ระบบ อิน ฟา เร ด ข้อดี ข้อเสีย

ข้อแตกต่างระหว่าง IR และ RF

หลักการกว้างๆของเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายระหว่างอินฟราเรด (Infrared, IR) และสัญญาณวิทยุ (Radio Frequency, RF) ก็คือการใช้คลื่นที่ความถี่ย่านต่างกันในการสื่อสารแบบไร้สายนั่นเอง

ก็ตรงตามชื่อเลยครับ อินฟราเรดใช้คลื่นย่านอินฟราเรดรับส่งข้อมูล โดยส่วนมากก็จะอยู่ที่ราวๆ 38kHz

ส่วนคลื่นวิทยุก็ใช้คลื่นวิทยุนั่นเอง แต่จะมีการเอามาใช้คลื่นที่แตกต่างกัน ขึ้นกับการใช้งาน และก็ข้อกำหนดของแต่ละประเทศครับ คลื่นพวกนี้ก็เช่น 315Mhz และ 433Mhz เป็นต้นครับ

ยังไงเราไปดูข้อดี/ข้อจำกัดว่าสองคลื่นนี้แตกต่างกันยังไงดีกว่าครับ

ข้อดี/ข้อจำกัด

รีโมทสัญญาณอินฟราเรด (Infrared, IR)

อุปกรณ์/เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้การสื่อสารแบบนี้ก็เช่น ทีวี แอร์ โปรเจคเตอร์และกล่องเคเบิลเป็นต้นครับ สังเกตว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าไหนใช้ IR ก็ให้ดูที่รีโมทจะมีหลอด IR คล้ายๆหลอก LED ที่ใช้สำหรับส่งคลื่นอินฟราเรดนั่นเองครับ

ข้อดี

  • เทคโนโลยีไม่ซับซ้อน จึงถูกใช้มากในการควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้า

ข้อจำกัด

  • รีโมทต้องหันไปในทิศทางเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการควบคุม

  • ห้ามมีสิ่งกีดขวางกั้นทิศทางของรีโมท

  • ระยะรับส่งประมาณ 10 เมตร

รีโมทสัญญาณวิทยุ (Radio Frequency, RF)

อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีนี้ก็เช่น รีโมทเปิดปิดประตู รีโมทเปิดปิดม่าน แป้นสวิตซ์ไร้สาย (Broadlink TC2 คลิก) และสวิตซ์เปิดปิด LV (LV-RXD3.8 คลิก หรือ LV-RXD4 คลิก )เป็นต้นครับ

ข้อดี

  • ทิศทางสั่งงงานรอบด้านไม่จำเป็นต้องหันทิศไปที่อุปกรณ์

  • สามารถทะลุสิ่งกีดขวางได้

  • ระยะสั่งงานไกลกว่า 15-20 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งกีดขวางด้วย

ข้อจำกัด

  • เทคโนโลยีซับซ้อนกว่า

  • มีหลายคลื่นความถี่ใช้งาน ฉะนั้นจำเป็นต้องเช็คว่าใช้งานร่วมกันได้หรือไม่นั่นเองครับ

เรียบเรียงโดย "LivingDewise.com"

โดยนายวิรัตน์ ทรงงาม วิศวกรไฟฟ้าชำนาญการพิเศษ
สำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

       ในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องใช้พลังงานความร้อนในกระบวนการผลิตเพื่อการแปรรูปสินค้า มีการใช้พลังงานความร้อนที่หลากหลายรูปแบบ ทั้งการหลอม การอบ การต้ม การนึ่ง และรูปแบบอื่นๆ โดยมีแหล่งกำเนิดความร้อนมาจากเชื้อเพลิงหรือไฟฟ้าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะงานของแต่ละอุตสาหกรรม สำหรับในกรณีการให้ความร้อนด้วยไฟฟ้าโดยทั่วไปมักจะใช้ตัวกำเนิดความร้อนที่เป็นขดลวดไฟฟ้า (Electric Heater) ซึ่งเป็นการส่งผ่านความร้อนจากแหล่งกำเนิดไปยังวัตถุหรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องอาศัยตัวกลางในการนำความร้อน (Conduction) หรือพาความร้อน (Convection) ปัจจุบันได้มีการพัฒนาตัวกำเนิดความร้อนที่เป็นตัวปล่อยรังสีอินฟราเรด (Infrared Emitter) ซึ่งเป็นการให้ความร้อนโดยการแผ่รังสีความร้อน (Radiation) ที่ส่งผ่านความร้อนจากแหล่งกำเนิดไปยังวัตถุหรือผลิตภัณฑ์โดยตรงโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง ทำให้โมเลกุลของวัตถุที่ได้รับรังสีอินฟราเรดเกิดการสั่นสะเทือนและเกิดความร้อนขึ้นจากภายในเนื้อวัตถุ ซึ่งต่างจากการให้ความร้อนโดยการนำความร้อนหรือการพาความร้อนที่เป็นการให้ความร้อนจากพื้นผิวภายนอกของวัตถุและความร้อนจะค่อย ๆ ซึมเข้าไปภายในเนื้อวัตถุ การให้ความร้อนโดยรังสีอินฟราเรดจะมีประสิทธิภาพในการให้ความร้อนสูงกว่า ใช้พลังงานน้อยกว่า ใช้ระยะเวลาสั้นกว่าและมีการสูญเสียความร้อนน้อยกว่า
       รังสีอินฟราเรด (Infrared : IR) หรือรังสีความร้อน เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นตั้งแต่ 0.76-1000 um ซึ่งอยู่ในช่วงของแสงที่สายตามองไม่เห็นแต่สามารถรับรู้ถึงความร้อนที่เกิดขึ้นได้ โดยรังสีอินฟราเรดมีคุณสมบัติทางกายภาพเช่นเดียวกับคลื่นแสงที่ตามองเห็นได้ทุกประการ เช่น การหักเห การสะท้อน การดูดซับ หรือการส่องผ่านตัวกลาง 

รังสีอินฟราเรดกับการให้ความร้อนในงานอุตสาหกรรม
การประยุกต์ใช้งานรังสีอินฟราเรดในการให้ความร้อนไนงานอุตสาหกรรม สามารถแบ่งช่วงรังสีอินฟราเรดตามความยาวคลื่นออกได้เป็น 3 ช่วง ดังนี้
       1. รังสีอินฟราเรดช่วงคลื่นสั้น (Short-wavelength infrared : SWIR) มีความยาวคลื่นประมาณ 1.2-2 mm สามารถให้ความร้อนในช่วงอุณหภูมิ 4,000-2175 ºF (2,204-1,190 ºC) ให้ความร้อนต่อหน่วยพื้นที่ได้สูง ความร้อนผ่านทะลุทะลวงเข้าในเนื้อวัสดุได้ลึกและรวดเร็ว
       2. รังสีอินฟราเรดช่วงคลื่นปานกลาง (Mid-wavelength infrared : MWIR) มีความยาวคลื่นประมาณ 2-4 mm สามารถให้ความร้อนในช่วงอุณหภูมิ 2,175-857 ºF (1,190-458 ºC) ให้ความร้อนต่อหน่วยพื้นที่ได้ต่ำกว่าแบบช่วงคลื่นสั้น
       3. รังสีอินฟราเรดช่วงคลื่นยาว (Long-wavelength infrared : LWIR) มีความยาวคลื่นประมาณ 4-6 mm สามารถให้ความร้อนในช่วงอุณหภูมิ 875-400 ºF (458-204 ºC) ให้ความร้อนต่อหน่วยพื้นที่ได้ต่ำกว่าแบบช่วงคลื่นสั้นและแบบช่วงคลื่นปานกลาง
       การดูดซับรังสีอินฟราเรดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความยาวของคลื่นรังสีอินฟราเรด ส่วนประกอบของวัตถุ ลักษณะของผิววัตถุ มุมตกกระทบ และสีของวัตถุ วัตถุที่เป็นของแข็งส่วนใหญ่จะดูดซับรังสีอินฟราเรดที่มีความยาวคลื่นมากกว่า 2 mm ได้ดี ยกเว้นโลหะที่ขัดขึ้นเงาจะสะท้อนรังสีอินฟราเรดออก การใช้งานรังสีอินฟราเรดจะต้องมีตัวปล่อยคลื่น (IR Emitter) ในลักษณะของหลอดอินฟราเรด ซึ่งแบ่งออกเป็น ตัวปล่อยคลื่นสั้น (Short Wave Infrared Emitters) ตัวปล่อยคลื่นปานกลาง (Medium Wave Infrared Emitters) และตัวปล่อยคลื่นยาว (Long Wave Infrared Emitters) เป็นแหล่งกำเนิดความร้อน
       การให้ความร้อนจากหลอดอินฟราเรด โดยส่วนใหญ่ได้จากการแผ่รังสีความร้อน (Radiation) ซึ่งถือได้ว่ามีค่าสูงกว่าการส่งถ่ายความร้อนโดยนำความร้อน (Conduction) และการพาความร้อน (Convection) เป็นอย่างมาก นอกจากนั้นการให้ความร้อนโดยรังสีอินฟราเรดนี้ยังไม่ก่อให้เกิดปฏิกริยาทางเคมีทางแสง (Photochemical) เหมือนกับการใช้รังสีอัลตร้าไวโอเลต (UV) จึงไม่ทำให้เกิดการเผาไหม้โดยตรงกับผิวหนังร่างกายคน  

