การบริหาร จัดการ เรียน รู้ของสถานศึกษา

�ô��ҹ����ԡҡ�͹�ʴ��������
1. ��ͤ����ͧ��ҹ�Т���ʴ����ѵ��ѵԷѹ�շ�����Ѻ������
2. �����ʵ� ��ͤ�������������Դ�����ع�ç�ҧ�ѧ�� ��ͤ������������Դ�����������������������µ�ͺؤ�ŷ�����, �������Ѿ��,
�ٻ�Ҿ�������������������Ǫ������Ҿ����͹Ҩ�� ���͡�з��֧ʶҺѹ�ѹ�繷����þ ��������駡�з���Ѻ�Դ�ͺ����ͧ
����Ѻ�Դ�ͺ����ѧ�� ����ٻ�Ҿ ���͢�ͤ�����觼š�з���ͺؤ����� ����ҹ�����������������´������˹�ҷ��
���͵���Ѻ��Ǽ���зӼԴ����
3. ��Ҫԡ����ʵ��������ҹ�� �Ҩ�١���Թ��շҧ�����¨ҡ������������
4. ���͹حҵ����ա���ɳ��Թ���� � ������ ��駷ҧ�ç��зҧ����
5. �ء�����Դ����繢�ͤ������ҧ����������������������駡�з������䫵� �ҧ���䫵� kroobannok.com �������ǹ����Ǣ�ͧ�� ������
6. �ҧ����ҹ��ʧǹ�Է���㹡��ź��з����������������ѹ�� ������ͧ�ա�ê��ᨧ�˵ؼ��� �����Ңͧ������繹�鹷�����
7. �ҡ������ٻ�Ҿ ���͢�ͤ���������������� ��س����ҷ�������� kornkham@hotmail.com ���ͷӡ��ź�͡�ҡ�к�����

 ** ����Ҫ�ѭ�ѵ���Ҵ��¡�á�зӼԴ����ǡѺ���������� �.�.����**

������㹤�������дǡ ���ͧ�ҡ��һ��ʺ�ѭ��
�ռ���ʵ��ͤ����������������������������繨ӹǹ�ҡ
��ٺ�ҹ�͡�ͷ����֧�ͤ������������Ҫԡ
��س��������к���͹�ʴ�������繤�Ѻ��Ѥ���Ҫԡ����

การบริหารการจัดการเรียนรู้

1.ความหมายและความสำคัญและองค์ประกอบของการบริหารการจัดการเรียนรู้

1.1.ความหมายของการบริหารการจัดการเรียนรู้

          การบริหารการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยคำสำคัญคือ คำว่า การเรียนรู้  การจัดการเรียนรู้และการบริหาร  เมื่อนำคำสำคัญทั้ง 3 คำว่า รวมกันเป็นคำเดียว คือ การบริหารการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การกระทำโดยการดำเนินงานอย่างเป็นระบบของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อให้การจัดการเรียนรู้ของครูบรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ และผู้เรียนเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้และเกิด ผลลัพธ์ทางการเรียนตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการจัดการศึกษา (ประเวศ เวชชะ,2561:635 )

1.2 ความสำคัญของการบริหารการจัดการเรียนรู้

          ความสำคัญของการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครู (ประเวศ เวชชะ,2561:636)

          1.ทำให้การจัดการเรียนรู้ของครูในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีระบบ มีมาตรฐาน และมีขั้นตอนการดำเนินการแบบเดียวกัน

          2.ทำให้คนสามารถใช้ทรัพยากรในการจัดเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน

          3.ทำให้คนในแต่ละกลุ่มสาระกลุ่มสาระการเรียนรู้สามารถผนึกกำลังใจการสร้างความร่วมมือร่วมแบ่งปันองค์ประกอบความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ระหว่างกันและกันได้

          4.ทำให้สถานศึกษามีระยะเวลาและงบประมาณในการจัดการเรียนรู้สามารถใช้ประโยชน์จากกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ ใช้ทรัพยากรอื่นร่วมกันได้

1.3 องค์ประกอบของการบริหารการจัดการเรียนรู้

          1)องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้

การจัดการเรียนรู้ มีหลายองค์ประกอบขึ้นอยู่กับแนวคิดทฤษฎีที่นำมาประยุกต์ใช้เป็นมุมมองหรือใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาที่สำคัญ ดังนี้

