อารยธรรมอินเดียที่ เกิดจาก ชนเผ่า ด รา วิ เดีย น

อารยธรรมอินเดีย เริ่มกำเนิดขึ้นในบริเวณที่อยู่ระหว่างแม่น้ำสินธุและแม่น้ำคงคา ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า “อนุทวีป”หรือเอเชียใต้

  อารยธรรมเกิดจากการหล่อหลอม ผสมผสานความเจริญของชนชาติต่างๆที่เข้าครอบครองบริเวณนี้จนเกิดเป็นอารยธรรมของอินเดียที่เป็นเอกลักษณ์ และเป็นต้นแบบของอารยธรรมในภูมิภาคอื่นๆของเอเชีย

      อารยธรรมอินเดีย อยู่ระหว่างแม่น้ำสินธุและแม่น้ำคงคา ชนชาติที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอารยธรรมของอินเดีย ได้แก่ พวกดราวิเดียน (Dravidian)หรือทราวิฑหรือมิลักขะ  เป็นชนพื้นเมืองเจ้าถิ่นเดิม อาศัยอยู่ก่อน มีผิวดำ รูปร่างเตี้ย จมูกกว้าง ริมฝีปากหนา เชื่อว่าเป็นเจ้าของอารยธรรมสมัยสินธุ ต่อมาพ่ายแพ้ต่อผู้รุกรานชาวอารยันจึงถูกนำลงเป็นทาส ที่ในภาษาสันสกฤตเรียกว่า “ทัสยุ” (Dasyus) เป็นที่ดูถูกในหมู่อารยันว่ามีรูปร่างหน้าตาน่าเกลียด หยาบคายและป่าเถื่อน

      อารยัน (Aryan) หรืออริยกะ เป็นพวกอินโด-ยุโรเปี้ยน ผิวขาว รูปร่างสูงใหญ่ จมูกโด่ง ชำนาญการขี่ม้ายิงธนู ข้ามเทือก    เขาหิมาลัย คาราโครัม และฮินดูกูเข้ามารุกไล่เจ้าของถิ่นเดิม จนร่นถอยไปอยู่ปลายแดนแถบคาบสมุทรเดคคานและเขตทมิฬ แล้วตนเองเข้ายึดครองดินแดนตอนกลางไว้แทน

      อารยธรรมโบราณ                                                                                                                                                  เมืองโมเฮนโจดาโร (Mohenj Daro )และเมืองฮารัปปา(Harappa)บริเวณแม่น้ำสินธุ เมื่อประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชหรือ ประมาณ4,500 ปีมาแล้ว เรียกว่าอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (Indus Civilization)เป็นอารยธรรมโดยพวก

      ดราวิเดียน (Dravidian)หรือทราวิทเมืองทั้งสองแสดงให้เห็นถึงความเจริญแบบอารยธรรมเมืองมีการวางผังเป็นย่านใหญ่ๆ แต่ละย่านมีตรอกแคบๆ เป็นตัวเชื่อมมีป้อมหรือมีที่หมั่นประจำเมือง มีที่อาบน้ำสาธารณะ แสดงให้เห็นความเชื่อในการชำระล้างร่างกายให้บริสุทธิ์ก่อนประกอบพิธีกรรม มีระบบการระบายน้ำ มีย่านการค้าและยังพบรูปปั้นที่ทำจากดินเผา ประชากรพื้นเมือง เชื่อว่าเป็นชนเผ่าดราวิเดียน (Dravidian) เป็นชนเผ่าดั้งเดิมก่อนที่พวกอารยันจะอพยพเข้ามา

                                                                     เมืองโมเฮนโจดาโร

                                                                    เมืองฮารัปปา

สมัยประวัติศาสตร์

1.สมัยมหากาพย์  (อินโด-ยุโรเปียน) เกิดมหากาพย์ 2 เรื่อง คือ รามายณะของฤษีวาลมิกิ   เป็นเรื่องพระรามและนางสีดา

       มหาภารตะของฤษีวยา  สะท้อนในเรื่องการปกครอง เศรษฐกิจและความเชื่อมหาภารตะ เป็น เรื่องราวความขัดแย้งของพี่น้องสองตระกูล ระหว่าง ตระกูลเการพ และตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็สืบเชื้อสายมาจากท้าวภรต แห่ง กรุงหัสตินาปุระ  จนบานปลายไปสู่ มหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรซึ่งมีพันธมิตร ของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก  กล่าวกันว่านี่คือ    การต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายธรรมะและฝ่ายอธรรม ความดี และความชั่ว ซึ่งในที่สุดแล้ว ฝ่ายปาณฑพก็เป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้ ผลทำให้เกิดการปกครองแบบราชาธิปไตยจากกษัตริย์เป็นราชา ได้เปลี่ยนไปเป็นสมมติเทพ