       สำหรับปรากฏการณ์ในขณะที่รังสีอินฟราเรดตกกระทบวัตถุมี 3 แบบ คือ ส่งผ่าน (Transmission), ดูดซับ (Absorption) และสะท้อน (Recflection) โดยถ้าเป็นวัตถุหนาความร้อนที่เกิดขึ้นในตัววัตถุจะเป็นปรากฏการณ์การดูดซับ (Apsorption) แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น   

       ตามตารางที่ 1 เป็นการแสดงคุณสมบัติ (Characteristic) ของการให้ความร้อนโดยรังสีอินฟราเรด (IR Heating) ที่ช่วงความยาวคลื่นต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าความยาวคลื่นสั้น (Short Wave) จะสามารถทะลุทะลวงได้ดีที่สุด และให้ความร้อนได้รวดเร็ว แต่สำหรับการให้ความร้อนที่ผิวจะด้อยกว่าความยาวคลื่นปานกลาง (Medium Wave) หรือความยาวคลื่นยาว (Long Wave)

                                           ตารางที่ 1 คุณสมบัติของการให้ความร้อนโดยรังสีอินฟราเรดที่ช่วงความยาวคลื่นต่าง ๆ  

ข้อดีของการให้ความร้อนด้วยรังสีอินฟราเรด
การให้ความร้อนด้วยรังสีอินฟราเรดมีข้อดีดังต่อไปนี้

  • การให้ความร้อนด้วยรังสีอินฟราเรดมีข้อดีดังต่อไปนี้ทำความร้อนและลดความร้อนได้อย่างรวดเร็ว โดยส่วนใหญ่เตาอบไฟฟ้าที่ใช้รังสีอินฟราเรดสามารถทำความร้อนให้ผลิตภัณฑ์ได้ในเวลาไม่กี่วินาที
  • เตามีขนาดเล็ก เนื่องจากการให้ความร้อนที่รวดเร็ว ทำให้ต้องการพื้นที่ว่างในเตาน้อยลง
  • เป็นเตาที่สะอาด ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • มีการควบคุมอุณหภูมิในการให้ความร้อนที่แม่นยำ
  • มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ค่าบำรุงรักษาต่ำ