1. มุมมองจากทฤษฎีระบบ ที่จำแนกออกเป็น 3 ส่วน คือ 

1.1ตัวป้อน ได้แก่ครู ผู้เรียน หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะอดวก สื่อ กิจกรรม และวัสดุอุปกรณ์

1.2.กระบวนการ คือ การทำกิจกรรมต่างๆ ตามระดับขั้นตอนของผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมาย

1.3.ผลผลิต ได้แก่ผลการเรียนรู้เกิดขึ้นกับผู้เรียนทั้งที่เป็นความรู้ทักษะค่านิยมและคุณลักษณะอื่น ๆ

2.มุมมองทฤษฎีการสอน  การจัดการเรียนรู้มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือผู้เรียน บรรยากาศในชั้นเรียน

การปฎิสัมพันธ์ในชั้นเรียน

          3.มุมมองด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ของ Cronboch (มาลินี จุฑะรพ.2530:70-71;อ้างถึงใน ประเวศ เวชชะ,2561:638) กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้ต้องคำนึงถึงธรรมชาติของการเรียนรู้ ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 7 ประกอบ คือ

                    1)จุดประสงค์ในการเรียนรู้

                    2)ความพร้อมของผู้เรียน

                    3)สถานการณ์ในการเรียน เช่น บรรยากาศในชั้นเรียน สิ่งแวดล้อมในห้องเรียน เปาต้น

                    4)การแปลความหมายเพื่อนำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

                    5)ผลการตอบสนองต่อสถานการณ์หรือกิจกรรมการเรียน

                    6) ผลต่อเนื่องเช่น ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพติกรรมตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เป็นต้น

                    7)ปฏิกิริยาขัดขวางซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเรี ยน หรือทำให้การเรียนบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์

          4.มุมมองของหน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงศึกษาธิการ,2544:27อ้างถึงใน ประเวศ เวชชะ.2561:638-639) กล่าวว่าองค์ประกอบสำคัญของการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุผลสำเร็จสูงสุด 5 ประการ คือ 1)คุณลักษณะของครู 2)การจัดกระบวนการเรียนการสอน 3)การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน 4)การจัดสภาพแวดล้อมนอกชั้นเรียน 5) ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้ปกครองและชุมชน

2)องค์ประกอบของการบริหารการจัดการเรียนรู้

สามารถจำแนกได้หลายลักษณะโดยพิจารณาโดยใช้แนวคิดการบริหารแบบ “POLC”ของ Drucker เป็นองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ซึ่งเป็นงานหรือกระบวนการบริหารที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ มีอยู่ 4 ประการ คือ

1)การวางแผน (Planning) ประกอบด้วย การกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ และวิธีในการจัดการเรียนรู้โดยคำนึกถึงธรรมชาติของผู้เรียน ธรรมชาติของเนื้อชาติ และเป้าหมายของหลักสูตร และแผนพัฒนาการศึกษาทุกระดับ

2) การจัดองค์การ (organizing) ประกอบด้วย การจัดแบ่งสายงานและการจัดครูเข้าสอน และการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆให้เหมาะสมและสอดคล้องกับงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้การเรียนการรู้สามารถดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนงานของโรงเรียน

3)การชี้นำ(reading)ซึ่งจำแนกว่าเป็นองค์ประกอบย่อยได้อีก 2 ส่วน คือภาวะผู้นำ (leadership)และการจูงใจ(motition) โดยผู้บริหารสถานศึกษาต้องสามารถชี้นำ และกระตุ้นจูงใจ

ให้ครูตั้งใจและทุ่มเทให้งานการจัดการเรียนรู้อย่างเต็มความสามารถ

          4)การควบคุมกำกับ( Conlrolling)  เป็นการควบคุมกำกับการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามแผนงาน ความคาดหวังหรือมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้

2.หลักการและขอบข่ายในการบริหารการจัดการเรียนรู้

2.1หลักการบริหารการจัดการเรียนรู้

          หลักการบริหารการจัดการเรียนรู้มีอยู่ 3 ประการ คือ

ประการที่ หนึ่ง การบริหารการจัดการเรียนรู้ต้องยึดหลักความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างหลักการเรียนรู้กับหลักการจัดการเรียนรู้โดยให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักจิตวิทยาการเรียนรู้

