สอบสัมภาษณ์ พนักงานช่วยเหลือคนไข้

1. คำถามทั่วไปที่ผู้สัมภาษณ์นิยมใช้

- ทำไมคุณคิดว่าคุณจะรู้สึกพอใจ เมื่อได้ทำงานในตำแหน่งนี้

ควรตอบว่าเป็นงานที่มีความก้าวหน้า เป็นงานที่ทำได้ทำในสิ่งที่เรียนมา เป็นงานที่ชอบมานาน กิจการดีมีความมั่นคง ได้ยินว่ากิจการมีชื่อเสียงที่สุดด้านนี้หรืออยากทำงานในกิจการเล็ก ๆ ที่อบอุ่น มีโอกาสเรียนรู้งานได้มาก

- เคยมีประสบการณ์งานด้านนี้หรือไม่ มีหรือไม่มีประสบการณ์ก็

ให้ตอบตามความเป็นจริง หากผู้สมัครงานเคยมีประสบการณ์มาก่อนก็จะเป็นประโยชน์กับตัวผู้สมัครงานเอง หากไม่มีก็ควรบอกว่ามีประสบการณ์อื่นที่ใกล้เคียงหรือเคยฝึกงานมา หรือเคยทำงานแบบนี้กรณีไม่มีประสบการณ์ใด ๆ เลยก็ควรบอกไปตรง ๆ และพร้อมที่จะเรียนรู้เพราะมีใจชอบงานลักษณะนี้

- ใช้คอมพิวเตอร์ หรือพูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษได้หรือไม่

ทำได้หรือไม่ควรตอบไปตามความจริง หากไม่ได้ควรตอบว่ากำลังจะไปเรียนรู้เพิ่มเติม เพราะรู้ว่าจำเป็นและมีประโยชน์ในการทำงานมาก

- ทำไมจึงออกจากงานเดิมที่ทำอยู่ หรือทำไมจึงคิดเปลี่ยนงาน

ไม่ควรตำหนิที่ทำงานเดิม แม้จะทราบว่าที่ทำงานเดิมเป็นคู่แข่งที่สำคัญที่ทำงานใหม่ที่กำลังสมัครงาน เพราะจะถูกมองในแง่ลบ ควรตอบว่าไม่ชอบบรรยากาศหรือวิธีการทำงานแบบธุรกิจ หรืออะไรที่กว้าง ๆ และเน้นว่า คิดว่าที่ทำงานใหม่จะให้โอกาสและประสบการณ์ที่ดีกว่า หรือต้องทำงานที่ท้าทายกว่า

- สิ่งที่เรียนมาไม่ตรงกับงานที่ทำ และจะทำงานได้อย่างไร

ควรยอมรับความจริงว่าใช่ ไม่ตรงจริง ๆ แต่ผู้สมัครงานมีความสนใจในงานลักษณ์นี้มากกว่างานที่ตรงกับความรู้ที่เรียนมาจริง ๆ

- อยากจะถามอะไรเกี่ยวกับบริษัทบ้างไหม ไม่ควรตอบว่าไม่มี

แต่ควรถามเกี่ยวกับความรับผิดชอบในงานที่ผู้สมัครงานต้องทำ หรือถามเกี่ยวกับบริษัท ให้เห็นว่าผู้สมัครงานมีความสนใจในกิจการของบริษัท หรือถามเกี่ยวกับสวัสดิการ โครงการฝึกอบรมของบริษัท เพื่อให้เห็นว่าผู้สมัครงานมีความต้องการ มีจุดประสงค์ใดบ้างในอนาคต

- ต้องการเงินเดือนเท่าไร ไม่ควรตอบว่าไม่รู้ แต่ควรตอบว่าไม่

ต่ำกว่าเท่าไร โดยสอบถามอัตราเงินเดือนของพนักงานระดับนี้ จากคนรู้จักหรือกิจการใกล้เคียงหรือเพื่อนฝูง ผู้สมัครงานควรต้องรู้ว่าตัวเองต้องได้เงินเดือนเท่าไรจึงจะสามารถดำรงชีพได้และมีเงินเหลือเก็บบ้าง หากไม่รู้จริง ๆ ว่าตนเองต้องการเงินเดือนเท่าไรจึงจะเหมาะสม ควรตอบว่าแล้วบริษัทจะเห็นสมควรขอให้ดูความสามารถก่อน จะพยายามทำงานอย่างเต็มความสามารถ

กรณีไม่เข้าใจคำถาม ควรบอกผู้สัมภาษณ์ไปตรง ๆ ให้ถามคำถามใหม่อีกครั้ง และหลังจาการสัมภาษณ์แล้ว ควรมีการติดตามข่าวว่าได้งานหรือไม่แม่บริษัทจะบอกว่าจะติดต่อกลับมาเอง เพื่อแสดงความสนใจจริงที่ต้องการจะทำงานบริษัทนั้น ๆ


