ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2565 มรดก

          โอนที่ดิน โอนบ้าน ปี 2565 ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ใครกำลังจะโอนกรรมสิทธิ์ให้คนในครอบครัว หรือซื้อ-ขายบ้าน ต้องทำความเข้าใจเรื่องค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้ดี

          พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2563 แทนการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน-ที่ดิน ที่ถูกยกเลิกไป ส่งผลให้ผู้ครอบครองที่ดินประเภทต่าง ๆ หรือเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด อาคารพาณิชย์ ฯลฯ ที่มีมูลค่าเกินเกณฑ์ยกเว้นภาษี ต้องเสียภาษีตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตราที่กำหนด จึงทำให้คนที่มีบ้านหลายหลัง หรือที่ดินหลายแห่ง ใช้วิธีโอนที่ดิน โอนบ้านให้กับคนใกล้ชิด เพื่อกระจายการถือครอง ให้เสียภาษีน้อยลง  
 

          อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการโอนให้กับญาติพี่น้อง คนในครอบครัว หรือซื้อ-ขายแบบโอนกรรมสิทธิ์ แต่ละกรณีต่างมีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไป เราจะพามาดูว่า หากต้องการโอนที่ดิน-โอนบ้านให้กับผู้อื่น มีค่าธรรมเนียมเท่าไหร่และมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
 

กรณีโอนโดยยกให้ญาติพี่น้อง

หากต้องการโอนบ้านหรือที่ดินให้กับคนในครอบครัว ต้องดูก่อนว่าคนนั้นมีความสัมพันธ์อย่างไรกับเรา ซึ่งกฎหมายได้กำหนดค่าใช้จ่ายในการโอนให้แต่ละคนไม่เท่ากัน กล่าวคือ
 

1. กรณีโอนให้ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย

          ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย คือ ลูกที่เกิดระหว่างพ่อแม่จดทะเบียนสมรส เมื่อพ่อแม่ต้องการโอนบ้าน โอนที่ดินให้ จะมีค่าใช้จ่ายหลัก ๆ อยู่ 2 ประการ คือ

               - ค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% จากราคาประเมิน
               - ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ของราคาประเมิน  
 

          สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะได้รับการยกเว้น เมื่อพ่อแม่โอนบ้านหรือที่ดินให้ลูก ไม่ว่าจะคนเดียวหรือหลายคน แต่ละคนต้องมีมูลค่าไม่เกิน 20 ล้านบาท หากเกินที่กำหนด จะต้องเสียภาษี 5% ของมูลค่าอสังหาฯ เฉพาะส่วนที่เกินกว่า 20 ล้านบาทนั้น เช่น ถ้าพ่อแม่โอนบ้านหรือที่ดินมูลค่า 25 ล้านบาท ให้ลูก จะได้รับการยกเว้นการคิดภาษีในส่วน 20 ล้านบาท แต่จะถูกคิดภาษี 5% ในส่วน 5 ล้านบาท เป็นต้น
 

2. กรณีโอนให้ลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

          หากลูกคนนั้นเกิดระหว่างที่พ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส หรือพ่อไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร เมื่อพ่อแม่ต้องการโอนบ้าน โอนที่ดินให้ จะมีค่าใช้จ่ายหลัก ๆ อยู่ 3 ประการ คือ

               - ค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% จากราคาประเมิน

               - ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน  

               - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายได้ 50%
 

3. กรณีโอนให้แก่สามี-ภรรยา

          หากสามี-ภรรยาจดทะเบียนสมรส และต้องการโอนที่ดินให้แก่กัน โดยไม่ได้โอนในรูปแบบของมรดก จะเสียค่าใช้จ่ายดังนี้

