เงินชดเชยรายได้ ประกันสังคม

ผู้ประกันตน ม.33 รับสิทธิเบิกเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

เผยแพร่: 4 พ.ย. 2565 14:25   ปรับปรุง: 4 พ.ย. 2565 14:25   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ระบุว่าผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่มิใช่เนื่องจากการทำงานนั้น จะต้องเป็นผู้ประกันตนที่นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

โดยหากเป็นการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยปกติทั่วไป ผู้ประกันตนจะได้รับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนมีสิทธิ และไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ แต่หากผู้ประกันตนต้องหยุดพักรักษาตัวตามคำสั่งแพทย์ในช่วง 30 วัน จะได้รับเงินชดเชยการขาดรายได้จากนายจ้างก่อนตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและหลังจากวันที่ 31 เป็นต้นไปจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับตามใบรับรองแพทย์ที่ระบุวันให้หยุดพักรักษาตัวครั้งละไม่เกิน 90 วัน และไม่เกิน 180 วันต่อปี
 
เว้นแต่ผู้ประกันตนป่วยด้วยโรคเรื้อรังจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ไม่เกิน 365 วันต่อปี นอกจากนี้หากผู้ประกันตนป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เมื่อเสียชีวิตจะได้รับค่าทำศพและเงินสงเคราะห์กรณีตายอีกด้วย

ผู้ประกันตนสามารถยื่นแบบคำขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทนได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ /จังหวัด / สาขาทั่วประเทศ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง หรือ Line : @ssothai และทางเว็บไซต์ www.sso.go.th

#Website: www.sso.go.th
#Facebook: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
#Instagram: sso_1506
#Twitter: @sso_1506
#YouTube: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
#Hotline: 1506 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
#LINE: @SSOTHAI
#TikTok: @SSONEWS1506

                 


  • เงินทดแทนการขาดรายได้
  • ผู้ประกันตน ม.33
  • สำนักงานประกันสังคม

กำลังโหลดความคิดเห็น

ผู้ประกันตนมาตรา 33 กรณีลาป่วย 30 วันแรกจะได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง สามารถเบิกกรณีขาดรายได้ตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย
  • ผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% โดยคิดจากฐานค่าจ้างอยู่ที่จำนวน 4,800 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน
  • ผู้ประกันตนมาตรา 40 จะต้องส่งสมทบมาอย่างน้อย 3 เดือน ในระยะเวลา 4 เดือนก่อนจะเบิกเงินชดเชยรายได้ซึ่งจะได้เงินทดแทนสำหรับทางเลือก 1 , 2 และ 3

  • รูปบน ของ desktop
    รูปล่าง ของ mobile

    ช่วงนี้โรคระบาดยอดฮิตที่หันไปทางไหนก็ถามกันว่า “เกมรึยัง?” อยู่เสมอ ก็คือ “โควิด-19” แล้วถ้าติดขึ้นมาจะทำยังไงต่อ คนที่อยู่ในประกันสังคมเบิกอะไรได้ไหม วันนี้พี่ทุยเลยพามาดูวิธี เบิกประกันสังคม ในกรณีผู้ประกันตน “ม.33-39-40” ติดโควิด-19 ฉบับปี 2565 กัน ไปฟังกัน 

    กรณีที่ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมติดโควิด-19 สามารถใช้สิทธิในการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล และเงินทดแทนรายได้ โดยผู้ประกันตนแต่ละมาตราจะต้องเข้ารับการรักษาในระบบสำนักงานประกันสังคม หรือ สปสช. เพื่อขอรับใบรับรองแพทย์มาเบิกประกันสังคม

    การเบิกค่าชดเชยค่ารักษา เมื่อหยุดงาน กรณีติดโควิด-19 จากประกันสังคม 

    1. เข้ารักษาตัวตามระบบที่ สปสช. กำหนด

    2. ทำเรื่องขอใบรับรองแพทย์ ยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 ระบุการติดเชื้อ ระบุวันหยุดงาน

    3. เตรียมเอกสารเบิกค่ารักษาพยาบาล และค่าชดเชยรายได้จากสำนักงานประกันสังคม

    เอกสาร/หลักฐาน เพื่อ เบิกประกันสังคม เมื่อ ติดโควิด-19 

    1. แบบคำขอประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01) ดาวน์โหลด หรือขอแบบฟอร์ม “แบบคำขอประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01)” จากสำนักงานประกันสังคม กรอกข้อมูลส่วนบุคคล และเลือก “ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย” แล้วเลือกค่ารักษาพยาบาล จำนวนเงินตามใบเสร็จรับเงิน จากนั้นเลือกเงินทดแทนการขาดรายได้ ตั้งแต่วันที่…. ถึงวันที่….. กลับเข้าทำงานวันที่….

