นวัตกรรม ฝึก กล้าม เนื้อ มัดเล็ก

กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก (Fine-Motor Development Activities) หมายถึง กิจกรรมที่ส่งเสริมความสามารถในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมือและตาให้ทำงานอย่างประสานสัมพันธ์ที่ดี ได้แก่ กิจกรรมที่เด็กได้หยิบจับสิ่งของ ตุ๊กตา เครื่องเล่น ตลอดจนการช่วยตนเองในการแต่งตัว การทำความสะอาดร่างกาย การรับประทานอาหาร ตลอดจนกิจกรรมศิลปะต่างๆที่เด็กได้ทำที่โรงเรียนเพื่อการพัฒนาของกล้ามเนื้อเล็ก ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการควบคุมและการทำงานประสานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกล้ามเนื้อมือและตาในการทำกิจกรรมต่างๆที่ต้องใช้มือและตาในการบังคับควบคุม เช่น การหยิบจับสิ่งของ การหิ้วหรือถือของ การร้อยพวงมาลัย การจับดินสอหรือสีในการวาดรูปหรือขีดเขียนในเด็กปฐมวัย

การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อเล็กมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อพัฒนาความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมือ ตา เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของร่างกายได้อย่างประสานสัมพันธ์กัน และเพื่อวางรากฐานในการใช้มือที่ถนัดและเตรียมความพร้อมที่จะเขียนและอ่านต่อไป แต่ครูและผู้ปกครองส่วนมากมักผลักดันให้เด็กฝึกการเขียนในขณะที่เด็กยังไม่พร้อม กล้ามเนื้อเล็กยังไม่พัฒนา ทำให้เด็กเกิดความเครียดและไม่มีความสุขในการเขียน และอาจมีผลในเชิงลบต่อการเรียนรู้ทักษะทางภาษาในอนาคตต่อไปด้วย

กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อเล็กสำคัญอย่างไร?

เด็กในแต่ละช่วงอายุมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา แต่พัฒนาการที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน คือ พัฒนาการด้านร่างกาย โดยสังเกตได้จากการเจริญเติบโตของร่างกายอันได้แก่ส่วนที่เป็นน้ำหนักตัวและส่วนสูงที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลมาจากภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคของเด็ก ตลอดจนการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องอาหารการกินจากครอบครัวและโรงเรียน ส่วนพัฒนาการด้านร่างกายไม่ได้หมายถึงเฉพาะพัฒนาการในส่วนที่เป็นการเจริญเติบโตที่สามารถมองเห็นในส่วนของน้ำหนักและส่วนสูงเท่านั้น แต่พัฒนาการด้านร่างกายครอบคลุมองค์ประกอบต่างๆ 5 ส่วนดังนี้ 

  1. การเจริญเติบโตทางกายภาพ (Physical Growth) 
  2. วุฒิภาวะ (Maturation) 
  3. ประสาทสัมผัสและการรับรู้ (Sensation and Perception) 
  4. การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใหญ่ (Gross Motor) 
  5. การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเล็ก (Fine Motor) 

กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยได้แก่ กล้ามเนื้อนิ้วมือและกล้ามเนื้อตา กล้ามเนื้อทั้งสองส่วนมีความเกี่ยวข้องกับความสามารถในการเขียนของเด็ก เนื่องจากกล้ามเนื้อเล็กเป็นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหยิบจับสิ่งของตุ๊กตาและของเล่น การดึง การกด การหยอดบล็อก ตลอดจนการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เช่น การติดกระดุม การผูกเชือกรองเท้า การจับช้อน- ส้อมในการรับประทานอาหาร การอาบน้ำแปรงฟัน เด็กที่มีสายตาดีจะเที่ยวมอง ค้นหาสำรวจสิ่งต่างๆด้วยความอยากรู้อยากเห็น เมื่อพบสิ่งของที่น่าสนใจเด็กจะหยิบจับสิ่งนั้น การใช้ตาดูสิ่งของและจับสิ่งนั้นได้เป็นความสามารถในการใช้ประสาทตาและประสาทนิ้วมืออย่างประสานสัมพันธ์ การพัฒนากล้ามเนื้อเล็กจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการใช้กล้ามเนื้อเล็กได้อย่างประสานสัมพันธ์ พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อเล็กของเด็กเป็นพัฒนาการที่เป็นพื้นฐานของการเขียน ครูและผู้ปกครองส่วนมากมักผลักดันเด็กให้ฝึกเขียนในขณะที่เด็กยังไม่พร้อม กล้ามเนื้อเล็กยังไม่พัฒนา ทำให้เด็กไม่มีความสุข และไม่สนุกกับการเขียน ก่อนที่ครูจะให้เด็กเขียน จึงต้องพิจารณาสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้ 