               - ค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% จากราคาประเมิน

               - ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน  

               - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายได้ 50%
 

4. กรณีโอนให้ญาติพี่น้อง

          ญาติพี่น้อง ไม่ว่าจะพี่ ป้า น้า อา รวมถึงลูกบุญธรรม ลูกสะใภ้ ลูกเขย หากไม่ได้รับการโอนในรูปแบบของมรดก จะเสียค่าใช้จ่ายในการรับโอนที่ดิน-บ้าน คือ

               - ค่าธรรมเนียมการโอน 2% จากราคาประเมิน แต่หากปู่ ย่า ตา ยาย โอนที่ดินให้หลานผู้สืบสันดานแท้ ๆ จะเสียค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% จากราคาประเมิน

               - ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน  

               - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายได้ 50%

          นอกจากนี้ในการโอนทุกกรณียังมีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ อีก เช่น ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท, ค่าพยาน 20 บาท, ค่าอากรคู่ฉบับ 5 บาท
 

          ถ้าโอนบ้านหรือที่ดินในรูปแบบของมรดก จะเสียเพียงค่าธรรมเนียมจดทะเบียนโอนมรดกเท่านั้น ซึ่งหากผู้รับมรดกเป็นผู้สืบสันดาน (บุตร, หลาน, เหลน, ลื้อ) หรือระหว่างคู่สมรส จะเสีย 0.5% จากราคาประเมิน แต่หากเป็นญาติพี่น้อง ลูกบุญธรรม จะต้องเสียค่าธรรมเนียม 2% จากราคาประเมิน
 

          ในส่วนของค่าอากรแสตมป์ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีเงินได้ฯ ไม่ต้องเสีย แต่จะมีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย เช่น กรณีโอนที่ดินมรดกจะมีค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท, ประกาศมรดก แปลงละ 10 บาท, ค่าจดทะเบียนผู้จัดการมรดก แปลงละ 50 บาท
 

อย่างไรก็ตาม กรณีโอนมรดก ผู้รับมรดกจะต้องเสียภาษีมรดกด้วย ตามอัตรานี้  

     - หากมีมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาท จะต้องเสียภาษีในอัตรา 10% เฉพาะส่วนที่เกินจากมูลค่า 100 ล้านบาทนั้น เช่น

               หลานได้รับบ้านมรดกราคา 110 ล้านบาท จากป้าที่เสียชีวิตไปแล้ว จะต้องเสียภาษีมรดกส่วนที่เกินจากมูลค่า 100 ล้านบาท ซึ่งก็คือ 10 ล้านบาท x 10% = 1 ล้านบาท
 

     - หากผู้รับมรดกเป็นพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ทวด หรือผู้สืบสันดาน คือ ลูก หลาน เหลน โหลน ลื้อ อัตราภาษีจะต่ำลงมาเหลือ 5% เช่น

               ลูกได้รับมรดกที่ดินจากพ่อ มูลค่า 105 ล้านบาท จะต้องเสียภาษีมรดกส่วนที่เกินมามูลค่า 5 ล้านบาท x 5% = 250,000 บาท
 

     - ถ้าสามีหรือภรรยา คนใดคนหนึ่งเสียชีวิต แล้วอีกฝ่ายได้รับมรดกเป็นบ้านหรือที่ดิน หากสามี-ภรรยาจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ผู้รับมรดกจะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี
 

         

การซื้อ-ขายบ้านและที่ดิน ไม่ว่ากับญาติพี่น้อง หรือบุคคลทั่วไป ต่างมีค่าใช้จ่ายในการโอน 5 อย่างเหมือนกันทั้งหมด คือ

                         - ค่าธรรมเนียมการโอน
                         - ค่าจดจำนอง
                         - ค่าอากรแสตมป์
                         - ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ
                         - ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

1. ค่าธรรมเนียมการโอน

          ปกติคิด 2% ของราคาประเมิน แต่เนื่องจากตอนนี้รัฐบาลต้องการกระตุ้นให้มีการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น และเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์โรค COVID-19 จึงได้ปรับลดค่าธรรมเนียมจาก 2% เป็น 0.01% โดยมีเงื่อนไขคือ

