ขั้นตอนการไกล่เกลี่ยที่ศาล

เข้าใจผู้ที่เป็นหนี้ทุกท่านเลยนะครับ เพราะปัญหา โควิด, เศรษฐกิจ

และการบริหารบ้านเมืองแบบน่าเหนื่อยจิต มันฉุดทุกอย่างให้แย่ลง

แต่ไม่เป็นไรครับ ทุกปัญหามีทางออกเสมอ แม้อาจจะไม่ถึงขั้นกับแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

แต่ก็ผ่อนหนักเป็นเบาได้

ลูกหนี้ทุกท่านที่เริ่มไม่ไหว ยันเครดิตพังไปแล้ว และถึงขึ้นต้องถูกบังคับคดี

ยังพอมีหนทางผ่อนหนักเป็นเบาได้ครับ

หากตามคอลัมน์นี้มาตลอด ท่านคงเห็นผมแชร์โครงการต่าง ๆ จากแบงก์ชาติ

ที่ช่วยเหลือเยียวยาหนี้ให้ประชาชน ซึ่งหลายโครงการก็หมดโปรไปแล้ว

แต่ก็เอาเถอะ ยังมีวิธีการทั่วไป ตามสิทธิของลูกหนี้ให้พึงใช้อยู่ เพื่อขอไกล่เกลี่ยหนี้ ดังนี้

1. "ทางด่วนแก้หนี้" สำหรับท่านที่เริ่มจ่ายหนี้ไม่ไหว แต่ยังไม่เป็นหนี้เสีย

ให้ไปขอเข้าร่วมเลย เพราะเป็นหน่วยงานกลางจากแบงก์ชาติ ที่จะช่วยไกล่เกลี่ยหนี้ให้ท่าน

ให้ทุกคนเดินหน้าต่อไปได้ แบบต้นทุนต่ำที่สุด ซึ่งกว่า 1 ปีที่ผ่านมาช่วยเหลือได้มากกว่า 70%

ผู้สนใจโทร 1213 ได้เลย หรือเว็บไซต์ www.1213.or.th

2."ศูนย์ไกล่เกลี่ยหนี้ ของศาลยุติธรรม" อันนี้สำหรับลูกหนี้ที่เริ่มหยุดจ่ายแล้ว

และเจ้าหนี้ตามทวงยิก ๆ แต่ยังไม่ฟ้องดำเนินคดี ลูกหนี้มีสิทธิไกล่เกลี่ยหนี้ก่อนถูกฟ้องได้

โดยหากเจรจาตกลงหาจุดเหมาะสมระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้แล้ว

จะมีการบันทึกข้อตกลง หรือ คำพิพากษาตามยอม ใหม่สำหรับการชำระหนี้ต่อไป

ส่วนช่องทางการติดต่อมี 2 หน่วยงาน คือ "ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม"

โทร 025128498 ต่อ 2618 หรือ //mediation.coj.go.th อีกช่องทางคือ

"กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม" ติดต่อได้ที่สำนักงานศาลยุติธรรมจังหวัดทั่วประเทศ

หรือโทร 1111 ต่อ 77 รวมถึงช่องทางเว็บไซต์ //emediation.rlpd.go.th/

3."ไกล่เกลี่ยในชั้นศาล" กรณีนี้คือถูกฟ้องไปแล้ว เราก็ยังสามารถขอให้ศาลเป็นผู้ไกล่เกลี่ยได้

โดยจะมีบุคคลที่ขึ้นทะเบียนผู้ไกล่เกลี่ยของศาลมาเป็นคนกลางให้ และให้ความเป็นธรรมกับทั้ง 2 ฝ่าย

และหากตกลงกันได้ ศาลจะออกเป็น "คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ"

และกำหนดการชำระหนี้ใหม่ หากชำระเสร็จสิ้น ก็จะถอนฟ้อง ดังนั้นเมื่อถูกฟ้องแล้ว

มีหมายศาลแล้ว เราก็ยังขอเจรจาไกล่เกลี่ยที่ศาลได้นะครับ

แต่ถ้ามาถึงขั้นนี้แล้วยังจ่ายไม่ไหว เจ้าหนี้สามารถนำเรื่องไปออกหมายบังคับคดีได้เลย

ไม่ต้องฟ้องใหม่ เพราะถือว่ามีคำพิพากษาแล้ว ดังนั้นเวลาเจรจาต้องเอาที่เราไหวจริงๆ

ไม่ใช่พูดไปก่อนเรื่อยเปื่อย และหากไกล่เกลี่ยได้ตามต้องการ ก็ควรมีวินัยในการใช้หนี้เด้อ

