องค์การระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

องค์การระหว่างประเทศ (อังกฤษ: international organisation/organization) เป็นองค์การที่มีสมาชิก ขอบเขต หรือการปรากฏตัวในระดับนานาชาติ มีสองประเภทดังนี้[1]

  • องค์การนอกภาครัฐระหว่างประเทศ (international nongovernmental organisation: INGO) คือ องค์การนอกภาครัฐ (nongovernmental organisation: NGO) ที่ดำเนินงานในระดับนานาชาติ เช่น องค์การไม่แสวงกำไร (non-profit organisation) และหน่วยงานในระดับโลก เป็นต้นว่า องค์การขบวนการลูกเสือโลก (World Organization of the Scout Movement), คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross), และการแพทย์ไร้พรมแดน (Médecins Sans Frontières)
  • องค์การระหว่างรัฐบาล (intergovernmental organisation) หรือองค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล (international governmental organisation: IGO) เป็นองค์การที่ใกล้เคียงกับนิยามของ "องค์การระหว่างประเทศ" ในกฎหมายระหว่างประเทศมากที่สุด องค์การเหล่านี้มักมีสมาชิกเป็นรัฐเอกราช (sovereign state) ซึ่งเรียกว่า รัฐสมาชิก (member state) ตัวอย่างขององค์การประเภทนี้ เช่น สหประชาชาติ (United Nations), องค์การความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (Organization for Security and Co-operation in Europe), สภายุโรป (Council of Europe), องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization), และองค์การตำรวจระหว่างประเทศ (International Police Organization)[2]

องค์การระหว่างรัฐบาลองค์การแรกและเก่าแก่ที่สุด คือ คณะกรรมการกลางเพื่อการเดินเรือในแม่น้ำไรน์ (Central Commission for Navigation on the Rhine) ซึ่งที่ประชุมเวียนนา (Congress of Vienna) จัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1815

บทบาทขององค์การระหว่างประเทศ คือ ช่วยวางระเบียบวาระในระดับสากล เป็นตัวกลางในการเจรจาทางการเมือง จัดให้มีพื้นที่สำหรับการริเริ่มทางการเมือง และกระตุ้นการสร้างพันธมิตร ตลอดจนกำหนดประเด็นโดดเด่นต่าง ๆ เพื่อช่วยให้รัฐบาลกำหนดลำดับความสำคัญ

อ้างอิง[แก้]

  1. The Penguin Dictionary of International Relations divides modern international organizations into two "basic types, the 'public' variety known as intergovernmental organizations (IGOs) and the 'private' variety, the international non-governmental organization (INGOs)." (Evans, Graham, and Richard Newnham. Penguin Dictionary of International Relations. Penguin, 1998, p. 270.)
  2. "Intergovernmental organizations having received a standing invitation to participate as observers in the sessions and the work of the General Assembly and maintaining permanent offices at Headquarters." United Nations Department of Public Information, United Nations Secretariat.

องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

                       การที่แต่ละประเทศมีศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติและมนุษย์ไม่เท่ากัน เป็นสาเหตุสำคัญเบื้องต้น ที่ทำให้สภาพเศรษฐกิจของแต่ละประเทศแตกต่างกัน แม้ประเทศ นั้นๆจะอยู่ในภูมิภาคเดียวกันหรือมีสภาพแวดล้อมอื่นๆใกล้เคียงกันหลายอย่าง ก็ตาม ปัจจุบัน นี้ประเทศต่างๆจึงหันมาให้ความร่วมมือ เพื่อช่วยเหลือกันมากขึ้นโดยการรวมกลุ่มกัน เพื่อผล ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและจัดตั้งเป็นสมาชิก สนธิสัญญา หรือองค์การระหว่างประเทศขึ้นมา

             องค์การระหว่างประเทศเพื่อผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและมีความสัมพันธ์กับประเทศไทย ได้แก่ 

 1. สหภาพยุโรป

 2. องค์การการค้าโลก

 3. กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก

 4. สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป

 5. สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 6. เขตการค้าเสรีอาเซียน

 7. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

 8. ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ




วันที่นำเข้าข้อมูล 25 ส.ค. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 19 ต.ค. 2565

| 10,954 view

ภาพรวมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทย

          ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา (Official  Development Assistance : ODA) ของประเทศไทยแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ ๑) ความช่วยเหลือแบบเงินให้เปล่า/ความร่วมมือทางวิชาการ (Grant and Technical Cooperation) ๒) ความช่วยเหลือทางการเงิน หรือเงินกู้ผ่อนปรน (Financial Assistance and Soft Loan) และ ๓) เงินบริจาค/เงินสนับสนุนแก่องค์กรพหุภาคีและองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร (Contribution to International Organizations)