2. ข้อที่ควรปฏิบัติในการเข้ารับการสัมภาษณ์

- ศึกษารายละเอียดของบริษัทก่อนเข้ารับการสัมภาษณ์เพื่อจะได้มีเรื่องสนทนาขณะสัมภาษณ์และเป็นการแสดงความสนใจที่มีต่อบริษัท

- ไปรับการสัมภาษณ์ตรงตามเวลา โดยไปก่อนเวลาอย่างน้อย 10 นาที หากไปช้าหรือไปไม่ได้ต้องรีบโทรศัพท์เพื่อขอเลื่อนนัดการสัมภาษณ์ออกไป

- นั่งรออย่างเรียบร้อย ไม่ควรเดินไปเดินมาหรือส่งเสียงดัง

- ควรยิ้มให้ผู้สัมภาษณ์ ขณะเริ่มทักทายและกล่าวคำว่า " สวัสดี "

- ควรถามผู้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับงานที่จะให้ทำว่าจะให้ทำอะไร ทำที่ไหน ถ้าไม่มีคำถามเลยผู้สัมภาษณ์อาจคิดว่าผู้สัมภาษณ์ไม่มีความสนใจในงานที่จะสมัคร แต่ไม่ควรถามมากจนผู้สัมภาษณ์รำคาญ

- พูดให้ชัดเจนมีความเป็นธรรมชาติ และด้วยความมั่นใจ

- ใช้กริยา วาจาสุภาพขณะตอบคำถาม ผู้สัมภาษณ์อาจใช้วิธีแหย่ให้โกรธ หรือใช้คำพูดดูถูก เพื่อดูอารมณ์ของผู้สมัครงานขณะที่โมโห หรือไม่พอใจ ดังนั้นผู้สมัครงานต้องเตรียมตัวรับสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า

- แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ไม่พับแขนเสื้อทั้งแขนยาวและแขนสั้น

- ควรตัดผมสั้นไม่ปล่อยไว้จนยาว และโกนหนวดให้เรียบร้อย (สำหรับผู้ชาย)

- ควรใส่รองเท้าให้เรียบร้อย และไม่ควรใส่รองเท้ากีฬา รองเท้าสานหรือรองเท้าแตะ ไม่ควรใส่ถุงเท้าสีสด ๆ หรือสีที่เป็นจุดเด่น

- ควรมองหน้าผู้สัมภาษณ์ ไม่ควรหลบตาและนั่งตาลอย มองนอกหน้าต่าง มองโต๊ะหรือแสดงอาการขวยเขิน

- ถ้าจะไอควรใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปาก และกล่าวคำขอโทษ ขณะสัมภาษณ์ ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง

- ถ้าประตูห้องปิดควรเคาะประตูก่อนเข้าห้อง และกล่าวขออนุญาตนอกจากนั้นต้องระวังอย่าลากเก้าอี้ให้มีเสียงดัง

- คำถามที่ควรถามผู้สัมภาษณ์คือ ถามว่าในสายตาของผู้สัมภาษณ์เราเป็นอย่างไรมีจุดอ่อนที่จะต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง เพราะการทำเช่นนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สมัครงานในครั้งต่อไป

หลังจาการสัมภาษณ์แลัว สิ่งที่ผู้สัมภาษณ์จะใช้พิจารณาผู้สมัครงานจะพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้ คือ ความประทับใจครั้งแรก ความฉลาด มีไหวพริบ ความคิดริเริ่ม ความกระตือรือร้น ความขยันหมั่นเพียร ความสามารถในการสื่อข้อความ และมีจุดมุ่งหมายของชีวิต

หวังว่าหลังจากที่ได้ทราบถึงวิธีการเลือกงานให้เหมาะสมกับตนเองแล้ว การเตรียมตัวสมัครงาน วิธีการสมัครงาน การสัมภาษณ์งาน คำถามและข้อปฏิบัติในการเข้ารับการสัมภาษณ์งานแล้ว จะสามารถช่วยทำให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการสมัครงานและสัมภาษณ์งานทุกท่านน่ะค่ะ


