มุมมองในการออกแบบหลักๆ

 TDC จึงก่อตั้งขึ้นเพื่อสร้างเครื่องมือ แนวทางความคิดและประสบการณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตจริง เพื่อการออกแบบในอนาคต ซึ่งเราเรียกมันว่า ‘Design Muscles’ หรืออาจกล่าวได้ว่าการออกแบบคือการฝึกฝน ทดลองทำซ้ำๆ เรียนรู้จนเข้าใจ เสมือนการสร้างกล้ามเนื้อที่แข็งแรงในร่างกายนั่นเอง และยิ่งในทุกวันนี้มนุษย์กำลังเดินหน้าเข้าสู่โลกที่หมุนไปด้วยเครื่องจักรกล ความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาจึงเป็นข้อได้เปรียบสูงสุดที่คนๆ หนึ่งหรือบริษัทจะสามารถสร้างออกมาได้ 

กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) เป็นการประยุกต์วิธีการออกแบบผลิตภัณฑ์ บริการ ตลอดจนนวัตกรรมใหม่ๆ มาสู่การทำงานในส่วนต่างๆ ตลอดจนการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) จะเป็นประโยชน์สำหรับการสร้างสรรค์สิ่งใหม่แล้ว ก็ยังเป็นประโยชน์ต่อการทำงานที่จะช่วยให้บุคลากรมีระบบความคิดที่ดีและพร้อมในการหาวิธีการแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่พัฒนาอยู่เสมอด้วย ซึ่งนั่นอาจเป็นวิธีการตอบโจทย์ที่ดีที่สุดสำหรับองค์กรไม่ว่าจะเจอปัญหาอะไร หรือสร้างแนวทางใดให้ไปสู่ความสำเร็จ

โหมดการแสดงผลภาพสำหรับเอกสารซึ่งคุณจะเห็นวัตถุต่างๆ และเคลื่อนย้ายวัตถุได้ด้วยการลาก หากต้องการดูโค้ดเอกสาร ให้ใช้มุมมองโค้ดแทน

คุณสลับใช้มุมมองการออกแบบและมุมมองโค้ดได้โดยใช้ปุ่มที่มุมขวาบนของหน้าต่าง

สันติ ลอรัชวี นักออกแบบผู้มีผลงานทั้งทางด้านศิลปะ (Fine Art)และงานออกแบบ (Design) เช่น โลโก้ของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)

  • MemOyoU (Memorandum of Understanding) คือนิทรรศการล่าสุดของ สันติ ลอรัชวี จัดแสดงที่ CASE Space Revolution นอกจากนี้เขายังได้เปิด PRACTICALschool of design พื้นที่การเรียนรู้ด้านการออกแบบ
  • สันติ ลอรัชวี นักออกแบบผู้มีผลงานทั้งทางด้านศิลปะ (Fine art) และงานออกแบบ (Design) ไม่ว่าจะเป็นผู้ออกแบบ โลโก้ของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) หรืองานศิลปะเดี่ยวและกลุ่มอีกมากมาย ล่าสุดที่เพิ่งเกิดขึ้นคือนิทรรศการเดี่ยว MemOyoU (Memorandum of Understanding) ที่ CASE Space Revolution จัดแสดงเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2564

    นอกจากงานศิลปะและการออกแบบแล้วยังมีผลงานหนังสือเช่น สันติวิธีที่ ๑ (สำนักพิมพ์คัดสรรดีมาก) หรืองานแปลอย่าง พอล แรนด์ บทสนทนากับนักเรียน (สำนักพิมพ์ลายเส้น) อีกทั้งยังทำงานเกี่ยวกับการเรียนการสอนและล่าสุดยังเปิดพื้นที่ PRACTICAL school of design ที่จะมาส่งเสริมการค้นหาการเรียนรู้ด้านการออกแบบและสร้างสรรค์ ในครั้งนี้จึงได้ชวน สันติ ลอรัชวี มาสนทนาทั้งประเด็นทัศนะด้านการออกแบบและการเกิดขึ้นของ PRACTICAL school of design ว่ามีความคิดและที่มาที่ไปอย่างไรรวมถึงกลวิธีส่วนตัวที่ใช้ในการสร้างสรรค์ว่ามีกระบวนการคิดการทำอย่างไรจึงสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่น่าสนใจออกมาหลายรูปแบบและชวนติดตามในทุก ๆ ผลงาน

