ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

สวัสดีค่ะ คุณผู้อ่านที่รัก กลับมาพบกันอีกครั้งนะคะ... ในช่วงเดือนที่ผ่านมาผู้เขียนได้ยินคนรอบข้างหลายคนคุยกันถึง “ความซับซ้อนของความสัมพันธ์” ระหว่างตนเองกับคนข้างกาย ซึ่งเมื่อกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนสองคนย่อมมีอารมณ์ที่หลากหลายมากมาย ทั้งสุข ทั้งทุกข์ บ้างก็มึนงงไม่รู้ว่าควรจะสุขหรือทุกข์ดี บ่อยครั้งเมื่อไม่เข้าใจถึงความสัมพันธ์ที่กำลังดำเนินไปก็พาให้สับสนกังวลใจจนกลายเป็นความเครียดไปอีก ดังนั้นในคอลัมน์ Health ฉบับนี้ ผู้เขียนจึงขอหยิบยกข้อมูลทฤษฎีเกี่ยวกับความสัมพันธ์มาฝากท่านผู้อ่าน โดยเราจะมาทำความรู้จักกับขั้นตอนของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตามหลักจิตวิทยาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นไปจนถึงช่วงเสื่อมถอยของความสัมพันธ์กันเลย ว่าแล้วก็อย่ามัวรอช้า มาติดตามกันเลยค่ะ!

ตามทฤษฎีของ Wood (Wood’s model) ได้แบ่งระยะของความสัมพันธ์ออกเป็น 2 ช่วงหลักๆ คือ “ช่วงเริ่มต้นความสัมพันธ์” และ “ช่วงเสื่อมถอยของความสัมพันธ์” โดยช่วงเริ่มต้นความสัมพันธ์ หรือช่วงที่ความสัมพันธ์เติบโตนั้น สามารถแบ่งออกเป็นระยะย่อยๆ ดังนี้

ระยะที่ 1 : Individuals คำว่า individual แปลกันแบบตรงตัวว่า “ปัจเจกชน” พูดง่ายๆ ก็คือเป็นระยะของคนโสดค่ะ เป็นช่วงเวลาที่คนเราจะแสดงความเป็นตัวของตัวเองออกมาอย่างเต็มที่ ใส่ใจรายละเอียดต่างๆ ของตนเองเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นความคิด มุมมอง รสนิยม รู้จักพัฒนาตนเอง ใจกว้างและพร้อมเปิดรับแนวคิดต่างๆ แต่ขณะเดียวกัน บางรายอาจมีความรู้สึกโดดเดี่ยวอยู่ภายในใจ

ระยะที่ 2 : Auditioning หรือ Initiation เป็นช่วงที่คนเราต้องการเริ่มต้นความสัมพันธ์ โดยพยายามมองหาบุคคลที่ต้องการสร้างความสัมพันธ์ และใช้ความพยายามเพื่อให้ความสัมพันธ์เกิดขึ้น หากพูดให้เห็นภาพก็คือเป็นช่วงที่เรารู้สึกอยาก “จีบ” ใครบางคนอย่างแรงกล้าและพยายามหาโอกาสสานสัมพันธ์ พยายามทำตัวให้อยู่ในสายตาคนที่ชอบ ชวนคุย หรือใช้อีกร้อยแปดพันวิธีเพื่อนำเสนอตัวเองออกมา หากความพยายามในระยะนี้ประสบความสำเร็จก็จะก้าวสู่ขั้นต่อไป

ระยะที่ 3 : Experimenting หรือ Exploration เมื่อคนสองคนพัฒนาความสัมพันธ์มาถึงระยะนี้ ทั้งสองฝ่ายจะแสวงหาประสบการณ์และทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันเพื่อเรียนรู้ตัวตนของอีกฝ่าย ค้นหาความคล้ายคลึงกันหรือที่เรียกว่า “ความเข้ากันได้” พูดให้ง่ายหน่อยคืออยู่ในขั้น “คนที่กำลังคุยๆ” นั่นเอง ความสัมพันธ์ในระยะนี้ถือว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ เพราะเป็นช่วงสำคัญที่ชี้วัดว่าจะ “ไปต่อ” ได้หรือไม่ หลายคู่มักต้องยุติความสัมพันธ์ลงเมื่อมาถึงระยะนี้

ระยะที่ 4 : Intensifying หรือ Euphoria หากคนสองคนสามารถข้ามผ่านช่วงเปราะบางในระยะที่ 3 มาได้ ก็จะเข้าสู่ระยะที่ความสัมพันธ์สุกงอมหอมหวาน คนทั้งคู่รู้สึกเข้ากันได้ดี รู้จักรู้ใจ ใส่ใจกันมากขึ้น พยายามหาทางอยู่ใกล้ชิดกัน พร้อมรับฟังเรื่องราวของอีกฝ่าย สายตาของทั้งคู่ต่างจ้องมองที่กันและกันเท่านั้น

ระยะที่ 5 : Integrating เมื่อถึงระยะนี้ คนสองคนจะเริ่มมีความรู้สึกบางส่วนที่หลอมรวมกัน แต่ยังคงความเป็นตัวของตัวเองไว้อยู่

