เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ข้อดี ข้อเสีย

ประเภทคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภทโดยแบ่งตามขนาด และความสามารถรวมถึงลักษณะงานที่แตกต่างกัน 1.เมนเฟรมคอมพิวเตอร์(Mainfram Computer) 2.ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์(Super Computer) 3.มินิคอมพิวเตอร์(Mini Computer) 4.ไมโครคอมพิวเตอร์(Micro Computer)
1.เมนเฟรมคอมพิวเตอร์(Mainfram Computer) วงจรและหน่วยความจำมีขนาดใหญ่ประมวลผลได้ทีละมากๆ มีขนาดใหญ่มีอุปกรณ์ต่อพ่วงมาก ใช้พื้นที่ในการจัดเก็บเฉพาะ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์บางแห่งมีสถานีงาน(workstation) หรือเครื่องหมายปลายทาง(Terminal) มากกว่า 100 แห่ง มักใช้กับกิจการขนาดใหญ่ เช่น ธนาคารในการเก็บข้อมูลลูกค้า การเบิกจ่ายเงินเอทีเอ็ม (ATM =Automatic Teller Machine) สายการบิน ในการบันทึกการบิน การสำรองที่นั่ง เป็นต้น

2.ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์(Super Computer) ขนาดเล็กกว่าเมนเฟรม สร้างขึ้นเพื่อคำนวณเกี่ยวกับตัวเลขมากๆ เช่น งานด้านวิทยาศาสตร์ ,พยากรณ์อากาศ ,ด้านวิศวกรรม และงานที่ต้องใช้การประมวลผลสูงๆ

3.มินิคอมพิวเตอร์(Mini Computer) พัฒนามาจากเมนเฟรม และซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยนำเทคโนโลยีสารกึ่งตัวนำมาผลิตวงจร โดยรวมทรานซิสเตอร์บรรจุใน ซิลิคอน เพียงตัวเดียวเพื่อสร้างวงจรขนาดเล็ก หรือเรียกว่า IC( Integrated Circuite)เพื่อลดต้นทุนการผลิต และมีราคาถูกรวมถึงการเคลื่อนย้ายสะดวกขนาดเท่าโต๊ะทำงาน มีความสามารในการทำงานสูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ มักใช้ในกิจการขนาดย่อม เช่น โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล สถานศึกษา เป็นต้น

4.ไมโครคอมพิวเตอร์(Micro Computer) บางครั้งเรียกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(PC= Personal Computer) หรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานกันในปัจจุบัน เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก ปัจจุบันมีการพัฒนาไปอย่างมากสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีหน่วยความจำสูงไมโครคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันเกือบกล่าวได้ว่ามีความสามารถเท่าหรือมากกว่าเมนเฟรมเมื่อ 20 ปีก่อน

ประเภทของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์สามารถจำแนกเป็นประเภทต่าง ๆ ตาม ลักษณะการทำงาน, ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน และ ตามขนาดของคอมพิวเตอร์ ดังต่อไปนี้
จำแนกตามลักษณะการทำงาน
คือ การจำแนกประเภทคอมพิวเตอร์ตามลักษณะของข้อมูลที่นำเข้า ลักษณะการประมวลผลข้อมูล การเก็บข้อมูลและการนำข้อมูลไปใช้ สามารถแบ่งได้ เป็น 3 ประเภท ดังนี้

ก. คอมพิวเตอร์แบบอนาลอก (Analog Computer)

คอมพิวเตอร์แบบอนาลอก(Analog Computer) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถรับข้อมูลเข้ามาเป็นแบบอนาลอก (Analog) มีลักษณะเป็นปริมาณหรือจำนวนซึ่งมีหน่วยวัดแบบต่อเนื่อง เช่น ความเร็วของรถยนต์ อุณหภูมิของอากาศ ความดังของเสียง ความเข้มของแสง ข้อมูลประเภทนี้ไม่สามารถวัดออกมาเป็นจำนวนนับทีละ 1 หน่วยได้ แต่วัดออกมาเป็นค่าต่อเนื่องแบบทศนิยม คอมพิวเตอร์แบบนี้เหมาะสำหรับงานทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การแพทย์และวิศวกรรมศาสตร์ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบอนาลอก มี ข้อดีและข้อเสีย ดังตารางต่อไปนี้

ตาราง แสดงการเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบอนาลอก
(Analog Computer)
ข้อดี
1เหมาะกับงานที่ใส่ข้อมูลเข้าไป แล้วต้องการผลลัพธ์ทันที
2. ผลลัพธ์ที่แสดงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีความผิดพลาด
3. ไม่มีความผิดพลาดในการปัดเศษทศนิยม
4. การสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ ประกอบน้อย ค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก

ข้อเสีย
1. เหมาะสำหรับงานที่มีวัตถุประสงค์เป็น พิเศษ

2. ปรับปรุงไปใช้กับงานอื่น ๆ ได้ยาก
3. มีความสึกหรอในการใช้สูง
4. ความละเอียดถูกต้องในการคำนวณขึ้นอยู่กับการสร้างเครื่อง5. เก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนน้อย6. การคำนวณตัวเลขภายในเครื่องมีความยุ่งยากมาก
ข. คอมพิวเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Computer)


คอมพิวเตอร์แบบดิจิตอล(Digital Computer) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยสามารถรับข้อมูลประเภทที่ไม่ต่อเนื่อง เป็นจำนวนนับที่วัดเป็นหน่วยได้โดยตรง ข้อมูลที่ใช้เก็บเป็นรหัสตัวเลขฐานสอง คือ 0 และ 1 มีความแม่นยำในการประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูลไม่จำกัดเวลา เช่น จำนวนนักศึกษาในมหาวิทยาลัย จำนวนประชากร รายได้ จึงนิยมใช้คอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลประยุกต์กับงานทั่ว ๆ ไป เช่น ด้านธุรกิจ ด้านการศึกษา เป็นต้น เครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลมี ข้อดีและข้อเสีย ดังตารางต่อไปนี้
ตาราง แสดงข้อดีและข้อเสียของคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Computer)
ข้อดี
ข้อเสีย
1. มีอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์เป็น มาตรฐานเดียวกัน2. มีความคล่องตัวในการใช้งาน3. มีความสึกหรอในการใช้งานต่ำ ประหยัดค่าใช้จ่าย4. มีความเร็วในการประมวลผลสูง5. ออกแบบงานเพื่อประยุกต์ใช้กับคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลได้ง่าย6. เหมาะสมกับงานที่ใช้วิธีสุ่มตัวอย่าง การหาข้อมูลทางสถิติ ทางธุรกิจ
1. มีความผิดพลาดในการปัดเศษทศนิยม2. ข้อมูลที่นำเข้าและแสดงผลออกมาเป็นตัวอักขระเป็นส่วนใหญ่3. เสียค่าใช้จ่ายในการสร้างเครื่องมือและยากในการเขียนโปรแกรมควบคุมการ ทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
ค. คอมพิวเตอร์แบบไฮบริด (Hybrid Computer)
คอมพิวเตอร์แบบไฮบริด (Hybrid Computer) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์แบบอนาลอก (Analog Computer) และแบบดิจิตอล (Digital Computer) มาทำงานร่วมกัน ลักษณะสำคัญ คือสามารถรับข้อมูลประเภทที่มีหน่วยวัดต่อเนื่อง (Analog) มาประมวลผลหรือแปลงเป็นข้อมูลแบบดิจิตอล (Digital) แลกเปลี่ยนกันได้ โดยผ่านอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ การวัดคลื่นสมองของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นหน่วยวัดแบบต่อเนื่อง จากนั้นแปลงเป็นสัญญาณให้เป็นข้อมูลตัวเลขที่ส่งให้คอมพิวเตอร์ทำการคำนวณในรูปแบบของข้อมูลดิจิตอลและแสดงผลลัพธ์ออกมาเป็นตัวเลขที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ผลทางการแพทย์ได้ เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปเครื่องคอมพิวเตอร์แบบไฮบริดจะสร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะด้าน เช่น คอมพิวเตอร์ทางด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านอุตสาหกรรม เป็นต้น
จำแนกตามวัตถุประสงค์การใช้งาน
สามารถจำแนกคอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้งาน ได้ 2 ประเภท ดังนี้
ก. คอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ (General Purpose Computer)
คอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ (General Purpose Computer) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลาย ๆ ด้าน ตัวอย่างเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานด้านธุรกิจในปัจจุบัน สามารถทำงานได้หลาย ๆ ด้านขึ้นอยู่กับโปรแกรมต่าง ๆ ที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้จัดการพิมพ์เอกสาร คำนวณ นำเสนอผลงาน ใช้ในการวาดภาพ ใช้การเชื่อมโยงติดต่อสื่อสาร เป็นต้น ตัวอย่างเช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC)
ข. คอมพิวเตอร์เฉพาะงาน (Special Purpose Computer)
คอมพิวเตอร์เฉพาะงาน (Special Purpose Computer) คือ คอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำงานเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง ทำงานด้วยโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะเท่านั้น ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานด้านอื่น ๆ ได้ เช่น คอมพิวเตอร์ควบคุมยานอวกาศ คอมพิวเตอร์ควบคุมเครื่องบิน คอมพิวเตอร์ทางการแพทย์ คอมพิวเตอร์ควบคุมเครื่องจักรของโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
จำแนกตามขนาดของคอมพิวเตอร์ คือ การแบ่งประเภทคอมพิวเตอร์ตามขนาดของหน่วยความจำและความสามารถในการประมวลผล รวมถึงประสิทธิภาพในการทำงานโดยรวมของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
ก. คอมพิวเตอร์แบบวางตักหรือแบบหิ้ว ( Laptop or Portable Computer) คอมพิวเตอร์แบบวางตักหรือแบบหิ้ว ( Laptop or Portable Computer) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ที่มีความสามารถในการทำงานเทียบเท่าเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ทำงานได้ทั้งในลักษณะเครื่องเดี่ยว ๆ (Stand Alone) หรือนำไปเชื่อมต่อเป็นระบบเครือข่าย (Local Area Network : LAN) มีอุปกรณ์ครบทุกอย่างภายในเครื่องเดียว มีน้ำหนักเบาสามารถพกพาติดตัวไปได้โดยสะดวก เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภท “Note Book Computer” ก็จัดอยู่ในประเภทนี้ด้วย ปัจจุบันราคาค่อนข้างแพงกว่าเครื่องไมโคร-คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) ทั่วไป คือประมาณ 50,000 -150,000 บาท
ข. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)
ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางครั้งเรียกว่า คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานอเนกประสงค์ทั่ว ๆ ไป ปัจจุบันไมโครคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงมาก มีความสามารถเทียบเท่าเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ แต่ราคาไม่แพงมากนักคือ ประมาณ 30,000 - 80,000 บาท สามารถซื้อมาใช้ภายในบ้านได้ ปกติไมโครคอมพิวเตอร์จะมีอุปกรณ์สำหรับการนำข้อมูลเข้า การประมวลผล และการแสดงผลประกอบเป็น 1 ชุด มีขนาดเล็กทำให้เคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก ปกติเป็นเครื่องที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานเพียงคนเดียว จึงเรียกว่า “Personal Computer หรือ PC” เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในสำนักงานธุรกิจทั่วไป คอมพิวเตอร์ที่ใช้ภายในบ้าน คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในหน่วยงานราชการทั่วไป เป็นต้น นอกจากนั้นยังสามารถนำไมโครคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องมาต่อเชื่อมเป็นเครือข่ายภายหน่วยงานได้ เรียกว่า Local Area Networt (LAN) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานได้
ค. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer or Minis)
มินิคอมพิวเตอร์(Minicomputer or Minis) คือ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ที่มีขนาดตั้งโต๊ะไปจนถึงขนาดเท่ากับตู้เก็บเอกสาร มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลด้วยความเร็วสูงกว่าเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ และมีราคาสูงกว่าเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้หลาย ๆ คนในเวลาเดียวกัน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมเครื่องจักรในโรงงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานธุรกิจขนาดกลาง เป็นต้น

