แรงงาน ฟอร์ม หนังสือเลิกจ้าง DOC

หนังสือเลิกจ้าง

หนังสือยืนยอมเลิกจ้าง

ข้อควรรู้เรื่อง เลิกจ้าง! สิ่งที่นายจ้างต้องรู้ และ ลูกจ้างต้องเตรียมตัว

จากวิกฤตการณ์โรคระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่าโควิด 19 ทำให้หลายหน่วยงานหรือบริษัทได้เลิกจ้างพนักงานออกจากหน่วยงานองค์กร ไม่ว่าจะหน่วยงานองค์กรขนาดเล็กใหญ่ก็ต้องประสบกับความไม่มั่นคงเรื่องการจ้างงานด้วยกันทั้งสิ้น เมื่อเกิดวิกฤตกับหน่วยงานองค์กร ทำให้หลายคนต้องตกงาน ขาดรายได้ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตการณ์เหตุการณ์ใดเกิดขึ้น

ถูกเลิกจ้าง

ไม่ว่าพนักงานหรือลูกจ้างจะลาออกเองหรือถูกเลิกจ้าง สิ่งที่ต้องตระหนักเลยก็คือนายจ้างหรือลูกจ้างจะต้องทราบกฎหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายและเพื่อรักษาสิทธิส่วนบุคคล อาทิเช่นในระหว่างที่พนักงานถูกเลิกจ้างจากบริษัทเกิดวิกฤตก็จะต้องได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย หรือกรณีหากพนักงานหรือลูกจ้างกระทำความผิดร้ายแรงนายจ้างหรือหน่วยงานองค์กรมีสิทธิที่จะสามารถเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้ หรือกรณีที่ลูกจ้างหรือพนักงานตัดสินใจลาออกเองก็จะมีค่าชดเชยตามกฎหมายจากประกันสังคมเช่นกัน

หนังสือเตือนพนักงานบกพร่องในหน้าที่

หนังสือตักเตือนพนักงาน

ไม่ว่าพนักงานหรือลูกจ้างจะ ลาออกเองหรือถูกเลิกจ้าง สิ่งที่ต้องตระหนักเลยก็คือนายจ้างหรือลูกจ้างจะต้องทราบกฎหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายและเพื่อรักษาสิทธิส่วนบุคคล

การลาออก คือ 

การลาออกมีการยินยอมทั้งสองฝ่ายจะไม่มีการจ่ายค่าชดเชยจากนายจ้าง เพราะถือว่าบริษัทหรือหน่วยงานไม่ได้ทำการปลดพนักงานออกเอง แต่หากพนักงานหรือลูกจ้างมีประกันกันสังคมที่ได้ทำกับบริษัทหรือหน่วยงานองค์กรก็จะสามารถขอค่าชดเชยระหว่างการว่างงานได้เช่นกัน แปลง่าย ๆ ว่า ผู้จ่ายค่าชดเชยจะไม่ใช่นายจ้างหากพนักงานหรือลูกจ้างตัดสินใจลาออกเอง โดยจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์การลาออกเมื่อมีเอกสารหนังสือลาออกจากหน่วยงานหรือองค์กร

การเลิกจ้าง คือ

นายจ้างหรือหน่วยงานองค์กรได้ทำการปลดพนักงานหรือลูกจ้างและจะต้องทำการจ่ายค่าชดเชนให้พนักงานหรือลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ที่สำคัญคือนายจ้างจะต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าก่อนสัญญาจ้างสิ้นสุดไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือนตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายคุ้มครองแรงงานวางหลักคุ้มครองลูกจ้าง หากนายจ้างไม่แจ้งล่วงหน้าจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้พนักงานหรือลูกจ้างเพิ่มอีก 1 เดือนตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