    ภาพ: ปรีชา ภัทรอัมพรชัย

    สำหรับตอนนี้คิดว่า การออกแบบ มีความหมายครอบคลุมไปถึงไหนบ้าง

    มันยืดหด ผมไม่ค่อยกล้าใช้คำว่า “คำจำกัดความ” เพราะถ้าเราจำกัดมันจะอยู่กับที่ เราเลยมักติดตามความเป็นไปของมันว่ามันเป็นอะไรได้บ้าง อย่างในความหมายของตอนที่เราเด็กอยู่ เราก็คิดว่ามันคือสิ่งสวยงาม หรือบางทีเราโตขึ้นมาหน่อย เราเรียนเราก็คิดว่ามันมี ความคิด (Idea) มีความแปลกใหม่หน่อย เราพยายามนิยามมันมาเรื่อย ๆ ในชีวิตที่ผ่านมา แล้วเราพบว่าถูกหมดเลยทุกข้อ เราเลยคิดว่าอยู่ที่กาลเทศะไหนว่าจะใช้นิยามแบบไหน พอเราโตขึ้นเราเลยเปิดรับทุกนิยามที่เราประสบมาเพียงแต่เราหมุนเวียนเปลี่ยนมัน ให้ความสำคัญให้น้ำหนักของนิยามตามโอกาส บางครั้งก็สวยงาม บางครั้งก็แก้ปัญหา บางครั้งก็เกี่ยวกับผู้คน ตามกาลเทศะ และอีกนิยามคือผมมองว่าการออกแบบเป็นอีกหนึ่งกิจกรรม (Activity) เป็นศักยภาพ ความสามารถแบบหนึ่งของมนุษย์ที่เราพยายามแสวงหารูปแบบบางอย่างในการที่จะบรรลุเป้าหมายบางอย่างที่เราพยายามจะตั้งเอาไว้

    การออกแบบ จึงมีความสำคัญถึง เป้าหมาย (Purpose) และเมื่ออยากบรรลุ มนุษย์จึงใช้ การออกแบบ (Design) เพียงแต่บางครั้งจุดหมายมีความแตกต่างกัน พอเราทำงานมากขึ้นเราเลยต้องคอยติดตามว่าเราจะให้น้ำหนักกับนิยามไหนในแต่ละงานถึงในแต่ละกระบวนการ

    ภาพ: ปรีชา ภัทรอัมพรชัย

    งานออกแบบมีความงามอย่างเดียวได้ไหม หรือมันจะกลายเป็นงานศิลปะ

    ถ้าเรามองว่า การออกแบบ คือศักยภาพบางอย่างถ้าอย่างนั้นการทำงานศิลปะก็ต้องมีศักยภาพในการทำให้เกิดความงามซึ่งนั่นคือการออกแบบ

    การออกแบบไม่ใช่คู่ตรงข้ามกับศิลปะแต่เป็นทักษะแบบหนึ่งที่ศิลปินจะมีในการเข้าถึงความงามนั้น เพราะหากจะสร้างงานศิลปะให้งามความงามนั้นก็คือเป้าหมาย และจะไปถึงก็ใช้การออกแบบว่าจะใช้อะไรแบบไหนในการทำงาน การออกแบบ จึงไม่ใช่วิชาชีพแต่เป็น ทักษะ (Skill) แบบหนึ่งเป็นกิจกรรมแบบหนึ่งที่มนุษย์มีไว้ตอบสนองต่อสิ่งที่ต้องการ

