โลหะบัดกรี lsn60 ตัวเลข 60 คือเปอร์เซ็นต์ส่วนผสมของโลหะใด

การบัดกรีอ่อนในอุตสาหกรรมไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (Soldering in microelectronics)

สรุปและเรียบเรียงโดย คณาจารย์และนิสิต ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บทนำ

การบัดกรีอ่อน (Soldering) คือกระบวนการเชื่อมต่อโลหะโดยอาศัยโลหะบัดกรี ซึ่งอุณหภูมิที่ใช้ในการบัดกรีอ่อนมีอุณหภูมิต่ำกว่า 425 องศาเซลเซียส (Abtew and Selvaduray, 2000)โดยในอุตสาหกรรมไมโคร-อิเล็กทรอนิกส์ กระบวนการบัดกรีอ่อนได้ถูกนำมาใช้ในการประกอบอุปกรณ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์อย่างกว้างขวาง ซึ่งกระบวนการบัดกรีอ่อนในอุตสาหกรรมการประกอบอุปกรณ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์จะอาศัยโลหะบัดกรีเพื่อทำการเชื่อมระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และแผ่นฐานรองรับ เช่น แผ่น Print Circuit Board (PCB) ที่มีการเคลือบของชั้นโลหะอยู่ โดยชั้นโลหะที่นิยมใช้ส่วนมากเป็น ทองแดง (Copper: Cu)เนื่องจากมีค่าการนำไฟฟ้าที่ดีจึงเหมาะสมนำมาเป็นวัสดุที่ใช้ในการเคลือบ กระบวนการการเคลือบชั้นโลหะนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี เช่น กระบวนการเคลือบผิวแข็งด้วยไอทางกายภาพ (Physical Vapor Deposition: PVD) และกระบวนการสปัตเตอร์ริง (Sputtering) เป็นต้น โลหะบัดรีมีการผลิตหลากหลายรูปแบบ เช่นSolder wire, Solder paste, Solder balls และ Solder bar เป็นต้น ดังแสดงในภาพที่ 1 ซึ่งการเลือกใช้ขึ้นอยู่กับเทคนิคในการประกอบอุปกรณ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ 

ภาพที่ 1 โลหะบัดกรีชนิดต่างๆ (a) Solder ball (b) Solder wire (c) Solder bar และ (d) Solder paste

โลหะที่ใช้บัดกรีส่วนใหญ่แบ่งเป็นสองประเภท คือ โลหะบัดกรีอุณหภูมิหลอมเหลวต่ำ (อุณหภูมิไม่เกิน 280องศาเซลเซียส) และโหละบัดกรีอุณหภูมิหลอมเหลวสูง ซึ่งในส่วนของอุตสาหกรรมการประกอบอุปกรณ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์นิยมใช้โลหะบัดกรีที่อุณหภูมิหลอมเหลวสูงเนื่องจากสามารถทนความร้อนในขณะที่อุปกรณ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ทำงาน (ขณะการนำไฟฟ้าความร้อนจะเกิดขึ้น) จึงไม่นิยมใช้โลหะบัดกรีอุณหภูมิหลอมเหลวต่ำ (Kotadia, Howes et al. 2014) จากตารางที่ 1 จะพบว่ามีโลหะ 7 ชนิดที่นิยมในการบัดกรีที่อุณหภูมิสูง แต่เนื่องจาก Pb-Sn กับ Sn-Sb มีองค์ประกอบของธาตุที่ก่อให้เกิดความเป็นพิษได้Zn-Al กับ Zn-Sn เป็นโลหะที่มีความต้านทานการกัดกร่อนต่ำ Bi-Ag มีค่าสัมประสิทธิ์การนำไฟฟ้าต่ำ และAu-Ge ผลิตได้ยากใช้อุณหภูมิในการผลิตค่อนข้างสูง จากข้อเสียของโลหะแต่ละประเภทที่กล่าวมาข้างต้นนั้นโลหะ Au-Sn มีความเหมาะสมที่สุดกับอุตสาหกรรมการประกอบอุปกรณ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์แต่ยังคงต้องปรับปรุงในเรื่องของความเปราะของโลหะประเภทนี้

