นวัตกรรม กับการ ทรัพยากรมนุษย์

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้

คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน

คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังการเกิด “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019” ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการใช้ชีวิตของคนในสังคมและการเติบโตขององค์การอย่างมาก ประเด็นที่น่าสนใจนั้นคือ ผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อไปกับทุกองค์การที่มีเป้าหมายคล้ายคลึงกันนั้นคือ ความอยู่รอดหรือความยั่งยืน

The Society for Human Resource Management (SHRM) ได้มีการศึกษาถึงกระบวนการและการเกิดแนวความคิดใหม่ที่มีผลต่อการอยู่รอดในระยะยาวขององค์การ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าในปี ค.ศ.1935 องค์การมีช่วงระยะเวลาที่สามารถอยู่ดำเนินการโดยมีค่าเฉลี่ย คือ 95 ปี แต่ทว่าในปี ค.ศ.2005 กลับพบว่ามีค่าเฉลี่ยนั้นลดลงเหลือ 15 ปี ดังนั้น คำถามคือแล้วองค์การที่มีการดำเนินการมานานกว่าศตวรรษ ดังเช่น 3M และ Johnson & Johnson ยังคงสามารถเติบโตอยู่ได้อย่างไร คำตอบคือ ... เพราะพวกเขามีการทำ “นวัตกรรม”


นวัตกรรม คืออะไร

จากการค้นหาความหมายของคำว่า “นวัตกรรม” ที่พบว่ามีการให้ความหมายที่หลากหลายมาก แต่หากพิจารณาถึงแก่นหลักแล้วก็พอที่จะนำมาสรุปได้ว่า กระบวนการทำสิ่งใหม่ ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนานวัตกรรม โดยไม่จำเป็นว่าแนวคิดนั้นจะต้องเป็นเรื่องใหม่ที่ถูกค้นพบเป็นครั้งแรก เพราะนวัตกรรมยังหมายรวมถึงการสร้างหรือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการจัดการที่มีอยู่แล้ว ดังจะก่อให้เกิดคุณค่าและมูลค่าต่อผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย (Multi-Stakeholders) ทั้งในองค์การและประเทศชาติในระยะยาว


นักบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือ HR มีบทบาทอย่างไรต่อการใช้กลยุทธ์ที่สำคัญที่เรียกว่า “นวัตกรรม”

ปัจจุบันพบว่าได้มีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ได้มีการกล่าวถึงเกี่ยวกับนวัตกรรมในงานทรัพยากรมนุษย์เป็นจำนวนมาก แต่ทั้งหมดทั้งมวลที่เคยกล่าวถึงมา กลับพบว่าส่วนใหญ่จะกล่าวถึงในมุมที่ HR มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานทรัพยากรมนุษย์ที่มีอยู่ เช่น การจัดปฐมนิเทศ การให้การเรียนรู้และพัฒนาผ่านโทรศัพท์มือถือหรือผ่านอุปกรณ์ประเภทใดประเภทหนึ่ง การบริหารคนเก่งด้วย Dashboard เพื่อการทำงานที่ครอบคลุม รวมถึง การนำเทคโนโลยีมาช่วยจัดการให้ผลสะท้อนกลับและข้อเสนอแนะแบบ 360 องศาแบบ Real time เป็นต้น และถึงแม้ว่าในปัจจุบันบทบาทของ HR ที่มีต่อการนำนวัตกรรมมาใช้กับการทำงานภายในองค์การจะเริ่มได้รับความสนใจจากหลายองค์การทั้งในต่างประเทศและในประเทศมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ทว่าการให้คำนิยามเพื่อทำความเข้าใจของคำว่า “นวัตกรรมการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือ HR Innovation” กลับมีพบได้น้อยมาก หรือหากมีก็จะเป็นการให้ความหมายของคำว่า “HR” และ “Innovation” ที่แยกส่วนกัน ซึ่งแสดงได้ถึงมุมมองว่าเป็นการทำงานที่ยังมิอาจรวมเป็นองคาพยพหรือเป็นเนื้อเดียวกันได้