    เวลาทำงานศิลปะกับงานออกแบบคิดต่างกันอย่างไร

    คิดไม่ต่างเลย เวลาคิดเป็นสิ่งเดียวกัน แต่งานศิลปะมีปัจจัยที่ต่างกันอยู่อย่างผู้ว่าจ้างหรือผู้ที่มาขอให้เราทำในงานออกแบบจะเปลี่ยนเป็นตัวเราเองแทนเข้าไปในปัจจัย ซึ่งทำให้เราได้คิดว่าอยากจะพูดอะไรนำเสนอแบบไหน ผู้ชมก็จะแตกต่างกันตรงที่จะจำกัดและเฉพาะนิดหนึ่ง เราก็อาจชาเลนจ์บางอย่างกับคนเหล่านั้นได้ ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่รู้เรื่องเท่าไร งานสามารถที่จะไม่ต้องชัดเจนมาก ไม่ต้องเดินเข้าไปแล้วเคลียร์เลย เป็นตัวเราได้มากขึ้น

    แต่อย่างงานศิลปะที่เป็นนิทรรศการกลุ่มที่มี แกนเนื้อหา (Theme) ก็แทบไม่ต่างจากการมีลูกค้า เพียงแต่ไม่ได้เดินมาตรวจแบบเราแบบลูกค้า แต่เราก็จะคิดว่าเขาอยากได้อะไรจากเราเพื่อรักษาภาพรวมของนิทรรศการที่เขาอยากได้ด้วยก็ต้องนับสิ่งนี้เป็นตัวแปร

    ภาพ: ปรีชา ภัทรอัมพรชัย

    กระบวนการทำงานของสันติเป็นอย่างไรบ้าง

    วิธีเข้างานของผมสะเปะสะปะ เพียงแต่พอเข้ามาแล้วจะมีระเบียบอยู่ซึ่งหลัก ๆ จะมีอยู่ 4 สถานะ (State) คือ 1.การวิเคราะห์ ในที่นี้คือเราวิเคราะห์หรือคิดเพื่อจะ Input ทุกอย่างเข้าไปในหัว เช่น ถ้าเป็นงานหนังสือก็คือการอ่านหนังสือ หรืองานอื่น ๆ ก็อาจเป็นการค้นคว้า (Research) เพื่อรับเข้ามา ส่วนตัวผมเรื่องพวกนี้ค่อนข้างจะเป็นชีวิตประจำวันเกิดขึ้นจากการได้เห็นหรือหนังสือส่วนหนึ่งที่ออกแบบก็คือหนังสือที่เคยอ่านมาก่อนหน้าที่จะต้องออกแบบอยู่แล้วหลายรอบ ขั้นตอนนี้เป็นไปเพื่อให้เกิดกระบวนการคิดอะไรบางอย่างกับงาน 2.การตกตะกอนทางความคิด ขั้นตอนนี้สบายขึ้นมาหน่อยคือไม่ใช่ต้องนั่งขบคิดแต่คือการให้ปล่อยเกิดการตกตะกอนในความคิด 3.ทำให้เกิดการแสดงออกมาเป็นรูปธรรม ขั้นตอนนี้บางครั้งมักถูกคิดว่านี่คือการออกแบบเพราะมันเป็นรูปธรรมมองเห็นได้ และสุดท้าย 4.การตรวจทาน ว่าทั้งหมดเป็นสิ่งที่เราต้องการหรือเปล่า

    แต่บางครั้ง 4 สถานะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแบบเรียงตามลำดับ ไม่จำเป็นต้องไล่จาก 1-4 แต่สามารถเกิดจากส่วนไหนก่อนแล้วสามารถสะเปะสะปะ บางทีเกิดจากอารมณ์ เกิดจากความคิด หรืออะไรลอย ๆ เข้ามาในหัวแต่พอเข้ามาแล้วมันจะเป็นระเบียบบางอย่างอยู่ในหัวซึ่งมักวนอยู่ใน 4 อย่างนี้ เป็นวงจรเหมือนน้ำวน