ประการที่สอง การบริหารการจัดการเรียนรู้ต้องยึดหลักการตามหลักวิชาหลักสูตร เป้าหมายในการศึกษาและอื่น ๆหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าคือ ต้องให้ครูจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักวิชาในกลุ่มสาระที่รับผิดชอบ เป้าหมายของหลักสูตร และเป้าหมายในการจัดการศึกษาที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาระดับทุกระดับรวมทั้งนโยบายและทิศทางในการจัดการศึกษาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ประการที่สาม การบริหารการจัดการเรียนรู้ต้องดำเนินตามกระบวนการหรือขั้นตอนการบริหารโดยนำแนวคิดทฤษฎีทางการบริหารมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมสำหรับขบวนการหรือขั้นตอนในการบริหารการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นภารกิจทางการบริหารที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องการดำเนินการจัดการให้บรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพคือ

1)ต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย กลยุทธ์ และมาตราต่าง ๆเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาให้อย่างขัดเจนและสามารถนำไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จได้

2)ต้องมีการเตรียมความพร้อมของครูในด้านความรู้ ทักษะการจัดการเรียนรู้และการแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนรู้

3)ต้องมีการวางแผนและเตรียมการจัดการเรียนรู้ในระดับสถานศึกษาและระดับห้องเรียนอย่างเป็นระบบ เช่นการชี้แจงหลักสูตร การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดหาและผลิตสื่อ อุปกรณ์การจัดทำแบบทดสอบ เครื่องมือประเมินผล แบบรายงาน เป็นต้น

4)ต้องมีการกำหนดมาตราการและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับ การจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียน สถานการณ์ หลักจิตวิทยาการเรียนรู้ และอื่นๆ

5)ต้องมีการจัดระบบและการดำเนินการเกี่ยวกับการนิเทศกำกับติดตามและให้ความช่วยเหลือแก่ครูเพื่อให้สามารถจัดการเรียนรู้ให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายและมาตราฐานการศึกษา

6)ต้องมีการจัดระบบและการดำเนินการเกี่ยวกับการประเมิน การรายงานและการปรับปรุง การจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยเลือกใช้เครื่องมือและวิธีการประเมินที่เหมาะสม

2.2 ขอบข่ายงานการบริหารการจัดการเรียนรู้

ขอบข่ายงานที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องรับผิดชอบและดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ จำแนกเป็น 3 ลักษณะคือ

1)การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู

2)การสร้างบรรยากาศเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้  เช่น การจัดโต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ ป้ายแสดงผลงาน สิ่งประดับตกแต่ง เป็นต้น

3)การส่งเสริมสนับสนุนการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้

3.ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารการจัดการเรียนรู้

3.1ปัจจัยด้านการเรียนรู้

          ปัจจัยด้านการเรียนรู้จำแนกเป็น 2 ลักษณะคือ ปัจจัยด้ายการเรียนรู้และปัจจัยด้านการบริหารการจัดการเรียนรู้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

3.1 ปัจจัยด้านการเรียนรู้ 

จำแนกเป็นปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน ปัจจัยเกี่ยวกับบทเรียน  ปัจจัยเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนการสอน และปัจจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม  ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ คือ

          1) ปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน ประกอบด้วย วุฒิภาวะในความพร้อมและความสนใจในการเรียน  มีประสบการณ์เดิมในสิ่งที่เรียนมาก่อน   มีแรงจูงใจ  สติปัญญาสูง มีอารมณ์ที่ปกติ มีสภาพร่างกายพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เป็นต้น

          2)ปัจจัยเกี่ยวกับบทเรียน ประกอบด้วย ความยากง่ายของบทเรียน  ความยาวของบทเรียน และการมีความหมายของบทเรียนเป็นต้น

          3)ปัจจัยเกี่ยวกับวิธีการการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การใช้สิ่งจูงใจ การแนะแนวในการเรียน การส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการถ่ายโอนความรู้ และการกำหนดช่วงเวลาในการเรียน  การฝึกฝนและทำซ้ำซ้ำอยู่เสมอเพื่อให้เกิดความจำอย่างยาวนานมากขึ้น

          4)ปัจจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางการเรียน ประกอบด้วย การปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียน  การจัดสถานแวดล้อมในห้องเรียนให้เหมาะสม เป็นต้น