  1. พัฒนาการทางกล้ามเนื้อเล็ก 
  2. การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา 
  3. ความสามารถในการจับดินสอ
  4. ความสามารถในการขีดเส้นพื้นฐาน 
  5. การรับรู้ตัวอักษร 
  6. ความคุ้นเคยกับตัวอักษร 

ทั้ง 6 ประการมีข้อ 1 ถึง 4 ที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อเล็ก ส่วนข้อ 5 และ 6 เป็นเรื่องการรับรู้ เด็กจะมีความสามารถในการเขียนเมื่อเด็กควบคุมข้อมือและกล้ามเนื้อนิ้วมือ ความสามารถนี้เกิดขึ้นได้โดยการหยิบจับหรือเล่นกับวัสดุอุปกรณ์และเกมต่างๆ เช่น การเล่นหยอดบล็อก การปั้นดินน้ำมัน การเล่นภาพตัดต่อ การเล่นก่อสร้าง การเล่นน้ำเล่นทราย การรูดซิป การผูกเชือกรองเท้า การติดกระดุมเสื้อ การใช้กรรไกรตัดกระดาษ การวาดภาพระบายสี และการทำกิจกรรมศิลปะอื่นๆ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อเล็กเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความพร้อมในการเขียนซึ่งเป็นทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย

กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อเล็กมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?

การจัดกิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อเล็กมีความสำคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติ ปัญญาของเด็กปฐมวัย ซึ่งสามารถอธิบายถึงประโยชน์ที่มีต่อเด็กดังนี้ 

  • การจัดกิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อเล็กมีความสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมในการเขียน ซึ่งต้องอาศัยการประสานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสายตากับมือ ตลอดจนการควบคุมกล้ามเนื้อมือและแขน 
  • ช่วยให้เด็กได้พัฒนาสมองและความฉับไวในการคิด ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของเพียเจท์ (Piaget) ที่กล่าวว่า สติ ปัญญากับการเคลื่อนไหวมีความสัมพันธ์กัน เมื่อเด็กได้เคลื่อนไหว สมองของคนเราก็จะทำงานไปพร้อมๆกัน การฝึกฝนความคล่องแคล่วว่องไวของการใช้กล้ามเนื้อมือที่ประสานสัมพันธ์กันอย่างมากกับการคิดอันฉับไวของเด็ก และในทางตรง กันข้าม เด็กที่ไม่มีความสามารถเคลื่อนไหวนิ้วมือได้อย่างคล่องแคล่วมักจะคิดอะไรช้าด้วย 
  • เป็นการส่งเสริมเด็กในด้านการแสดงออกทางด้านความรู้สึกและจินตนาการ การจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อเล็กประเภทกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ การวาดภาพระบายสี การปั้นดินน้ำมัน การทดลองด้วยสี การตัด พับ ฉีกปะกระดาษ การทำศิลปะประดิษฐ์ ฯลฯ 
  • เพื่อพัฒนาความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมือและตาให้สัมพันธ์กัน การบังคับกล้ามเนื้อทั้งสองส่วนนี้จะพัฒนาเด็กให้มีความสามารถในการหยิบจับสิ่งของต่างๆได้อย่างมั่นคง เช่น เมื่อเด็กได้รับการฝึกฝนจนกล้ามเนื้อประสานสัมพันธ์กันดีแล้ว เด็กจะจับดินสอได้อย่างมั่นคง มีความพร้อมในการเขียนหรือการใช้มือในการทำกิจ กรรมอื่นๆ การจับช้อน ส้อมในการรับประทานอาหาร การถือสิ่งของ การแปรงฟัน ฯลฯ 
  • ส่งเสริมให้เด็กมีความพร้อมในการอ่าน การทำงานประสานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกล้ามเนื้อมือและตาจะช่วยให้เด็กสามารถที่จะใช้สายตาในการมองตัวหนังสือ การหยิบจับหนังสือ และมองตัวอักษรในหนังสือจากซ้ายไปขวา อันเป็นพื้น ฐานในการฝึกอ่านอย่างคล่องแคล่วในระดับต่อไป 
  • ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ในการสำรวจ เปรียบเทียบ และแบ่งประเภทของสิ่งต่างๆรอบตัว 
  • เด็กได้สร้างภาพพจน์ของตนเองและทักษะทางสังคม ทำให้ร่วมเล่นและทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนได้ 
  • สามารถนำสิ่งที่เรียนไปใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆในชีวิตประจำวันได้

ครูจัดกิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อเล็กอย่างไร?

ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กมีความสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน โดยกล้ามเนื้อเล็กเป็นอวัยวะหนึ่งในการประกอบกิจกรรมต่างๆของเด็ก เช่น ติดกระดุม การผูกเชือกรองเท้า การเทน้ำใส่แก้ว การดื่มนม การรับ ประทานอาหาร การทำงานศิลปะ รวมทั้งการขีดเขียน ถ้าเด็กสามารถใช้กล้ามเนื้อเล็กได้อย่างคล่องแคล่ว จะช่วยพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการทางด้านต่างๆดีไปพร้อมๆกัน ดังนั้นครูปฐมวัยจึงจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อเล็กให้กับเด็กปฐมวัย ดังนี้

  • กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 
    • การปั้น ได้แก่ การปั้นดินน้ำมัน การปั้นดินเหนียว การปั้นทรายผสมกาวและน้ำ การปั้นแป้งโด เป็นเรื่องราวหรือตามจินตนาการของเด็ก การใช้หมุดหรือไม้จิ้มฟันเล่นกับแป้งโด การใช้มีดพลาสติกตัดแป้งโด
    • การวาดภาพระบายสี เช่น การวาดภาพระบายสีด้วยสีเทียนหรือสีไม้ การวาดภาพด้วยพู่กันหรือแปรงทาสีอันเล็กๆ และใช้สีน้ำ สีฝุ่น หรือสีโปสเตอร์ การวาดภาพด้วยนิ้วมือด้วยแป้งมันผสมสีหรือโคลน การวาดภาพด้วยกาวน้ำ โรยทรายสี หรือโรยขี้เลื่อยไม้ป่นผสมสี หรือกาบมะพร้าวป่นผสมสี วาดภาพด้วยเชือกหรือหลอดด้าย 
    • การพิมพ์ภาพ เช่น การพิมพ์ภาพด้วยเศษวัสดุหรือฟองน้ำหรือกระดาษขยุ้มหรือใบไม้ ก้านกล้วย 
    • การทดลองด้วยสี เช่น การเทสี การหยดสี การพับสี การจุ่มสี การกลิ้งสี การทับสี การเป่าสี การลูบสี การละ เลงสีด้วยนิ้วมือ มือ ข้อศอก 
    • งานกระดาษ เช่น การฉีก พับ ตัด ปะกระดาษ การขยำกระดาษ การม้วนกระดาษ การถักสานกระดาษ 
    • ประดิษฐ์จากเศษวัสดุ เช่น การประดิษฐ์รถลาก การประดิษฐ์ตุ๊กตา หุ่นมือ หุ่นนิ้วมือ การประดิษฐ์ของใช้อื่นๆ
  • กิจกรรมการเล่นตามมุมหรือกิจกรรมเสรี ประกอบด้วย 
    • มุมเครื่องเล่นสัมผัส เช่น การร้อยลูกปัด การร้อยดอกไม้ การเย็บกระดุม การรูดซิป การเรียงสี การเล่นหรือเรียงไม้หนีบ การปักหมุด การหยอดบล็อก 
    • มุมบล็อก เช่น การต่อบล็อกต่างๆ บล็อกไม้ บล็อกพลาสติก บล็อกชุด บล็อกกลวง บล็อกผลิตเอง การต่อตัวต่อพลาสติกต่างๆ 
    • มุมช่างไม้ เช่น การตอกตะปู การต่อไม้ การสร้างบ้านจำลอง การเล่นชุดเครื่องเล่นช่างไม้ 