    นักสร้างสรรค์ที่ชอบ

    คนแรกที่ทำให้อยากทำงานเปรี้ยว ๆ เป็นแรงบันดาลใจที่ดีคือ เนวิลล์ โบรดี้ (Neville Brody) เป็นนักออกแบบกราฟิกที่โด่งดังในช่วงที่ผมเรียนมหาวิทยาลัย เป็นหนึ่งคนที่จุดประกายในสไตล์และความคิด ทั้งลึกในบุ๋นและมีสไตล์ คนนี้มีอิทธิพลในตอนเด็กพอสมควร พอตอนผมเริ่มสอนหนังสือก็ พอล แรนด์ (Paul Rand) เป็นคนที่ออกแบบโลโก้ IBM ผมเคารพ (Respect)ในฐานะครูเขาพยายามสอนหนังสือและเขียนหนังสือหลายเล่มที่พูดถึงความคิด (Idea) ของการออกแบบเป็นอาจารย์ที่มุ่งมั่นและผลิตความรู้

    กิมย้ง กับ โกวเล้ง ทั้งสองคนเป็นเสาหลักของผมในวัยมัธยม หลัก ๆ ก็อ่านหนังสือของสองคนนี้ตั้งแต่ ม.1 อ่านซ้ำไปซ้ำมาทั้งสองคนเป็นความแตกต่างที่ลงตัวกิมย้งค้นคว้าเยอะมีความรู้แน่นทำให้สามารถสร้างเรื่องราวที่สนุกและพิสดารได้ ส่วนโกวเล้งผมคิดว่าเป็นกวีใช้ข้อมูลนิดหน่อยแล้วใช้อารมณ์ ตัวละครมีสุรา มิตรแท้ และไม่ค่อยอ้างอิงยุคสมัยเป็นไร้กาล (Timeless) สนุกมากกับสองคนนี้ ได้อ่านและตั้งคำถามกับวิญญูชน มารคืออะไร เทพคืออะไร หนังสือพวกนี้ทำให้เราเติบโตไปกับการตั้งคำถามว่า คนดีจอมปลอมเป็นอย่างไรตามท้องเรื่องนะ ซึ่งโตมาก็ทำให้เห็นว่ายุทธภพเราก็มีคนเหล่านี้เต็มไปหมด และมันก็ทำให้เรามีอุดมการณ์นิดหน่อยที่เราจะเป็นอะไรบางอย่าง

    ต่อมาก็ต้องให้ทั้งคู่มาพร้อมกันคือ เฮอร์มานน์ เฮสเส (Hermann Hesse) กับ อาจารย์สดใส (สดใส ขันติวรพงศ์) เพราะผมได้แรงบันดาลใจจากเฮอร์มานน์เฮสเสจากสำนวนการแปลของอาจารย์สดใส จาก นาร์ซิสซัสกับโกลด์มุนด์, สเตปเปนวูล์ฟ, สิทธารถะ อะไรพวกนี้ทำให้ผมเติบโตได้ดีในช่วงเรียนจบและกำลังแสวงหาอะไรบางอย่างในชีวิตอ่านแล้วรู้สึกถึงตัวเองในนั้นและทำให้เราถามตัวเองกลับด้วย งานของเฮสเสก็จะมีอิทธิพลสั่นสะเทือนความคิดของเราเป็นระยะ ๆ

    ริชาร์ด บาค (Richard Bach) เพราะหนังสือ โจนาทาน ลิฟวิงสตัน : นางนวล (Jonathan Livingston Seagull) ทำให้ผมทำงานศิลปะ งานส่วนตัว ผมเคยทำงานในฐานะพาณิชย์ศิลป์ที่มีคนมาบอกว่าให้ทำอะไรมีคนมาจ้าง เราก็คิดว่าเราจะทำงานของตัวเองได้ไหมแบบที่อยากทำในอาชีพนี้ขณะที่ไม่ได้เป็นศิลปิน นี่ก็เป็นคำถามสำคัญและสอดคล้องกับคำถามของนางนวลว่าภายใต้ปีกนี้จะบินท่าไหนได้บ้างนอกเหนือจากการหาปลาหรือหาอาหารอย่างเดียว เป็นหนังสือที่เป็นกำลังใจให้ผมตลอดเหมือนกัน ผมซื้อไว้เยอะมาก 20-30 เล่ม แล้วก็ให้ลูกศิษย์ที่รักทยอยให้ตอนนี้ก็ให้ไปหมดแล้ว เพราะนี่คือแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตก็เลยอยากส่งต่อ