          การดำเนินงาน ODA ของประเทศไทย รัฐบาลได้จัดตั้ง ๒ หน่วยงาน เพื่อกำกับดูแลและบริหารงาน ODA ของประเทศไทย ได้แก่  กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการบริหารความร่วมมือทางวิชาการ ส่วนอีกหนึ่งหน่วยงาน คือ สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency (Public Organization)) หรือ NEDA สังกัดกระทรวงการคลัง  มีบทบาทรับผิดชอบดูแลการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน   

          สำหรับเงินบริจาคนั้น แต่ละหน่วยงานที่มีพันธกรณีที่ได้ผูกพันไว้กับองค์การระหว่างประเทศจะดำเนินการเอง เช่น กระทรวงพาณิชย์  กระทรวงแรงงาน กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น

          ประเทศไทยโดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้รายงานข้อมูล ODA ของไทยต่อ องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจเเละการพัฒนา (OECD-Organization for Economic Cooperation and development) ทุกปี  ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ (ค.ศ ๒๐๐๖) โดยความสมัครใจ (voluntary basis) ซึ่ง OECD กำหนดให้กลุ่มประเทศ donors เท่านั้นที่ต้องรายงาน  ปัจจุบันแม้ว่าประเทศไทยไม่ได้เป็นสมาชิกของ Development Assistance Committee/ OECD หรือ Non-DAC และ OECD ยังคงจัดให้ไทยอยู่ในกลุ่มประเทศผู้รับในกลุ่มประเทศ Upper-Middle Income Country แต่ OECD ได้มีการบันทึกข้อมูลการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศของไทยไว้ด้วย ซึ่งเป็นการแสดงถึงสถานะและบทบาทของไทยที่ประจักษ์ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่ง  OECD สนับสนุนให้ประเทศผู้ให้ต่าง ๆ ให้ความช่วยเหลือที่เกณฑ์ร้อยละ ๐.๗ ของ GNI

          จากข้อมูล ODA  ปัจจุบันในฐานข้อมูลของ OECD พบว่า ประเทศไทยเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศ แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มิติด้านการรับของไทยลดลงอย่างเห็นได้ชัดและทวีบทบาทการเป็นผู้ให้มากขึ้น โดย

          การรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศของไทย ประเทศไทยรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการจากแหล่งความร่วมมือต่างประเทศต่าง ๆ มาตั้งแต่ปี ๒๔๘๙ จุดมุ่งหมายหลักเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทั้งในรูปโครงการ ผู้เชี่ยวชาญและอุปกรณ์ โดยแหล่งความร่วมมือที่สำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหประชาชาติ แคนาดา สหภาพยุโรป องค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ เป็นต้น จนกระทั่งในช่วงปลายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๖ อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยมีการขยายตัวในอัตราที่สูงและขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ ๑๐.๕ ต่อปี ในขณะเดียวกันโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยได้ปรับตัวนลักษณะเปิดกว้างเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนานาชาติมากขึ้น ซึ่งถือได้ว่า ระดับการพัฒนาของประเทศไทยได้มีการพัฒนาขึ้นสู่อีกระดับหนึ่ง (Graduate) เมื่อเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ด้วยกัน ทำให้นโยบายของแหล่งผู้ให้บางประเทศได้ปรับเปลี่ยนนโยบายการให้ความร่วมมือกับประเทศไทย เป็นลักษณะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนามากขึ้น

          ในปัจจุบันประเทศไทยยังคงรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากประเทศ/องค์การระหว่างประเทศ ที่มีความเป็นเลิศในสาขาที่มีความจำเป็นต่อการประเทศไทย โดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในสาขาต่างๆ เพื่อนำมาพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และเสริมสร้างขีดความสามารถในสาขาต่าง ๆ ของประเทศ ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นหรือสามารถบรรลุพันธกรณีระหว่างประเทศภายใต้กรอบความตกลงความร่วมมือทางวิชาการที่มีอยู่ โดยเฉพาะจาก ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี จีน เยอรมนี สหรัฐอเมริกา และประเทศที่สำคัญอื่น ๆ

          สำหรับสถานะการเป็นผู้ให้นั้น ประเทศไทยมีฐานะเป็นผู้ให้ตั้งแต่ปี ๒๔๙๘ แต่ความร่วมมือในระยะแรกยังมีไม่มากนัก จำกัดเฉพาะการจัดหลักสูตรศึกษาฝึกอบรมดูงานให้แก่ผู้รับทุนขององค์การระหว่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศกำลังพัฒนา จนกระทั่งปี ๒๕๓๔ รัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะสืบต่อนโยบายการเปลี่ยนแปลงภูมิภาคอินโดจีน จากสนามรบเป็นสนามการค้าที่ได้ริเริ่มมาตั้งแต่สมัยรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหวัณ โดยการเพิ่มงบประมาณการให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่ต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านจากเดมิ ๒๕ ล้านบาท ในปี ๒๕๓๔ เป็น ๑๗๕ ล้านบาท ในปี ๒๕๓๕ และ ๒๐๓ ล้านบาท ในปี ๒๕๓๖ ตามลำดับ และรูปแบบการให้ความช่วยเหลือของประเทศไทยก็เริ่มเป็นการให้ในลักษณะโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น