    2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือ สำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ (ต่างชาติ/ต่างด้าว)

    3. สำเนาบัตรประกันสังคม

    4. ใบรับรองแพทย์ตัวจริง (ระบุวันหยุดงาน)

    5. ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล (กรณีเบิกค่ารักษา)

    6. หนังสือรับรองการหยุดงานจากนายจ้าง

    7. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารออมทรัพย์ หน้าแรก

    8. กรณีเปลี่ยนชื่อ สกุล แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อสกุลด้วย

    เงื่อนไข เบิกประกันสังคม หาก ติดโควิด-19 สำหรับปี 2565 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 

    กรณีลาป่วย 30 วันแรกจะได้รับค่าจ้างจากนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือ กรณีจำเป็นต้องหยุดพักรักษาตัวนานเกินกว่า 30 วัน สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคมตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย โดยรับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ตามใบรับรองแพทย์ ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน หากป่วยเรื้อรังได้รับไม่เกิน 365 วัน

    เงื่อนไขการเบิกประกันสังคมโควิด 2565 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39

    ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างอยู่ที่จำนวน 4,800 บาท ตามใบรับรองแพทย์ ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคเรื้อรัง จะสามารถได้เงินทดแทน ไม่เกิน 365 วัน 

    ทั้งนี้ ม.33 และ ม.39 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

    ค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39

    สปสช. จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับทางโรงพยาบาลตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ และผู้ป่วยจะได้รับการช่วยเหลือครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน ดังนี้ 

    1. ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ

    2. ค่าดูแลการให้บริการผู้ประกันตน (ค่าอาหาร 3 มื้อ การติดตามอาการ และการให้คำปรึกษา)

    3. ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น เช่น ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และอุปกรณ์อื่น ๆ

    4. ค่ายาที่ใช้รักษา

    5. ค่าพาหนะเพื่อรับหรือส่งต่อผู้ป่วยระหว่างที่พัก โรงพยาบาลสนาม และสถานพยาบาล

    6. ค่าบริการ X-ray

    7. ค่า Oxygen ตามดุลยพินิจของแพทย์

    เงื่อนไขการเบิกประกันสังคมโควิด 2565 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40

    ผู้ประกันตนมาตรา 40 จะต้องส่งสมทบมาอย่างน้อย 3 เดือน ในระยะเวลา 4 เดือนจนเกิดสิทธิ์ก่อน จึงจะเบิกเงินชดเชยรายได้กับประกันสังคมได้ โดยมี 3 ทางเลือกดังนี้

    • ทางเลือกที่ 1 ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 700 บาท
    • ทางเลือกที่ 2 ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท
    • และทางเลือกที่ 3 ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 3,000 บาท

    ซึ่งจะแบ่งกรณีการเบิกสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้เป็น จะได้เงินทดแทนวันละ 300 บาท กรณีเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป แต่ไม่ถึง 30 วันต่อปี (สำหรับทางเลือก 1 และ 2) และไม่เกิน 90 วันต่อปี (สำหรับทางเลือกที่ 3)

    หรือได้เงินทดแทนวันละ 200 บาท กรณีแพทย์ให้รักษาตัวที่บ้าน ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป แต่ไม่เกิน 30 วันต่อปี (สำหรับทางเลือก 1 และ 2) และไม่เกิน 90 วันต่อปี (สำหรับทางเลือกที่ 3)

    หรือได้เงินทดแทนวันละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี กรณีไม่ได้เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน หรือไม่ได้กักตัว มีใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลเท่านั้นมาแสดงต่อสำนักงาน (เฉพาะทางเลือกที่ 1 และ 2 เท่านั้น สำหรับทางเลือกที่ 3 ไม่คุ้มครอง)

    เบิกประกันสังคม กรณี ติดโควิด-19 ต้องใช้เวลากี่วัน

    การเบิกเงินชดเชยต่างๆ จากประกันสังคม อยู่กับระยะเวลาการพิจารณาเอกสารของเจ้าหน้าที่ประกันสังคม ซึ่งเร็วสุดอาจจะได้เงินภายใน 7 วัน หรือภายในวันที่ 30 หรือ 31 ของเดือนที่ทำเรื่องเบิก ผู้ประกันตนสามารถเข้าไปตรวจสอบสถานะการจ่ายเงินได้ที่ www.sso.go.th โทร 1506

    เงินชดเชยขาดรายได้ประกันสังคมกี่วันได้

    ที่ระบุวันให้หยุดพักรักษาตัวครั้งละไม่เกิน 90 วัน และไม่เกิน 180 วันต่อปี เว้นแต่ผู้ประกันตนป่วยด้วยโรคเรื้อรังจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ไม่เกิน 365 วันต่อปี นอกจากนี้หากผู้ประกันตนป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เมื่อเสียชีวิตจะได้รับค่าทำศพและเงินสงเคราะห์กรณีตายเช่นเดียวกับกรณีตายตามสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมาตรา 33 อีก ...

    เงินชดเชยรายได้ประกันสังคมคิดยังไง

    กรณีถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท

    ลาออกจากงานประกันสังคมอยู่ได้กี่เดือน

    ทั้งนี้ หากภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง ผู้ประกันตนยังไม่ได้กลับเข้าทำงานกับนายจ้าง หรือกลับเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 สิทธิประกันสังคมจะสิ้นสุดลงอัตโนมัติ

    ลาออกจากงานจะได้อะไรบ้าง

    กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา : รับเงินทดแทน 30 % ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน กรณีไม่ได้ทำงานจากเหตุสุดวิสัย : รับเงินทดแทน 50 % ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน.
    ได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วย.
    ทุพพลภาพ.
    คลอดบุตร.
    สงเคราะห์บุตร.
    ชราภาพ.

    กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้