ตารางที่ 1 ข้อดีและข้อเสียสำหรับโลหะบัดกรีอุณหภูมิสูง (Zeng, McDonald et al. 2012)

เทคนิคการบัดกรีอ่อน (Soldering in microelectronics)

เทคนิคการบัดกรีอ่อนที่นิยมใช้กันในอุตสาหกรรมมีอยู่สองวิธีคือ Flip Chipและ Ball Grid Array (BGA) ซึ่งทั้งสองวิธีนี้มีความใกล้เคียงกันแต่ต่างกันที่ในกระบวนการ Flip Chip ใช้ในการผลิตชิพเท่านั้น

กระบวนการ Flip Chip มีขั้นตอนการผลิตดังแสดงในภาพที่ 2 คือเริ่มจากการนำโลหะบัดกรี (Solder) ไปเรียงบนแผงวงจรหลังจากนั้นนำไปประกบกับตัวชิพและให้ความร้อนโลหะบัดกรีจะหลอมและยึดแผงวงจรสองแผ่นไว้ด้วยกันด้วยแรงตึงผิวทำให้โลหะบัดกรีเกาะเฉพาะที่ Under Bumping Material (UBM) ไม่กระเด็นไปที่อื่นจึงเป็นข้อดีของกระบวนการนี้

ภาพที่ 2 ขั้นตอนการผลิตแบบ Flip Chip

กระบวนการ Ball Grid Array (BGA) แบ่งได้เป็นสี่ประเภทคือ Plastic Ball Grid Array (PBGA) มีการผสมตัวประสานที่เป็นวัสดุพอลิเมอร์ในโลหะบัดกรี, Cavity Plastic Ball Grid Array (CPBGA) ภายในชิ้นงานมีช่องว่างชิ้นงานทั้งสองชิ้นไม่ได้ประกบกันตลอดทั้งผิวทำให้ประหยัดโลหะบัดกรีเพราะทำการบัดกรีเฉพาะจุด,Ceramic Ball Grid Array (CBGA) วัสดุตั้งต้นมีการใช้เซรามิคโดยใช้ในงานเฉพาะและ Tape Ball Grid Array (TBGA) มีการใช้เทปเป็นตัวยึดเกาะโลหะบัดกรีกับแผงวงจรดังแสดงในภาพที่ 3 โดยแบ่งตามการใช้งานและประเภทของวัสดุตั้งต้นในการยึดเกาะระหว่างโลหะบัดกรีกับแผงวงจรจะต้องมีการใช้ UBM โดยโลหะUBMที่มีความเหมาะสมสำหรับโลหะบัดกรี Au-Sn คือ Ni และ Cu ไม่ว่าจะเป็นการผลิตแบบ Flip-ChipหรือBGA

ภาพที่ 3 ขั้นตอนการผลิตแบบ Ball grid array (a) PBGA (b) CPBGA (c) CBGA (d) TBGA

แหล่งพลังงานความร้อนที่ให้กับโลหะบัดกรีที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมมีสองประเภทคือ Belt Furnaces ดังแสดงในภาพที่ 4(a) โดยมีการให้ความร้อนคล้ายๆเตาอบโดยแผงวงจรเคลื่อนภายในเตาจนเสร็จกระบวนการผลิตและ Lasers เป็นการใช้ความร้อนจากแสงเลเซอร์ส่องไปที่โลหะบัดกรีทำให้โลหะบัดกรีหลอมละลาย ดังแสดงในภาพที่ 4(b) ซึ่งเรื่องที่มีความสำคัญและยังคงศึกษาอยู่คือเรื่องโครงสร้างการทำพันธะกันระหว่างโลหะบัดกรีกับUBMที่จะต้องศึกษาและทำการปรับปรุงต่อไป