    • มุมดนตรี เช่น การเขย่าลูกแซ็ค การตีกลอง ตีฉาบ ตีฉิ่ง ตีระนาด เป่าปี่ ดีดเปียโน ดีดกีตาร์ การเล่นดนตรีพื้น บ้านของแต่ละภาค หรือการประดิษฐ์เครื่องดนตรีจากเศษวัสดุเหลือใช้ 
    • มุมวิทยาศาสตร์เช่น การเล่นแท่งแม่เหล็ก การสัมผัสถุงทราย ถุงใส่เมล็ดธัญพืช การจำแนกเปลือกหอยตามสี รูปร่าง การจับหรือสัมผัสสมุดสะสมดอกไม้หรือใบไม้ การจำแนกเสียงจากการตีขวดน้ำผสมสีที่มีปริมาณต่างกัน 
    • มุมคณิตศาสตร์ เช่น การชั่งสิ่งของต่างๆด้วยตาชั่ง การนับจำนวนเมล็ดผลไม้ต่างๆ การเปรียบเทียบขนาดของผลไม้ การจัดกลุ่มสื่อหรือวัสดุประจำมุมคณิตศาสตร์ตามเกณฑ์ต่างๆที่เด็กเลือก การเรียงลำดับวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้เรียนรู้ประจำหน่วยจากเล็กไปหาใหญ่หรือใหญ่ไปหาเล็ก
    • มุมบ้านหรือมุมบทบาทสมมติ เช่น การเล่นบทบาทสมมติเป็นหมอหรือพยาบาล โดยใช้เครื่องมือแพทย์ ใช้เครื่องมือวัดไข้ การเล่นฉีดยาให้ผู้ป่วย การสวมเสื้ออาชีพต่างๆ การติดกระดุมเสื้อ การสวมรองเท้า การเล่นโทร ศัพท์ เปลี่ยนเสื้อผ้าให้ตุ๊กตา 
    • มุมหนังสือ เช่น การเปิด ปิดหนังสือ การอ่านภาพหรืออ่านตัวหนังสือโดยกวาดสายตาจากซ้ายไปขวา 
    • มุมโรงหุ่นหรือโรงละคร เช่น การเชิดหุ่นมือ หุ่นนิ้วมือ หุ่นถุงกระดาษ 
  • กิจกรรมกลางแจ้ง ประกอบด้วย 
    • เกมพลศึกษา เช่น การแข่งขันโยนลูกบอลลงตะกร้า กิจกรรมเกมแข่งขันคีบลูกปิงปองด้วยไม้ตะเกียบ เกมขี่ม้าส่งเมือง การโยนรับลูกบอล เกมโยนถุงถั่วลงตะกร้า 
    • การละเล่นพื้นบ้าน เช่น การโยนห่วงยางหรือลูกช่วง การเล่นกำทาย การทอยราว การเล่นหมากเก็บ การเล่นหมากขุม การเล่นอีตัก การทอยลูกสะบ้า 
    • การเล่นดินหรือเล่นทรายในสนาม เช่น การใช้ไม้ขีดเขียนเล่นบนดิน การใช้มือขีดเขียนเล่นบนทรายเปียก การขุดอุโมงค์ การก่อเจดีย์ทราย 
  • กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ประกอบด้วย 
    • การประกอบอาหาร เช่น การคลึงแป้งเป็นลูกกลมๆเพื่อทำขนมบัวลอย การเทน้ำส้มคั้นลงไปในแก้ว การเทแป้ง น้ำตาลลงในหม้อขนม การใช้ทัพพีตักข้าวใส่จาน การคนหรือกวนแป้งในกระทะ การใช้มีดสำหรับเด็กหั่นผักหรือผลไม้เป็นชิ้นๆเพื่อทำสลัดผัก ผลไม้ การจำแนกหรือจัดกลุ่มผลไม้หรือผัก การล้างผัก 
    • การทดลองทางวิทยาศาสตร์ เช่น การทดลองเป่าฟองสบู่ กิจกรรมหมุดลอยน้ำ ทดลองกรองน้ำให้สะอาด การสัมผัสวัสดุที่อยู่ในกล่องทึบ คลิปกระดาษลอยน้ำ 