การประยุกต์ใช้งานการให้ความร้อนด้วยรังสีอินฟราเรด
       การประยุกต์ใช้งานการให้ความร้อนด้วยรังสีอินฟราเรด จะต้องพิจารณาถึงลักษณะของงานเป็นกรณีๆ ไป โดยมีปัจจัยหลักที่ต้องพิจารณาคือ ประเภทของวัสดุผลิตภัณฑ์ ขนาดของผลิตภัณฑ์ และช่วงความยาวคลื่นที่ใช้งาน โดยมีตัวอย่างลักษณะการใช้งานที่หลากหลาย ได้แก่ การอบสี การอบผลิตภัณฑ์แป้ง การเคลือบภาชนะในการทำอาหาร การเคลือบสาร PVC บนผนัง  การอบแห้งผลิตภัณฑ์กระจกนิรภัย การอบหนัง การอบแห้งกระดาษ การอบสีและแลคเกอร์ การบัดกรี การทำให้หดตัวของโลหะ การเผากระเบื้อง เป็นต้น

  • ประเภทของวัสดุผลิตภัณฑ์
    ชนิดของวัสดุ และลักษณะของพื้นผิวจะมีการดูดซับรังสีอินฟราเรดที่ต่างกัน ซึ่งจะต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป
  • ขนาดของผลิตภัณฑ์
    ขนาด (ความหนาแน่น) ของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน ระยะเวลาการทำความความร้อนก็จะต่างกันด้วย

ไฟล์/vdo/ข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง: 

ข้อใดคือข้อเสียของการส่งสัญญาณด้วยระบบอินฟาเรด

ข้อเสียของอินฟราเรด 1. เครื่องส่ง(Transmitter) และเครื่องรับ (receiver) ต้องอยู่ในแนวเดียวกัน คือต้องเห็นว่าอยู่ในแนวเดียวกัน 2. คลื่นจะถูกกันโดยวัตถุทั่วไปได้ง่ายเช่น คน กำแพง ต้นไม้ ทำให้สื่อสารไม่ได้ 3. ระยะทางการสื่อสารจะน้อย ประสิทธิภาพจะตกลงถ้าระยะทางมากขึ้น

รังสีอินฟราเรดมีอันตรายอย่างไร

อันตรายจากรังสีอินฟราเรด เนื่องจากในแสงแดดนั้น มีรังสีอินฟราเรดซึ่งก่อให้เกิดความร้อนได้สูง ซึ่งสำหรับผู้ที่อยากมีผิวสีแทน แล้วไปอาบแดด อาจจะได้ผิวไหม้มาเป็นของแถม ซึ่งจะทำให้เซลล์ผิวหนังของเราถูกทำลายได้ง่าย

ข้อใดเป็นการใช้ประโยชน์จากรังสีอินฟราเรด

รังสีชนิดนี้ถูกใช้ในงานอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์ การทหาร การบังคับใช้กฎหมายและการแพทย์ เช่นอุปกรณ์มองเห็นกลางคืนที่ใช้การส่องสว่างที่ใช้งานอยู่ช่วยให้สามารถสังเกตเห็นคนหรือสัตว์ได้ ในทางดาราศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์อินฟาเรดที่เพื่อมองทะลุบริเวณที่เต็มไปด้วยฝุ่น เมฆเพื่อมองหาวัตถุเช่นดาวเคราะห์ อีกทั้งกล้องถ่ายภาพความร้อนใช้ ...

อินฟาเรดมีแหล่งกําเนิดจากที่ใดบ้าง

เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่แผ่มาจากดวงอาทิตย์ ที่มีความถี่ถัดจากความถี่ของแสงสีแดงลงมา ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า รังสีอินฟราเรด หรือรังสีใต้แดง (infra + red) รังสีอินฟราเรดมีแหล่งกำเนิดมาจากความร้อน มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นแสงอินฟราเรดได้ด้วยตา แต่เมื่อสัมผัสรังสีเราจะรู้สึกถึงความร้อนได้ ไม่ว่าตอนเรารู้สึกร้อนจากแดด ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้