ภาพที่ 4 แหล่งพลังงานความร้อนที่ให้กับโลหะบัดกรี (a) Belt Furnaces (b) Lasers

โครงสร้างจุลภาคของการบัดกรีอ่อน (Microstructure in microelectronic soldering)

ในปัจจุบันการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับโลหะบัดกรีในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้มุ่งเน้นไปทางด้านงานวิจัยโลหะบัดกรีไร้ตะกั่วเช่น ดีบุกบริสุทธิ์ (Pure Sn) ดีบุก-เงิน (Sn-Ag) หรือ ดีบุก-ทองแดง (Sn-Cu) ซึ่งในงานวิจัยต่างๆได้นำโลหะบัดกรีชนิดดีบุก-เงิน ที่ใช้กระบวนการเชื่อมแบบ Flip chip หรือ Ball grid arrayเป็นหลัก จากศึกษาโครงสร้างจุลภาคและสมบัติเชิงกลของโลหะบัดกรี Sn-0.7Cu ซึ่งมี Ni เป็นSubstrateเชื่อมด้วยกระบวนการ Flip-Chip นอกจากนั้นได้บ่มเร่ง (Aging) ชิ้นงานทดสอบด้วยความร้อนที่ระยะเวลาแตกต่างกัน (D.G. Kim and S.B. Jung, 2005) เพื่อจำลองสภาวะการใช้งานจริงของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งสามารถเกิดความร้อนสะสมขณะใช้งานพบว่าความแข็งแรงของรอยเชื่อมเกิดจากชั้นของสารประกอบเชิงโลหะ (Intermetallic compound : IMC) ของสารประกอบ (Cu,Ni)6Sn5 ดังแสดงในภาพที่ 5 พบว่าความหนาของชั้นของสารประกอบเชิงโลหะเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาการบ่มเร่งที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งความหนาของชั้นของสารประกอบเชิงโลหะส่งผลให้มีความเปราะและทำให้ความแข็งแรงของรอยเชื่อมลดลง ความแข็งแรงของรอยเชื่อมที่ผ่านกระบวนการบ่มเร่งมีแนวโน้มลดลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับรอยเชื่อมที่ไม่ผ่านกระบวนการบ่มเร่งดังแสดงในภาพที่ 6 เนื่องจากการบ่มเร่งทำให้สามารถเกิดการโตของเกรน (Grain growth) และเกรนที่ได้มีลักษณะหยาบจึงทำให้ความแข็งแรงลดลง

ภาพที่ 5 ลักษณะทางโครงสร้างแบบ 3 มิติ ของโลหะบัดกรี Sn-0.7Cu และ Ni Substrate ที่อุณหภูมิบ่มเร่ง 423 องศาเคลวิน (a) as-reflowed, (b) บ่มเร่ง 72 ชั่วโมง, (c) บ่มเร่ง 144 ชั่วโมง, (d) บ่มเร่ง 720 ชั่วโมง, (e) บ่มเร่ง 1,440 ชั่วโมง และ (f) บ่มเร่ง 2,400 ชั่วโมง (D.G. Kim and S.-B. Jung, 2005)

ภาพที่ 6 ระยะเวลาการบ่มเร่งที่มีต่อกำลังรับแรงเฉือนของรอยเชื่อม (D.G. Kim and S.-B. Jung, 2005)