4."ไกล่เกลี่ยก่อนบังคับคดี" ขั้นนี้คือ ศาลพิพากษาแล้ว แต่ยังไม่บังคับคดี

ลูกหนี้ก็มีสิทธิขอไกล่เกลี่้ยได้อีกครั้ง โดยไปที่ศาลหรือศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทกรมบังคับคดี

หากตกลงกันได้ก็บันทึกข้อตกลง แล้วชำระกันไปจนกว่าจะหมดหนี้

5."ไกล่เกลี่ยหลังบังคับคดี" ใช่ครับ ! แม้จะถูกบังคับคดีแล้ว ก็ยังสามารถขอไกล่เกลี่ยได้

โดยยื่นเรื่องที่ ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กรมบังคับคดี นั่นแหล่ะ โทร 1111 กด 79

หรือไปที่สำนักงานได้ทุกแห่ง ขั้นตอนนี้เพื่อเลี่ยงการถูกอายัดทรัพย์ เป็นการยื้อขั้นสุดท้าย

และเมื่อตกลงกันได้ ก็จะมีหมายงดการอายัดทรัพย์และขายทอดตลาด

เห็นไหมครับว่ายังมีวิธีการไกล่เกลี่ยหนี้ตามสิทธิพื้นฐานตั้ง 5 ขั้น ดังนั้นอย่าละเลย

รีบไปเจรจา อย่ารีบชิง ไม่มี หนี และไม่จ่าย เพราะสุดท้ายเป็นหนี้ยังไงก็ต้องใช้ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

อ้อ...ระหว่างที่เคลียร์หนี้เก่า ก็อย่าริไปสร้างหนี้่ใหม่เด้อ โดยเฉพาะนอกระบบเขาไม่ใจดีให้ไกล่เกลี่ยง่าย ๆ แน่นอน

ด้วยความห่วงไย หนึ่งเอง หนึ่งไง จะใครล่ะ ^^

“การบังคับคดี”

                กรมบังคับคดีมีภารกิจในการให้บริการด้านการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การชำระบัญชี การวางทรัพย์ และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะมีความเกี่ยวข้องกับประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ประชาชนได้เข้าใจในสิทธิของตนเองด้านการบังคับคดี ทั้งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายด้านการบังคับคดีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเข้าถึงบริการต่างๆของกรมบังคับคดี โดยกรมบังคับคดีมีบริการด้านต่างๆ ดังนี้

                บริการด้านการสร้างการรับรู้

  1. การให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายกู้ยืม ค้ำประกัน จำนำ จำนอง ขายฝาก วางทรัพย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน
  2. การให้ความรู้เรื่องการเสริมสร้างสุขภาพทางการเงิน
  3. การให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายด้านการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  4. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรมบังคับคดี เช่น พระราชบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย ฯลฯ

                บริการด้านการให้ความช่วยเหลือ

  1. การให้คำปรึกษากฎหมายด้านการบังคับคดี และธุรกิจ SMEs
  2. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี กลุ่มเปราะบาง ได้แก่ หนี้ครัวเรือน หนี้รายย่อย หนี้บัตรเครดิต หนี้ SMEs หนี้ กยศ. และหนี้เกษตรกร
  3. การจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs (SME Support & Rescue Center)

                บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

  1. LED Property Application ระบบค้นหาทรัพย์ขายทอดตลาด
  2. LED Property Plus Application ระบบค้นหาทรัพย์ขายทอดตลาดแนวเขตรถไฟฟ้า
  3. ระบบการตรวจสอบข้อมูลการอายัดเงินในคดี (LED Debt Info Mobile Application)
  4. ระบบการตรวจสอบบุคคลล้มละลาย (LED ABC Application Bankruptcy Checking Application)
  5. ระบบการประมูลขายทอดตลาดทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Offering Auction)
  6. ระบบยื่นคำร้องผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filling)
  7. ระบบการจ่ายเงินให้คู่ความและผู้มีส่วนได้เสียทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment)
  8. ระบบการวางเงินประกันด้วยบัตรเดบิต/เครดิต (EDC payment)
  9. ระบบนัดล่วงหน้า
  10. ระบบการถ่ายทอดสดการขายทอดตลาด (App LED Live Streaming)
  11. บริการข้อมูลข่าวสารผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ โดยการสแกน QR Code
  12. การสร้างฐานข้อมูลลูกหนี้ล้มละลาย
  13. การเผยแพร่รายชื่อบุคคลล้มละลายเพื่อป้องกันการทำธุรกรรมต่างๆ