โดยการจ้างงานจะต้องเป็นเอกสารหนังสือจ้างที่กำหนดระยะเวลาจ้างแน่นอนเรียกว่าสัญญาปลายปิด (Fixed Terms Contract) เป็นลักษณะหนังสือสัญญาจ้างมีกำหนดเวลาเริ่มและสิ้นสุดของสัญญาไว้ชัดเจน เมื่อครบกำหนดสัญญานายจ้างไม่ต้องบอกล่วงหน้าหรือบอกเลิกสัญญาจ้างอีก หากหนังสือจ้างไม่กำหนดเวลาจ้างแน่นอนจะเรียกว่าเป็นสัญญาปลายเปิด ในกรณีสัญญาจ้างแบบนี้ หากมีการเลิกจ้างจะต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย  1 เดือนหรือ 1 คราว เพื่อให้มีผลเลิกจ้างในเดือนหรือคราวถัดไป ตัวอย่างหัวข้อหนังสือเลิกจ้างอาทิเช่น

  • หนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างงาน
  • แบบฟอร์มหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างงาน

ในกรณีที่นายจ้างหรือหน่วยงานองค์กรมีการจ่ายค่าจ้างต่อเดือน 2 ครั้ง เช่น มีการจ่ายค่าจ้างวันที่ 15 และวันสุดท้ายของเดือน ลักษณะนี้นายจ้างอาจจะบอกล่วงหน้าก่อน 1 คราว คืออย่างน้อยต้องแจ้งบอกเลิกสัญญาจ้างหรือแจ้งเลิกจ้างพนักงานลูกจ้างตั้งแต่อย่างน้อยวันสุดท้ายของเดือน เช่น นายจ้างหรือบริษัทหน่วยงานองค์กรต้องการเลิกจ้างพนักงาน 15 ก.พ.2564 ต้องการบอกเลิกจ้างอย่างน้อยวันที่ 31 ม.ค. 2564 ซึ่งถือเป็น 1 คราว คิดจากรอบการจ่ายเงินเดือน หรือในกรณีที่ไม่ได้บอกล่วงหน้ากับพนักงานหรือลูกจ้าง นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างต่อเดือนให้กับพนักงานหรือลูกจ้างแทน ซึ่งจะเรียกค่าชดเชยจากนายจ้างนี้ว่า “ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า” หรือ “ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า” นั้นเอง

อย่างไรก็ตามการแจ้งล่วงหน้าเพื่อปลดพนักงานหรือเลิกจ้างจะสามารถแจ้งด้วยหนังสือหรือแจ้งทางวาจาก็ได้เช่นกัน แต่เพื่อให้เป็นหลักฐานและเป็นธรรมแก้ทั้งสองฝ่ายควรจะต้องทำการแจ้งล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรจะดีที่สุดนั้นเอง

การเลิกจ้างหรือลาออก ไม่เหมือนกัน 

ความแตกต่างของการลาออกและเลิกจ้างคือความยินยอมของทั้งสองฝ่ายจะไม่เหมือนกัน หากพนักงานหรือลูกจ้างตัดสินใจลาออกเองจะถือว่าได้รับความยินยอมทั้งสองฝ่าย หากหน่วยงานหรือบริษัทองค์กรเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างนั้นหมายถึงพนักงานหรือลูกจ้างอาจจะยินยอมหรือไม่ยินยอมก็ได้เช่นกัน

ลาออก กับ เลิกจ้าง แตกต่างกันหรือไม่

ความผิดร้ายแรงต่อนายจ้างหรือองค์กร

ทั้งนี้หากพบว่ากรณีพนักงานหรือลูกจ้างได้กระทำความผิดร้ายแรงต่อนายจ้างหรือหน่วยงานองค์กร หรือกระทำความผิดบางอย่างนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างได้โดยไม่บอกล่วงหน้า ได้แก่

