่น้ำโขง 6 ช่วง

แม่น้ำโขงช่วงที่ 1

แม่น้ำโขงช่วงที่ 1 เริ่มจากต้นกำเนิดของแม่น้ำโขงมาจากการละลายของภูเขาหิมะในมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน และบริเวณเทือกเขาทางทิศเหนือของทิเบต ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำอีก 2 สาย ได้แก่ แม่น้ำแยงซีเกียง และแม่น้ำสาละวิน แม่น้ำโขงไหลลงทางทิศใต้ขนาบด้วยแม่น้ำแยงซีเกียงทางทิศตะวันออก และแม่น้ำสาละวินทางทิศตะวันตก แม่น้ำโขงไหลผ่านแก่งหินและซอกเขาโดยตลอด จนถึงบริเวณเมืองเชียงรุ้งจึงเป็นที่ราบเชิงเขา ผ่านมณฑลยูนนานเข้าสู่พรหมแดนที่มีแม่น้ำโขงกั้นระหว่าง สปป.ลาว และเมียนมาร์ จากนั้นก็ไหลลงสู่จุดร่วมระหว่างประเทศไทย สปป.ลาว และเมียนมาร์ หรือที่รู้จักกันในชื่อสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

แม่น้ำโขงที่ไหลอยู่ในประเทศจีนมีความยาวประมาณ 2,047 กิโลเมตร ส่วนที่ไหลอยู่ในทิเบตมีความยาวประมาณ 800 กิโลเมตร และส่วนที่เหลือความยาวประมาณ 1,247 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศของมณฑลยูนนานใกล้ชายแดนทิเบต มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงชันหรือลักษณะโตรกผาชันดังแสดงในภาพที่ 2-4 มีระดับความต่างของความสูงลำน้ำกว่า 800 เมตร ในช่วงตอนกลางของแม่น้ำในช่วงที่ไหลผ่านยูนนานเป็นระยะทาง 750 กิโลเมตร เนื่องด้วยลักษณะภูมิประเทศในมณฑลยูนนานมีความสูงชัน นำมาสู่แผนพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำ โดยสร้างเป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าแบบขั้นบันได (cascade dams) บนแม่น้ำโขง 8 โครงการ

แม่น้ำโขงช่วงที่ 2

ในขอบเขตของช่วงนี้จัดได้ว่าเป็นลุ่มน้ำโขงตอนล่าง เป็นส่วนที่ผ่านประเทศไทยที่อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ และอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ระยะทาง 84 กิโลเมตร ก่อนเข้าสู่ สปป.ลาว ผ่านเมืองหลวงพระบาง และไหลผ่านเป็นพรมแดนไทย-สปป.ลาว อีกครั้งหนึ่งที่อำเภอเชียงคานจังหวัดเลย ผ่านนครเวียงจันทร์และจังหวัดหนองคาย

ลักษณะของทางน้ำในภาคเหนือเป็นแก่งหินและหน้าผา ความกว้างของแม่น้ำไม่กว้างนัก ไหลผ่านภูเขาสองข้างไปจนสุดแดนไทย-สปป.ลาว ที่อำเภอเวียงแก่น และเป็นลักษณะเช่นนี้ไปจนถึง หลวงพระบางใน สปป.ลาว ส่วนสภาพแม่น้ำโขงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย แม่น้ำจะแผ่กว้าง ประกอบไปด้วยชายฝั่ง หาดทราย และเกาะแก่งจำนวนมาก

จากแผนการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงตอนล่าง 11 โครงการ Mekong River Commission Basin Development Plan (2009b) ในแม่น้ำโขงช่วงที่ 2 ครอบคลุม 6 โครงการ ได้แก่ เขื่อนปากแบง เขื่อนไซยะบุรี เขื่อนปากลาย เขื่อนหลวงพระบาง เขื่อนสานะคาม และเขื่อน ปากชม

รูปที่ 2 ลักษณะแม่น้ำโขงตอนบนในมณฑลยูนนาน

แม่น้ำโขงช่วงที่ 3

แม่น้ำโขงช่วงที่ 3 เริ่มตั้งแต่นครเวียงจันทร์ไหลผ่านแนวพรมแดนระหว่างประเทศไทย-สปป.ลาว ที่จังหวัดหนองคาย นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี จากนั้นไหลเข้า สปป.ลาว อีกตอนหนึ่งจนถึงเมืองปากเซ พื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตที่ราบสูงโคราช ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะเอียงลงไปทางตะวันออกเฉียงใต้ มีแม่น้ำสาขาสายสำคัญ คือ แม่น้ำมูลและแม่น้ำชี ไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี บริเวณตอนปลายของที่ราบสูงจะเป็นเนินกว้าง ลาดชันแยกจากลุ่มน้ำย่อยของทะเลสาบเขมร ส่วนใน สปป.ลาว มีแม่น้ำสาขาสายสำคัญๆ ที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง ได้แก่ แม่น้ำงึม แม่น้ำเทิน แม่น้ำหินบอน แม่น้ำเซบั้งไฟ แม่น้ำเซบั้งเหียง และแม่น้ำเซกอง

จากแผนการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงตอนล่าง 11 โครงการ ในแม่น้ำโขงช่วงที่ 3 ครอบคลุมเพียงหนึ่งโครงการ คือ โครงการเขื่อนบ้านกุ่ม ตั้งอยู่ห่างจากปากแม่น้ำโขงที่ กม. +919.50 แนวพรมแดนระหว่างไทย-สปป.ลาว ที่ตั้งเขื่อนอยู่ใกล้บ้านกุ่ม ต.ห้วยไผ่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ในฝั่งประเทศไทยและบ้าน Sou La แขวงจำปาสัก ในฝั่ง สปป.ลาว

แม่น้ำโขงช่วงที่ 4

แม่น้ำโขงช่วงที่ 4 เริ่มตั้งแต่ปากเซ สปป.ลาว ถึงกระแจะ (Kratie) ประเทศกัมพูชา จากแผนการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงตอนล่าง 11 โครงการ ในแม่น้ำโขงช่วงที่ 4 ครอบคลุม 4 โครงการ ได้แก่ โครงการเขื่อนลาดเสือ เขื่อนดอนสะโฮง เขื่อนสตึงเตร็ง และเขื่อนซำบอ และยังมีโครงการไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง ได้แก่ แม่น้ำเซกองที่ไหลมาจากประเทศเวียดนาม แม่น้ำเซซานที่ไหลมาจาก สปป.ลาว และแม่น้ำเซรย์ปกที่ไหลมาจากประเทศกัมพูชา หรือเรียกรวมกันว่าแม่น้ำ 3S แม่น้ำสาขาทั้งสามไหลมารวมกันลงแม่น้ำโขง ใกล้จังหวัดสตึงแตรง (Stueng Traeng) ประเทศกัมพูชา และมีส่วนสำคัญส่งผลกระทบต่อระบบอุทกวิทยาของลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ถัดลงมาจากแม่น้ำโขงช่วงที่ 4

แม่น้ำโขงช่วงที่ 5

แม่น้ำโขงช่วงที่ 5 เริ่มตั้งแต่กระแจะถึงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา หากดูจากแผนที่ประเทศกัมพูชาจะเห็นทะเลสาบเขมรหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าโตนเลสาบอยู่ตรงกลางประเทศ ทางตอนใต้ของทะเลสาบจะมีแม่น้ำที่สำคัญคือ “แม่น้ำทะเลสาบ” หรือ “แม่น้ำโตนเลสาป” (Tonle Sap River) ไหลลงมาเชื่อมกับแม่น้ำโขงที่ไหลลงมาจาก สปป.ลาว เข้ากัมพูชาทางตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นระยะทางยาว 500 กิโลเมตร แม่น้ำโตนเลสาปยังมีส่วนที่ไม่เชื่อมต่อกับแม่น้ำโขงทั้งหมด โดยแยกตัวออกมาเป็นแม่น้ำสายใหม่ไหลขนานกันทางตะวันตกมีชื่อว่า “แม่น้ำบาสัก” แม่น้ำบาสัก แม่น้ำ โตนเลสาป และแม่น้ำโขง จึงมาพบบรรจบกันที่พนมเปญ แสดงดัง รูปที่ 3

ลุ่มน้ำโตนเลสาบเป็นลุ่มน้ำที่มีพื้นที่ครอบคลุม 5 จังหวัดของประเทศกัมพูชา ได้แก่ จังหวัดกำปงธม กำปงซะนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมเรียบ ดังแสดงในภาพ ในฤดูฝน ปริมาณน้ำมหาศาลจะท่วมล้นแม่น้ำโขงจนดันน้ำเข้าสู่แม่น้ำโตนเลสาบ ไหลเข้าสู่ตัวทะเลสาบโตนเลสาป ทำให้น้ำในโตนเลสาปเพิ่มขึ้นจากฤดูแล้งมากกว่า 6 เท่า เดิมผิวน้ำโตนเลสาปกว้าง 2,500 ตารางกิโลเมตร ฤดูฝนก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 15,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรเพิ่มขึ้นเป็น 60 – 70 ลูกบาศก์กิโลเมตร เป็นผลดีต่อชลประทานในฤดูแล้ง สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับโตนเลสาปและเศรษฐกิจของประชากรรอบๆพื้นที่ ปลากว่า 300 ชนิดพันธุ์ในโตนเลสาปเลี้ยงชีวิตชาวกัมพูชาได้กว่าครึ่งประเทศ นกน้ำอีกกว่า 100 ชนิด และสัตว์น้ำอื่นๆ ในโตนเลสาปเป็นความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) ระดับน้ำไม่สูงเหมือนอดีตที่ผ่านมา เพราะผลกระทบที่เกิดจากการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่นับสิบแห่งทางตอนเหนือของแม่น้ำโขงทั้งในประเทศจีนและเวียดนาม ทำให้น้ำในแม่น้ำโขงที่ไหลลงทะเลสาบโตนเลสาบลดน้อยกว่าปกติและไม่เป็นไปตามธรรมชาติ