                บริการด้านอำนวยความยุติธรรมลดความเหลื่อมล้ำ

  1. การเร่งรัดผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบการบังคับคดี ได้แก่ การขายทอดตลาดวันเสาร์ มหกรรมการขายทอดตลาด การค้นหาทรัพย์ประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สิน และรายงานผลการขายทอดตลาดทรัพย์สิน
  2. การบังคับโทษปรับคดียาเสพติด (Fast Track)
  3. การพัฒนาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กฎ ระเบียบ และคำสั่งด้านการบังคับคดี

การบูรณาการกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

  1. การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน

                - กรมบังคับคดี ได้บูรณาการความร่วมมือกับกระทรวงการคลัง สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน ในมิติที่ 3 การลดภาระหนี้นอกระบบด้วยการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ โดยกรมบังคับคดีได้กำกับติดตามให้ผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดีทั่วประเทศ ที่เป็นอนุกรรมการไกล่เกลี่ยและประนอมหนี้ในคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้นอกระบบประจำจังหวัดให้ความร่วมมือและให้ข้อมูลกับคณะอนุกรรมการฯ อย่างต่อเนื่องและเป็นประจำ

  1. เครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณ เพื่อเป็นสื่อกลางในการทำงานกับประชาชน
  2. การร่วมมือกับธนาคารของรัฐ ในการส่งเสริมศักยภาพให้กับลูกหนี้ชั้นบังคับคดี เช่น ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ธนาคารออมสิน

  1. ให้คำปรึกษากฎหมายด้านการบังคับคดีและรับเรื่องร้องเรียนร่วมกับ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

                - การออกบูธประชาสัมพันธ์

                - ลงพื้นที่ให้ความรู้ในชุมชนหรืออกหน่วยร่วมกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

“การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี”

                การไกล่เกลี่ย หมายถึง วิธีการระงับหรือยุติข้อพิพาทโดยมีบุคคลที่สามเรียกว่า “ผู้ไกล่เกลี่ย” ทำหน้าที่ในการช่วยเหลือเสนอแนะแนวทาง และเป็นสื่อกลางให้คู่กรณีหาทางออกของข้อพิพาทร่วมกัน โดยผู้ ไกล่เกลี่ยไม่มีอำนาจในการกำหนดข้อตกลงให้แก่คู่กรณี การจะตกลงหรือไม่เป็นการตัดสินใจของคู่กรณีเอง

                ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทกรมบังคับคดี

                มีหน้าที่ดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภายหลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว ทั้งก่อนการบังคับคดีและภายหลังจากที่มีการบังคับคดีแล้ว โดยผู้สนใจสามารถยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ยได้ที่กรมบังคับคดีและสำนักงานบังคับคดีทุกสาขาทั่วประเทศ

                ผลดีของการไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดี

  1. รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก
  2. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
  3. เป็นที่ยุติโดยการตัดสินใจของคู่กรณีเอง
  4. ข้อยุติที่ได้นั้นมีความเหมาะสมกับคู่กรณีเป็นความลับ
  5. ข้อตกลงระหว่างคู่กรณีสามารถบังคับได้
  6. รักษาความสัมพันธ์ระหว่างกันได้หรือก่อให้เกิดความสัมพันธ์ในระยะยาว
  7. มีความยืดหยุ่น
  8. ยังคงสิทธิในการบังคับคดี

               ขั้นตอนการไกล่เกลี่ย

                                ขั้นตอนที่ 1   คู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดียื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ย

                                ขั้นตอนที่ 2   เจ้าพนักงานผู้รับคำร้องอธิบายขั้นตอนการบังคับคดีและวิธีการไกล่เกลี่ย ให้คำแนะนำชี้แนะแนวทางในการแก้ปัญหาเบื้องต้นให้กับผู้ร้อง

                                ขั้นตอนที่ 3   กำหนดวันนัดไกล่เกลี่ย

                                ขั้นตอนที่ 4   มีหนังสือแจ้งวันเวลานัดไกล่เกลี่ยให้คู่กรณีทราบ

                                ขั้นตอนที่ 5   มาทำการไกล่เกลี่ยตามกำหนดนัด

                เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ย

  1. คำร้องขอไกล่เกลี่ย
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  3. หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณียื่นแทนผู้อื่น)
  4. สำเนาคำพิพากษาหรือหมายบังคับคดี
  5. เอกสารประกอบอื่นๆ (หากมี) เช่น สำเนาราบงานการยึดหรืออายัดทรัพย์ ประกาศขับไล่ ประกาศขายทอดตลาด ฯลฯ

                ผู้ร้องขอไกล่เกลี่ยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมใดๆ ทั้งสิ้น

ติดต่อกรมบังคับคดี
เว็บไซต์ www.led.go.th   
โทร. 0 2881 4999

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้