    ล่าสุดก็ อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ อาจารย์ก็ให้มุมมองการใช้ชีวิตมุมมองเรื่องความรักกับเราตรงกับจังหวะชีวิตที่เราได้ออกแบบปกให้และได้สนทนากัน ผมชอบพูดถึงอาจารย์ประมวลว่าเหมือนต้นไม้ใหญ่ไปยืนใกล้ ๆ แล้วร่มเย็นดี ผมรู้สึกว่าเป็นต้นแบบคนหนึ่งเมื่อถ้าผมแก่ไปก็อยากให้คนที่อยู่ใกล้ ๆ ร่มเย็น รู้สึกสบาย ไม่รู้สึกร้อนรุ่ม เราอยากเป็นแบบนั้นได้ เป็นเป้าหมายที่คิดว่าจะเป็นได้ไหมจนทำให้เราคิดสโลแกนขึ้นได้ว่า “แก่ให้ดี” อะไรแบบนี้

    ภาพ: ปรีชา ภัทรอัมพรชัย

    คิดว่าแวดวงนักออกแบบในไทยกำลังเผชิญปัญหาอะไรไหม

    ผมมองเป็นภาพรวมไม่ใช่ที่ตัวนักออกแบบ ผมมองเหมือนฟุตบอลว่าถ้าเรามีลีคที่ดี นักเตะเราจะดีขึ้น มีโอกาสได้เล่นกับนักเตะระดับโลก เล่นในแผนจากโค้ชที่มีมาตรฐานสูง พูดง่าย ๆ ว่าโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) นั้นสำคัญ

    เราก็มีนักออกแบบที่ประสบความสำเร็จในเวทีนานาชาติ แต่คนเหล่านี้ก็เป็นกรณีที่ดิ้นรนไปเอง น้อยมากที่เกิดขึ้นจากโครงสร้างพื้นฐาน อาจเกิดจากเหตุเฉพาะการณ์บางอย่าง แต่จะทำอย่างไรให้ภาพรวมนักออกแบบมีพื้นที่มากขึ้น การทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการ รัฐ อะไรแบบนี้เป็นภาพรวมของอุตสาหกรรม เวลาผมไปต่างประเทศแล้วเจองานออกแบบที่ดีผมกับเพื่อนสนิทจะอุทานกัน “ใครจ้างมันทำ” คือคนจ้างมันเจ๋งจริง ๆ ที่จ้างให้งานเกิดขึ้น เมื่อก่อนตอนเด็ก ๆ เราก็ชมนักออกแบบก่อน แต่สักพักก็คิดว่า “มันขายผ่านได้ไง” “เขาซื้อยังไง” หลัง ๆ พอมารู้ว่าบางทีเราก็ไม่ได้ซื้อด้วยซ้ำ เขาขอให้ทำด้วยซ้ำ ทำให้คิดว่าฝั่งผู้ว่าจ้างก็มีความสำคัญมาก ๆ เลยสำหรับการยกระดับทั้งอุตสาหกรรม รวมถึงการสนับสนุนของรัฐที่ต่อเนื่องจริงใจมากกว่าที่เป็นอยู่ คือคนทำงานของรัฐก็เหนื่อยมาตั้งแต่ระดับนโยบายแล้วเราสามารถเห็นถึงความอ่อนของงานออกแบบของรัฐได้เลยเช่นแอปพลิเคชันบางชิ้นที่ UX/UI มันห่วยขนาดไหน หรือระบบการให้ข้อมูลของศูนย์ที่ให้ข่าวสารบางครั้งจะเห็นได้เลยว่าเขาไม่ได้พึ่งพา การออกแบบ อะไรทั้งนั้น