ง. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์(Mainframe Computer) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์และมินิคอมพิวเตอร์ ภายในระบบงานของเครื่องเมนเฟรมควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติเป็นส่วนใหญ่ เชื่อมต่อกันอุปกรณ์รับและแสดงผลได้เป็นจำนวนมากและหลายอุปกรณ์ ราคาสูงมาก บางเครื่องอาจมีราคาหลายล้านบาทขึ้นไป ส่วนใหญ่ใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ มักใช้เป็นคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางขององค์กรเพื่อกระจายและเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสาขา อาทิเช่น คอมพิวเตอร์ศูนย์กลางของธนาคาร บริษัทประกันภัย การรถไฟ สายการบิน มหาวิทยาลัย เป็นต้น
จ. ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)
ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ทำงานด้วยความเร็วสูง จัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก ในด้านธุรกิจจะใช้ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเช่นเดียวกับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ แต่มักใช้กับองค์กรที่มีขนาดใหญ่มาก เช่น การควบคุมสาขาของบริษัททั่วโลก หรือใช้สำหรับงานด้านวิทยาศาสตร์ที่มีความต้องการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากและต้องการความเร็วสูง เช่น การวิจัยทางด้านนิวเคลียร์ การพยากรณ์อากาศ การวิจัยบรรยากาศของโลก การวิจัยทางด้านอวกาศ เป็นต้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้