โครงสร้างทางจุลภาค สมบัติทางกลและสมบัติทางความร้อนของโลหะบัดกรี Au–Sn

จากบทนำข้างต้นเกี่ยวกับโลหะบัดกรีชนิดต่างๆและกระบวนการบัดกรีในลักษณะของอุตสาหกรรมการประกอบอุปกรณ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะสูตรของโลหะบัดกรีแต่ละสูตรที่ได้เปรียบเทียบประสิทธิภาพและข้อดีข้อเสียในข้างต้นไปแล้วนั้นพบว่าโลหะบัดกรีที่เหมาะสมต่อการใช้งานด้านอุปกรณ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์และทำการศึกษานั้นคือ โลหะบัดกรีระบบ Au-Sn ซึ่งหากศึกษาจากโครงสร้างจุลภาคโดย phase diagram ดังแสดงในภาพที่ 7 พบว่าสามารถเกิดเฟส intermetallic compounds ในสถานะของแข็งได้หลายเฟสเช่น Au10Sn(β), Au5Sn(ζ), AuSn(δ), AuSn2(ε), AuSn4(η) เป็นต้น ซึ่งสัดส่วนของโลหะบัดกรี Au-Sn ที่นิยมใช้เป็นตัวเชื่อมในอุตสาหกรรมการประกอบอุปกรณ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์นั้นอยู่ที่สัดส่วน Au 80และ Sn 20 เปอร์เซ็นโดยน้ำหนัก(%wt) เนื่องจากมีความแข็งแรงสูง สามารถนำความร้อนและนำไฟฟ้าได้ดี มีสมบัติในการเปียกผิวที่ดี มีความหนืดต่ำ ให้ความสามารถในการเชื่อมติดที่ดี สามารถป้องกันการกัดกร่อนและป้องกันการเกิดความคืบได้ดีและไม่จำเป็นต้องใช้ฟลักซ์ในการเชื่อม โดยมีจุดหลอมเหลวที่อุณหภูมิ 280ºองศาเซลเซียส

ภาพที่ 7 Phase diagram ระบบ An-Sn (Zeng, 2012)

โครงสร้างจุลภาคโดยทั่วไปของโลหะบัดกรี Au-20Sn นั้นเกิดจากสอง intermetallic compounds ในส่วนผสมนี้คือ Au5Sn และ AuSn ซึ่งในโครงสร้างจุลภาคนั้นพบเฟสของ Au5Sn มีลักษณะโครงสร้างเป็นdendrites ถูกล้อมรอบด้วยเฟสยูเทคติกของ AuSn ดังแสดงในภาพที่ 8

ภาพที่ 8 ภาพถ่ายทางกายภาพแบบ 3 มิติ (SEM-BSE micrographs) ของ โลหะผสมระบบยูเทคติก Au–Sn as-cast (Kim, 2005)

โครงสร้างสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อนำไปให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 สัปดาห์ โดยยังคงมีโครงสร้างทางจุลภาคคล้ายๆกับก่อนนำไปให้ความร้อนแต่มีบางส่วนที่จะมีความหยาบเพิ่มขึ้นดังแสดงในภาพที่ 9

ภาพที่ 9 ภาพถ่ายทางกายภาพแบบ 3 มิติ (SEM-BSE micrographs) ของ โลหะผสมระบบยูเทคติก Au–Sn ที่อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 สัปดาห์ (Kim, 2005)

เมื่อนำไปให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 สัปดาห์ พบว่า เฟสของ Au–Sn มีความหยาบเพิ่มขึ้นและเฟสของ Au5Sn ที่มีลักษณะโครงสร้างเป็น dendrites จะหายไป ดังแสดงในภาพที่ 10

ภาพที่ 10 ภาพถ่ายทางกายภาพแบบ 3 มิติ (SEM-BSE micrographs) ของ โลหะผสมระบบยูเทคติก Au–Sn ที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 สัปดาห์ (Kim, 2005)