    • การศึกษานอกสถานที่ เช่น การสำรวจมด แมลงด้วยการส่องด้วยแว่นขยาย การจับหรือสัมผัสต้นไม้หรือเปลือกไม้เพื่อสำรวจว่ามีผิวเรียบ ขรุขระแตกต่างกันอย่างไร การวาดรูปหรือขีดเขียนเพื่อบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษานอกสถานที่ 
  • เกมการศึกษา ประกอบด้วย การฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างตากับมือจากการเล่นเกมจับคู่ เช่น การจับคู่ภาพที่เหมือนกัน การจับคู่ภาพกับคำ การจับคู่แบบอุปมาอุปไมย การจับคู่สิ่งของที่ใช้คู่กัน การจับคู่ภาพกับโครงร่าง เกมเรียงลำ ดับภาพ เรียงลำดับจำนวน เกมภาพตัดต่อ เกมอนุกรม เกมล็อตโต เกมโดมิโน 
  • กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ประกอบด้วย 
    • การเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพลง เช่น การเคลื่อนไหวมือและนิ้วมือประกอบเพลง แมงมุม เพลงส้ม เพลงแตงโม เพลงโรงเรียนของเรา เพลงรถไฟ เพลงนิ้วมือของฉัน 
    • การเคลื่อนไหวร่างกายประกอบคำคล้องจอง เช่น การเคลื่อนไหวนิ้วมือประกอบคำคล้องจองไข่ 10 ฟอง คำคล้องจอง ฝนตกพรำๆ คำคล้องจองตบมือ คำคล้องจองนับจำนวน คำคล้องจองนับเลข 
  • กิจกรรมเบ็ดเตล็ดอื่นๆ เช่น การตบมือ การสัมผัสอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย การเดินแบบปูด้วยนิ้วมือ การใช้มือเดิน (นิ้วมือ) การจับลูกโป่งหรือฟองสบู่ให้อยู่ในมือ การใช้มือข้างใดข้างหนึ่งเอื้อมข้ามศีรษะไปหยิบสิ่งของอีกด้านหนึ่ง 
  • การฝึกลีลามือ เป็นกิจกรรมเตรียมความพร้อมไปสู่ทักษะการเขียน เช่น การลากเส้นจากซ้ายไปขวา การลากเส้นจากบนลงล่าง การเขียนเส้นโค้ง การลากเส้นตามรอยประ การเขียนเส้นพื้นฐานต่างๆเพื่อฝึกความมั่นคงของการใช้มือ นิ้วมือ และการประสานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมือกับตา 

พ่อแม่ผู้ปกครองจะจัดกิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อเล็กได้อย่างไร?

พ่อแม่ผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในทุกด้าน โดยเฉพาะพัฒนาการทางด้านร่างกาย พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อเล็ก เป็นการทำงานประสานกันระหว่างกล้ามเนื้อมือและตา ความมั่นคงแข็งแรงในการใช้มือและนิ้วมือในการหยิบจับสิ่งของต่างๆ และการรับรู้ประสาทสัมผัสในส่วนที่เป็นมือและนิ้วมือ พ่อแม่ผู้ปกครองจึงควรจัดกิจ กรรมที่บ้านเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อเล็กให้กับลูกได้ดังนี้ 

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้