  • เฉพาะการซื้อ-ขายอาคารที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และบ้านแถว หรืออาคารพาณิชย์ หรือที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุดที่จดทะเบียนอาคารชุด 
  • ราคาซื้อ-ขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท
  • ใช้สิทธิได้ทั้งบ้านใหม่ บ้านมือสอง หรือการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
  • ต้องโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน จึงจะได้ลดค่าธรรมเนียมการจำนองด้วย
  • ต้องโอนและจดจำนองตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม - 31 ธันวาคม 2565
  • ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ต้องเป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย
     

          ดังนั้น หากซื้อ-ขายบ้านราคา 2 ล้านบาท จากเดิมเสียค่าธรรมเนียมการโอน 40,000 บาท จะลดเหลือ 2,000,000 x 0.01% = เสียค่าธรรมเนียมการโอน 200 บาท
 

          สำหรับการซื้อ-ขายบ้านพร้อมที่ดิน ที่มีมูลค่ามากกว่า 3 ล้านบาท หรือซื้อ-ขายเฉพาะที่ดิน ค่าธรรมเนียมการโอนยังคงคิด 2% ตามเดิม ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ส่วนใหญ่ผู้ซื้อและผู้ขายจะตกลงจ่ายกันคนละครึ่งหนึ่ง
 

2. ค่าจดจำนอง

          กรณีซื้อ-ขายโดยจดจำนอง จะเสียค่าจดจำนองด้วย ซึ่งปกติคิด 1% ของมูลค่าจำนอง แต่ปี 2565 ได้ปรับลดลงเหลือ 0.01% เช่นกัน ตามเงื่อนไขคือ

  • เฉพาะการซื้อ-ขายอาคารที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และบ้านแถว หรืออาคารพาณิชย์ หรือที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุดที่จดทะเบียนอาคารชุด 
  • ราคาซื้อ-ขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท
  • ใช้สิทธิได้ทั้งบ้านใหม่ บ้านมือสอง หรือการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
  • ต้องโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน จึงจะได้ลดค่าธรรมเนียมการจำนองด้วย
  • ต้องโอนและจดจำนองตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม - 31 ธันวาคม 2565
  • ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ต้องเป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย

   
          หากมูลค่าการซื้อ-ขายมากกว่า 3 ล้านบาท ค่าจดจำนองยังคงคิด 1% ตามเดิม 
 

ตัวอย่างการคิดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง ในปี 2565

        กรณีซื้อบ้าน มูลค่า 3 ล้านบาท หากโอนและจดจำนองพร้อมกันตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม - 31 ธันวาคม 2565 จะต้องเสียค่าใช้จ่ายดังนี้

  • อัตราปกติ : เสียค่าธรรมเนียมการโอน 60,000 บาท และค่าจดจำนอง 30,000 บาท รวมเสียค่าใช้จ่าย 90,000 บาท
  • อัตราใหม่ในปี 2565 : เสียค่าธรรมเนียมการโอน 300 บาท และค่าจดจำนอง 300 บาท รวมเสียค่าใช้จ่าย 600 บาท ประหยัดไปได้ 89,400 บาท

3. ค่าอากรแสตมป์

          กรณีซื้อ-ขายบ้านพร้อมที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียม ทาวน์เฮ้าส์ หากผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดา แล้วมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี หรือถือครองมาครบ 5 ปี จะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ โดยมีอัตราคิดเป็น 0.5% ของราคาซื้อ-ขาย หรือราคาประเมินทุนทรัพย์ก็ได้ แล้วแต่อย่างใดจะสูงกว่า

          เช่น หากบ้านมีราคาประเมิน 1.8 ล้านบาท แต่ราคาซื้อ-ขายอยู่ที่ 2 ล้านบาท ให้ยึดราคาซื้อ-ขายเป็นเกณฑ์