    คือภายใต้วิกฤตหน่วยงานที่สำคัญที่สุดอย่างรัฐเขาไม่ได้ให้ความสำคัญกับงานออกแบบ กลับกันเขาทำแต่สื่อโฆษณาชวนเชื่อโดยไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไรในภาพรวม และไม่ใช้การออกแบบให้เกิดประโยชน์เท่าไร การออกแบบมันมากกว่าหน้าตาหรือสื่อที่ทำ แต่มันบอกถึงข้อมูลสำคัญ ซึ่งมันคือเป้าหมาย ถ้า เป้าหมาย จริง ๆ ของรัฐคือให้คนอยู่รอดปลอดภัย มีสวัสดิภาพที่ดี เขาต้อง ออกแบบ สิ่งที่จะทำให้ไปถึงเป้าหมาย แต่เท่าที่เห็นเราจะเห็นได้เลยว่าเขาไม่ได้ออกแบบ หรือว่าในอีกแง่เขาอาจมีเป้าหมายอีกแบบเขาถึงออกแบบให้มันเป็นแบบนี้ นี่คือภาพรวมว่านักออกแบบไทยเป็นอย่างไร ผมคิดว่าสำคัญที่เราอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบไหน

    ภาพ: ปรีชา ภัทรอัมพรชัย

    ในมุมส่วนตัวยังมีอะไรที่ยากสำหรับงานที่ทำอยู่บ้างหรือเปล่า

    ความยากหรือง่ายผมมองว่าอยู่ที่เป้าหมายที่เปลี่ยนไปตลอด อย่างตอนนี้เราอยากทำงานให้สบายขึ้นมันเลยยาก ทำอย่างไรให้ผลลัพธ์ดีอยู่ในจังหวะที่สบายขึ้น อยากทำงานที่โอเคไม่เหนื่อยแล้วได้งานดี

    ความคาดหวัง (Expectation) ทำให้เราเครียดเหมือนใช้ชีวิต เราผิดหวังจากการตั้งความหวัง บางทีเราคิดว่ามันจำเป็นแต่จริง ๆ มันอาจไม่จำเป็น เช่น ต้องให้คนยอมรับงานมาก ๆ ต้องได้รางวัลต้องมีคนพูดถึงต้องมีคนในวงอาชีพเดียวกันบอกว่ามันเจ๋ง มันดี ไม่ต้องเอาความคาดหวังแบบนี้มาเป็นปัจจัย (Factor) ในการทำงานก็ได้ ถ้าวันหนึ่งมันได้เสียงตอบรับแบบนั้นก็ดีใจได้แป๊บหนึ่งพอ

    ผมว่าการลดสิ่งที่แบกไว้เหมือนเปิดเป้แล้วดูว่ามันคือก้อนหินหรือเปล่าไม่ใช่สัมภาระพอเอามันออกไปก็จะเบาขึ้นตามลำดับ ชอบคุยกับหลาย ๆ คนว่าช่วงนี้ต้องฝึกวิชาตัวเบาจะได้สบายหน่อย

    ภาพ: PRACTICAL school of design

    PRACTICAL school of design คืออะไร

    ผมสอนหนังสือตั้งแต่ปี 2540 ตอนนี้ก็ร่วม 25 ปีได้ พาร์ตเนอร์ก็เป็นอาจารย์สอนหนังสือกันหลายคน PRACTICAL school of design เกิดจากเดิมที PRACTICAL Design Studio บางคนในสตูดิโอก็สอนหนังสือกันไปด้วยเป็นกิจวัตรอยู่แล้วเราก็จัดเวิร์กช็อปกันบ่อย ไปอบรมมหาวิทยาลัยก็บ่อยครั้งมาก เป็นกิจกรรมที่พวกเรามีความสุขกัน พอสมาชิกสตูดิโอเติบโตกันไปตามลำดับเริ่มมีสไตล์ มีชีวิตที่โตมากขึ้น ตอนหลังก็แยกย้ายกันไปเปิดสตูดิโอตามรูปแบบของตัวเอง คำถามเลยถามว่าหากไม่ทำงานหาเงินรวมกันพวกเราจะรวมกันทำอะไรดี เป็นสิ่งที่เราสนใจร่วมกันคือทำเรื่องการศึกษาด้านการออกแบบ PRACTICAL school of design จึงเกิดขึ้นปลายปี ค.ศ. 2019 เริ่มจากตรงนั้น