ในปี ค.ศ.2017 ได้เกิดโครงการรางวัลนวัตกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Thailand HR Innovation Award) ซึ่งเป็นโครงการที่สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของเส้นทางการนำพาองค์การไปสู่ความยั่งยืนและการเป็นองค์การสมรรถนะสูง (High Performance Organization) เป็นหน้าที่สำคัญของ HR โดยผ่านกลไกและเครื่องมืออันหลากหลายและที่สำคัญก็คือ การสร้างนวัตกรรมในงานด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อประโยชน์ต่อองค์การและบุคลากรในองค์การที่จะได้รับบริการจากงานการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เป็นการยกระดับงาน HR ให้เป็นที่น่าเชื่อถือไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) และคณะอนุกรรมการเทคนิคและวิชาการของสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทยได้สรุปนิยามของคำว่า “นวัตกรรมการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์” หมายถึง การคิดและทำสิ่งใหม่ขึ้นมาใช้ในงานการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยอาจเป็นแนวคิดการบริหารจัดการ กระบวนการที่สร้างความแตกต่างอย่างชัดเจนรวมถึงส่งผลลัพธ์และผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียที่หลากหลาย (Multi-Stakeholders) อันเป็นการสะท้อนคุณค่าของนวัตกรรมนั้น โดยคำนึงถึงระดับของการเป็นนวัตกรรม และความสามารถในการนำไปแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาให้ได้กับทุกรูปแบบของกระบวนการทำงานด้านทรัพยากรมนุษย์ โดยในปีแรกของการจัดโครงการฯ ทางสมาคมได้รับใบสมัครโครงการจำนวน 28 โครงการ จาก 18 องค์การ และในการนำเสนอรางวัลของคณะกรรมการกลั่นกรองมีโครงการที่ได้รับรางวัลจำนวนทั้งสิ้น 11 โครงการ จากจำนวน 11 องค์การ โดยจากการจัดทำโครงการฯ ปีแรกนี้ ผู้เขียนได้มีความสนใจทำการศึกษา “ถอดรหัสความสำเร็จขององค์การที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Thailand HR Innovation Award)” โดยการใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อทำความเข้าใจเหตุการณ์หรือพฤติกรรมของบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์ ภายใต้ชื่อ “การศึกษาการดำเนินงานทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ: กรณีศึกษาองค์การที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์” และสามารถเข้าสัมภาษณ์ตัวแทนขององค์การ จำนวน 7 โครงการ ได้แก่ รางวัล Golden Award 1 โครงการ: บริษัท สมบูรณ์แอ๊ดวานซ์เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน), รางวัล Silver Award 6 โครงการ ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, บริษัท สยามคอมเพรสเซอร์อุตสาหกรรม จำกัด, บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน), บริษัท ซีพีแรม จำกัด (CPRAM), บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด และโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โดยทุกองค์การได้ผ่านเกณฑ์ในการให้รางวัลซึ่งประกอบด้วย 5Is คือ การเกิดนวัตกรรม (Initiative) การมีส่วนร่วม (Involvement) การนำไปปฏิบัติ (Implementation) การเกิดผลกระทบ (Impact Level) และการบูรณาการ (Integration) ซึ่งในแต่ละเกณฑ์ได้จัดทำขึ้นจากการระดมสมองของนักวิชาการและผู้บริหารงานด้านทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสบการณ์ของสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย ถึงแม้ผลการพิจารณาขององค์การที่เข้าร่วมโครงการฯ ในปีแรกจะยังไม่มีองค์การใดสามารถผ่านเกณฑ์ในระดับรางวัล Diamond Award ได้ แต่ก็ถือเป็นก้าวแรกที่ยอดเยี่ยมและเป็นต้นแบบให้กับองค์การต่าง ๆ ในปีถัดไป ที่ได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทที่สำคัญและการสร้างคุณค่าให้กับวิชาชีพ HR ที่กล้าที่จะลุกขึ้นมาริเริ่ม (Initiative) ดำเนินงานในสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่ว่าจะเป็นการต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่เดิม ไปจนถึงการได้ทำนวัตกรรมที่ไม่เคยปรากฏว่ามีการนำไปใช้ที่ใดมาก่อน


อ่านมาถึงบทความส่วนท้ายนี้ ท่านผู้อ่านอาจเริ่มมี “WHY” หรือคำถามสงสัยเกิดขึ้นคล้ายกับตอนที่ผู้เขียนได้เริ่มสนใจทำการศึกษาในงานวิจัยนี้ เพื่อค้นหาเคล็ดลับความสำเร็จของ HR ที่สามารถดำเนินงานให้มีนวัตกรรมได้อย่างประสบผลสำเร็จและทำให้องค์การที่ได้รับรางวัลฯ ... เคล็ดลับคืออะไร?


จากผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมความสำเร็จให้เกิดนวัตกรรมในการดำเนินงานทรัพยากรมนุษย์ ที่ทบทวนความเชื่อมโยงผ่านแนวคิด 7Ss Model ของ Mckinsey สามารถสรุปได้แบบกระชับ ดังนี้

1. ด้านโครงสร้างองค์การ (Structure) ปัจจัยที่ส่งเสริมความสำเร็จฯ มากที่สุด คือ องค์การได้มีการกำหนดรูปแบบของโครงสร้างองค์การที่ส่งเสริมต่อการเกิดนวัตกรรม โดยอาศัยการออกแบบงาน การกระจายอำนาจในการทำงาน โดยมีการสนับสนุนให้ทำงานเป็นทีม รวมถึง ทีมข้ามสายงาน ทีมตัวแทนการเปลี่ยนแปลงที่มีความคล่องตัวในการทำงานสูง

2. ด้านกลยุทธ์ขององค์การ (Strategy) ปัจจัยที่ส่งเสริมความสำเร็จฯ มากที่สุด คือ องค์การให้ความสำคัญกับการสื่อสารหลายช่องทางและชัดเจน นอกจากนี้องค์การยังได้ใช้กลยุทธ์ให้การทำงานที่มีความสอดคล้องกับเป้าหมายองค์การ และมีการชี้แจ้งเป้าหมายในการทำงานและการระบุหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างชัดเจน รวมทั้งสร้างการตรวจสอบเพื่อสร้างความมั่นใจถึงการสื่อสารที่ต้องสามารถสื่อสารได้อย่างทั่วถึงอีกด้วย

3. ด้านระบบในการปฏิบัติงาน (System) ปัจจัยที่ส่งเสริมความสำเร็จฯ มากที่สุด คือ องค์การมีการออกแบบระบบการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องกับการดำเนินงานให้เกิดนวัตกรรม เพื่อให้ทุกส่วนสอดคล้องและสนับสนุนกัน นอกจากนี้องค์การยังมีการจัดเวทีแข่งขันให้รางวัลและประกาศยกย่องชมเชยผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งบางองค์การเรียกว่า “นวัตกร” อีกทั้งองค์การยังให้พื้นที่ในการแสดงความคิดและการทำงานได้อย่างมีอิสระ

4. ด้านรูปแบบภาวะการนำ (Style) ปัจจัยที่ส่งเสริมความสำเร็จฯ มากที่สุด คือ ผู้นำให้ความสำคัญและสนับสนุน อย่างมาก อีกทั้งผู้นำยังได้มีการผลักดัน กระตุ้น ให้กำลังใจและแรงบันดาลใจในการทำงาน และมีการใช้รูปแบบการจัดการแก้ไขปัญหาที่ส่งเสริมให้บุคลากรเกิดความคิดสร้างสรรค์ และกล้ารับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์นั้นด้วย

5. ด้านบุคลากร (Staff) ปัจจัยที่ส่งเสริมความสำเร็จฯ มากที่สุด คือ บุคลากรมีความพยายามปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง และมีความคิดสร้างสรรค์และมีความมุ่งมั่น อีกทั้งบุคลากรยังได้มีความเสียสละในการแสดงตน และในขณะเดียวกันองค์การก็มีกระบวนการส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการพัฒนาความสามารถด้วยการให้เป้าหมายที่ท้าทายควบคู่

6. ด้านทักษะความสามารถขององค์การ (Skill) ปัจจัยที่ส่งเสริมความสำเร็จฯ มากที่สุด คือ องค์การมีระบบส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ และมีการสร้างระบบการเรียนรู้ขององค์การและจากประสบการณ์ และองค์การมีการให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น มีเวปไซต์ขององค์การที่สามารถเก็บข้อมูลจากความรู้บุคลากรที่เข้ามาบันทึก และมีการเปิดเผยแพร่ข้อมูลความรู้ที่น่าสนใจเพื่อให้บุคคลอื่นสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ง่าย