ระยะที่ 6 : Bonding คือจุดสูงสุดแห่งวงจรการเติบโตของความสัมพันธ์ นั่นคือการตกลงปลงใจที่จะหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกันทั้งกายและใจ จากคำว่า “ฉัน” และ “คุณ” เปลี่ยนเป็นคำว่า “เรา” และพร้อมประกาศความสัมพันธ์ให้ผู้อื่นได้รับรู้

อย่างไรก็ตาม เหรียญย่อมมี 2 ด้าน เมื่อระดับความสัมพันธ์พัฒนาไปถึงจุดสูงสุดแล้ว ความสัมพันธ์นั้นก็อาจเริ่มไปสู่ “ช่วงเสื่อมถอยของความสัมพันธ์” ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 : Differentiating จากที่เคยหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อเข้าสู่ช่วงเสื่อมถอย ทั้งคู่จะเริ่มรู้สึกถึง “ความแตกต่าง” และกลับไปนึกถึงขอบเขตของตนเองอีกครั้ง รู้สึกว่า “นี่ของฉัน นั่นของคุณ” มากกว่าคำว่า “เรา”

ระยะที่ 2 : Circumscribing เมื่อความเสื่อมถอยเริ่มแรกไม่ได้รับการเยียวยาก็จะก้าวเข้าสู่ระยะที่ 2 ซึ่งความไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของทั้งคู่ยิ่งชัดเจน มีหัวข้อสนทนาหรือเรื่องบางเรื่องที่เป็นหัวข้ออันตราย ห้ามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกล่าวถึงเป็นอันขาด มิฉะนั้นอาจเกิดความขุ่นเคืองหรือทะเลาะวิวาทได้

ระยะที่ 3 : Stagnation ทั้งสองฝ่ายเกิดความรู้สึกเหนื่อยหน่าย เอือมระอากันและกัน จนแสดงออกมาให้เห็น ทั้งสองฝ่ายรู้สึกตรงกันว่าความรักไม่หอมหวานเหมือนเดิม แต่ไม่มีใครอยากพูดคุยหรือแก้ไข เป็นสัญญาณอันตรายของการพร้อมจะปล่อยให้อีกฝ่ายไป

ระยะที่ 4 : Avoiding เป็นช่วงที่ความสัมพันธ์ยิ่งดิ่งเหว สองฝ่ายอึดอัดที่จะเจอหน้า ไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์ใดๆ เลี่ยงที่จะพบเจอกันหากทำได้ แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องพบกัน ก็จะแสดงความลำบากใจและไม่เป็นตัวของตัวเองอย่างเห็นได้ชัด

ระยะที่ 5 : Terminating เป็นระยะที่สองฝ่ายแยกกันอยู่ ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กันอีกต่อไป ทั้งคู่ทำใจได้กับความสัมพันธ์ที่กำลังจะสิ้นสุดลง พร้อมที่จะเข้าสู่ระยะ Individuals (ระยะแรกของความสัมพันธ์) หรือการกลับไปเป็นคนโสด วนลูปไปยังระยะเริ่มต้นความสัมพันธ์อีกครั้งหนึ่ง เป็นวัฏจักรเช่นนี้ไปเรื่อยๆ

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนทั้งในด้านความคิดและอารมณ์ ความเข้าใจและการรู้จักปรับตัวจะทำให้คนสองคนซึ่งมีความแตกต่างสามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ หากจะรักษาความสัมพันธ์ให้ยืนยาว ทั้งสองฝ่ายต้องปรับตัวปรับใจเพื่อให้เข้าใจอีกฝ่ายอย่างถ่องแท้ โดยมีความรักเป็นตัวยึดเหนี่ยว ขณะเดียวกัน ในวันที่เราเหน็ดเหนื่อยกับความสัมพันธ์และต้องตัดสินใจว่าจะดำเนินความสัมพันธ์ต่อไปอย่างไร จงอย่าลืมที่จะใช้สติ เหตุผล ความเข้าอกเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจต่ออีกฝ่าย มาเป็นปัจจัยในการตัดสินใจด้วย อย่าใช้อารมณ์เพียงอย่างเดียว

ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับความสัมพันธ์ที่ดีนะคะ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าค่ะ 

แหล่งข้อมูล 
- เนื้อหาบางส่วนจากวิชาจิตวิทยาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
- //folkswaken.exteen.com/20140812/wood-8217-s-model-stages-of-relationships 

JobDST Job จ็อบดีเอสที สมัครงาน งาน หางาน หางานดี งานราชการ งานบัญชี งานนอกเวลางานอิสระ งานบริษัท มหาชน เอกชน รัฐวิสาหกิจ บรรษัท ค้นหาคนค้นหางาน ค้นหาพนักงานรับสมัครงาน รับสมัครพนักงาน ค้นหาคนดี ค้นหาคนเก่ง แหล่งรวบรวมข้อมูล บริษัทชั้นนำคนหางานทั่วประเทศ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้