อินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง หมายถึง

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (อังกฤษ: Internet of Things) หรือ ไอโอที (IoT) หมายถึงเครือข่ายของวัตถุ อุปกรณ์ พาหนะ สิ่งปลูกสร้าง และสิ่งของอื่นๆ ที่มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ เซ็นเซอร์ และการเชื่อมต่อกับเครือข่าย ฝังตัวอยู่ และทำให้วัตถุเหล่านั้นสามารถเก็บบันทึกและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้[1] อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งทำให้วัตถุสามารถรับรู้สภาพแวดล้อมและถูกควบคุมได้จากระยะไกลผ่านโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่มีอยู่แล้ว[2] ทำให้เราสามารถผสานโลกกายภาพกับระบบคอมพิวเตอร์ได้แนบแน่นมากขึ้น ผลที่ตามมาคือประสิทธิภาพ ความแม่นยำ และประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น[3][4][5][6][7][8] เมื่อ IoT ถูกเสริมด้วยเซ็นเซอร์และแอคชูเอเตอร์ซึ่งสามารถเปลี่ยนลักษณะทางกลได้ตามการกระตุ้น ก็จะกลายเป็นระบบที่ถูกจัดประเภทโดยทั่วไปว่าระบบไซเบอร์-กายภาพ (cyber-physical system) ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีอย่าง กริดไฟฟ้าอัจริยะ (สมาร์ตกริด) บ้านอัจฉริยะ (สมาร์ตโฮม) ระบบขนส่งอัจฉริยะ (อินเทลลิเจนต์ทรานสปอร์ต) และเมืองอัจฉริยะ (สมาร์ตซิตี้) วัตถุแต่ละชิ้นสามารถถูกระบุได้โดยไม่ซ้ำกันผ่านระบบคอมพิวเตอร์ฝังตัว และสามารถทำงานร่วมกันได้บนโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าเครือข่ายของสรรพสิ่งจะมีวัตถุเกือบ 50,000 ล้านชิ้นภายในปี 2020[9] มูลค่าตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 80 พันล้านเหรียญ[10]

"อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง" เชื่อมต่ออุปกรณ์และพาหนะด้วยเซ็นเซอร์อิเล็กทรอนิกส์และอินเทอร์เน็ต

"สรรพสิ่ง" ในความหมายของ IoT สามารถหมายถึงอุปกรณ์ที่แตกต่างหลากหลาย เช่น อุปกรณ์วัดอัตราหัวใจแบบฝังในร่างกาย แท็กไบโอชิปที่ติดกับปศุสัตว์ ยานยนต์ที่มีเซ็นเซอร์ในตัว อุปกรณ์วิเคราะห์ดีเอ็นเอในสิ่งแวดล้อมหรืออาหาร[11] หรืออุปกรณ์ภาคสนามที่ช่วยในการทำงานของนักผจญเพลิงในภารกิจค้นหาและช่วยเหลือ[12] อุปกรณ์เหล่านี้จะจัดเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ด้วยการใช้เทคโนโลยีหลากหลายชนิดและจากส่งต่อข้อมูลระหว่างอุปกรณ์อื่นๆ โดยอัตโนมัติ[13][14] ตัวอย่างในตลาดขณะนี้ เช่น เทอร์โมสตัตอัจฉริยะ และเครื่องซักผ้า-อบผ้าที่ต่อกับเครือข่ายไวไฟเพื่อให้สามารถดูสถานะจากระยะไกลได้

รายการต่อไปนี้แสดงรายชื่อประเทศตามจำนวนอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งที่ออนไลน์อยู่ ต่อประชากร 100 คน ตามที่เผยแพร่โดย OECD ในปี 2015[15]

คุณกำลังอ่านโพสต์นี้อย่างไร? คุณอาจจะอ่านมันผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือผ่านหน้าจอแท็บเล็ต แต่ไม่ว่าคุณจะใช้อุปกรณ์ชนิดใด อุปกรณ์นั้นๆส่วนใหญ่จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต

การเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตนั้นถือว่าเป็นสิ่งอัศจรรย์ ด้วยประโยชน์มากมายที่เราได้รับซึ่งเราต่างไม่คิดว่ามันจะเกิดขึ้นได้มาก่อน ถ้าคุณอยู่ในช่วงวัยที่โตพอระดับหนึ่ง ลองย้อนกลับไปนึกถึง โทรศัพท์มือถือ ที่คุณเคยใช้ก่อนที่จะกลายเป็นมือถือแบบสมาร์ทโฟน แน่นอนว่าคุณสามารถโทรและส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือได้ในยุคก่อนหน้านี้ แต่มาตอนนี้คุณสามารถอ่านหนังสือ ดูภาพยนตร์ หรือแม้กระทั่งฟังเพลงผ่านอุปกรณ์ที่คุณกำลังถืออยู่ และนั่นเป็นเพียงแค่บางส่วนที่โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนสามารถทำได้

“อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง” หรือ “Internet of Things (IoT)” ถือเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างเรียบง่าย ซึ่งหมายถึงการรวบรวมทุกสรรพสิ่งในโลกมาเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต

ผมคิดว่าความสับสนที่มีเกี่ยวกับ IoT นั้น มิได้เกิดจากแนวคิดที่ค่อนข้างแคบและไม่อาจถูกตีความออกไปได้เป็นวงกว้าง แต่เกิดจากแนวคิดที่กว้างเกินไปต่างหาก ที่ถูกนำไปตีความจนเกินขอบเขตแนวคิด ฉะนั้นอาจจะเป็นการยากที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับ IoT เพราะมีตัวอย่างและโอกาสมากมายที่สามารถดำเนินการผ่าน IoT ได้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น มันจึงสำคัญมากที่จะต้องทำความเข้าใจถึงคุณประโยชน์ในการเชื่อมต่อสรรพสิ่งเข้ากับอินเตอร์เน็ตและเหตุผลที่เราต้องเชื่อมต่อทุกสิ่งเข้ากับอินเตอร์เน็ต

ความสำคัญของ IoT ในอนาคต

เมื่ออุปกรณ์ใดๆถูกเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตแล้ว อุปกรณ์นั้นๆจะสามารถส่งหรือรับข้อมูลหรืออาจทำได้ทั้งสองอย่าง ด้วยความสามรถทั้งส่ง และ/หรือ รับข้อมูลต่างๆนั้นทำให้อุปกรณ์มีความอัจฉริยะ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดี

ลองมาเทียบกับสมาร์ทโฟนที่เราถืออยู่ตอนนี้อีกครั้ง ตอนนี้คุณสามารถฟังเพลงได้ทุกเพลงบนโลกใบนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าโทรศัพท์ของคุณจะบรรจุเพลงทุกเพลงบนโลกนี้เอาไว้ แน่นอนว่าเพลงพวกนั้นถูกจัดเก็บไว้ตามที่ต่างๆ แต่โทรศัพท์ของคุณมีหน้าที่เพียงส่งข้อมูล (เพื่อขอเพลง) และทำการรับข้อมูล (เล่นเพลงผ่านโทรศัพท์มือถือ)

ด้วยความอัจฉริยะของอุปกรณ์ที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน อุปกรณ์ของเราจึงไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่หรือใช้คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงในการจัดเก็บ สิ่งที่เราต้องทำคือ เชื่อมต่ออุปกรณ์ของเราเข้ากับอุปกรณ์จัดเก็บหรือคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงผ่านอินเตอร์เน็ต

IoT หมายถึงการเชื่อมต่อทุกสิ่งเข้ากับอินเตอร์เน็ต ซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็นสามรูปแบบหลักๆ:

  1. สิ่งที่รวบรวมจัดเก็บข้อมูลและทำการส่งข้อมูลออกไป
  2. สิ่งที่รับข้อมูลและนำข้อมูลไปประเมินผล
  3. สิ่งที่ทำได้ทั้งสองอย่าง (รวบรวมจัดเก็บข้อมูล และ ประเมินผลข้อมูลเอง)

โดยทั้งสามรูปแบบนี้สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่กันได้อย่างมหาศาล

  1. จัดเก็บข้อมูลและส่งต่อข้อมูล

ในส่วนนี้หมายถึงอุปกรณ์ sensor โดยที่อาจจะเป็นได้ทั้ง sensor ตรวจวัดอุณหภูมิ sensor ตรวจจับการเคลื่อนไหว sensor ตรวจวัดคุณภาพอากาศ sensor ตรวจวัดแสง และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่ง sensor ดังกล่าวเมื่อถูกนำไปเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตแล้ว จะทำให้เราสามารถจัดเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมได้อย่างอัตโนมัติและรวดเร็ว จึงทำให้เราตัดสินใจได้คล่องแคล่วว่องไวขึ้น

ในส่วนของการเกษตร 4.0 ข้อมูลเกี่ยวกับความชื้นในดินที่ได้รับมาอย่างอัตโนมัตินั้นจะเป็นตัวบ่งชี้ให้เกษตรกรได้ทราบถึงช่วงเวลาที่ต้องทำการรดน้ำผลผลิตของตน แทนที่จะสิ้นเปลืองน้ำในการรดน้ำเป็นปริมาณมากๆ (ซึ่งจะเป็นการเพิ่มต้นทุนทางชลประทานที่มากเกินควรและเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรทางธรรมชาติ) หรือแทนที่การรดน้ำในปริมาณที่น้อยจนเกินไป (ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการสูญเสียผลผลิตและรายได้เป็นจำนวนมาก) เมื่อนำเทคโนโลยี IoT และ sensor ตรวจวัดค่าเหล่านี้มาใช้ เกษตรกรจะสามารถมั่นใจได้ว่าผลผลิตของตนนั้นได้รับน้ำในปริมาณที่เหมาะสม ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

เปรียบเสมือนประสามสัมผัสของเรา ไม่ว่าจะเป็นทั้ง การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การสัมผัส และการลิ้มรส ที่ทำให้มนุษย์ได้สัมผัสกับโลก อุปกรณ์ sensor IoTเองก็ทำให้เครื่องจักรสามารถสัมผัสกับโลกได้เช่นเดียวกัน

  1. รับข้อมูลและนำข้อมูลไปใช้

เราทุกคนต่างคุ้นชินกับการใช้อุปกรณ์เครื่องจักรในการรับข้อมูลและนำเอาข้อมูลไปใช้ เช่นเครื่องพิมพ์เอกสารที่รับข้อมูลเอกสารจากคอมพิวเตอร์หรือมือถือของเราและทำการพิมพ์ออกมาบนกระดาษ รถยนต์ของคุณที่รับสัญญาณจากรีโมตกุญแจและปลดล็อคประตูรถยนต์ของเรา และตัวอย่างอื่นๆอีกมากมาย

ถึงแม้ว่ามันจะง่ายในการส่งข้อมูลคำสั่งให้อุปกรณ์ต่างๆทำงาน หรือข้อมูลที่ซับซ้อนอย่างการสั่งพิมพ์แม่แบบ 3 มิติไปยังเครื่องพิมพ์ เราต่างรู้กันดีว่าเราสามารถสั่งให้เครื่องจักรทำงานได้ แม้จะอยู่ห่างออกไป

ไม่เพียงเท่านี้ประสิทธิภาพที่แท้จริงของ IoT จะเกิดขึ้นเมื่ออุปกรณ์สามารถรวบรวมข้อมูลที่ได้รับจาก sensor ต่างๆและนำเอาข้อมูลเหล่านี้ไปประเมินผล

  1. ดำเนินการได้ทั้งสองรูปแบบ (รวบรวมจัดเก็บข้อมูล และ ประเมินผลข้อมูลเอง)