  • ลูกจ้างมีเจตนาหรือจงใจขัดคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง
  • ลูกจ้างละเลยต่อคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง
  • ลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และละทิ้งหน้าที่เป็นเวลานานเกินสมควร
  • ลูกจ้างกระทำความผิดร้ายแรง
  • ลูกจ้างได้กระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต
  • ลูกจ้างทุจริตต่อหน่วยงานองค์กร
  • ลูกจ้างได้กระทำความผิดทางอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง
  • ลูกจ้างมีเจตนาและจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  • ลูกจ้างประมาทเลินเล่อ ส่งผลให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
  • ลูกจ้างกระทำการฝ่าฝืนคำสั่ง ระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างซึ่งเป็นเหตุร้ายแรง
  • ลูกจ้างได้กระทำความผิดซ้ำคำตักเตือน
  • ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ตั้งแต่ 3 วันทำงานติดต่อกันขึ้นไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร
  • ลูกจ้างกระทำความผิดและได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด หากเป็นความผิดที่ได้ประทำเป็นความประมาทหรือลหุโทษ และส่งผลให้นายจ้างจะต้องได้รับความเสียหายตามไปด้วย
ตัวอย่าง ความผิดร้ายแรงต่อนายจ้าง

ทั้งนี้หากเป็นไปตามข้อ 6) – 13) นายจ้างมีสิทธิที่จะเลิกจ้าง หรือปลดพนักงานลูกจ้างได้ โดยไม่ต้องมีการจ่ายค่าชดเชยแต่อย่างใด เพราะถือว่าเป็นความผิดอันร้ายแรงต่อนายจ้างนั้นเอง ตัวอย่างเอกสารหนังสือที่ปลดพนักงานลูกจ้าง อาทิเช่น

  • หนังสือพ้นสภาพการเป็นพนักงาน
  • แบบฟอร์มหนังสือเลิกจ้างละทิ้งหน้าที่

หากนายจ้างต้องการชี้แจงเพื่อตักเตือนความผิดในครั้งแรกเพื่อให้พนักงานหรือลูกจ้าง อย่างการกระทำความผิดของลูกจ้างในข้อ 11) เป็นต้น โดยจะยังไม่ได้เป็นการเลิกจ้างหรือปลดพนักงานทันที นายจ้างสามารถใช้เอกสาร “หนังสือเตือนพนักงานบกพร่องในหน้าที่” เพื่อเป็นหลักฐานต่อการกระทำในความคิดครั้งแรกของลูกจ้างได้ ซึ่งความคิดนั้นจะยังไม่ถือเป็นความผิดร้ายแรงที่มีผลให้เลิกจ้างได้ในทันที อย่างไรก็ตามว่าด้วยเรื่องการกระทำความผิดซ้ำที่ได้ตักเตือนจะกระทำเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้

ข้อควรรู้ คือ เมื่อพนักงานหรือลูกจ้างตัดสินใจลาออกหรือถูกเลิกจ้างแล้ว พนักงานหรือลูกจ้างควรไปยื่นเรื่องขอค่าชดเชยที่ประกันสังคมในเรื่อง “สิทธิประกันสังคมกรณีว่างงาน” โดยจะแบ่งเป็นกรณี

  • ชดเชยประกันสังคมกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย
  • ชดเชยประกันสังคมกรณีว่างงานด้วยการลาออกเองหรือเลิกจ้าง

การเลิกจ้างในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือโควิด-19 จะถือเป็นการเลือกจ้างการเหตุผลทางเศรษฐกิจ เป็นการเลิกจ้างอย่างเป็นธรรม อย่างไรก็ตามค่าชดเชยจากประกันสังคมที่พนักงานหรือลูกจ้างจะได้รับเมื่อลาออกหรือถูกเลิกจ้างในช่วงนี้จะมีอัตราค่าชดเชยที่สูงกว่าปกติ เพื่อเป็นการชดเชยเยียวยาแก่พนักงานหรือลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือโควิด-19 ด้วยเช่นกัน

เงินชดเชยแรงงานถูกเลิกจ้าง

เงินชดเชยเลิกจ้าง

เมื่อทำความเข้าใจเรื่องการลาออกและเลิกจ้างไปแล้วมาดูเรื่องค่าชดเชยที่จะได้รับกรณีการถูกเลิกจ้างกันบ้าง

  • กรณีลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบกำหนดระยะเวลา 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี
  • จะได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตรางวดสุดท้ายคิดเป็น 30 วัน (1 เดือน)
  • กรณีลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบกำหนดระยะเวลา 1ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี
  • จะได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตรางวดสุดท้ายคิดเป็น 90 วัน (3 เดือน)
  • กรณีลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบกำหนดระยะเวลา 3 ปี แต่ไม่ถึง 6 ปี
  • จะได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตรางวดสุดท้ายคิดเป็น 180 วัน (6 เดือน)
  • กรณีลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบกำหนดระยะเวลา 6 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี
  • จะได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตรางวดสุดท้ายคิดเป็น 240 วัน (8 เดือน)
  • กรณีลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบกำหนดระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป
  • จะได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตรางวดสุดท้ายคิดเป็น 300 วัน (10 เดือน)
  • กรณีลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบกำหนดระยะเวลา 20 ปีขึ้นไป
  • จะได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตรางวดสุดท้ายคิดเป็น 400 วัน

เมื่อไรก็ตามที่มีการเลิกจ้างงานเกิดขึ้นนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยค่าจ่าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาทำงานในวันหยุด โดยต้องจ่ายเงินตามกฎหมายการจ้างงานให้แก่ลูกจ้างภายใน 3 วันนับจากวันที่เลิกจ้างงาน หากพบว่านายจ้างมีการผิดนัดไม่ชำระจ่ายค่าตอบแทนตามกฎหมาย กำหนดให้นายจ้างจะต้องเสียค่าดอกเบี้ยให้ลูกจ้างจำนวนเงินดอกเบี้ย 15% ต่อปีตามระยะเวลาที่ผิดนัดได้ ซึ่งเป็นเป็นกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ที่ได้ปรับปรุงเพื่อลูกจ้าง

ลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรม

เรื่องการร้องทุกข์ของ ลูกจ้าง หากพบว่าได้รับความ ไม่เป็นธรรม

ว่าด้วยเรื่องความเป็นธรรมของลูกจ้าง ลูกจ้างสามารถร้องทุกข์ได้ เมื่อพบว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้างตามกฎหมาย โดยลูกจ้างสามารถนำคดีความที่เกิดขึ้นไปฟ้องกรมแรงงานได้ กรณีที่ลูกจ้างจะสามารถร้องทุกข์เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมได้มีดังนี้