          การที่ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศและสั่งสมประสบการณ์การใช้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาประเทศมากว่า ๔๐ ปี เป็นปัจจัยหนึ่งที่ผลักดันให้ประเทศไทยแสดงบทบาทในการให้ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจโลกที่สำคัญเป็นปัจจัยให้ประเทศไทยได้แสดงบทบาทในเวทีระหว่างประเทศมากขึ้น ประกอบกับประเทศไทยต้องยึดมั่นปฏิบัติตามพันธกิจที่ต้องดำเนินการตามข้อผูกพันระหว่างประเทศตามวาระโลก (Global Agenda) ประเด็นที่ประชาคมนานาชาติกำหนด (Global Issues) และนโยบายของรัฐบาลด้านการต่างประเทศมุ่งเน้นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ จึงทำให้การให้เป็นภารกิจสำคัญหนึ่งที่เสดงให้เห็นถึงศักยภาพของไทยในด้านต่าง ๆ ที่หลายประเทศให้การยอมรับ จะเห็นได้จากการดำเนินงานความร่วมมิอเป็นเวลาหลายทศวรรษ ในหลากหลายรูปเเบบเเละสาขา ในอนุภูมิภาคเเละภูมิภาคต่าง ๆ เช่น กลุ่มประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มประเทศในเอเซียตะวันออกเเละเเปซิฟิก กลุ่มประเทศในเอเซียใต้ กรอบความร่วมมือ เช่น ACMECS GMS ประเทศในกลุ่ม CIS เเละยุโรปตะวันออก ละตินอเมริกา เเละเเคริบเบียน รวมถึงเเอฟริกา

          อย่างไรก็ตาม การให้ความช่วยเหลือกับต่างประเทศของไทยในปัจจุบัน ทุก ๆ หน่วยงานทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา เอกชน และภาคประชาสังคม สามารถดำเนินงานให้ความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ และเมื่อดำเนินการแล้วให้แจ้งข้อมูลให้กรมความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อรวบรวมรายงานต่อ OECD

          ในด้านเงินกู้ผ่อนปรน (Soft Loan) นั้น สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) มีบทบาทรับผิดชอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในส่วนของความช่วยเหลือทางการเงิน NEDA เน้นใน ๔ สาขา ได้แก่ สาขาการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคม ด้านพลังงาน การพัฒนาเมือง และการพัฒนาบุคลากร ใน ๗ ประเทศ ได้แก่ สปป.ลาว เวียดนาม กัมพูชา เมียนมา ภูฏาน ศรีลังกา และติมอร์-เลสเต

 

 

องค์การระหว่างประเทศหมายถึงอะไร

องค์การระหว่างประเทศ หมายถึง องค์การที่รัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปร่วมกันก่อตั้ง มีการประชุมร่วมกันเป็นประจำ และมีเจ้าหน้าที่ทำงานเต็มเวลา นโยบายขององค์การระหว่างประเทศจะเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมของรัฐสมาชิก การเข้าเป็นสมาชิกเป็นไปตามความสมัครใจของรัฐ ตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ที่แน่นอน

องค์การระหว่างประเทศด้านสังคม มีอะไรบ้าง

ภารกิจ หน้าที่และบทบาทขององค์การระหว่าง ประเทศด้านสังคมและการเมือง - สหประชาชาติ(UN) - กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ(UNICEF) - ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ(UNHCR) - องค์การอนามัยโลก (WHO) - องค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC)

เศรษฐกิจระหว่างประเทศหมายถึงอะไร

เศรษฐกิจระหว่างประเทศ หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอยู่ 3 เรื่อง คือ การค้าระหว่างประเทศ การเงินระหว่างประเทศ และการร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การค้าระหว่างประเทศ

องค์การทางเศรษฐกิจใดที่มีบทบาทระหว่างประเทศด้านการค้าและทรัพย์สินทางปัญญา *

1. องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO)ปัจจุบันมีสมาชิก 164 ประเทศ โดยประเทศสมาชิก WTO รวมทั้งประเทศไทย ต้องยอมรับและปฏิบัติตามพันธกรณีของความตกลงว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (ความตกลง TRIPS Agreement) ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ประเทศสมาชิก ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้