กฎหมาย เกี่ยว กับ ผู้ ค้ํา ประกัน รถยนต์

ค้ำประกันรถให้ผู้อื่นไม่ตกเป็นเหยื่อ ถ้าศึกษาข้อมูลให้ดี!


เมื่อพูดถึงการค้ำประกันหลายคนอาจส่ายหน้าเพราะคิดว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นหนี้หากไปเป็นคนค้ำให้กับผู้อื่น แต่จริง ๆ แล้วคนค้ำประกันเองก็มีสิทธิพื้นฐานที่ช่วยคุ้มครองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อได้ง่าย ๆ ดังนั้นถ้ามีความจำเป็นต้องไปค้ำประกันให้คนใกล้ชิดหรือคนรู้จักขึ้นมาเมื่อไร ก็ควรรศึกษาข้อมูลเอาไว้ เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นหนี้แบบไม่รู้ตัว ซึ่งเกร็ดความรู้จากโตโยต้า ลีสซิ่ง รวบรวมข้อมูลมาไว้ที่นี่แล้ว!


1. คนค้ำยกเลิกสัญญาไม่ได้ ดังนั้นอ่านสัญญาให้ดีก่อนเซ็น
การทำสัญญาใด ๆ ก็ตามต้องอ่านสัญญาให้ละเอียดก่อนเสมอ โดยเฉพาะเมื่อต้องไปเป็นคนค้ำประกันให้ใคร ก่อนอื่นต้องอ่านข้อกำหนดและเงื่อนไขต่าง ๆ ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ มีความยุติธรรมกับผู้ที่มาค้ำประกันหรือเปล่า นอกจากนี้ตัวคนค้ำเองสามารถกำหนดวงเงินที่จะชำระหนี้แทนลูกหนี้ได้ โดยการตกลงกับลูกหนี้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งเจ้าหนี้จะเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้เกินวงเงินที่ตกลงกันเอาไว้ไม่ได้ด้วย


2. คนค้ำไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย
หากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ขึ้นมาเมื่อไรเจ้าหนี้ต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันรู้ล่วงหน้าก่อน 60 วัน หากไม่แจ้งในระยะเวลาดังกล่าวจะถือว่าผู้ค้ำประกันไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมศาล และค่าฟ้องร้องต่อศาล แต่ในส่วนของเงินต้นผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดชอบแทนลูกหนี้อยู่


3. เจ้าหนี้ต้องเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนเสมอ
หากลูกหนี้ผิดนัดขึ้นมาเมื่อไร ใช่ว่าจะเรียกให้คนค้ำจ่ายแทนได้ทันที แต่เจ้าหนี้ต้องเรียกร้องเอากับลูกหนี้ก่อนเสมอ จากนั้นหากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ จึงต้องมีหนังสือแจ้งผู้ค้ำประกันภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด ไม่อย่างนั้นคนค้ำประกันก็ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายในการทวงหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น ตามที่กล่าวไปในข้อ 1


4. ต้องฟ้องลูกหนี้ก่อนฟ้องผู้ค้ำประกันเสมอ
หากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้และสถานการณ์ไปถึงขั้นฟ้องร้อง เจ้าหนี้จะมาฟ้องคนค้ำทันทีไม่ได้ แต่ต้องฟ้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนเสมอ โดยอาจใช้วิธียึดทรัพย์สินเพื่อมาชำระหนี้แทนเงินสด ไม่มีสิทธิมาทวงถามการชำระหนี้กับทางคนค้ำก่อนทวงถามจากลูกหนี้ เมื่อฟ้องร้องกับลูกหนี้จนถึงที่สุดแล้วยังมีหนี้เหลืออยู่จึงจะสามารถมาฟ้องร้องผู้ค้ำประกันได้


5. คนค้ำมีสิทธิบ่ายเบี่ยงให้เจ้าหนี้ฟ้องกับลูกหนี้ก่อน
นอกจากเจ้าหนี้ต้องไปฟ้องร้องลูกหนี้ก่อนฟ้องคนค้ำประกันแล้ว ทางฝ่ายคนค้ำเองก็มีสิทธิบ่ายเบี่ยงเมื่อเจ้าหนี้มาทวงหนี้ โดยให้เจ้าหนี้ไปฟ้องเอากับลูกหนี้ก่อนได้ ถือเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่จะปฏิเสธหากลูกหนี้ยังมีความสามารถในการชำระหนี้อยู่


และนี่ก็คือข้อควรรู้ของผู้ค้ำประกัน จะเห็นว่าเมื่อลูกหนี้เกิดผิดนัด คนค้ำไม่จำเป็นต้องตกเป็นเหยื่อและต้องชำระหนี้แทนลูกหนี้ในทันที แต่คนค้ำมีสิทธิบ่ายเบี่ยงให้เจ้าหนี้ไปฟ้องเอากับลูกหนี้ก่อนได้ นอกจากนี้หากไม่มีการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรมาล่วงหน้ายังไม่ต้องรับผิดชอบดอกเบี้ยผิดนัดและค่าใช้จ่ายในการทวงหนี้อื่น ๆ ที่สำคัญก็คือหากไม่ต้องการเสี่ยงจริง ๆ ก็สามารถตกลงวงเงินในการชำระหนี้แทนลูกหนี้เอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรได้ด้วย