    ค.ศ.2020 มีโควิดก็ยังประชุม คุย อ่านหนังสือ ทำแบรนด์ดิงสุดท้ายสิ่งที่เราทำคือการเอาทักษะการออกแบบไปกระจายให้บุคคลทั่วไป โรงเรียนนี้ไม่ใช่เพื่อนักออกแบบอย่างเดียวเพียงแต่ริเริ่มก่อตั้งขึ้นมาโดยนักออกแบบ เราพยายามจะหาวิธีการเรียนรู้โดยมีเป้าหมายว่าคนทั่วไปสามารถเข้าถึงทักษะนี้ให้ได้มากที่สุด

    ใครก็ได้ วิธีอะไรก็ได้ ไม่มีอะไรตายตัว เราเลยพยายามหาวิธีการอะไรก็ได้ ไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิม ๆ มันจึงท้าทาย คำว่าโรงเรียนทีแรกเราก็คิดว่าเป็นคำที่ดู อนุรักษ์นิยม (Conservative) แต่ก็คิดว่าคำมันเป็นเรื่องของคำ โรงเรียนสำหรับเราคือพื้นที่เรียนรู้ร่วมกัน เราสามารถนิยามคำใหม่ได้ก็เลยตัดสินใจใช้คำว่า “School” โดยคิดว่าความรู้เป็นลักษณะแนวนอนไม่ใช่แนวตั้งลงมา โรงเรียนคือที่ที่มาถ่ายเทความรู้ซึ่งกัน เรามีกระบวนการที่เรียกว่า “Look See Do Show” มอง ทำความเข้าใจ ทำ และแสดงออกมา การเรียนไม่ใช่แค่รับเข้า (Input) แต่คือการแสดงออก (Output) ด้วย เราเลยเน้นให้ทำโดยร่วมกันหาความเป็นไปได้ไม่ใช่อะไรดีกว่าอะไร

    มุมมองในการออกแบบหลักๆ 2 มุมมองคืออะไร

    มุมมองเค้าโครงและมุมมองออกแบบเป็นมุมมองสองมุมมองที่คุณสามารถเปลี่ยนแปลงการออกแบบของฟอร์มได้ คุณสามารถใช้มุมมองใดมุมมองหนึ่งเพื่อใช้งานการออกแบบและเค้าโครงแบบเดียวกันหลาย งาน แต่บางงานจะง่ายกว่าการลงหน้าในมุมมองเดียว บทความนี้จะอธิบายความเหมือนและความแตกต่างกันระหว่างมุมมองเค้าโครงและมุมมองออกแบบ และแสดงวิธีการจัดการ ...

    Design View มีหน้าที่ไว้สำหรับทำอะไร

    ¨ Design View : เป็นการสร้าง Form ในมุมมองออกแบบ (Design View) เหมาะสำหรับการสร้างที่ต้องการกำหนดรายละเอียดของข้อมูลที่จะแสดง รูปแบบการแสดงผล หรือรายละเอียดอื่นๆ

    มุมมองแบบใดช่วยให้เห็นการปรับเปลี่ยนในขณะแก้ไขรายงาน

    มุมมองเค้าโครงคือมุมมองที่ใช้งานง่ายที่สุดเพื่อใช้ในการปรับเปลี่ยนรายงาน และสามารถใช้กับการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่คุณต้องการกับรายงานใน Access ได้ ในมุมมองเค้าโครง รายงานจะเรียกใช้จริง เพื่อให้คุณสามารถดูข้อมูลของคุณเหมือนกับที่ปรากฏขึ้นเมื่อพิมพ์ออกมา อย่างไรก็ตาม คุณยังสามารถเปลี่ยนแปลงการออกแบบรายงานในมุมมองนี้ ...

    มุมมองที่ใช้ในการสร้างตารางด้วยการออกแบบเองคือมุมมองใด

    การสร้างตารางใน Access จะใช้มุมมอง Table Design ซึ่งมีเครื่องมือที่ใช้ในการกำหนดโครงสร้างต่างของตาราง เช่น การกำหนดคุณสมบัติต่างๆของฟิลด์การกำหนดคีย์หลัก เป็นต้น ในการสร้างตาราง เราเข้าสู่มุมมอง Table Design ได้ดังนี้ 1. ให้เราคลิกแท็บ CREATE (สร้าง) จากนั้นคลิกปุ่ม Table Design (ออกแบบตาราง)

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้