แม่น้ำโขงช่วงที่ 6

แม่น้ำโขงช่วงที่ 6 ตั้งแต่พนมเปญไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ ผ่านประเทศเวียดนาม ชาวเวียดนามเรียกว่า “แม่น้ำเก้ามังกร” พื้นที่ที่น่าสนใจของแม่น้ำโขงช่วงที่ 6 คือ สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง (Mekong Delta) ถือเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นหนึ่งในพื้นที่ปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุดในโลกก่อนไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ ตั้งอยู่ตรงบริเวณทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเวียดนาม เป็นบริเวณที่เกิดการสะสมตัวของตะกอนในลักษณะของดินดอนสามเหลี่ยม แสดงดัง รูปที่ 4

ปัจจุบันพบว่าดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงมีพื้นที่ 39,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นสัดส่วนโดยมากของพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเวียดนาม พื้นที่ของดินดอนสามเหลี่ยม ปากแม่น้ำโขงส่วนที่ถูกปกคลุมด้วยน้ำนั้นขึ้นกับแต่ละฤดู เพราะปริมาณน้ำไม่เท่ากัน จากการศึกษาพบว่าบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงมีการพัดพาของตะกอนมาสะสมประมาณ 790,000 -810,000 ตารางกิโลเมตรต่อปี <เกิดการพอกของตะกอนในลักษณะพอกคืบเข้าไปในทะเล รอบชายแดนของประเทศกัมพูชาและชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม โดยในปัจจุบันพบว่าลักษณะปรากฏของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมที่ครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง มีลำน้ำแตกออกเป็นเก้าสายก่อนไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ ดังแสดงใน รูปที่ 5

การประกอบอาชีพของประชากรในพื้นที่ โดยส่วนใหญ่จะมีอาชีพทำการประมงและการเกษตรเป็นวิถีชีวิตหลัก บริเวณที่ราบน้ำท่วมถึงและบริเวณปากแม่น้ำเป็นพื้นที่ปลูกข้าว ทำการประมงน้ำจืดเพื่อเลี้ยงชีพ และปลูกผลไม้ นอกจากนี้ยังมีการประกอบอาชีพธุรกิจท่องเที่ยวโดยอาศัยแม่น้ำโขงเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว ดูการใช้ชีวิตของชาวบ้าน และธุรกิจเรือท่องเที่ยว

ต้นน้ำแม่น้ำโขงอยู่จังหวัดอะไร

แม่น้ำโขง
แม่น้ำโขง บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
ระบบอุทกวิทยา
แอ่งสมุทร
มหาสมุทรแปซิฟิก
ระบบแม่น้ำ
ระบบแม่น้ำโขง
แม่น้ำโขง - วิกิพีเดียth.wikipedia.org › wiki › แม่น้ำโขงnull

แม่น้ำใดที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงแม่น้ำโขง / ปากน้ำnull

แม่น้ำโขงมีต้นกำเนิดมาจากที่ใด

Lasagongma Springแม่น้ำโขง / ต้นน้ำnull

แม่น้ำโขงมีความสําคัญอย่างไร

แม่น้ำโขงทำหน้าที่เสมือนเส้นเลือดหล่อเลี้ยงคนในภูมิภาคเอเซียตะวันเฉียงใต้ เป็นแหล่งทรัยากรน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค การเกษตร อุตสาหกรรม และการประมง แก่ประชาชนของทั้ง 6 ประเทศที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน ได้แก่ จีน สปป.ลาว เมียนมา ไทย กัมพูชา และเวียดนาม นอกจากมีความสำคัญที่เป็นแหล่งทรัพยากรน้ำและเส้นทางคมนาคมแล้ว แม่น้ำโขงยังมีความ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้