                          2,000,000 x 0.5% = เสียค่าอากรแสตมป์ 10,000 บาท

          โดยหากเสียค่าอากรแสตมป์แล้ว ไม่ต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะอีก
 

          สำหรับกรณีซื้อ-ขายที่ดินอย่างเดียว ไม่ว่าผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคล ต้องถือครองครบ 5 ปี เท่านั้น ถึงจะเสียแต่ค่าอากรแสตมป์ ไม่ต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ
 

4. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ

          เมื่อต้องการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยการซื้อ-ขาย ได้รับเป็นมรดก หรือถูกเวนคืนตามกฎหมาย จะต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยคิดเป็น 3.3% ของราคาขายหรือราคาประเมินทุนทรัพย์ แล้วแต่ราคาไหนที่สูงกว่า

          เช่น หากบ้านมีราคาประเมิน 1.8 ล้านบาท แต่ราคาซื้อ-ขายอยู่ที่ 2 ล้านบาท ให้ยึดราคาซื้อ-ขายเป็นเกณฑ์

                          2,000,000 x 3.3% = เสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 66,000 บาท
 

          ยกเว้น หากถือครองอสังหาริมทรัพย์เกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี จะไม่ต้องชำระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ แต่จะต้องจ่ายค่าอากรแสตมป์แทน
 

5. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย

เมื่อขายอสังหาริมทรัพย์ได้ ผู้ขายที่เป็นนิติบุคคลจะต้องเสียภาษีเงินได้ฯ 1% ของราคาประเมิน หรือราคาซื้อ-ขาย ขึ้นอยู่กับราคาใดสูงกว่า แต่หากผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดาต้องเสียภาษีเงินได้ โดยใช้ราคาประเมินรวมที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นตัวตั้ง แล้วนำมาคำนวณอัตราภาษีเงินได้ และหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยการให้-รับมรดก หรือซื้อ-ขายก็ตาม สามารถคำนวณเองได้จาก โปรแกรมคำนวณภาษี หัก ณ ที่จ่าย หรือดูตัวอย่างด้านล่างนี้
 

จะเห็นว่าตัวเลขดังกล่าวเหมือนกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่สำหรับการคำนวณภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ จะไม่ได้รับยกเว้นสำหรับเงินได้สุทธิ 0-150,000 บาทแรก เหมือนกับการคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปกติ
 

          ทั้งนี้ จำนวนปีที่ถือครองนั้นจะนับตามปีบัญชี คือ นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีเดียวกัน หากข้าม พ.ศ. ไป จะนับเป็น 2 ปี เช่น ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในเดือนกันยายน 2562 และขายไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เท่ากับถือครอง 2 ปี แต่หากถือครองเกิน 10 ปี ให้นับเพียง 10 ปี เท่านั้น
 

          หากอสังหาริมทรัพย์นั้นได้มาโดยการรับมรดก หรือให้โดยเสน่หา ให้หักค่าใช้จ่ายได้เพียง 50% ไม่ว่าจะถือครองจริงกี่ปีก็ตาม

ตัวอย่างการคำนวณ

ขายบ้านที่ได้มาโดยการรับมรดก ราคา 4.8 ล้านบาท โดยที่บ้านมีราคาประเมิน 3 ล้าน และถือครองมาแล้ว 5 ปี

          หากอสังหาริมทรัพย์นั้นได้มาโดยการซื้อ-ขาย ให้หักค่าใช้จ่ายตามจำนวนปีที่ถือครอง ตามความเป็นจริง
 

ตัวอย่างการคำนวณ

ขายบ้านที่ได้มาโดยการซื้อ ราคา 7.8 ล้านบาท โดยที่บ้านมีราคาประเมิน 5 ล้าน และถือครองมาแล้ว 2 ปี
 