จากโครงสร้างของโลหะบัดกรีระบบ Au-Sn ในข้างต้นจึงได้มีการศึกษาต่อถึงสมบัติทางกลและสมบัติทางความร้อนของโลหะบัดกรีชนิดนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งพบว่าระหว่างที่ทำการเพิ่มอุณหภูมิของ Au-20Sn alloy ในช่วงอุณหภูมิประมาณ 190 องศาเซลเซียส เฟส Au5Sn(ζ´) ทำการเปลี่ยนเฟสเป็นเฟสของ Au5Sn(ζ)ทั้งหมดทำให้ค่า Thermal expansion ลดลงอย่างกะทันหันก่อนขึ้นตามปกติ การที่เกิดปรากฏการณ์ความแตกต่างของค่านี้ซึ่งเกิดจากการนำไปใช้งานก็อาจทำให้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดรอยแตกขึ้นบน Au-20Sn alloy ทำให้ส่งผลเสียต่อสมบัติของการบัดกรีต่อไป นอกจากนี้ยังได้ศึกษาถึงค่า Bulk Modulus พบว่าค่าBulk Modulus ที่หาได้จากวิธีultrasonic ของเฟส Au5Sn-AuSn Eutectic มีค่าสูงที่สุดและตามลงมาด้วยเฟส Au5Sn(ζ)และ เฟส AuSn(δ) ตามลำดับ สาเหตุที่เฟส Au5Sn-AuSn Eutectic มีค่าBulk Modulusสูงนั้นมาจากการเกิดชั้นสลับของสารประกอบ Eutectic ทำให้มีขอบเกรนมากจึงส่งผลให้Dislocationเคลื่อนที่ได้ยาก ดังนั้นเฟส Au5Sn-AuSn Eutectic จึงมีความแข็งแรงหรือ Bulk Modulus มีค่าสูง

ได้มีการศึกษาเรื่องของความแข็งและความคืบเพิ่มเติม ซึ่งจากงานวิจัยของ Liu et al.( 2008) ศึกษาความแข็งของสารประกอบยูเทคติก Au-20Sn solder alloy โดยวิธี Nano-Indentation Experiment พบว่าความแข็งของ Au-20Sn solder alloy มีค่าลดลง เมื่ออุณหภูมิมีค่าสูงขึ้นและเมื่ออุณหภูมิมีค่าสูงขึ้นยังส่งผลให้เกิดความคืบความคืบที่เกิดขึ้นเป็นสาเหตุที่ทำให้ความแข็งของสารประกอบยูเทคติก Au-20Sn solder alloyมีค่าลดลง ดังแสดงในภาพที่ 11 โดย Zhang et al.(2012) ได้เปรียบเทียบพฤติกรรมการคืบระหว่าง Au-20Sn solder alloys กับSn-37Pb alloys พบว่า Au-20Sn solder alloys ให้คุณสมบัติการต้านทางต่อการคืบที่ดีกว่าและมีอัตราการคืบที่ steady state ที่ต่ำกว่า

ภาพที่ 11 การเปลี่ยนแปลงของความแข็งและความคืบที่ 400mN ในอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป (Liu, 2008)

นอกจากนั้นยังได้มีการศึกษาการเชื่อมของโลหะบัดกรี Au-20Sn ลงบนแผ่นทองแดงโดยใช้อุณหภูมิที่ 330 องศาเซลเซียส ดังแสดงในภาพที่ 12 พบว่าหลังเวลาผ่านไป 1 นาที พบเฟสของยูเทคติก ζ(Au,Cu)5Sn และเฟส δ (Au,Cu)Sn เป็นชั้นบางๆ เฟสของ ζ (Au,Cu)5Sn เกิดขึ้นแบบกระจัดกระจาย ส่วนเฟสของ AuCu เกิดขึ้นใกล้ชั้นของ Cu และบริเวณ A เจอเป็นชั้นเรียบๆของสารประกอบของเฟสยูเทคติก ζ (Au,Cu)5Snและเฟสδ (Au,Cu)Sn บริเวณ B เจอเป็นชั้นหยาบๆของสารประกอบผสมของเฟส ζ (Au,Cu)5Snและเฟส δ (Au,Cu)Sn ที่เกิดขึ้นมาก่อนการเย็นตัว โดยเมื่อเวลาผ่านไป 5 นาที พบเฟสของζ (Au,Cu)5Sn เกิดการโตแบบกระจัดกระจาย ส่วนเฟสของ AuCu เกิดขึ้นใกล้ชั้นของ Cu บริเวณ A และบริเวณ B หยาบขึ้นและหลังจากเวลาผ่านไป 60 นาที เกิดเฟสที่มีลักษณะเป็น dendrite จากการโตของเฟส ζ (Au,Cu)5Sn บริเวณ Aและบริเวณ B จะหยาบขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าหลังเวลา Reflow ผ่านไป 60 นาที เกิดเฟสที่มีลักษณะเป็น Dendrite โดยเฟส Dendrite ที่เกิดขึ้นจะมีคามเปราะดังนั้นไม่เหมาะสมในการนำมาใช้งาน ส่วนหลังเวลา Reflow ผ่านไป 5 นาที เกรนที่เกิดขึ้นจะมีความหยาบกว่าหลังเวลา Reflow ผ่านไป 1 นาที เกรนที่หยาบจะทำให้ความแข็งแรงของรอยเชื่อมลดลง ซึ่งหากใช้เวลาในการ Reflow ที่น้อยลง รอยเชื่อมที่ได้จะมีความแข็งแรงมากขึ้นเช่นกัน

