การ นํา เสนอ ผลิตภัณฑ์ใหม่

เก๋เริ่มทำงานเป็นวิศวกรด้านวิจัยพัฒนาตั้งแต่บริษัทที่ 2 บริษัทแรกเป็นการทำงานด้านการทดสอบ (testing) ทำไปช่วงแรกก็สนุกดี แต่พอทำไปเรื่อยๆเริ่มรู้สึกว่า งานซ้ำเหมือนเดิม เพราะการทดสอบผลิตภัณฑ์จะมีวิธีการที่ต้องทำตามมาตรฐาน ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงกระบวนการได้

ต่อมาได้ทำงานใกล้บ้านที่ระยอง ในตำแหน่งวิศวกรวิจัยพัฒนา หลังจากทำงานในส่วนนี้แล้วก็ยึดอาชีพนี้มาตลอดชีวิตที่ทำงานเป็นพนักงานประจำ เพราะชอบที่ได้คิดสร้างสรรค์ หาหนทางใหม่ๆ คิดอะไรใหม่ๆ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และไม่ซ้ำซากจำเจ รวมๆก้อเกือบ 15 ปี

เมื่อพูดถึงเรื่องการวิจัยพัฒนา หรือนวัตกรรม (Innovation) ในบ้านเราในตอนนี้เท่าที่เก๋เข้าไปสัมผัสในฐานะที่ปรึกษา หลายๆบริษัทส่งเสริมและมีแผนกวิจัยพัฒนากันเป็นเรื่องเป็นราวแล้วต่างกับเมื่อ 10 ปีที่แล้ว และบางบริษัทมีการกำหนดให้การคิดสร้างสรรค์ หรือการสร้างสรรค์นวัตกรรม เข้าไปอยู่ใน core competency ของบริษัทเพื่อให้พนักงานทุกคนได้ตระหนัก และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้กับบริษัท เพื่อเตรียมเข้าสู่ยุค 4.0 แล้ว

วันนี้เก๋อยากแชร์ความรู้ด้าน"การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่"ที่ทำมาโดยตลอด เพื่อเป็นไอเดียว่า ผลิตภัณฑ์ลักษณะไหน ที่เราจะสามารถสร้างสรรค์หรือพัฒนาขึ้นมาได้ค่ะ 

"ผลิตภัณฑ์ใหม่ (New product)" หมายถึง  ผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาขึ้นมาใหม่  หรือมีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมของธุรกิจให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นกว่าเดิม  

"ผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Product)" สามารถแบ่งลักษณะออกมาได้ 3 แบบ ได้แก่

1. ผลิตภัณฑ์นวัตกรรม (Innovated product) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีการวิจัยพัฒนา คิดสร้างสรรค์ออกมาเป็นครั้งแรก และยังไม่มีมาก่อนในตลาด   เช่น iPhone  รุ่น 1 หรือ iPad รุ่น 1 ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ ซึ่งผลิตภัณฑ์ในประเภทนี้ เราเรียกว่า “นวัตกรรม”

2. ผลิตภัณฑ์ปรับปรุงใหม่ (Modified product) หมายถึง ผลิตภัณฑ์เดิมที่มีการปรับปรุงคุณสมบัติในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ทำให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดอีกครั้ง เช่น  ไอโฟนรุ่น 2-6 ถือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มี การปรับปรุง ผลิตภัณฑ์เดิมของธุรกิจให้มีสมบัติที่ดีขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น

3. ผลิตภัณฑ์เลียนแบบ ( Me-too product) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ใหม่ของธุรกิจซึ่งเลียนแบบผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขันที่มีอยู่แล้วในตลาด เนื่องจากเห็นว่า มีเทคโนโลยีหรือมีความต้องการของตลาดเป็นอย่างสูง ตัวอย่างเช่น หลังจากที่มี smart phone ของค่ายแอปเปิ้ลออกมา เราก็ได้เห็น smart phone อีกหลายค่ายที่ออกมาคล้ายๆกัน  ซึ่งในแง่ของผู้ผลิต การมีคู่แข่ง ทำให้ต้องพัฒนาอยู่ตลอดเวลา หากหยุดนิ่งเมื่อไรคู่แข่งก็แซงหน้าไปแล้ว ในแง่ของผู้บริโภค ก็เป็นการดีที่มีการพัฒนาและทางเลือกมากมายคะ

"ผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Product)" ยังสามารถแบ่งตามลักษณะความใหม่ในตลาดและในแง่ของบริษัท ได้ดังนี้