3.2 ปัจจัยด้านการบริหารการจัดการเรียนรู้

          การบริหารการจัดการเรียนรู้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของผูบริหารสถานศึกษาด้วยดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จนั้น ต้องมีปัจจัยความสำเร็จ ดังนี้

1)ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีวิสัยทัศน์ในการบริหารจัดการเรียนรู้  กล่าวคือต้องกำหนดวิสัยทัศน์การจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาและชี้แจงให้บุคลากรเข้าใจเพื่อนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องจนบรรลุผลสำเร็จ  กำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้ให้ชัดเจน กำหนดพันธกิจในการดำเนินงาน  กำหนดแนวทางในการนำกลยุทธ์มาใช้ในการบริหารจัดการเรียยนรู้  กำกับดูแลการดำเนินงานของให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ และประเมิน ปรับปรุงวิสัยทัศน์ ตามกรอบเวลาที่กำหนด

2)ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ  ซึ่งมีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน คือ ภาวะผู้นำทางการสอน  กล่าวคือผู้บริหารสถานศึกษาที่ดีต้องมีภาวะผู้นำทางการสอนสูงจะสามารถบริหารจัดการเรียนรู้ให้ประสบผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ครูจะยอมรับ เชื่อถือ และศรัทธา ตลอดจนมีความร่วมือปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย ในการจัดการเรียนรู้จนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายของโรงเรียน

3)ปัจจัยเกี่ยวกับทักษะและกระบวนการในการบริหาร โดยผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความรู้ความสามารถ หรือมีสมรรถนะในการบริหารโรงเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นอย่างดีทั้งในด้านทักษะและด้านกระบวนการบริหาร

กระบวนการบริหารการจัดการความรู้และจัดการชั้นเรียน

1.รูปแบบ กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้และกระบวนการบริหารการจัดการเรียนรู้

1.1รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้

1)รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เป็นแบบแผนในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลสำเร็จรูปสูงสุด  ซึ่งใช้เทคนิค วิธีการ ขั้นตอน กระบวนการในการจัดการเรียนการสอนที่ออกแบบให้สัมพันธ์กับแนวคิดทฤษฎีทางการศึกษา โดยพิจารณาและยึดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เป็นหลัก จำแนกได้ 3 กลุ่มคือ

1.1)รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด  มีวิธีการจัดการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่นการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา  การเรียนรู้แบบฉลาดรู้  การเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาคุณภาพความคิด การเรียนรู้แบบสรรค์สร้างความรู้ เป็นต้น

1.2)รูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วม มีวิธีการจัดการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่นการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมกลุ่ม  การเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นต้น

1.3)รูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาพฤติกรรมและค่านิยม  มีวิธีการจัดการเรียนรู้ต่าง ๆเช่นการเรียนรู้จาดสถานการณ์จำลอง  การเรียนรู้โดยการทำค่านิยมให้กระจ่าง การปรับพฤติกรรม เป็นต้น

2) กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ เสรีภาพหรือแบบแผนการจัดการเรียนรู้สึกกำหนดขึ้นอย่างรอบคอบและสามารถเรียกหรือจะเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเกิดผลลัพธ์ทางการเรียนตามเป้าหมาย

กลยุทธ์การเรียนรู้ จำแนกได้เป็น 4 ลักษณะคือ

2.1)กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้แบบทางตรง เป็นกลยุทธ์ที่เน้นบทบาทของครู ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการรับฟังข้อมูลหรือเนื้อหาสาระจากครู เช่น การฟังบรรยาย การสาธิต การซักถามเป็นต้น

2.2)กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้แบบทางอ้อม  เป็นตัวยึดที่เน้นบทบาทของผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างมีขั้นตอน ครูเป็นอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ เช่นการเรียนแบบสืบสวนสอบสวน การเรียนแบบค้นหา เป็นต้น

2.3) กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้แบบเน้นการปฏิสัมพันธ์  เน้นบทบาทของผู้เรียนในการสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลหรืออภิปราย เช่นการอภิปรายกลุ่ม  การระดมความคิดเห็น เป็นต้น