                                                                  รามายณะของฤษีวาลมิกิ

                                                                         มหาภารตะของฤษีวยา 

2.สมัยจักรวรรดิ

              เป็นสมัยที่มีความสำคัญต่อการวางพื้นฐานของแบบแผนทางสังคม ศิลปะ วัฒนธรรมอินเดีย ที่ยังคงสืบเนื่องต่อมาถึงปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 5 สมัย

2.สมัยจักรวรรดิ  เป็นสมัยที่มีความสำคัญต่อการวางพื้นฐานของแบบแผนทางสังคม ศิลปะ วัฒนธรรมอินเดีย ที่ยังคงสืบเนื่องต่อมาถึงปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 5 สมัย

1) สมัยจักรวรรดิมคธ ตั้งอยู่บริเวณภาคตะวันออกของลุ่มแม่น้ำคงคา เป็นแคว้นที่มีอำนาจมากที่สุดในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงสองพระองค์คือ พระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้าอชาตศัตรู พระพุทธศาสนาได้กลายมาเป็นศาสนาของจักรวรรดิ

                                                                         พระเจ้าพิมพิสาร

                                       พระเจ้าอชาตศัตรู

2)สมัยจักรวรรดิเมารยะราชวงศ์เมารยะได้มีอำนาจขึ้นปกครองแทนราชวงศ์นันทะที่ปกครองแคว้นมคธ (พื้นที่ทางภาคเหนือของอินเดีย)กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงของราชวงศ์เมารยะคือ พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงนำหลักพระพุทธศาสนามาใช้ในการปกครอง และทำนุบำรุงพุทธศาสนาอย่างจริงจัง นอกจากนี้ยังให้อิสรภาพในการเลือกนับถือศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์ ทรงยกเลิกการแบ่งชั้นวรรณะ

                                                                          พระเจ้าอโศกมหาราช

3) สมัยแบ่งแยกและการรุกรานจากภายนอกความเสื่อมอำนาจของราชวงศ์เมารยะมีผลกระทบต่ออินเดีย 2 ประการอาณาจักรใหญ่น้อยแบ่งแยกออกเป็นอิสระเกิดการรุกรานจาก เปอร์เชีย กรีก ผลทำให้เกิดการทอดทางวัฒนธรรมจากผู้รุกราน

4) สมัยคุปตะได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทองของอินเดีย เนื่องจากพระเจ้าจันทรคุปต์มีความพยายามทำให้อาณาจักรรุ่งเรืองเหมือนอาณาจักรมคธในอดีต   มหาวิทยาลัยนาลันทา  มหาวิทยาลัยพาราณสี  การแพทย์ในสมัยนี้มีวิธีการผ่าตัด เรียนรู้การทำสบู่และปูนซีเมนต์  ชาวลังกามาสร้างวัดพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทขึ้น

5) สมัยมุสลิม  (จักรวรรดิโมกุล ( Mughul ) มุสลิมที่เข้ารุกรานอินเดีย มีเชื้อสายเติร์กจากเอเชียกลางเข้าปกครองอินเดียภาคเหนือ ตั้งเมืองเดลี เป็นเมืองหลวง เมื่อเข้ามาปกครองมีการบีบบังคับให้ชาวอินเดียมานับถือศาสนาอิสลาม ราษฎรที่ไม่นับถือศาสนาอิสลามจะถูกเก็บภาษี “จิซยา” ในอัตราสูง หากหันมานับถือจะได้รับการยกเว้น การกระทำของเติร์กส่งผลให้สังคมอินเดียเกิดความแตกแยกระหว่างพวกฮินดูและ มุสลิมจนถึงปัจจุบัน

ระบบวรรณะ ในคัมภีร์ 4 วรรณะ ดังนี้
1.วรรณะพราหมณ์ เกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม 

               มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือสีขาว ซึ่งแสดงถึงความบริสุทธิ์

               มีหน้าที่ กล่าวมนต์ ให้คำปรึกษากับพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดจนสอนมนต์ให้แก่คนทั่วไป              

              ส่วนพวกที่เป็นนักบวชก็ทำหน้าที่สอนไตรเภทและประกอบพิธีทางศาสนา

2.วรรณะกษัตริย์ เกิดจากพระอุระของพระพรหม และถือว่าสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์ 

               มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือสีแดงซึ่งหมายถึงนักรบ  ทำหน้าที่รบเพื่อป้องกันหรือขยายอาณาจักร รวมทั้งเป็นนักปกครอง เป็นพระเจ้าแผ่นดินหรือคณะผู้ปกครองแบบสามัคคีธรรม

3.วรรณะแพศย์ เกิดจากโคนขา หรือ สะโพกของพระพรหมของพระพรหม

               มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือ สีเหลือง เป็นพวกแสวงหาทรัพย์สมบัติ  ได้แก่ พวกพ่อค้า คหบดี เศรษฐี และเกษตรกร

4.วรรณะศูทร เกิดจากพระบาท(เท้า) ของพระพรหม 

               มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือสีดำหรือสีอื่นๆที่ไม่มีความสดใสมีหน้าที่เป็นกรรมกร ลูกจ้าง
๕. จัณฑาล เป็นอีกวรรณะหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นพวกต่ำสุด

               คือ จัณฑาล ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ต่างวรรณะกัน ถือเป็นพวกจัณฑาล ซึ่งจะถูกรังเกียจและเหยียดหยาม ไม่มีคนในวรรณะอื่นคบหาสมาคมด้วย การถือวรรณะอย่างรุนแรงเช่นนี้ เป็นพื้นฐานอันสำคัญอย่างหนึ่งของสังคมอินเดีย

ปรัชญาและลัทธิศาสนาของสังคมอินเดีย

อินเดียเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาสำคัญของโลกตะวันออก ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พระพุทธศาสนา และศาสนาเชน 

หลักคำสอนพระพุทธศาสนา และศาสนาเชน 

               เป็นผลมาจากการคิดไตร่ตรองทางปรัชญา เพื่อแสวงหาสัจจะการดำเนินชีวิตและหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

ส่วนหลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีรากฐานมาจากคิดค้นสร้างระบบปรัชญา เพื่อสนับสนุนความเชื่อและความศรัทธาที่มีต่อพระเจ้า  

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีการทำพิธีกรรมบวงสรวงพระเจ้า ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญในการปฏิบัติศาสนกิจเทพเจ้าของอินเดีย

ข้อใดเป็นอารยธรรมอินเดียที่เกิดจากเผ่าดราวิเดียน

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ เป็นอารยธรรมของชนพื้นเมืองเผ่าดราวิเดียน ศูนย์กลางอยู่ที่เมือง โมเฮโจดาโร และเมืองฮารับปา

อารยธรรมอินเดียมีชนเผ่าที่สำคัญอะไรบ้าง

ชนกลุ่มส าคัญที่สร้างสรรค์อารยธรรมลุ่มน ้าสินธุ-คงคา(Indus-Ganges Civilization) หรือ อารยธรรมอินเดีย แบ่งได้เป็น 2 พวก คือ 1) พวกดราวิเดียน(Dravidian) หรือ ทราวิฑ คือชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มน ้าสินธุราว 4,000 ปี มาแล้ว พวกนี้มีรูปร่างเตี้ย ผิวคล ้าและจมูกแบน คล้ายกับคนทางตอนใต้ในอินเดียบางพวกปัจจุบัน ...

สมัยพระเวทอยู่ในอารยธรรมใด

เป็นอารยธรรมของชนเผ่าอินโด-อารยัน (Indo-Aryan) เป็นช่วงที่ ชาวอารยันได้อพยพเข้าสู่ชมพูทวีปโดยอพยพมาจากแถบทาง ตะวันตกเฉียงเหนือบริเวณเอเชียกลาง เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณ ที่ราบลุ่มแม่น ้าสินธุและคงคาโดยขับไล่ชนพื้นเมืองดั้งเดิม คือ ชาว ทราวิฑ(ดราวิเดียน)(Dravidian)ให้ถอยร่นลงไปทางตอนใต้ของ อินเดีย

ข้อใดคืออารยธรรมที่ตกทอดมาจากชาวอารยัน

ชาวอารยันคาดว่าได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมหลายอย่างจากอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ชาวอินโดอารยันเป็นผู้วางรากฐานระบบวรรณะในประเทศอินเดียเพื่อปกครองชาวดราวิเวียนที่อาศัยในลุ่มบริเวณเเม่น้ำสินธุ สันนิษฐานว่าระบบวรรณะรับอิทธิพลมาจากประมวลกฎหมายฮัมมูราบี ที่แบ่งชนชั้นออกเป็นสามชนชั้น คือ ปกครอง ทั่วไป และทาส

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้