1. ผลิตภัณฑ์ใหม่ของโลก ( New to the world) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สร้างขึ้นมาใหม่เป็นครั้งแรก มีคุณสมบัติหรือลักษณะพิเศษ ไม่เหมือนผลิตภัณฑ์ใดๆที่มีมาก่อน  เพื่อสำหรับเข้าสู่ตลาดใหม่โดยเฉพาะ เช่น Smart phone  รถไฟฟ้าของเทสล่า 

2. ผลิตภัณฑ์ใหม่ในแง่ของสายผลิตภัณฑ์ใหม่  ( New product lines) หมายถึง สายผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เพิ่มขึ้นใหม่ของบริษัท และเป็นการเข้าสู่ตลาดเดิมที่มีอยู่เป็นครั้งแรก เช่น “Starbucks” ซึ่งเป็นแบรนด์ใหญ่ระดับโลกมี   Core Business อย่างธุรกิจกาแฟที่มีฐานแข็งแกร่งแล้ว  ตอนนี้กำลังขยาย“ตลาดเครื่องดื่มชา” “Starbucks Teavana”   ออกมา ซึ่งเป็นสายผลิตภัณฑ์ใหม่นอกเหนือไปจากกาแฟที่เป็นจุดแข็งของสตาร์บัคอยู่แล้ว ซึ่งผู้เขียนไปดื่มมาแล้ว รสชาติดีทีเดียว 

3. การเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าไปในสายผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ (Additions to existing product lines) หมายถึง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพิ่มเติมเข้าไปในสายผลิตภัณฑ์เดิมของบริษัท ซึ่งมีความใหม่พอสมควรสำหรับกิจการและตลาด  เช่น โยเกิร์ตดัชมิลล์ มีหลายแบบให้เลือก เช่น แบบดั้งเดิม รสสตอเบอร์รี่  รสวุ้นมะพร้าว ผลิตภัณฑ์เดิมยังเป็นโยเกิรต์อยู่ แต่เพิ่มแบบและรสชาติใหม่ๆ เป็นต้น 

4. ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกิดจากการลดต้นทุนการผลิต (Cost reductions) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ปรับปรุงขึ้นเพื่อลดต้นทุนการผลิต  

5. ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกิดจากการกำหนดตำแหน่งผลิตสินค้าขึ้นมาใหม่ ( Re positioning) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกิดจากการนำผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่เข้าสู่ตลาดเป้าหมายใหม่ 

6. ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ (Improvements in revision of existing product) หมายถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกิดจากการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมในเรื่องของลักษณะและคุณค่าของผลิตภัณฑ์ จะคล้ายๆกับผลิตภัณฑ์ปรับปรุงใหม่(Modified product)  ที่กล่าวมาแล้ว ในเบื้องต้น ตัวอย่างเดียวกันคือ  ไอโฟนรุ่น 2-6 ถือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มี การปรับปรุง ผลิตภัณฑ์เดิมของธุรกิจให้มีสมบัติ ลักษณะ และคุณค่าที่ดีขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น

ตอนนี้หลายๆท่านอาจจะเริ่มเห็นภาพแล้ว ว่าผลิตภัณฑ์ใหม่มีอะไรบ้าง ถ้าเราจะเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่ หลายๆบริษัทจะเริ่มด้วย Copy and development คือพอเห็นว่ามีผลิตภัณฑ์ไหนที่น่าจะทำตลาดได้ก็จะเริ่มทำตามแต่มีการพัฒนา ซึ่งเราเรียกว่า " ผลิตภัณฑ์เลียนแบบ ( Me-too product) " แล้วพัฒนาเพิ่มเติมให้มีจุดเด่นของตัวเองเป็น  "ผลิตภัณฑ์ปรับปรุงใหม่ (Modified product) " ซึ่งก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี  เพราะเมื่อผู้บริหารสนับสนุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่องแล้ว ต่อไปบุคคลากรก็จะเริ่มมีการวิจัยพัฒนา (Research and development) และกลายเป็น "ผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Product)" และ "ผลิตภัณฑ์นวัตกรรม (Innovation)" ในที่สุด   แต่ต้องมีการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาจึงจะเกิด นวัตกรรมจึงจะได้ในที่สุดค่ะ

..........................

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง กดอ่าน ที่นี่ ค่ะ.

....................

...................................... 

Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม  โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator)  และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม  โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

.................................

ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (//tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี  ทำงานด้าน  Research & Development Engineer  และนักวิจัยมาโดยตลอด จนได้มาเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ของ THTI กว่า 15  ปี และได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน 

...........................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail :

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : //www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 (โทรกลับเฉพาะเบอร์มือถือนะคะ)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้