อ่านเกร็ดความรู้อื่น ๆ ได้ที่ //www.tlt.co.th/news/knowledge

 มีผู้สอบถามเข้ามาจำนวนมาก ผู้ค้ำประกันหลายท่านเป็นทุกข์และกังวล ร้อนใจนอนไม่หลับ 

เรียนผู้คำประกันทุกท่านครับ ตามกฎหมายใหม่มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 

ท่านที่ทำสัญญาประกันหลังวันที่ดังกล่าว  และหากลูกหนี้ผิดนัดหลังวันที่กฎหมายใหม่

มีผลบังคับใช้ต้องดำเนินการตามแห่งบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่

หากท่านถูกฟ้องในฐานะผู้ค้ำฯ  พิจารณาดังนี้

  1. ก่อนอื่นดูว่ามีจดหมายมาถึงผู้ค้ำ หรือไม่  (ถ้าไม่มี ไม่ต้องรับผิด) 
  2. ถ้ามี ดูว่าอยู่ในระยะ 60 วัน นับแต่ลุกหนี้ผิดนัดหรือไม่ ( บอกกล่าวก่อนผิดนัดก็ไม่ได้ ไม่มีผล)
  3. ถ้าพ้น 60 วันไปแล้วเราไม่ต้องรับผิด ค่าเสีย  ดอกเบี้ย หรือหนี้อุปกรณ์ทั้งหลาย 
  4. นอกจากนี้ ผู้ค้ำยังมีสิทธิเกี่ยงให้ลูกหนี้ชำหนี้ก่อนตนได้  ตามที่กฎหมายให้สิทธิไว้ 

มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่   5789/2562

สัญญาค้ำประกันทำขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 ใช้บังคับ โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติการใช้บังคับมาตรา 681/1 ไว้เป็นอย่างอื่น

ข้อสัญญาตามสัญญาค้ำประกันที่กำหนดให้จำเลยที่ 2 และที่ 3

ผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงใช้บังคับได้ ส่วนมาตรา 686 ที่แก้ไขใหม่ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557

บัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันก่อนใช้สิทธิเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้

และหากเจ้าหนี้มิได้มีหนังสือบอกกล่าวภายใน 60 วันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน  

ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้บรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวนั้น มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้มาตรา 686 

ใช้บังคับนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2558

โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวลงวันที่ 28 มกราคม 2558 ไปยังจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการบอกกล่าวก่อนวันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด ส่วนหนังสือบอกกล่าวลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รับเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2559

เป็นการบอกกล่าวเกินกำหนด 60 วัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงหลุดพ้นความรับผิดเฉพาะแต่ดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้บรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดดังกล่าว

แต่หน้าที่ในการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์กรณีที่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันนั้นเป็นหนี้ประธาน หาใช่ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ ตามมาตรา 686 วรรคสอง แต่อย่างใดไม่ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนหรือใช้ราคาแทนแก่โจทก์ด้วย

ข้อแนะนำสำหรับทุกท่านนะครับ

หากคำประกันการเช่าซื้อรถยนต์  ผู้ค้ำอาจไม่ต้องรับผิดตามจำนวนที่โจทก์ฟ้อง

1. ค่าขาดราคา   กล่าวคือเมื่อเจ้าของยึดรถแล้วนำไปขายยังขาดราคาอยู่  เงินส่วนนี้โจทก์มักบรรยายว่าเงินค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ แต่ศาลวางหลักว่าเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งและกำหนดไว้ล่างหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับศาลจะลดตามที่เห็นสมควร 

2. ค่าขาดประโยชน์  กล่าวคือการใชรถระหว่าที่ผิดนัดจนถึงยึดรถได้แล้ว เป็นเวลากี่เดือน  ส่วนพิจารณาจากอัตราค่าเช่าในท้องตลาดหากพิสูจน์ไม่ได้ ศาลท่านจะกำหนดให้ตามความเหมาะสม

ขอเรียนว่ากฎหมายมีเงื่อนแง่ ที่จะต้องพิจารณาหลายแง่มุม  นอกจากตัวบทกฎหมายแล้ว ยังมีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาวางแนวทางการต่อสู้ไว้  ดังนั้น  หากมีข้อขัดข้องใจควรปรึกษาทนายความ  เพื่อหาแนวทางการต่อสู่ที่เหมาะสมกับรูปคดี จะเป็นผลดีต่อท่านมากกว่าที่ท่านจะดำเนินการด้วยตนเอง

สำนักงานกฏหมาย ตรินัยน์การทนายความ

ตรินัยน์  โชติเศรษฐ์ภาคิน  063-5955444

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้