          สำหรับผู้ที่ไม่ทราบราคาประเมินที่ดิน สามารถเช็กได้ที่เว็บไซต์ กรมธนารักษ์ และเมื่อทราบถึงค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการโอนบ้าน-โอนที่ดินแล้ว เราก็ลองคำนวณดูว่ากรณีของเราต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร เพื่อจะได้เตรียมเอกสารและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้พร้อม ซึ่งจะช่วยให้การโอนกรรมสิทธิ์ต่าง ๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
 

**ข้อควรรู้**ลองคำนวณให้ดีก่อนว่า ระหว่างการโอนที่ดิน-โอนบ้านให้คนอื่น กับ ยอมจ่ายภาษีที่ดินเอง แบบไหนจะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าในระยะยาว เนื่องจากการโอนให้ผู้อื่นมีค่าธรรมเนียมสูงกว่าการจ่ายภาษีที่ดินพอสมควร จึงเหมาะกับกรณีที่ต้องการรักษาที่ดินหรือบ้านหลังนั้นไว้เป็นเวลานาน และยังไม่คิดจะขายในระยะเวลาอันใกล้นี้

          แต่ถ้าต้องการขายบ้าน-ที่ดิน ในระยะเวลาไม่นานหลังจากนี้ เช่น ไม่เกิน 5 ปี บางทีการยอมเสียภาษีที่ดินตามปกติ น่าจะช่วยประหยัดได้มากกว่าการเสียค่าธรรมเนียมการโอน

*หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 18 มกราคม 2565
 

ขอบคุณข้อมูลจาก
กรมที่ดิน, กรมที่ดิน, กรมที่ดิน, กรมที่ดิน, กรมสรรพากร, ฐานเศรษฐกิจ, กรุงเทพธุรกิจ, เฟซบุ๊กสถานีข่าวกระทรวงการคลัง : Ministry of Finance News Station, รัฐบาลไทย, ราชกิจจานุเบกษา (1), (2), (3)       

โอนที่ดินมรดกเสียค่าโอนเท่าไร

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน ค่าประกาศมรดก แปลงละ ๑๐ บาท ค่าจดทะเบียนผู้จัดการมรดก แปลงละ ๕๐ บาท ค่าจดทะเบียนโอนมรดก ร้อยละ ๒ ตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ในกรณีโอนมรดกระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ร้อยละ ๐.๕

ที่ดินมรดก ต้องเสียค่าโอนไหม

ในกรณีที่เจ้าของบ้าน คอนโด หรือที่ดิน ได้เสียชีวิตลง ทรัพย์สินจะกลายเป็นมรดกที่ตกทอดสู่ทายาทโดยธรรมเท่านั้น ไม่สามารถตกทอดสู่ทายาทที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ การโอนจะเสียเพียงค่าธรรมเนียมการโอนเท่านั้น ไม่ต้องเสียทั้งค่าอากรแสตมป์ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ะต้องถูกเรียกเก็บค่าภาษีมรดก กรณีได้รับ ...

ค่าโอนที่ดิน 2565 กี่บาท

ค่าโอนบ้าน-ที่ดิน ปี 2565 ลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ จากอัตราปกติ 2% เหลือ 0.01% สำหรับอสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นอาคารที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์ หรือที่ดินพร้อมอาคารประเภทดังกล่าว โดยราคาซื้อขายและราคาประเมินต้องไม่เกิน 3 ล้านบาท

การโอนที่ดินต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

ค่าโอนที่ดิน ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน.
ค่าคำขอโอนที่ดิน 5 บาท.
ค่าอากร 5 บาท.
ค่าพยาน 20 บาท.
ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน ซึ่งคิดที่ 2% ของราคาประเมินหรือราคาขาย โดยใช้ราคาสูงสุดในการคำนวณ ... .
ค่าจดจำนอง เฉพาะสำหรับกรณีกู้เงินจากสถาบันการเงินมาซื้อ ซึ่งคิดที่ 1% ของมูลค่าที่จดจำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้