2.4)กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ เน้นบาทของผู้เรียนและกิจกรรมของผู้เรียนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนต้องวางแผนเพื่อนำสาระการเรียนรู้ไปประยุกต์ในบริบทอื่น ๆ  เช่นการศึกษาดูงานนอกสถานที่ สถานการณ์จำลอง เกม บทบาทสมมุติ เป็นต้น

1.2 กระบวนการบริหารการจัดการเรียนรู้

กระบวนการหรือขั้นตอนการบริหารจัดการเรียนรู้ ที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ มีอยู่ 2 ประการ คือ

ประการที่ หนึ่ง  ผู้บริหารสถานศึกษาต้องสร้างความตระหนักและส่งเสริมสนับสนุนครูให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบต่าง ๆ อย่างถ่องแท้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง หลากหลาย และเหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียน

ประการที่สอง ผู้บริหารสถานศึกษาต้องดำเนินการบริหารการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบโดยนำแนวคิดหรือทฤษฎีทางการบริหารที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้เนื่องจากในขณะนี้ยังไมปรากฎว่ามีแนวคิดหรือทฤษฎีที่ว่าด้วยกระบวนการบริหารการจัดการเรียนโดยเฉพาะ

2.การจัดการชั้นเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้

การจัดการชั้นเรียน หมายถึง การจัดกิจกรรมหรือการจะทำทุกอย่างที่คุณจะดำเนินการโดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

สำหรับการจัดการชั้นเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้จำแนกเป็น 3 ข้อดังนี้

2.1 การจัดชั้นเรียนด้านกายภาพ หมายถึง การจัดห้องเรียน สิ่งของและอุปกรณ์ต่าง ๆเช่นโต๊ะ เก้าอี้  อุปกรณ์ สื่อการเรียน เป็นต้น ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

2.2การเสริมสร้างวินัยในชั้นเรียน คือการปลูกฝังและขัดเกลาพฤติกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้วิธีการควบคุมตนเองอยู่ในระเบียบวินัยที่ โดยผู้บริหารสถานศึกษาต้องส่งเสริมสนับสนุนครูในการสร้างวินัยในชั้น

2.3 การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน  การเรียนที่มีบรรยากาศที่ดีจะช่วยให้การเรียนรู้เป้นไปอย่างราบรื่นและบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์

3.สมรรถนะที่จำเป็นในการบริหารการจัดการเรียนรู้

การบริหารการจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความรู้ความสามารถหรือมีสมรรถนะการเป็นผู้นำเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ดังนี้

3.1 สมรรถนะในการเป้นผู้นำ หมายถึง คุณลักษณะและขีดความสามารถในการบริหารการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกเป็น 2 ลักษณะคือ สมรรถนะในการเป็นผู้นำทางวิชาการ (academi  leadership)  และต้องเป็นผู้นำทางการสอน

3.2สมรรถนะในการเป็นผู้บริหารมืออาชีพ  

          สำนักงานข้าราชการพลเรือน ได้กำหนดคุณลักษณะและทักษะเฉพาะที่สำคัญของข้าราชการไทยซึ่งประกอบด้วยคุณลักษณะและทักษะ 11 ประการ และสมรรถนะขอกนักบริหารจำแนกเป็น 4 ด้าน ดังนี้

          คุณลักษณะและทักษะเฉพาะที่สำคัญของข้าราชการไทย 11 ประการ ได้แก่

1)ที่ทักษะในการใช้ความคิด

2)ทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์

3)บริหารทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

4)มีทักษะในการสื่อสาร

5)มีความน่าเชื่อถือและน่าไว้วางใจ

6)มุ่งเน้นให้บริการแบบโปร่งใส

7)มีจริยธรรม

8)มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานและทำงานอย่างมืออาชีพ

9)มีความสามารถในการแก้ปัญหา

10)ทำงานเป็นทีม

11)มีทักษะขั้นพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์

สมรรถนะของนักบริหาร 4 ด้านได้แก่

1)      การบริหารคน ได้แก่ ความสามารถในการปรับตัวให้หยึดหยุ่นทักษะใน การศื่อการและการประสานสัมพันธ์

2)      ความรู้ในการบริหาร ได้แก่ ความารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง การมีจิตมุ่งบริหารและการวางผผนกลยุทธ์

3)      การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ได้แก่ การมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้

4)      การบริหารอย่างมืออาชีพ ได้แก่ ความสามารถในการตัดสินใจ การคิดเชิงกลยุทธ์และความเป็นผู้นำ