ภาพที่ 12 โครงสร้างจุลภาคของ Au–20Sn/Cu solder joint after reflow (a) 1 นาที, (b) 5 นาที and (c) 60 นาที (Kim, 2005)

โลหะบัดกรีที่ใช้ในกระบวนการเชื่อมในลักษณะของของอุตสาหกรรมการประกอบอุปกรณ์ไมโคร-อิเล็กทรอนิกส์และกระบวนการเชื่อมแบบต่างๆนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งส่งผลถึงประสิทธิภาพของชิ้นงาน อายุการใช้งาน ความแข็งแรงและความทนทาน ซึ่งการศึกษาทางด้านส่วนผสมในระบบต่างๆของโลหะบัดกรี สัดส่วนของส่วนผสม รวมถึงโครงสร้างจุลภาค การเกิดโครงสร้างชนิดต่างๆ จุดหลอมเหลว ความแข็งแรง ความคืบและปัจจัยต่างๆ นั้นส่งผลต่อการพัฒนาโลหะบัดกรีในกระบวนการเชื่อมของลักษณะงานไมโครอิเล็กทรอนิกส์ให้ดียิ่งขึ้นไป รวมถึงการศึกษาทางด้านกระบวนการเชื่อมรูปแบบต่างๆ ทั้งปัจจัยต่างๆ ในการเชื่อมและผลกระทบต่อตัวโลหะบัดกรีนั้นย่อมส่งผลต่อการพัฒนาให้ชิ้นงานไมโครอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำการบัดกรีนั้นมีคุณภาพตามที่ต้องการมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

Abtew, M. and G. Selvaduray (2000). "Lead-free Solders in Microelectronics." Materials Science and Engineering: R: Reports 27(5–6): 95-141.

D. G. Kim and S.-B. Jung.  2005. Microstructure and Mechanical Properties of Sn-0.7Cu Flip Chip Solder Bumps Using Stencil Printing Method. Material Transaction 46 (11): 2366-2371.

Kim, Sung Soo, et al. "Microstructural evolution of joint interface between eutectic 80Au-20Sn solder and UBM."Materials transactions 46.11 (2005): 2400.

Kotadia, H. R., P. D. Howes, et al. (2014). "A review: On the development of low melting temperature Pb-free solders." Microelectronics Reliability 54(6–7): 1253-1273.

Krissada Surawathanawises. 2001. Study of Characteristics of Intermetallic Compounds on Lead-Free Solder Joints.

Liu, Y. C., et al. "High-temperature creep and hardness of eutectic 80Au/20Sn solder." Journal of Alloys and Compounds 448.1 (2008): 340-343.

Zeng, G., S. McDonald, et al. (2012). "Development of high-temperature solders: Review" Microelectronics Reliability 52(7): 1306-1322.

Zhang, G. S., et al. "Creep behavior of eutectic 80Au/20Sn solder alloy." Journal of Alloys and Compounds 476.1 (2009): 138-141.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้