ลองย้อนกลับไปดูตัวอย่างในภาคการเกษตร 4.0 ตัวอุปกรณ์ sensor ที่สามารถตรวจวัดค่าความชื้นในดินได้อย่างเดียวนั้น จะสามารถเตือนให้เกษตรกรทำการรดน้ำเมื่อความชื้นลดลง แต่เมื่ออุปกรณ์ IoT สามารถตรวจวัดค่าความชื้นใต้ดินไปพร้อมกับกับประเมินผลเองและส่งข้อมูลไปที่ระบบรดน้ำ IoT ระบบรดน้ำก็จะทำการรดน้ำโดยอัตโนมัติตามปริมาณความชื้นที่ต้องการโดยที่เกษตรกรไม่จำเป็นต้องออกไปทำการรดน้ำเอง ซึ่งเป็นการประหยัดทั้งค่าแรงและค่าน้ำ

นอกเหนือจากนี้ เรายังสามารถพัฒนาอุปกรณ์ให้ก้าวหน้าต่อไปได้ ยกตัวอย่างเช่น หากระบบรดน้ำ IoT ได้รับข้อมูลสภาพอากาศจากการเชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ตและรับรู้ว่าภายในอีก 1 ชั่วโมงฝนจะตกหนัก ระบบรดน้ำ IoT ก็จะตัดสินใจได้ว่าไม่ต้องทำการรดน้ำผลผลิต เนื่องจากผลผลิตเหล่านั้นจะได้รับน้ำจากฝน ซึ่งจะสามารถป้องกันไม่ให้เกษตรกรสูญเสียผลผลิตจากปริมาณน้ำที่มากเกินไปอีกด้วย

ไม่เพียงเท่านี้ ข้อมูลทั้งหมดที่รวบรวมเกี่ยวกับความชื้นในดินและปริมาณน้ำที่ใช้ ก็สามารถนำมาเทียบกับอัตราการเติบโตของผลผลิตได้ โดยข้อมูลอาจถูกส่งไปในคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลว่าความชื้นอยู่ระดับใดและปริมาณน้ำมากน้อยแค่ไหนที่จะส่งผลให้ได้รับผลผลิตมากที่สุด

ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาก่อนหน้านี้เป็นเพียงตัวอย่างในการใช้งาน sensor ตรวจวัดความชื้นใต้ดินอย่างเดียว ยังไม่รวมถึง sensor ประเภทอื่นๆเช่น sensor ตรวจวัดแสง ตรวจคุณภาพอากาศ ตรวจวัดอุณหภูมิ และประเภทอื่นๆอีกมากมายที่เรายังไม่รับรู้ถึงความสามารถ

สรุปความหมายของ IoT

IoT คืออะไร: อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Thing) หรือคำย่อคือ IoT คือการเพิ่มประสิทธิภาพของอินเตอร์เน็ตที่เหนือกว่าการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สมาร์ทโฟนไปยังวัตถุอื่นๆและสิ่งแวดล้อม โดยที่การถูกเชื่อมต่อผ่านเทคโนโลยี IoT นั้นดำเนินการเพื่อรวบรวมจัดเก็บข้อมูล ส่งข้อมูลออกไป หรือทั้งสองรูปแบบ

เหตุใด IoT จึงสำคัญ: IoT จะช่วยให้ภาคธุรกิจหรือบุคคลทั่วไปได้รับทราบข้อมูลเชิงลึกและสามารถควบคุมข้อมูลของวัตถุและสิ่งแวดล้อมได้ถึงร้อยละ 99 ซึ่งอยู่นอกเหนือจากการเข้าถึงผ่านอินเตอร์เน็ต และนอกจากนั้น IoT ยังช่วยให้ภาคธุรกิจและผู้คนได้เชื่อมต่อเข้ากับโลกและสภาพแวดล้อมรอบตัว อีกทั้งยังสามารถทำงานหรือดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพและคล่องแคล่วมากขึ้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้