ที่มา : สำนักงานจัดหางาน

เมื่อถูกสัมภาษณ์งาน...คุณไม่ควรพูดอะไร???
            ผู้สมัครงานจำนวนมากสูญเสียโอกาสในการได้งานที่ตนเองมุ่งหวังไว้ เพียงเพราะว่าคำพูดบางคำที่พูดออกไป ซึ่งผู้สมัครงานเองก็ไม่ทันได้คิดว่าสิ่งที่ตนพูดไปกลายเป็นผลเสียกับตัวเอง ในการสัมภาษณ์งานนั้น ไม่เพียงแต่ผู้สัมภาษณ์จะดูว่าผู้เข้ารับการสัมภาษณ์มีคุณสมบัติเพียงพอ ต้องการและเต็มใจที่จะทำงาน แต่ยังรวมไปถึงการมองว่าผู้เข้ารับการสัมภาษณ์นั้นเข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรได้หรือไม่ ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่อาจจะส่งสัญญาณเตือนผู้สัมภาษณ์ว่าคุณอาจจะไม่เหมาะสมกับงานนั้นๆ
 
  • แสดงความคิดเห็นในแง่ลบเกี่ยวกับงาน เพื่อนร่วมงาน หรือนายจ้างของคุณ เมื่อคุณพูดถึงนายจ้างที่คุณทำงานอยู่ด้วย หรือเอ่ยถึงนายจ้างคนก่อน ในแง่ลบ คำพูดเหล่านี้ มันจะทำให้คุณถูกมองว่าเป็นบุคคลที่น่าจะมีปัญหาสำหรับฝ่ายบริหารได้ทันที
  • ไม่ควรเป็นฝ่ายแสดงความต้องการหรือนำเรื่องเงินเดือนขึ้นมาพูดคุย ตั้งแต่การสัมภาษณ์ช่วงแรกๆ job-passport ขอแนะนำว่ามันไม่ใช่หน้าที่ของคุณที่จะเป็นฝ่ายเริ่ม นายจ้างหรือผู้สัมภาษณ์อาจเป็นผู้เริ่มสนทนาเรื่องนี้เองคุณสามารถบอกถึงช่วงเงินเดือนที่ต้องการได้ หรือถามความเห็นเกี่ยวกับขอบเขตเงินเดือนสำหรับตำแหน่งงานนั้นๆ
  • ถามเกี่ยวกับวันลาป่วย วันหยุด หรือวันลาพักร้อน ควรหลีกเลี่ยงการถามถึงเรื่องเหล่านี้ job-passport ไม่คิดว่าพนักงานทื่ขยันทำงานจะสนใจสอบถามเรื่องวันหยุดมากกว่าเรื่องงานที่ตนจะต้องรับผิดชอบ หรือคุณว่าไง?
  • อย่าพูดเรื่องสิ่งที่คุณจะไม่ทำหรือไม่ปฏิบัติ ควรจะแน่ใจแต่แรกแล้วว่าคุณได้สมัครงานในตำแหน่งที่เหมาะสมกับคุณ และควรเข้าใจด้วยว่า ย่อมจะมีงานที่คุณไม่ชอบทำบ้าง เป็นครั้งคราว
  • ไม่รู้เหมือนกัน ผม/ดิฉันแค่เห็นประกาศรับสมัครงานแล้วก็คิดว่าน่าจะลองดู ถ้าคุณเองก็ไม่รู้ว่าตำแหน่งนั้นจะเข้ากับเป้าหมายชีวิตของคุณได้อย่างไร job-passport คิดว่าบางทีคุณไม่ควรไปที่นั่นตั้งแต่ต้น ควรเตรียมตัวให้พร้อมเสมอ
  • ฉันไม่มีข้อเสีย Job-passport ขอแนะนำว่า มันจะเป็นการดีกว่าถ้าคุณคิดข้อเสียของคุณเตรียมไว้สัก 1 ข้อ แล้วก็อธิบายว่าคุณจะปรับปรุงข้อเสียนั้นได้อย่างไร อีกวิธีที่ job-passport แนะให้คุณใช้ก็คือทำให้ข้อเสียของคุณนั้นเหมือนจะเป็นข้อดีได้ด้วย
  • อย่าบ่น หรือคร่ำครวญ ในขณะที่สัมภาษณ์ ให้ลืมปัญหาส่วนตัวของคุณซะ จงมั่นใจ เข้มแข็ง และเป็นผู้มีความสามารถที่จะเอาชนะอุปสรรคและสิ่งท้าทายต่างๆ ได้
  • อย่าพูดประโยคที่มีการโต้แย้ง มันไม่ใช่เวลาที่จะถก หรือแย้งกัน อย่าลืมว่าผู้สัมภาษณ์กำลังมองคุณอยู่ว่า เหมาะสมกับองค์กรหรือไม่

cradit \\://www.job-passport.com/th/tip_and_trick_detail.php?id=10

ฝ่ายบริหารทุนมนุษย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ตั้งอยู่ที่ อาคาร 3 ชั้น 6 เลขที่ 270 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ 02-201-2585 แฟกซ์ 02-201-1587

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้