7. ด้านค่านิยมร่วม (Shared Values) ปัจจัยที่ส่งเสริมความสำเร็จฯ มากที่สุด คือ องค์การมีการกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ขององค์การที่ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นความชัดเจนในระดับที่มีการกำหนดข้อความการสื่อสารชัดเจน เช่น มีการระบุคำว่า “นวัตกรรม” ลงในวิสัยทัศน์หรือนโยบายและทำการสื่อสารลงในสื่อองค์การ เพื่อให้เป็นการสื่อสารที่ชัดเจนกับบุคลากรในองค์การนั้นอย่างทั่วถึง นอกจากนี้องค์การยังได้มีการส่งเสริมการเชื่อมโยงค่านิยมร่วมไปกับการพัฒนาบุคลากร และปลูกฝังค่านิยมให้กับบุคลากรให้มีความกล้ารับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์


จากปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จของการจัดทำนวัตกรรมในการดำเนินงานทรัพยากรมนุษย์ สามารถสรุปจากผลการศึกษาที่ได้จากวิธีการสัมภาษณ์และจากการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมกับตัวแทนองค์การที่พบความสอดคล้องทั้ง 2 วิธี พบว่า


“หัวใจสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดนวัตกรรมในงานทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ” ที่ทุกองค์การได้กล่าวเป็นเสียงเดียวกัน นั้นคือ ปัจจัยในด้านรูปแบบภาวะการนำ (Style) และปัจจัยด้านบุคลากร (Staff) ซึ่งก็คือ “คนในองค์การ” ที่ยังเป็นปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จที่สำคัญที่สุดของการจัดทำนวัตกรรมในการดำเนินงานทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งก็ไม่ได้ผิดแผกไปจากแนวคิดของ Mcgurk and Van Rossenberg ที่ได้กล่าวไว้เมื่อหลายปีที่ผ่านมา ถึงความสำคัญของนวัตกรรมที่ต้องเกิดขึ้นภายในองค์การ และ “คนในองค์การ” ก็เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้นวัตกรรมเกิดขึ้นได้จริง ซึ่งการที่จะทำให้คนในองค์การเปิดใจและพร้อมให้ความร่วมมือที่จะนำนวัตกรรมมาพัฒนางานในองค์การได้นั้น HR ก็คือหนึ่งในกลุ่มคนที่สำคัญที่จะสามารถช่วยสนับสนุนและส่งเสริมความสำเร็จเหล่านี้ให้เกิดขึ้นได้


ดังนั้น บทเรียนหนึ่งที่น่าสนใจที่ได้จากการเฝ้าติดตามการพัฒนาขององค์การไม่ว่าจะยุคใดหรือต้องได้รับผลจากการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้องค์การสามารถก้าวข้ามวิกฤตและมีโอกาสได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว นั้นคือ “คนในองค์การหรือ Soft Side ที่ยังคงเป็นทรัพยากรที่สำคัญขององค์การ” ถือเป็นโจทย์ท้าทายที่สำคัญประการหนึ่งของ HR คือจะทำอย่างไรให้คนในองค์การเข้ามามีส่วนร่วม และให้ความร่วมมือสนับสนุนเป้าหมายขององค์การได้อย่างประสบความสำเร็จมากที่สุด ซึ่งเคล็ดลับความสำเร็จในการทำงานขององค์การหนึ่งที่แม้จะเป็นเคล็ดลับที่ดีที่สุดก็ไม่อาจเป็นเหมือนสูตรสำเร็จที่จะสามารถนำมาใช้กับอีกองค์การหนึ่งได้โดยปราศจากการปรับหรือประยุกต์ใช้ “ศาสตร์และศิลป์” ของ HR ซึ่งจำเป็นต้องทำให้กลยุทธ์ที่จะนำมาใช้กับคนในองค์การเป็นไปอย่างสอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทของคนในองค์การมากที่สุด เพื่อเป็นการพัฒนาคนและองค์การให้สามารถเติบโตไปด้วยกันได้อย่างยั่งยืน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้