  1. กรณีลูกจ้างต้องการเรียกร้องสิทธิของตนอันเนื่องมาจากการฝ่าฝืนกฎหมายแรงงานของนายจ้าง สามารถเรียกร้องด้วยวิธีนำคดีความที่เกิดขึ้นไปฟ้องศาลแรงงาน และ/หรือ ลูกจ้างสามารถยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ด้วยเช่นกัน
  2. กรณีการยื่นคำร้องทุกข์ของลูกจ้างหรือทายาทตามกฎหมาย จะต้องยื่นคำร้องทุกข์ตามแบบที่อธิบดีได้กำหนด และ/หรือ ลูกจ้างสามารถยื่นต่อพนักงานตรวจแรงงานในท้องที่ ซึ่งสามารถยื่นคำร้องทุกข์ในสถานที่ลูกจ้างทำงานอยู่ หรือในสถานที่นายจ้างมีภูมิลำเนาอยู่ หรือยื่นคำร้องทุกข์ในท้องที่ที่ลูกจ้างมีภูมิลำเนาอยู่ก็ได้
  3. สำหรับการพิจารณาคำร้องทุกข์ของพนักงานตรวจแรงงาน จะมีกระบวนการดังต่อไปนี้
    • ขั้นตอนแรก เจ้าหน้าที่จะเร่งสอบสวนข้อเท็จจริงจากทางหน่วยงาน มีการเรียกสอบสวนนายจ้าง ลูกจ้าง รวมทั้งเรียกสอบพยานที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว รวมทั้งเจ้าหน้าที่ต้องทำการรวบรวมหลักฐานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
    • ขั้นตอนต่อมา หลังจากสอบสวนข้อเท็จจริงแล้ว ลำดับต่อมาเจ้าหน้าที่จะเริ่มการไกล่เกลี่ยระหว่างนายจ้างและลูกจ้างก่อน และจะต้องมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงิน หรือยกคำร้องทุกข์ของลูกจ้างอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ได้ตกลงกัน ซึ่งในระหว่างการรวบรวมข้อเท็จจริงและมีคำสั่งข้อสรุปออกมา การดำเนินการทั้งหมดต้องกระทำให้แล้วเสร็จ ภายใน 60 วัน นับแต่วันรับคำร้องทุกข์ของลูกจ้างไว้ดำเนินการ ถ้าหากเจ้าหน้าที่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน จะต้องมีการขอขยายระยะเวลาดำเนินการต่ออธิบดีหรือผู้ว่าราชการ อาจจะด้วยเหตุผลหลักฐานหรือพยานไม่พอ หรือยังหาข้อสรุปไม่ได้ เป็นต้น
  4. กรณีเกิดข้อยุติการร้องทุกข์ในระหว่างการสอบสวนข้อเท็จจริง จะมีข้อสสรุปและปฏิบัติดังนี้
    • ลูกจ้างขอสละสิทธิการเรียกร้องทั้งหมดเอง
    • ลูกจ้างตกลงสละสิทธิเรียกร้องเพียงบางส่วน และนายจ้างยินยอมจ่ายเงินชดเชยบางส่วนให้แก่ลูกจ้าง
    • นายจ้างยินยอมจ่ายเงินชดเชยทั้งหมดให้แก่ลูกจ้าง
ลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรม

สรุป

การเลิกจ้างหรือลาออกเป็นเรื่องทางกฎหมายแรงงานที่ควรรู้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย นายจ้างควรเคารพสิทธิของลูกจ้าง ในขณะที่ลูกจ้างเองก็ต้องปฏิบัติติตามตามสัญญาด้วยเช่นกัน สิ่งสำคัญที่สุดเมื่อทั้งสองฝ่ายได้ทำข้อตกลงร่วมกัน เกิดการจ้างงานแล้ว ทั้งนายจ้างจะต้องชี้แจงรายละเอียดงานอย่างชัดเจนให้ลูกจ้างรู้ และลูกจ้างจะต้องอ่านเงื่อนไขข้อตกลงก่อนการเซ็นสัญญาทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นสัญญาจ้างงานหรือเลิกจ้างก็ตาม ซึ่งหากไม่ได้มีการอ่านข้อตกลงเงื่อนไขให้ดีก่อน เช่นกรณีเมื่อต้องเลิกจ้างหรือปลดพนักงาน พนักงานหรือลูกจ้างได้ยินยอมเซ็นเอกสารลาออกแทนที่จะเป็นหนังสือเลิกจ้าง ทำให้นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างก็ได้เช่นกัน ดังนั้นการเรียกร้องสิทธิจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อมามีหลักฐาน นายจ้าง ลูกจ้าง พยาน ครบทุกองค์ประกอบรวมกัน หากพบว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจริงก็สามารถฟ้องร้องทุกข์ได้ที่กรมแรงงาน หรือสหภาพแรงงาน

บริษัทเลิกจ้างพนักงาน อาจมาจากหลายเหตุผล การเลิกจ้าง หรือปลดพนักงาน หากเป็นการเลิกจ้างแบบไม่เป็นธรรม ลูกจ้างอาจทำการ ฟ้องกรมแรงงานได้ เพราะฉะนั้นการจะเลิกจ้างต้องดูกฎหมายแรงงานเลิกจ้างให้ดีก่อนจะเลิกจ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทั้ง 2 ฝ่าย

ดาวโหลดหนังสือเลิกจ้าง

อัพเดทครั้งสุดท้าย เมื่อ 6 กันยายน 2022

 

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้