สมรรถนะในการเป็นข้าราชการที่ดีและสมรรถนะของนักบริหารดังที่ สำนักงานข้าราชหารพลเรือนกำหนดไว้นี้ ถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการเป็นผู้บริหารมืออาชีพและมีอิทธพลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการเรียนรู้ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณลักษณะหรือมีสมรรถนะตามที่องค์กรวิชาชีพกำหนดไว้อย่างครบถ้วน

บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้

1.บทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู

ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทหน้าที่การส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูให้เกิดผลสำเร็จตามเปาหมายขของหลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้ รวมทั้งนโยบายและกฏหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ โดยสิ่งที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องดำเนินการประกอบด้วยการกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ การสร้างเสริมและพัฒนาครูให้มีคุณลักษณะที่ดีในการเรียนรู้ รายการพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ ดังมีสาระสำคัญ ซึ่งจะได้กล่าวถึงตามลำดับ ดังนี้

1.1   บทบาทในการกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้

วิสัยทัศน์และเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ที่ผู้บริหารสถานศึกษาควรถ่ายทอดและชี้แจงครูทุกคนให้เข้าใจตรงกันคือ จัดการเรียนรู้โดยยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้  จัดสาระการเรียนรู้โดยเน้นความสำคัญทั้งความรู้  จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน  ฝึกทักษะ กระบวนการคิด จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง  จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานความรู้ต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม  พัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสม กับผู้เรียนแต่ละระดับการศึกษา และนำขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของผู้เรียนเพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

1.2   บทบาทในการพัฒนาครูให้มีคุณลักษณะที่ดีในการจัดการเรียนรู้

ผู้บริหารสถานศึกษาต้องส่งเสริมและพัฒนาครูให้เป็นครูที่ดี มีความรับผิดชอบต่อการจัดการเรียนรู้ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน โดยครูต้องมีความรู้และความเข้าใจในกระบวนการจัดการเรียนรู้  รู้เทคนิคในการสื่อสารกับผู้เรียน  อีกทั้งสื่อการเรียนรู้และเทคโนโลยีเพื่อผู้เรียนเข้าใจสิ่งทีเรียนได้อย่างรวดเร็ว ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  ครูต้องรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ทางการเรียนของผู้เรียนด้วย

1.3   บทบาทในการพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ

การที่ครูจะจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครูต้องได้รรับการพัฒนาด้านทักษะ ความรู้ ความสามารถและการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องโดยผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีบทบาทและหน้าที่ในการพัฒนาครูให้สามารถทำหน้าที่เป็นเหมือนครูมืออาชีพ  คือ

1)ส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาความเป็นมืออาชีพของคณู เช่นฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านพัฒนาทักษะการสอน เป็นต้น

2)ส่งเสริมและเข้าร่วมกับครูผู้สอนเพื่อสร้างความเป็น ชุมชนแห่งวิชาชีพ

3)ส่งเสริมและกระตุ้นการใช้ปัญญา

4)ให้การสนับสนุนครูเป็นรายบุคคล  ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเอาใจใส่และให้กำลังใจครูแต่ละคนอย่างใกล้ชิด

2.บทบาทในการพัฒนาสื่อและสิ่งและสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้

2.1บทบาทในการบริหารการใช้และการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ อาจทำได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับประเภทและวัตถุประสงค์ในการใช้และการพัฒนาสื่อการเรียนเป็นสำคัญ

2.2 บทบาทในการบริหารสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้  ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้อง วิเคราะห์ความต้องการ  วางแผนในการจัดหา  จัดระบบการใช้ การบำรุงรักษาของ สิ่งอำนวยความสะดวก และพัฒนาครูผู้เรียน และบุคลากรให้มีความรู้ในใช้ ตลอดจนการกำกับติดตาม ประเมินผลการใช้ ปรับปรุงและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3.บทบาทในการส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน

ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน ได้แก่ การกำหนดวิสัยทัศน์ในการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา การพัฒนาครูให้มีคุณลักษณะที่ดีในการจัดการเรียนรู้และการพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ และพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่สำคัญได้แก่ กิจกรรมการสร้างเสริมทักษะการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ และกิจกรรมเสริมทักษะชีวิต

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้